งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP
9/20/2018

2 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP
TCP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol เป็นผู้ทำให้เกิดขบวนการ การส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ ส่วน lP คือ Internet Protocol ที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบ Internetworking ในปัจจุบันเราใช้หมายเลข IP Version 4 (IPv4) แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะนำหมายเลข IP Address Version 6 (IPv6) มาใช้ร่วมกับหมายเลขเก่าเพื่อให้เลขหมายเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ 9/20/2018

3 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet
อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายอิสระที่ไม่อยู่ภายในกำกับ หรือควบคุมโดยหน่วยงานใด เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ต่างตกลงเชื่อมโยงเข้าหากันและบริหารเครือข่ายของตนเองโดยอิสระแต่ในทางปฏิบัติแล้วการเชื่อมเข้าหากันได้ จำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่จัดการและประสานงานหลายด้าน เช่นการลงทะเบียนเครือข่าย การจัดแอดเดรสและบริการอื่น ๆ 9/20/2018

4 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet
ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์นิก (InterNIC : Internet Network Information Center) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการดังกล่าว รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันมีศูนย์ศูนย์สารสนเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อกระจายบริการได้อย่างทั่วถึง เช่น ในทวิปยุโรปมีศูนย์ RIPE (Reseaux IP Europeens) และในแถบเอเชีย-แปซิปิกมีศูนย์ (Asia Pacific Network Information Centre) 9/20/2018

5 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet
1) ISOC 2) IAB 3)IETF and IRTF 4) IANA and ICANN 9/20/2018

6 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไอซ็อก (ISOC)
สมาคมอินเตอร์เน็ต หรือ ไอซ็อก (ISOC : Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ เพื่อพัฒนาการใช้อินเตอร์เน็ต ไอซ็อกเป็นองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนให้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ไอซ็อกไม่ได้ทำหน้าที่ในด้านเทคนิคโดยตรงแต่มีคณะกรรมการไอเอสบีดูแลจัดการ 9/20/2018

7 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไอเอบี (IAB)
ไอเอบี (IAB : Internet Architecture Board) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ แต่เดิมนั้นใช้ชื่อว่า Internet Activities Board เมื่อไอซ็อกถือกำเนิดขึ้นก็ได้โอน ไอเอบีเข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด งานหลักของไอเอบี คือกำหนดมาตรฐานโพรโตคอลที่ซีพี/ไอพี ในระดับนโยบายโดยมีหน่วยงานย่อยรับผิดชอบการพัฒนาด้านเทคนิคได้แก่ IETF และ IRTF 9/20/2018

8 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไออีทีเอฟ และ ไออาทีเอฟ (IETF & IRTF)
ไออีทีเอฟ (IETF : Internet Engineering Task Force) ทำหน้าที่พัฒนาโพรโตคอลเพื่อการใช้งานในขณะปัจจุบัน ร่วมกันออกแบบและพัฒนาโพรโตคอลโดยแบ่งเป็นสาขา เช่น แอพลิเคชั่น ความปลอดภัย หรือการเลือกเส้นทางเป็นต้น แต่ละสาขาประกอบด้วยกลุ่มงาน (working groups) ส่วนไออาร์ทีเอฟ (IRTF: Internet Research Task Force) รับผิดชอบงานวิจัยในระยะยาวสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ตในอนาคต 9/20/2018

9 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไออีทีเอฟ และ ไออาทีเอฟ (IETF & IRTF)
ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟต่างมีคณะกรรมการทำหน้าที่อำนวยการเรียกว่า “steering group” ประจำอยู่แต่ละส่วนคือ ไออีเอสจี (IESG : Internet Engineering Steering Group) และไออาร์เอสจี (IRSG : Internet Research Steering Group) เอไอบีมอบหมายให้ดูแลการจัดทำ อาร์เอฟซีซึ่งเป็นเอกสารเชิงเทคนิคและข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโพรโตคอลและอินเตอร์เน็ต 9/20/2018

10 3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไอนาและไอแคน (IANA & ICANN)
ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ทำหน้าที่ในการจัดสรรแอดเดรส การกำหนดค่าพารามิเตอร์และทะเบียนหมายเลขประจำ แต่ละโพรโตคอล การบริหารโดเมนและ root name server ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งจะโอนงานบางส่วนไปให้ไอแคน (ICANN : The Internet Cooperation Assigned Names And Numbers) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งผลกำไร 9/20/2018

11 3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน
อาร์เอฟซี (RFC : Request For Comments) เป็นเอกสารที่อธิบายถึงกระบวนการจัดทำมาตรฐานในอินเตอร์เน็ต โพรโตคอลที่จะเป็นมาตรฐานจะผ่านขั้นตอนพิจารณาไปตามลำดับ จนได้รับการยกสถานะเป็นโพรโตคอลมาตรฐานเรียกว่า “Internet Standard” การพัฒนาชุดโพรโตคอลทีซีพี/ไอพี นั้นนับแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเสนอแนวความคิดในรูปของเอกสาร โดยมีคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณา 9/20/2018

12 3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน
9/20/2018

13 3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน
อินเตอร์เน็ตดราฟท์ (Internet Draft) ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในโฮมเพจของไออีทีเอฟ อินเตอร์เน็ตดราฟท์ที่ไม่ได้รับการพิจารณาภายใน 6 เดือน หรือเปลี่ยนไปเป็นอาร์เอฟซีแล้วจะถูกกำจัดออกไป อินเตอร์เน็ตดราฟท์ซึ่งเกี่ยวข้องกับโพรโตคอลและตีพิมพ์เป็นอาร์เอฟซีจะเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า “IAB Standard Track” 9/20/2018

14 3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน
Proposed Standard โพรโตคอลที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นว่ามีการแยกออกแบบมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเสถียรภาพ มีแนวโน้มที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย และสมควรที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดทำเป็นโพรโตคอลมาตรฐานต่อไป 9/20/2018

15 3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน
Draft Standard โพรโตคอลได้ผ่านการสร้างและทดลองใช้งานจากอย่างน้อยสองแหล่งที่แตกต่างเพื่อตรวจสอบการทำงานร่วมกัน โพรโตคอลในสถานะนี้มักมีข้อกำหนดที่สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วแต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเฉพาะจุดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือการใช้งานรูปแบบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง 9/20/2018

