ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 5 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
ชีววิทยา เล่ม 1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อหาสาระ บทที่ 5 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ 5.1 การสืบพันธุ์ 5.1.1 การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 5.1.2 การสืบพันธุ์ของสัตว์ 5.1.3 การสืบพันธุ์ของคน 5.2 การเจริญเติบโตของสัตว์ 5.2.1 การเจริญเติบโตของไก่ 5.2.2 การเจริญเติบโตของคน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
บทที่ 5 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
4
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
5.1 การสืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตแตกต่างจากสิ่งไม่มีชีวิตคือ มีความสามารถในการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตใหม่จากสิ่งมีชีวิตเดิม ซึ่งเป็นสมบัติสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงพันธ์ให้คงไว้ได้ การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันออกไป สามารถศึกษาได้ดังต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
5
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
5.1.1 การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแบ่งแยกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน (binary fission)เช่น อะมีบา พารามีเซียม บางชนิดสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ (budding) เช่น ยีสต์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
6
1. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission)
เกิด ขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น - การแบ่งตัวของอะมีบา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2. การแตกหน่อ (Budding) เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
8
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
5.1.1 การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวแบบคล้ายอาศัยเพศ บางครั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวก็มีพฤติกรรมการสืบพันธุ์คล้ายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น -พารามีเซียม เซลล์มี 2 นิวเคลียส คือ ไมโครนิวเคลียส(micronucleus) และ แมโครนิวเคลียส (macronucleus) พารามีเซียม 2 เซลล์จะเกิดการจับคู่กัน(conjugation) เพื่อแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมจากนั้นจงแยกกันและแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนตามปกติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
9
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
5.1.2 การสืบพันธุ์ของสัตว์ การ สืบพันธุ์ของสัตว์มีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศพบในสัตว์ที่มีร่างกายไม่ซับซ้อนและมีความสามารถในการงอกใหม่ เช่น พลานาเรีย ดาวทะเล สัตว์พวกนี้สามารถสืบพันธุ์ด้วยวิธีการงอกใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นโดยส่วนของร่างกายที่ขาดออกไปหรือสูญเสียไปด้วยสาเหตุใดก็ตาม ก็สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวใหม่ได้ทำให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น สัตว์หลายชนิด เช่นฟองน้ำและไฮดราสามารถสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่จากเซลล์ และกลุ่มเซลล์ของเดิม เรียกว่าการแตกหน่อซึ่งจะเจริญจนกระทั่งได้เป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่เหมือนเดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า ต่อมาหน่อจะหลุดออกมาจากตัวเดิมและเจริญเติบโตต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10
5.1.2 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดจากการปฏิสนธิ (Fertilization) ของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรืออสุจิกับ เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือเซลล์ไข่อาจจะเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายของสัตว์ เพศเมียก็ได้โดยเซลล์ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วเรียกว่าไซโกต จะเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอและตัวเต็มวัยที่สามารถสืบพันธุ์เพิ่มจำนวน ประชากรต่อไปได้สัตว์ส่วนใหญ่มีอวัยวะเพศแยกกันอยู่คนละตัวเป็นสัตว์เพศผู้ และเพศเมียแต่บางชนิดจะมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกันเรียกว่า กะเทย (Hermaphrodite) เช่น - ไฮดรา - พลานาเรีย - ไส้เดือนดิน เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
11
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา
ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัว อื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะ หลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
12
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพลานาเรีย
