งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร
บทที่ 7 การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร รศ.ธีระดา ภิญโญ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 บทที่ 7 การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร
ตัวแปรที่ผู้วิจัยศึกษามักจะมีความสัมพันธ์กัน เช่น ศึกษาบริบททางสังคมที่ส่งผลในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์กับเจตคติของนักเรียน หรือปัจจัยทางองค์ประกอบของส่วนผสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับความสนใจของนักเรียน ดังนั้นการหาความสัมพันธ์ จึงเป็นเทคนิคหนึ่งทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาความเกี่ยวข้องกันของข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป เป็นข้อมูลอยู่ในมาตรการวัดแบบใด ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่อยู่ในมาตรการวัดแบบนามบัญญัติและแบบเรียงลำดับเท่านั้น รศ.ธีระดา ภิญโญ

3 7.1 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 ตัว
งานวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 ตัว เช่น เพศกับสีที่ชอบ ระดับการศึกษากับพฤติกรรมการเลือกดื่มเครื่องดื่ม อายุกับการทำประกันชีวิต เป็นต้น สถิติที่ใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงคุณภาพนี้ คือ การทดสอบไคกำลังสอง ( - test) การทดสอบไคกำลังสอง ใช้สัญลักษณ์ว่า (chi - square) เป็นการทดสอบแบบทางเดียว (one – tailed test) โดยคำนวณจากผลต่างกำลังสองระหว่างความถี่ที่สังเกตได้ (O ) กับความถี่ที่คาดหวัง (E ) ค่าสถิติ เป็นความแตกต่างทางบวก ถ้ายิ่งมีค่ามาก แสดงถึง ขนาดของความแตกต่างค่อนข้างมาก ซึ่งนำไปอธิบายการปฏิเสธ รศ.ธีระดา ภิญโญ

4 ตัวอย่างที่ 7.1 บริษัทประกันแห่งหนึ่งมีความเชื่อว่าวัยรุ่นมักเกิดอุบัติเหตุในด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1200 คน เกิดอุบัติเหตุมีความสูญเสียเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังตารางข้างล่าง ผู้วิจัยต้องการสำรวจพฤติกรรมการทำประกันกับอายุของผู้ถือประกันว่ามีความสัมพันธ์หรือไม่ โดยใช้ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 รศ.ธีระดา ภิญโญ

5 วิธีทำ สมมุติฐาน : พฤติกรรมการทำประกันกับอายุของผู้ถือประกันไม่มีความสัมพันธ์กัน : พฤติกรรมการทำประกันกับอายุของผู้ถือประกันมีความสัมพันธ์กัน ระดับนัยสำคัญ การทดสอบ รศ.ธีระดา ภิญโญ

6 รศ.ธีระดา ภิญโญ

7 7.2 ข้อจำกัดในการใช้สถิติทดสอบไคกำลังสอง การทดสอบไคกำลังสองจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1) ความถี่ที่คาดไว้ ในแต่ละเซล ไม่ควรต่ำกว่า 5 และถ้ามี < 1 ก็ไม่ต้องไม่เกิน 20 % ของจำนวนเซลทั้งหมด 2) ตารางการจรของข้อมูล ถ้ามีขนาด 2X2 ค่า df จะมีค่าเท่ากับ 1 จึงจำเป็นต้องมีการปรับสูตรการทดสอบเป็น รศ.ธีระดา ภิญโญ

8 คำสั่ง Analyze Descriptive Statistics Crosstabs.......
7.3 การใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานวิจัยจะช่วยทำให้ผู้วิจัยประหยัดเวลาในการคิดคำนวณ ช่วยการหาคำตอบในการวิจัยได้อย่างถูกต้องและแม่นยำขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้คำสั่งในทดสอบค่าสถิติในแต่ละวิธีให้ถูกต้อง ดังนี้ 7.3.1 การทดสอบไคกำลังสอง คำสั่งการตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้การทดสอบไคกำลังสอง ดังนี้ คำสั่ง Analyze Descriptive Statistics Crosstabs รศ.ธีระดา ภิญโญ

9 : เพศไม่มีความสัมพันธ์กับการชอบสีต่าง ๆ
ตัวอย่างที่ 7.2 ข้อมูลข้างล่างเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับการชอบสีต่าง ๆ จงทดสอบสมมุติฐาน วิธีทำ สมมุติฐาน : เพศไม่มีความสัมพันธ์กับการชอบสีต่าง ๆ : เพศมีความสัมพันธ์กับการชอบสีต่าง ๆ ระดับนัยสำคัญ รศ.ธีระดา ภิญโญ

10 ขั้นตอน 1.) ที่เมนูคำสั่งเลือก Analyze Descriptive Statistics Cross tabs...
รศ.ธีระดา ภิญโญ

11 2) เลือกตัวแปร เพศ (SEX) ใส่ไว้ในช่องตัวแปร Column ตัวแปรคะแนน (Score) ที่ในช่อง Row ) ที่ช่อง Statistics เลือก chi-square ) ที่ช่อง Nominal เลือก Contingency Coefficient และ Phi – Cramer v แล้วคลิก Continue รศ.ธีระดา ภิญโญ