16 3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน
Internet Standard โพรโตคอลที่ใช้งานอย่างแพร่หลายและมีประโยชน์ในการใช้งานอย่างแท้จริง จะได้รับการยกสถานะเป็นโพรโตคอลมาตรฐานโดยได้รหัสหมายเลขประจำโพรโตคอล 9/20/2018

17 3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน
สถานะทดลองใช้งาน (Experimental) หมายถึงโพรโตคอลที่ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะเข้าสู่การพิจารณาจัดทำมาตรฐาน โพรโตคอลที่ยู่ในสถานะทดลองหรือโพรโตคอลมาตรฐานที่พ้นสมัยและไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้อีกต่อไปจะถูกปรัปไปสู่สถานะ “Historic” อาร์เอฟซีอื่นที่ไม่ได้อยู่ในข่ายการจัดทำโพรโตคอลจะอยู่ในสถานะ “Informational” อาร์เอฟซีในกลุ่มนี้มีทั้งเรื่องเชิงเทคนิคและข่าวสารทั่วไป 9/20/2018

18 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP แบบอ้างของทีซีพี/ไอพี (TCP/IP Reference Model ) ระบบการสื่อสารข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน การมองภาพของระบบโดยรวมทั้งหมดเป็นหน่วยใหญ่ย่อมยากต่อการทำความเข้าใจ การใช้แบบอ้างอิง ที่แบ่งระบบออกเป็นส่วนย่อยจะช่วยลดความซับซ้อนและสร้างความเข้าใจได้ง่ายกว่า 9/20/2018

19 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP แบบอ้างของทีซีพี/ไอพี (TCP/IP Reference Model ) 9/20/2018

20 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างชั้น (Layer Interface) โพรโตคอลในแต่ละชั้นล้วนมีหน้าที่เกี่ยวข้องในการส่งผ่านข้อมูลจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านจากโพรโตคอลระดับบนสุดจากสถานีต้นทางไปยังระดับล่างจนกระทั่งข้อมูลถูกแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแล้วเดินทางผ่านเครือข่ายไปยังสถานีปลายทาง โพรโตคอลระดับล่างสุดที่สถานีปลายทางจะรับสัญญาณและส่งผ่านขึ้นไปยังโพรโตคอลระดับบนต่อไป 9/20/2018

21 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างชั้น (Layer Interface) เมื่อข้อมูลผ่านแต่ละชั้น โพรโตคอลในชั้นนั้นจะผนวกข่าวสารกำกับการทำงานซึ่งเรียกว่า โพรโตคอลเฮดเดอร์ (Protocol Header) เข้ากับข้อมูลและจะถูกส่งผ่านไปยังระดับล่าง โพรโตคอลระดับล่างจะมองเฮดเดอร์ และตัวข้อมูลรวมเป็นเสมือนข้อมูลและเพิ่มเฮดเดอร์ประจำชั้นเข้าไป กระบวนการนี้เรียกว่า การเอ็นแคปซูเลต (Encapsulation) 9/20/2018

22 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างชั้น (Layer Interface) 9/20/2018

23 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP ทีซีพี/ไอพีประกอบด้วยโพรโตคอลย่อยจำนวนมาก โดยจะอ้างถึงเฉพาะโพรโตคอลที่สำคัญโดยสรุปดังนี้ 1) IP ) ICMP ) TCP 4) UDP ) SMTP ) FTP 7) TFTP ) TELNET 9) DNS 10) SNMP 11) HTTP 12) NNTP 13) HTTP ) BOOTP 15) DHCP 9/20/2018

24 1) ไอพี(IP : Internet Protocol)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 1) ไอพี(IP : Internet Protocol) ไอพีเป็นโพรโตคอลแกนของทีซีพี/ไอพี ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบของแอดเดรสประจำเครื่องเพื่อใช้ในการลำเลียงข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลือกเส้นทางส่งข้อมูลตลอดจนแบ่งขนาดข้อมูลให้เหมาะกับฮาร์ดแวร์ระดับล่าง 9/20/2018

25 2) ไอซีเอ็มพี (ICMP : Internet Control Massage Protocol )
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 2) ไอซีเอ็มพี (ICMP : Internet Control Massage Protocol ) ICMP คือโปรแกรม Ping ที่ไว้ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ในเครือข่ายยังทำงานอยู่หรือไม่ โดยโปรแกรม Ping จะส่ง Message ไปที่เครื่องที่ต้องการตรวจสอบแล้วรอรับ Message ตอบกลับมาภายในเวลาที่กำหนด หากไม่มีอะไรตอบกลับมาก็จะถือว่าไม่สามารถติดต่อกับเครื่องนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่นเครื่องไม่ได้เปิด หรือเครือข่ายมีปัญหา 9/20/2018

26 3) ทีซีพี (TCP : Transmission Control Protocol )
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 3) ทีซีพี (TCP : Transmission Control Protocol ) ทีซีพีทำหน้าที่นำส่งข้อมูลโดยรับประกันความเชื่อถือ ทีซีพีด้านส่งต้องส่งแพ็กเกจซ้ำใหม่หากแพ็กเกจสูญหาย ทีซีพี ด้านรับมีหน้าที่จัดแพ็กเกจให้ถูกต้องตามลำดับและกำจัดแพ็กเกจซ้ำซ้อน ทีซีพีเป็นโพรโตคอลแบบ “Connection Oriented” 9/20/2018

27 4) ยูดีพี (UDP : User Datagram Protocol)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 4) ยูดีพี (UDP : User Datagram Protocol) ยูดีพี ทำงานแบบ “Connectionless” เป็นโพรโตคอลระดับชั้นเดียวกับทีซีพีแต่ว่าไม่มีกลไกรับประกันความเชื่อถือในการขนถ่ายข้อมูล หากข้อมูลสูญหาย ซ้ำซ้อน หรือลำดับไม่ถูกต้อง ยูดีพีจะปล่อยให้โพรโตคอลที่เรียกใช้งานดำเนินการกับปัญหาเหล่านี้เอง ลักษณะเด่นของยูดีพี คือให้การประมวลผลต่ำกว่าทีซีพี เนื่องจากเฮดเดอร์มีขนาดเล็ก 9/20/2018

28 (SMTP : Simple Mail Transfer Protocol)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 5) เอสเอ็มทีพี (SMTP : Simple Mail Transfer Protocol) บริการพื้นฐานที่มีในทุกเครือข่ายได้แก่บริการไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ เอสเอ็มทีพีเป็นโพรโตคอลทำหน้าที่รับส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์ระหว่างโฮสต์ 9/20/2018