พลานาเรีย เป็นสัตว์ที่มีอวัยวะเพศทั้งสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน แต่การปฏิสนธิจะเป็นการผสมข้ามตัวโดยพลานาเรียจะจับคู่แล้วแลกเปลี่ยนอสุจิกัน อสุจิจะเคลื่อนไปตามท่อนำไข่แล้วเกิดปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ในท่อนำไข่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
14
การสืบพันธุ์แบบมีสองเพศในตัวเดียวกันของไส้เดือน
ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศ อยู่ในตัวเดียวกัน คือมีทั้งรังไข่และอัณฑะอยู่ในตัวเดียวกัน โดยทั่วไปจะไม่ผสมในตัวเองเนื่องจากตำแหน่งของอวัยวะเพศไม่สัมพันธ์ และมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน ไส้เดือนดินจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน และเกิดการปฏิสนธิแบบข้ามตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
15
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของแมลง แมลงเป็นสัตว์แยกเพศ มีการปฏิสนธิภายใน เมื่อมีการผสมกัน แมลงเพศผู้จะหลั่งอสุจิออกทาง องคชาตเข้าสู่ระบบสืบพันธุ์ของเพศเมีย อสุจิจะผ่านช่องคลอดของเพศเมียไปผสมกับเซลล์ไข่ ที่ผลิตจากรังไข่ตรงบริเวณท่อนำไข่นอกจากนี้แมลงเพศเมีย บางชนิดมีสเปอร์มาทีกาเพื่อเก็บสะสมอสุจิไว้ผสมกับเซลล์ไข่ด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
16
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของแมลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
17
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของแมลง พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) เป็น การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิใน สภาวะปกติไข่ของสัตว์ดังกล่าวจะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้งหนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียก็จะผลิตไข่ที่ฟักออกเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นสัตว์ตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะออกไข่ที่ มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวได้ ในผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธีโนเจเนซิสด้วยเช่นกัน โดยไข่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งจะฟักออกมาเป็นตัวผู้เสมอ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
18
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของแมลง พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
19
การสืบพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การสืบพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังจะมีอวัยวะแยกกันอย่างชัดเจน โดยสัตว์ตัวผู้มักจะมีสีเข้มกว่า ตัวเมีย หรือมีเสียงไพเราะกว่า เพราะเป็นฝ่ายดึงดูดให้ตัวเมียเข้าไปหา สำหรับการปฏิสนธิมีทั้งภายใน และภายนอกตัวเมีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
20
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ สัตว์ที่อยู่ในน้ำ เช่น ปลา ส่วนใหญ่เมื่อสร้างเซลล์ไข่และอสุจิแล้วจะส่งออกมาทางท่อสืบพันธุ์นอก ลำตัว ออกลูกเป็นตัว เรียกว่า Oviparous animal ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
21
การสืบพันธุ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ เขียด คางคก อึ่งอ่าง อาศัยบนบกแต่ผสมพันธุ์ในน้ำโดยทั้งคู่ต่าง ปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ลงในน้ำออกลูกเป็นไข่เรียกว่า Oviparous animal ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
22
การสืบพันธุ์ของสัตว์ปีก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
สัตว์ปีก เช่น นก ไก่ เป็ด มีการปฏิสนธิภายในตัวเมีย วางไข่บนบก ไข่มีเปลือกหุ้มออกลูกเป็นไข่ เรียกว่า Oviparous animal ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
23
การสืบพันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลาน
สัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่า จระเข้ มีการปฏิสนธิภายนตัวเมีย วางไข่บนบกไข่มีเปลือกหุ้มออกลูกเป็นไข่ เรียกว่า Oviparous animal ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
24
การสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น สุนัข แมว ลิง มีการปฏิสนธิภายในลำตัว ตัวอ่อนเจริญภายในตัวแม่ และ ออกลูกเป็นตัว เรียกว่าViviparous animal ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
25
การสืบพันธุ์ของคน
26
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การสืบพันธุ์ของคนมีลักษณะ ดังนี้ มีการรวมตัวกันของอสุจิกับเซลล์ไข่ในร่างกายเกิดเป็นไซโกต ไซโกตเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอเ อ็มบริโอ เอ็มบริโอที่มีอายุเข้าสู่เดือนที่ 3 เรียกว่า ฟีตัส (Fetus) เมื่ออายุครบ 9 เดือนจะคลอดออกมาเป็นทารก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
27
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน โครงสร้างระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
28
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ(seminal vesicle)สร้างอาหารมาหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ อาหารประกอบด้วย น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โกลบิวลิน ต่อมลูกหมาก(prostate gland)สร้างสารที่เป็นเบสอ่อน ลดความเป็นกรดในท่อขับปัสสาวะและในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s gland)สร้างสารเมือกไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะ เมื่อได้รับการกระตุ้นทางเพศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