12 3) เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ตามต้องการแล้ว คลิกปุ่ม OK
รศ.ธีระดา ภิญโญ

13 ส่วนที่ 2 รศ.ธีระดา ภิญโญ
การตัดสินใจ ถ้ากำหนดระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.05 จากผลลัพธ์ได้ค่าasymp.Sig. (2-sided) = มีค่าน้อยกว่า (0.05) ดังนั้นจึงปฏิเสธ สรุปผลได้ว่า เพศมีความสัมพันธ์กับการชอบสีต่าง ๆ โดยมีความสัมพันธ์แบบ Cramer’s V เท่ากับ .239 และ แบบ contingency coefficient เท่ากับ ซึ่งมีความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 รศ.ธีระดา ภิญโญ

14 7.3.2 การทดสอบระดับความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลำดับที่ ของสเปียร์แมน
การตรวจสอบระดับความสัมพันธ์วิธีหนึ่งโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลำดับ ที่ของ สเปียร์แมนใช้คำสั่ง ดังนี้ คำสั่ง Analyze Correlate Bivariate รศ.ธีระดา ภิญโญ

15 ตัวอย่างที่ 7.3 สมมุติว่าท่านประสงค์ที่จะทดสอบว่าความรู้ทางคณิตศาสตร์และความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาพาณิชยศาสตร์และการบัญชีว่ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหรือไม่จึงได้สุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมา 12 คน และให้ทำการทดสอบข้อสอบมาตรฐานที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งต่างก็มีคะแนนเต็ม 100 ผลปรากฏดังตาราง จงหาทดสอบสมมุติฐานข้างต้นโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลำดับที่ของสเปียร์แมน และหาระดับความสัมพันธ์ด้วย รศ.ธีระดา ภิญโญ

16 วิธีทำ สมมุติฐาน : ความรู้ทางคณิตศาสตร์และความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีไม่มีความสัมพันธ์กัน : ความรู้ทางคณิตศาสตร์และความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมีความสัมพันธ์กัน ระดับนัยสำคัญ รศ.ธีระดา ภิญโญ

17 ขั้นตอน 1) ที่เมนูคำสั่งเลือก Analyze Correlate Bivariate
รศ.ธีระดา ภิญโญ

18 2) ที่ช่อง Variable เลือกคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ (a) และคะแนนภาษาอังกฤษ (b) ) ที่ Correlation Coefficient เลือก Spearman ) ที่ช่อง Test Significance เลือก Two-tailed ) เลือก Flag significant correlations 3) เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ตามต้องการแล้ว คลิกปุ่ม OK รศ.ธีระดา ภิญโญ

19 การตัดสินใจ เนื่องจากค่า Sig. (2-tailed) เท่ากับ 0
รศ.ธีระดา ภิญโญ

20 ตัวอย่างงานวิจัย การหาความสัมพันธ์ของตัวแปรไม่ว่าจะอยู่ในมาตรานามบัญญัติหรือมาตราเรียงลำดับ เป็นวิธีทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก และมักพบได้ในงานวิจัยทั่วๆไป ดังนี้ 1)ชื่องานวิจัย“ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าที่เคาน์เตอร์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาสมุทรสาคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพึงพอใจในการใช้บริการกับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าที่เคาน์เตอร์บริการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏผลดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพึงพอใจในการใช้บริการกับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าที่เคาน์เตอร์บริการ ดังตาราง รศ.ธีระดา ภิญโญ

21 จากตาราง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพึงพอใจในการใช้บริการกับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าที่เคาน์เตอร์บริการ โดยใช้การวิเคราะห์สถิติไคกำลังสอง พบว่าค่าsig เท่ากับ ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.05 นั่นคือยอมรับสมมุติฐานหลัก(H0) และปฏิเสธสมมุติฐานรอง (H1) หมายความว่าเหตุผลของการมาใช้บริการไม่มีความสัมพันธ์กับเพศของลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 รศ.ธีระดา ภิญโญ

22 สรุป การทดสอบไคกำลังสอง ( -test) เป็นสถิติที่ใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 ตัว โดยคำนวณจากผลต่างกำลังสองระหว่างความถี่ที่สังเกตได้ (O ) กับความถี่ที่คาดหวัง (E ) ส่วนการวัดระดับความความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 ตัว ถ้าตัวแปรทั้งสองตัวเป็นมาตรวัดแบบนามบัญญัติทั้งคู่ หรือตัวแปรหนึ่งมีมาตรวัดเป็นนามบัญญัติส่วนอีกตัวหนึ่งเป็นแบบเรียงลำดับ ในกรณีนี้สามารถวัดระดับความสัมพันธ์ได้ โดยใช้สถิติ 2 วิธี คือ contingency coefficient (c) และ cramer’v (v) แต่ถ้าตัวแปรเป็นมาตรวัดแบบเรียงลำดับทั้งคู่สามารถหาค่าระดับความสัมพันธ์จากค่า สัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมน: (spearman’s rank correlation coefficient) รศ.ธีระดา ภิญโญ

23 จบการสอน ข้อคำถาม / ข้อสงสัย


ดาวน์โหลด ppt การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google