29 6) เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 6) เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) เอฟทีพีให้บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่อง เอฟทีพีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงโฮสต์และจำกัดขอบเขตการทำงานเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแฟ้มข้อมูลเช่น สำเนาแฟ้ม ลบแฟ้ม แก้ไขแฟ้ม หรือการสร้างไดเรกทอรี เป็นต้น 9/20/2018

30 8) เทลเน็ต (TELNET : Telecommunication Network)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 8) เทลเน็ต (TELNET : Telecommunication Network) เทลเน็ตเป็นโพรโตคอลสำหรับขอเข้าใช้งานแบบ รีโมตล็อกอิน (Remoth Login) เทลเน็ตให้บริการเข้าใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายโดยเสมือนกับว่ากำลังทำงานอยู่ที่เทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เทลเน็ตเซอร์ฟเวอร์ที่คอมพิวเตอร์ปลายทางจะรอรับการขอบริการจากเทลเน็ตไคลเอ็นต์ ผู้ขอใช้เทลเน็ตจะต้องมีปัญชีประจำเครื่องให้บริการเทลเน็ต 9/20/2018

31 9) ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 9) ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) ดีเอ็นเอสเป็นโพรโตคอลที่ให้บริการสอบถามไอพีแอดเดรสหรือโดเมน ก่อนการติดต่อไปยังโฮสต์ใด ๆ ชื่อโฮสต์จะถูกส่งไปสอบถามผ่านเซอร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ ดีเอนเอสเพื่อขอไอพีแอดเดรสกลับมา นอกจากนี้ยังให้บริการเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลประจำเครื่อง 9/20/2018

32 (HTTP : Network News Transfer Protocol)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 13) เอชทีทีพี (HTTP : Network News Transfer Protocol) เอชทีทีพีเป็นโพรโตคอลกำหนดการส่งข้อมูลระหว่างบราวเซอร์และเว็บเซอร์ฟเวอร์ในระบบเว็บและจัดเป็นโพรโตคอลหนึ่งที่ใช้แพร่หลายในอินเตอร์เน็ต 9/20/2018

33 14) บูตพี (BOOTP : Bootstrap Protocol)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 14) บูตพี (BOOTP : Bootstrap Protocol) ให้บริการบูตระบบสำหรับสถานีที่ไม่มีดิสก์ สถานีที่เป็นบูตพีไคลเอ็นต์จะติดต่อกับบูตพีเซอร์ฟเวอร์เพื่อขอถ่ายโอนระบบปฏิบัติการ 9/20/2018

34 (DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol)
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 15) ดีเอชซีพี (DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol) ดีเอชซีพีบริการติดตั้งค่าแบบไดนามิกให้โฮสต์ในเครือข่าย การทำงานของดีเอชซีพีเป็นแบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ดีเอชซีพีเซิร์ฟเวอร์จะให้ค่าแบบไม่ตายตัวกับไคลเอนต์ที่ขอบริการ เช่นการให้ไอพีแอดเดรส หรือค่าอื่นประจำไคลเอนต์ 9/20/2018

35 1) โปรเซสไคลเอ็นต์ ทำหน้าที่ขอบริการ
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP TCP / IP ในรูปแบบ Client Server โพรโตคอลในทีซีพี/ไอพี อาศัยหลักการทำงานตามแบบ ไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน 1) โปรเซสไคลเอ็นต์ ทำหน้าที่ขอบริการ 2) โปรเซสเซอร์เวอร ทำหน้าที่ให้บริการ 3)โพรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่างไคลเอนต์และ เซิร์ฟเวอร์ 9/20/2018

36 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP TCP / IP ในรูปแบบ Client Server ระบบปฏิบัติการที่ใช้ทีซีพี/ไอพี สามารถทำงานแบบผู้ใช้หลายคนและพร้อมกันหลายงาน แต่ละไคลเอ็นต์จึงอาจเป็นโปรเซสของผู้ใช้ต่างบุคคลที่ทำงานภายในเครื่องเดียวกันและขอบริการไปยังเซอร์ฟเวอร์ต่างเครื่อง หรือเครื่องเดียว์ก็ได้ 9/20/2018

37 3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3
3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP TCP / IP ในรูปแบบ Client Server ในขณะที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องตามแบบของทีซีพี/ไอพี สามารถทำหน้าที่เป็นไคลเอนต์เพื่อขอบริการจากเครื่องอื่น หรือทำหน้าที่เป็นเซอร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการเครื่องอื่นได้ 9/20/2018

38 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid
อุปกรณ์ที่เชื่อมเข้าเครือข่าย และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของทีซีพี/ไอพี จะต้องมีแอดเดรสประจำอุปกรณ์นั้น อุปกรณ์ที่กล่าวถึงนี้อาจเป็น โฮสต์ เราเตอร์ หรือ เครื่องพิมพ์ ไอพีรุ่นสี่กำหนดให้ใช้ไอพีแอดเดรสขนาด 32 บิต อุปกรณ์ที่เชื่อมกับอินเตอร์เน็ตจะมีไอพีแอดเดรสประจำ Interface ที่ไม่ซ้ำกัน 9/20/2018

39 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid
แอดเดรสขนาด 32 บิตมีเท่ากับ 232 = (4,294,967,296) แต่เมื่อนำมาจัดสรรแล้วจะไม่สามารถใช้งานได้ครบทั้งหมด ไอพีแอดเดรสนิยมเขียนในรูปเลขฐานสิบตามแบบ “Dotted Decimal” โดยแบ่งตัวเลข 32 บิตออกเป็น 4 ไบต์แทนด้วยเลขฐานสิบหนึ่งตัวและคั่นแต่ละไบต์ใช้ด้วยเครื่องหมายจุด เช่นแอดเดรส จะเขียนได้เป็น 9/20/2018

40 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid
แอดเดรสขนาด 32 บิต ประกอบขึ้นจากหมายเลขสองส่วนคือ เลขเครือข่าย (Network Number หรือ Network Identifier หรือ netid) และเลขโฮสต์ (Host Number หรือ host identifier หรือ hostid) เลขเครือข่ายใช้สำหรับจัดคลาสเครือข่าย ส่วนเลขโฮสต์ใช้ระบุหมายเลขโฮสต์ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ Interface ของโฮสต์) 9/20/2018

41 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid
32 bit Netid Hostid 9/20/2018

42 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid
ปัจจุบันฟิลด์กำหนดเลขเครือข่ายนิยมเรียกว่า พรีฟิกซ์เครือข่าย (Network-prefix) เพราะทุกโฮสต์ในเครือข่ายจะต้องมีพรีฟิกซ์หรือบิตนำหน้าเหมือนกัน ตัวอย่างเช่นหากมีเลขเครือข่ายจำนวน 16 บิตก็จะเรียกว่า พรีฟิกซ์ 16 เป็นต้น กล่าวคือ พรีฟิกซ์ก็คือ Netid นั่นเอง 9/20/2018

43 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid
การจัดแบ่งไอพีแอดเดรสออกเป็นสองส่วนที่ประกอบด้วยเลขเครือข่ายและเลขโฮสต์ก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลระบบ เราเตอร์จะอาศัยเลขเครือข่ายเพื่อเลือกเส้นทางส่งแพ็กเก็ตโดย โฮสต์ที่มีเลขเครือข่ายชุดเดียวกันก็จะส่งข้อมูลในเครือข่ายเดียวกันและสามารถสื่อสารถึงกันโดยใช้เฟรมดาต้าลิงค์โดยไม่ต้องพึ่งพาเราเตอร์ แต่ถ้ามีเลขเครือข่ายคนละชุดก็ต้องอาศัย Router เพื่อทำหน้าที่ในการส่งแพ็กเกจไปยังปลายทาง 9/20/2018

44 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid
9/20/2018

45 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย
Protocol TCP/IP เป็น Protocol สำหรับเครือข่ายแบบ internetwork ทุก Network ที่มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันจำเป็นต้องมี Netid ไม่ซ้ำกัน จึงต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดว่าองค์กรใดหรือบริษัทใดควรจะได้กลุ่มของ IP ประเภทใดไปใช้งาน ซึ่งเรียกว่า “Class” NIC ได้แบ่ง Class ของ IP Address ออกเป็น 5 Class ด้วยกันคือ A,B,C,D และ E 9/20/2018

46 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย
รูปที่ 3.9 9/20/2018

47 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย
จำนวนเครือข่ายในแต่ละคลาสและจำนวนโฮสต์สูงสุด สามารถคำควณได้จากจำนวนบิตที่ใช้งานตามสูตร 2n เมื่อ n คือจำนวนบิต ตัวอย่างเช่นในคลาส B มีเลขโฮสต์จำนวน 16 บิต จึงมีโฮสต์ได้ไม่เกิน 216 ซึ่งเท่ากับ 65,536 แต่เลขโฮสต์ที่ทุกบิตเป็น “0” และเป็น “1” จะสงวนไว้ใช้งานเฉพาะกรณี จำนวนโฮสต์จึงลดลงไป 2 โฮสต์ทุกเครือข่าย หรือมีโฮสต์ได้ไม่เกิน = 65,534 นั่นเอง 9/20/2018

48 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class A)
เครือข่ายในคลาส A มีบิตซ้ายสุดเป็น 0 และใช้ 7 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่ายส่วนอีก 24 เป็นเลขโฮสต์ คลาส A จึงมีเลขเครือข่ายได้ 27 หรือ 128 ค่า แต่เครือข่าย กำหนดเส้นทางโดยปริยาย (Default Route) ส่วน เป็นแอดเดรส ลูปแบ็ค จำนวนเครือข่ายที่สังกัดในคลาส A จึงมีได้ 126 เครือข่าย คือเลขที่ขึ้นต้นด้วย ถึง 9/20/2018

49 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class A)
Bit ที่ 1-8 จะเป็น Network Address (netid) โดยที่ Bit ที่ 1 ต้องเป็นเลข “0” Class A จะมี Network ได้ 27 =128 วง 1 วงจะมี Host ได้ 224 ตัว Bit ที่ 9-32 จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address = Netid 10, Hostid 0.0.0 ดังนั้น Class A จะมี Netid ตั้งแต่ 0-127 9/20/2018

50 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class A)
เครือข่ายในคลาส A จะมีแอดเดรสได้ 224– 2 = 16,777,214 คือตั้งแต่ ถึง เครือข่ายในคลาส A ใช้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องแอดเดรสเป็นจำนวนมาก เครือข่ายคลาสนี้จัดสรรให้กับหน่วยงานในยุคแรกเริ่มของอินเตอร์เน็ต แอดเดรสเครือข่ายที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่จะสงวนไว้ ตัวอย่างเช่น ibm.com hp.com 9/20/2018

51 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class B)
เครือข่ายในคลาส B มีบิตแรกเริ่มเป็น 10 และใช้ 14 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่ายจำนวนบิตที่กำหนดเลขโฮสต์มีขนาด 16 บิต คลาส B จึงมีสมาชิกเครือข่ายได้ 214 –2 หรือ 16,382 คือตั้งแต่ ถึง แต่ละเครือข่ายมีเลขโฮสต์ได้ 216– 2 = 65,354 แอดเดรส หรือตั้งแต่ 0.1 ถึง 9/20/2018

52 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class B)
Bit ที่ 1-16 จะเป็น Network Address (Netid) โดยที่ Bit ที่ 1-2 ต้องเป็นเลข “10” Class B จะมี Network ได้ 214 วง ใน1 วงจะมี Host ได้ 216 ตัว Bit ที่ จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address = Netid 128.3, Hostid 2.3 ดังนั้น Class B จะมี Netid ตั้งแต่ 9/20/2018

53 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class B)
เครือข่ายในคลาส B มักจัดสรรให้กับหน่วยงานขนาดกลาง ในปัจจุบันทีเครือข่ายในคลาส B เหลือไม่มากนัก และมักไม่จัดสรรเครือข่ายในคลาสนี้ให้กับผู้ขอจดทะเบียนรายใหม่ หากไม่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น usu.edu tu-berlin.de 9/20/2018

54 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class C)
เครือข่ายในคลาส C มี พรีฟิกซ์ 110 และใช้ 21 บิตถัดมาเป็นเลขเครือข่าย จำนวนบิตที่เป็นเลขโฮสต์มีเพียง 8 บิต คลาส C จึงมีเลขเครือข่ายได้ตั้งแต่ ถึง รวม 2,097,150 เครือข่าย แต่ละเครือข่ายมีเลขโฮสต์ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 254 9/20/2018

55 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class C)
Bit ที่ 1-24 จะเป็น Network Address (Netid) โดยที่ Bit ที่ 1-3 ต้องเป็นเลข “110” Class B จะมีNetwork ได้ 221 วง ใน1วงจะมี Host ได้ 28 ตัว Bit ที่ จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address = Netid , Hostid 255 ดังนั้น Class C จะมี Netid ตั้งแต่ 129 เป็นต้นไป 9/20/2018

56 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class C)
isoc.org whitehouse.gov 9/20/2018

57 3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class D & E)
เครือข่ายในคลาส D และ E ไม่มีการจัดแบ่งเลขเครือข่ายและเลขโฮสต์ คลาส D โดยมี 3 บิตแรกเป็น 111 จึงมีแอดเดรสตั้งแต่ ถึง แอดเดรสในคลาสนี้เรียกว่า มัลติคาสต์แอดเดรส (Multicast Address) สำหรับคลาส E มีแอดเดรสจาก ถึง ซึ่งสำรองไว้เพื่อความจำเป็นเฉพาะงานในอนาคต 9/20/2018

58 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet)
เครือข่ายที่สังกัดในคลาส A และ B เป็นเครือข่ายที่มีจำนวนโฮสต์ได้เป็นจำนวนมาก คือ 16,777,214 และ 65,534 ตามลำดับ ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถเชื่อมต่อโฮสต์ได้ทั้งหมดในเครือข่ายเดี่ยวเพราะข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ จึงต้องจัดแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ให้เล็กลงไปเป็นเครือข่ายย่อย หรือ ซับเน็ต (Subnet) การแบ่งซับเน็ต ซึ่งจะจัดจำนวนโฮสต์ให้เหมาะสมกับฮาร์แวร์ของเครือข่ายและง่ายในการบริหารเครือข่าย 9/20/2018

59 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet)
การจัดซับเน็ต [RFC 950] ใช้วิธีแบ่งบางส่วนของเลขโฮสต์มาใช้เป็น เลขซับเน็ต (Subnetid) เพื่อช่วยกำหนดว่าเป็นเครือข่ายย่อยที่เท่าใด ตัวอย่างเช่นเครือข่าย ซึ่งอยู่ในคลาส B อาจใช้ 8 บิตแรกของโฮสต์เป็นเลขซับเน็ต และ 8 บิตที่เหลือใช้สำหรับเลขโฮสต์ 9/20/2018

60 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet)
16 bit bit bit Subnetid Hostid 9/20/2018

61 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet)
จำนวนบิตของเลขซับเน็ตเป็นตัวกำหนดจำนวนเครือข่ายย่อย ซับเน็ตขนาด 8 บิต สำหรับเครือข่าย จะมี 254 ซับเน็ต (2subnetid -2) แต่ละซับเน็ตมี 254 โฮสต์ (2hostid -2) เลขซับเน็ต ที่ทุกบิตเป็น “1” และ ”0” จะสงวนไว้ใช้งานเฉพาะ ดังนั้นซับเน็ต และ จึงนำมาใช้ไม่ได้ 9/20/2018

62 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask
เมื่อเลือกขนาดซับเน็ตแล้วจะกำหนดพารามิเตอร์เพื่อใช้บอกให้โฮสต์และเราเตอร์ทราบว่าซับเน็ตที่ใช้งานมีขนาดกี่บิต ค่านี้เรียกว่า ซับเน็ตมารสค์ (Subnet mask) ซึ่งตัวเลข 32 บิต ซึ่งเขียนอยู่ในรูป Dotted-Decimal เช่นเดียวกับการเขียนไอพีแอดเดรส จะมีบิตที่ตรงกับเครือข่ายและเลขซับเน็ตเท่ากับ “1” ส่วนบิตที่ตรงกับกับเลขโฮสต์มีค่าเท่ากับ “0” การเลือกซับเน็ตมาสค์ควรใช้ค่าที่มีบิต “1” อยู่ติดกันจากทางซ้ายมือไปทางขวามือเสมอ 9/20/2018

63 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask
เช่นเครือข่าย ซึ่งแบ่งให้มีเลขซับเน็ตและเลขโฮสต์อย่างละ 8 บิตจะมีค่าซับเน็ตมาสค์เท่ากับ ค่านี้คำนวณได้จากการเขียนไอพีแอดเดรสทั้งสี่หลัก และใส่เลขฐานสองค่า “1” ให้ครบทุกบิตที่เป็นเลขเครือข่ายและเลขซับเน็ต จากนั้นได้ใส่ค่า “0” สำหรับเลขโฮสต์ แล้วจึงแปลงเลขฐานสองที่ได้เป็นเลขฐานสิบ 9/20/2018

64 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask
Subnetid Hostid 9/20/2018

65 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask
เครือข่าย ซึ่งใช้ซับเน็ตมาสค์เท่ากับ เรียกว่ามีซับเน็ตมาสค์ 24 บิต เนื่องจากมีบิตที่มีค่า “1” จำนวน 24 บิต หรือเขียนตามรูปแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ /24 โดยเรียกว่าเครือข่าย มีพรีฟิกซ์ (Prefix) 24 บิต สังเกตว่า /24 ใช้เลขซับเน็ตจำนวน 8 บิต ดังนั้นนอกจากจะเรียกว่ามีพรีฟิกซ์ 24 บิตแล้ว ยังเรียกได้อีกว่าใช้ซับเน็ตบิตจำนวน 8 บิต 9/20/2018

66 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 1
ถ้าใช้ IP โดยต้องการใช้เครือข่ายย่อยจำนวน 50 เครือข่าย อยากทราบว่า 1) IP ที่ใช้งาน อยู่ใน Class ใด 2) ต้องใช้ Subnet จำนวนกี่บิต 3) จะต้องแบ่งออกเป็นกี่ Subnet 4) จำนวนเครื่องที่ใช้งานจริงต่อ 1 Subnet 5) SubNet Mask ฐาน 2 และ ฐาน 10 6) เขียน IP ในรูป Prefix 9/20/2018

67 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 2
หากใช้หมายเลข IP / 28 อยากทราบว่า 1) IP ดังกล่าวอยู่ใน Class ใด 2) มีกี่ SubNet 3) SubNet ละกี่เครื่อง 4) SubNet Mask มีค่าเป็นอะไร 9/20/2018

68 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer 1
1) IP ที่ใช้งาน อยู่ใน Class B 2) ต้องใช้ SubNet 6 บิต 3) จะต้องแบ่งออกเป็นกี่ 62 SubNet 4) เครื่องที่ใช้งานจริงต่อ 1 SubNet = 1022 เครื่อง 5) SubNet Mask ฐาน 2 และ ฐาน 10 6) เขียน IP ในรูป Prefix / 22 9/20/2018

69 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer 2
1) IP ดังกล่าวอยู่ใน Class C 2) มี SubNet 14 SubNet 3) SubNet ละ 14 เครื่อง 4) SubNet Mask มีค่าเป็น 9/20/2018

70 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 Default SubNet Mask
การติดตั้งโฮสต์เข้าเครือข่ายนอกจากจะต้องกำหนดไอพีแอดเดรสแล้วต้องกำหนดค่าซับเน็ตมาสค์ตามที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้ด้วย ถึงแม้ว่าในบางเครือข่าย เช่นเครือข่ายในคลาส C ซึ่งมีโฮสต์ได้ 254 โฮสต์และไม่ได้แบ่งให้มีซับเน็ต ขั้นตอนการติดตั้งโฮสต์ยังจำเป็นต้องใส่ค่าซับเน็ตมาสค์เช่นกัน แต่ค่าซับเน็ตมาสค์นี้เรียกว่า ดีฟอลต์ซับเน็ตมาสค์ (Default Subnet Mask) 9/20/2018

71 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 Default SubNet Mask
Class Default SubNet Default SubNetMask (Bin) Mask A B C 9/20/2018

72 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 การเลือกเส้นทางใน SubNet
ซับเน็ตมาสค์นอกจากจะช่วยจัดแบ่งเครือข่ายย่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ในการเลือกเส้นทางส่งไอพีเดต้าแกรมระหว่างเครือข่ายย่อยด้วย เช่นโฮสต์ ในเครือข่าย /24 ต้องการส่งข้อมูลไปยังโฮสต์ โพรโตคอลไอพีจะทำหน้าที่เลือกเส้นทางโดยนำแอดเดรส และ มาผ่านลอจิก “AND” บิตต่อบิตกับค่าซับเน็ตมาสค์ 9/20/2018

73 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 การเลือกเส้นทางใน SubNet
9/20/2018

74 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 Default SubNet Mask
การใช้ลอจิก “AND” เป็นการใช้ซับเน็ตมาสค์เพื่อ “มาสค์” ให้ได้เฉพาะเลขเครือข่าย ค่าซับเน็ตมาสค์จึงเป็นเสมือนหน้ากาก ครอบเอาเลขเครือข่ายออกมา ในกรณีที่โฮสต์ปลายทางอยู่ต่างเครือข่ายกับโฮสต์ปลายทางคือ จะสรุปว่า อยู่ต่างซับเน็ต และจะส่งแพ็กเกจไปยังเราเตอร์เพื่อให้เราเตอร์นำส่งแพ็กเกจต่อไป 9/20/2018

75 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet
9/20/2018

76 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet
การแบ่งให้มีซับเน็ตมากต้องใช้ Interface มากขึ้นดังอย่างเช่นแอดเดรส ในเครือข่ายคลาส C ที่ไม่มีซับเน็ต หือมีเครือข่ายเดียวสามารถเลือกเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันด้วยฮับหรือสวิตช์ 9/20/2018

77 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet
หากใน Network มี 2 ซับเน็ตจำเป็นต้องใช้ Interface ของเราเตอร์อย่างน้อย 2 Interface 9/20/2018

78 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet
สำหรับกรณีที่แบ่งออกเป็น 6 ซับเน็ตก็ต้องมีอย่างน้อย 6 Interface 9/20/2018

79 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 3
อยากทราบว่า IP ในกลุ่ม / 28 ได้แก่ และ อยู่ใน SubNet เดียวกันหรือไม่โดยใช้หลักการเลือกเส้นทางของ Subnet 9/20/2018

80 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer
IP ในกลุ่ม / 28 อยู่ใน Class C ซึ่งมี SubNet Mask คือ 9/20/2018

81 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer
ดังนั้น นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ = 9/20/2018

82 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer
ดังนั้น นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ = 9/20/2018

83 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer
ดังนั้น นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ = 9/20/2018

84 3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer
ดังนั้น สรุปได้ว่า และ อยู่ใน SubNet เดียวกัน เนื่องจากผล AND จาก SubNet Mask ได้ค่าตรงกัน แต่หมายเลข อยู่ต่าง SubNet 9/20/2018

85 3.6 การเลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับชั้นที่ 3 หรือระดับเน็ตเวิร์ก ของแบบจำลอง ทีซีพี/ไอพี ซอฟต์แวร์ไอพีที่อยู่ในโฮสต์หรือเราเตอร์จะนำส่งเดต้าแกรม ไปตามเส้นทางโดยอาศัยเลขเครือข่ายของไอพีแอดเดรสตามแต่ละคลาส 9/20/2018

86 3.6 การเลือกเส้นทาง - สถานีส่งต้องรู้ถึงวิธีการนำเดต้าแกรมให้เราเตอร์
กระบวนการเลือกหาเส้นทางจะเกิดขึ้นทั้งที่สถานีและที่เราเตอร์ดังนี้คือ - สถานีส่งต้องรู้ถึงวิธีการนำเดต้าแกรมให้เราเตอร์ - เราเตอร์ต้องรู้เส้นทางเชื่อมโยงไปยังเราเตอร์ตัวอื่น เพื่อส่งเดต้าแกรมไปตามเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด - เราเตอร์ที่เชื่อมกับเครือข่ายของสถานีปลายทางจะ ต้องรู้ถึงวิธีส่งเดต้าแกรมไปยังสถานีปลายทาง 9/20/2018

87 3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง
3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง สถานีต้นทางจะใช้วิธีเปรียบเทียบเลขเครือข่ายของแอดเดรสปลายทางกับค่าซับเน็ตมาสค์ก่อน หากได้เลขเครือข่ายเหมือนกัน แสดงว่าสถานีปลายทางอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน สถานีต้นทางจะใช้เออาร์พีสอบถามฮาร์ดแวร์แอดเดรส และบรรจุฮาร์แวร์แอดเดรสเข้าสู่เฟรมดาต้าลิงค์เพื่อส่งตรงไปยังสถานีปลายทาง 9/20/2018

88 3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง
3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง ถ้าเลขเครือข่ายมีค่าต่างกัน แสดงว่าสถานีปลายทางอยู่ต่างเครือข่ายกัน สถานีส่งก็จะส่งเฟรมไปให้เราเตอร์เพื่อให้เราเตอร์นำส่งต่อไป เมื่อเราเตอร์ได้รับเฟรมนี้ก็จะส่งต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง ไอพีแอดเดรสต้นทางและปลายทางในไอพีเดต้าแกรม จะไม่เปลี่ยนแปลงค่าระหว่างการลำเลียง แต่ฮาร์แวร์แอดเดรสจะเปลี่ยนแปลงไปตามเครือข่าย 9/20/2018

89 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.1 ตารางเส้นทาง (Routing Table)
9/20/2018

90 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.1 ตารางเส้นทาง (Routing Table)
แอดเดรสที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางออกไปสู่เครือข่ายอื่นที่ไม่ได้ระบุในตารางเส้นทางเรียกว่า ดีฟอลต์เกตเวย์ (Default Gateway) หรือ ดีฟอลต์เราเตอร์ (Default Router) ซึ่งแทนด้วแอดเดรส ไอพีเลือกเส้นทางโดยตรวจสอบว่าแอดเดรสปลายทางตรงกับรายการใดในตาราง แล้วส่งเดต้าแกรมไปยังเกตเวย์ของรายการนั้น หากไม่พบรายการใดในตารางก็จะส่งไปยังดีฟอลต์เกตเวย์ 9/20/2018

91 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.1 ตารางเส้นทาง (Routing Table)
สำหรับ NOS โดยทั่วไปสามารถตรวจสอบตารางเส้นทางและ default Gateway ได้ เช่น ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ สามารถตรวจเส้นทางประจำ host ด้วยคำสั่ง netstat -rn เป็นต้น 9/20/2018

92 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2 ประเภทการเลือกเส้นทาง
เมื่อเดต้าแกรมเดินทางออกนอกเครือข่าย ซึ่งอาจต้องผ่านเราเตอร์จำนวนมากโดยมีเส้นทางลำเลียงได้หลายเส้นทาง ปัญหาสำคัญคือ เราเตอร์จะทราบได้อย่างไรว่ามีเส้นทางใดบ้างและเส้นทางใดที่เหมาะสมที่สุด โดยที่เราเตอร์จำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการส่งเดต้าแกรมได้อย่างถูกต้องโดยที่ข้อมูลดังกล่าวจะเรียกว่า “ตารางเส้นทาง” 9/20/2018

93 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2 ประเภทการเลือกเส้นทาง
ตารางเลือกเส้นทาง ต้องสร้างขึ้นโดยอาศัยวิธีการที่ใช้อยู่โดยทั่วไป 2 วิธีคือ 1) การเลือกเส้นทางแบบสเตติก (Static Routing) 2) การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก (Dynamic Routing) 9/20/2018

94 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก
การเลือกเส้นทางแบบนี้ผู้ดูแลระบบเป็นผู้พิจารณาและคำนวณหาเส้นทางทั้งหมดที่ต้องกำหนดให้เราเตอร์ทุกตัวในเครือข่ายที่ดูแลอยู่ และป้อนตารางเส้นทางให้กับเราเตอร์ตารางเลือกเส้นทางจะมีค่าตายตัวไปตลอดจนกว่าผู้ดูและระบบจะเปลี่ยนแปลงใหม่ 9/20/2018

95 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก
ข้อดีของการเลือกเส้นทางแบบสเตติก - สะดวกต่อการใช้งานกับเครือข่ายขนาดเล็ก - ไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เลือกเส้นทาง เราเตอร์ไม่จำเป็น ต้องมีซีพียู ที่มีประสิทธิภาพสูง - ประหยัดแบนด์วิดธ์ของเครือข่ายเนื่องจากไม่ต้อง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเราเตอร์ 9/20/2018

96 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก
9/20/2018

97 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก
การเลือกเส้นทางแบบสเตติกนิยมใช้กับการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดระหว่างเราเตอร์สองตัว ตัวอย่างเช่นเครือข่ายที่มีทางออกไปสู่ภายนอกหรืออินเตอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียว การกำหนดเส้นทาง จะเป็นแบบสเตติก 9/20/2018

98 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก
ข้อเสียของการเลือกเส้นทางแบบสเตติก - ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่ การคำนวณและ ป้อนค่าเข้าสู่เราเตอร์โดยตรงเป็นสิ่งที่เกินวิสัย - ไม่สะดวกต่อการเปลี่ยนโทโปโลยี เพราะต้องคำนวณและป้อนเส้นทางใหม่ - ตารางเส้นทางคงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเองได้ หากเส้นทางใดถูกตัวขาด ผู้ดูแลระบบต้องคอยตรวจสอบและแก้ปัญหาเอง 9/20/2018

99 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก
การเลือกเส้นทางแบบนี้ใช้ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลการเลือกเส้นทางระหว่างเราเตอร์ด้วยกันโดยใช้ โพรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) เราเตอร์จะสร้างตารางเลือกเส้นทางจากสภาพเครือข่ายขณะนั้น หากเครือข่ายเปลี่ยนแปลงไป ตารางเลือกเส้นทางจะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งลักษณะการทำงานแบบนี้จะต้องใช้ CPU ในเราเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโพรโตคอลช่วยสร้างเส้นทาง 9/20/2018

100 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก
ข้อดีของการเลือกเส้นทางแบบไดนามิก คือ - รองรับขนาดเครือข่ายที่ขยายขึ้น - ตารางเส้นทางเปลี่ยนแปลงค่าเองตามการ ทำงานของซอฟต์แวร์ เส้นทางใดที่ถูกตัดขาดจะมีการหาเส้นทางใหม่ทดแทน 9/20/2018

101 3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก
โพรโตคอลเลือกเส้นทางแบบไดนามิก สามารถจัดแยกประเภทได้หลายรูปแบบในที่นี้จะกล่าวเพียงสองรูปแบบเท่านั้นคือ 1) โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกและเกตเวย์ภายใน 2) โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์และลิงค์สเทต 9/20/2018

102 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกและภายใน
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกและภายใน โพรโตคอลในชุดนี้จะมองในแง่ของโพรโตคอลในการสื่อสารจริง ซึ่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน (interior gateway protocol) โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก (exterior gateway protocol) 9/20/2018

103 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน โพรโตคอลเกตเวย์ภายในเป็นโพรโตคอลที่ออกแบบเพื่อใช้งานในระบบออโตโนมัสหนึ่ง ๆ เช่น อาร์ไอพี (RIP : Routing Information Protocol) และ โอเอสพีเอฟ (OSPF : Open Shortest Path First) โพรโตคอลทั้งสองนี้เป็นที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานสากลและใช้งานอย่างแพร่หลายในเครือข่ายทั่วไป 9/20/2018

104 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกมีหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางระหว่างเครือข่ายที่มีการบริหารงานเป็นอิสระออกจากกัน เช่นระหว่างผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต่างรายกัน แต่ละเครือข่ายที่มีการบริหารเป็นอิสระจะเรียกว่า ระบบออโตโนมัส (autonomous system) 9/20/2018

105 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก ระบบออโตโนมัส (autonomous system) แต่ละระบบออโตโนมัสมีหมายเลขประจำของตนเองเรียกว่า เลขระบบอัตโนมัติ (Autonomous System Number : ASN) หมายเลขนี้ขอได้จากหน่วยงานนิกประจำภูมิภาค เลขระบบออโตโนมัติเป็นค่าที่ระบุว่าข้อมูลเส้นทางที่แลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายนั้นมาจากที่ใด 9/20/2018

106 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก อินเตอร์เน็ตในยุคแรกใช้โพรโตคอล อีจีพี (EGP : Exterior Gateway Protocol) เป็นโพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก แต่ในปัจจุบันโพรโตคอลที่นิยมใช้ระหว่างเครือข่ายก็คือ บีจีพี (BGP : Border Gateway Protocol) และนำมาใช้งานแทนบีจีพี-4(BGP-4) 9/20/2018

107 3.6 การเลือกเส้นทาง Cisco Protocol
โพรโตคอลเฉพาะที่ออกแบบโดยบริษัทซิสโก้คือ อีไอจีอาร์พี (EIGRP : Enhanced Interior Gateway Routing Protocol) เป็นอีกโพรโตคอลหนึ่งที่นิยมใช้ความแพร่หลายของเราเตอร์ของซิสโก้ หลักการในการคำนวณหาเส้นทางว่าเส้นทางใดเหมาะสมที่สุดมักจะใช้หลักการของ เมตริก เข้ามาช่วย 9/20/2018

108 3.6 การเลือกเส้นทาง Metric
เมตริก (metric) เป็นค่าที่นำมาใช้คำนวณหาว่าเส้นทางใดเหมาะต่อการใช้งานมากกว่าเส้นทางอื่น ค่าเมตริกที่ใช้อาจเป็นได้ทั้ง ระยะทาง เวลาหน่วง ความน่าเชื่อถือ หรือความเร็ว โพรโตคอลที่ไม่สลับซับซ้อนอาจจะเลือกใช้เมตริกเพียงประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่นอาจใช้เฉพาะระยะทางซึ่งนับจากจำนวนเราเตอร์ที่ต้องส่งผ่านหรือเรียกว่า จำนวนขั้น (hop count) 9/20/2018

109 3.6 การเลือกเส้นทาง Hop Count
9/20/2018

110 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ และ ลิงค์สเทต
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ และ ลิงค์สเทต การเลือกเส้นทางด้วยวิธีนี้จะมองที่ Algorithm ในการหาเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะใช้งานอยู่ 2 ประเภทคือ - ดิสแทนซ์เวกเตอร์ (Distance Vector) - ลิงค์สเทต (Link State) 9/20/2018

111 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ การทำงานพื้นฐานของโพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์จะส่งข้อมูลเลือกเส้นทาง ประกอบด้วยเราเตอร์ที่อยู่ข้างเคียงทุกกตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นช่วงเวลา ข้อมูลเลือกเส้นทาง ข้อมูลเลือกเส้นทางประกอบด้วยตารางเลือกเส้นทางของตนเองทั้งหมดที่กำกับด้วยเมตริก เราเตอร์แต่ละตัว จะใช้ตารางเส้นทางของตนเองร่วมกับตารางเส้นทางที่ได้รับมาใหม่เพื่อคำนวณหาระยะทางที่สั้นที่สุด 9/20/2018

112 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่อาร์ไอพี ค่าเมตริกที่ใช้คือจำนวนขั้น อาร์ไอพีถือว่าเส้นทางที่ดีกว่าคือเส้นทางที่มีจำนวนขั้นน้อยกว่า 9/20/2018

113 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลลิงค์สเทต
3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลลิงค์สเทต โพรโตคอลลิงค์สเทตไม่ได้แลกเปลี่ยนตารางเส้นทางโดยตรงเหมือนกับที่ใช้ในดิกส์แทนซ์เวกเตอร์ หากแต่เราเตอร์แต่ละตัวจะตรวจสอบ สถานะลิงค์ (link state) ที่เชื่อมไปยังเราเตอร์ข้างเคียงว่าใช้งานได้หรือไม่พร้อมกับค่าเมตริกซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นความเร็วของสายสื่อสาร โพรโตคอลลิงสเทตที่นิยมใช้คือโอเอสพีเอฟ 9/20/2018

114 3.6 การเลือกเส้นทาง สรุป การสื่อสารด้วยโพรโตคอลภายใน(IGP) จะใช้โพรโตคอลที่ชื่อ RIP และ OSPF หลักการทาง Algorithm ของ RIP จะใช้แบบ Distance Vector ส่วน OSPF จะใช้แบบ Link State ส่วนการสื่อสารด้วยโพรโตคอลภายนอก(EGP) จะใช้โพรโตคอลชื่อ BGP มาร่วมทำงานโดยอาศัย Autonomous System Number (ASN) 9/20/2018

115 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน (RIP)
- เป็น Routing Protocol ที่ใช้ Algorithm แบบ Distance Vector - อุปกรณ์แต่ละตัว จะส่ง Routing Table ของตัวเองให้กับอุปกณณ์ข้างเคียงและจะนำมาปรับปรุง Routing Table ของตนเอง - เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก - จำนวน hop สูงสุดได้ไม่เกิน 15 hops 9/20/2018

116 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน (OSPF)
- เป็น Routing Protocol ที่ใช้ Algorithm แบบ Link State - อุปกรณ์แต่ละตัว จะส่งจำนวนและสถานะของ Link ไปให้กับอุปกรณ์ข้างเคียงและจะนำมาสร้างแผนที่ของเครือข่าย - ใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ดี - รองรับการคำนวณแบบ Metric 9/20/2018

117 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก (BGP)
- เป็น Routing Protocol ที่ใช้หมายเลข ASN - จะแลกเปลียนของมูลกันระหว่าง AS - ใช้แนวความคิดแบบ Path Vector - ใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ดี - ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้ BGP เวอร์ชั่น 4 9/20/2018


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google