29
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน หลอดนำอสุจิ (vas deferens)เป็นทางผ่าน และเป็นที่ที่มีการตัดและผูกเมื่อมีการทำหมันถาวรในเพศชาย น้ำอสุจิ(semen)ประกอบด้วยตัวอสุจิและของเหลวโดยเฉลี่ยเพศชายจะมีการหลั่งอสุจิครั้งละ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีอสุจิประมาณ ล้านตัว ท่อขับปัสสาวะ(Uretha)เป็นทางออกของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอก หลอดเก็บอสุจิ(Epidermis)เป็นที่พักและเพิ่มความแข็งแรง อสุจิจะพัฒนาต่อจนเจริญเต็มที่ จึงถือว่าเป็นแหล่งเพิ่มสมรรถนะของตัวอสุจิ อัณฑะ ทำหน้าที่ สร้างตัวอสุจิและฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
30
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของเพศชาย FSH สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า กระตุ้นการสร้างตัวอสุจิ LH หรือ ICSH สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า กระตุ้นให้ Interstitial cell สร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ควบคุมลักษณะที่สองของเพศชาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
31
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์(Gametogensis) กระบวนการตั้งแต่เซลล์มีการแบ่งตัวแบบไมโอซิสผ่านขั้นตอนต่างๆจนได้เซลล์สืบพันธุ์แบ่งออกเป็นกระบวนการสร้างอสุจิ (spermatogenesis)และกระบวนการสร้างไข่(Oogenesis) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
32
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน Spermatogenesis ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
33
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ระยะแรกก่อนวัยเจริญพันธุ์spermatogonium(2n)อยู่ที่ผนังด้านข้างseminiferous tubluesแบ่งตัวเพิ่ม จำนวนอยู่ตลอดเวลาด้วยไมโทซิสเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์spermatogoniumจะแบ่งตัวแบบไมโอซิส และเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนกลายเป็นสเปิร์ม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
34
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ส่วนประกอบของสเปิร์ม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
35
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ส่วนประกอบของสเปิร์ม ตัวอสุจิของมนุษย์เรียกว่า สเปอร์มาโทซัว (เอกพจน์: spermatozoon หรือ -zoan พหูพจน์: -zoaX รูปร่างคล้ายตัวอ่อนของกบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนหัวกับส่วนหาง ส่วนหัว เป็นที่อยู่ของนิวเคลียสและเอนไซม์ที่ ใช้ย่อยผนังหุ้มเซลล์ไข่ โครโมโซมสืบพันธุ์จะบรรจุอยู่ในนิวเคลียส โดยส่วนหน้าของส่วนหัวเป็นส่วนที่เรียกว่าอะโครโซม(Acrosome)ซึ่งเปลียนมา จาก กอลจิคอมเพล็กซ์ มีหน้าที่ในการเจาะผนังของเซลล์ไข่ โดยบรรจุเอนไซม์ไฮโดรไลซิสไว้หลายชนิด เช่น ไฮอาลูโรนิเดส อะโครซิน โปรทีเอส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
36
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ส่วนคอและลำตัว ต่อจากส่วนหัว มีลักษณะเป็นแท่ง ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่เซลล์ ส่วนหาง แกนกลางพัฒนามาจากไมโครทูบูลตอนบนมีกลุ่มไมโทคอนเดรียซึ่งใช้เป็นพลังงานในการเคลื่อนที่ของอสุจิ ตอนล่างสามารถโบกพัดได้เพื่อว่ายไปหาเซลล์ไข่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
37
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน โครงสร้างระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
38
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ท่อนำไข่(oviduct) มดลูก(uterus)ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ -endometrium -myometrium -serosa ปากมดลูก(cervic) เป็นส่วนของมดลูกที่ติดกับช่องคลอด รังไข่(ovary) สร้างไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง(estrogen) ช่องคลอด(vagina) เป็นทางผ่านของประจำเดือน ทารกในครรภ์ และทางผ่านของอสุจิเข้าผสมกับไข่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
39
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การปฏิสนธิ เซลล์ไข่อยู่ในระยะโอโอไซต์ระยะที่สองหลุดออกจากฟอลลิเคิล อสุจิเจาะผิวเซลล์โอโอไซต์ระยะที่สองจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสครั้งที่สองได้เป็นเซลล์ไข่1เซลล์ และโพลาร์บอดี1เซลล์ เซลล์ที่ได้เป็นเซลล์ แฮพลอยด์ นิวเคลียสของอสุจิกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่เกิดเป็นไซโกตและฝังตัวที่ผนังมดลูก เซลล์ไข่ไม่ได้รับการผสมใน 24ชั่วโมงจะสลายตัวไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
40
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ภาวะการมีบุตรยาก อาจมีสาเหตุ ดังนี้ ความผิดปกติของเพศชาย ความผิดปกติที่อสุจิหรือจำนวนอสุจิ เช่น การมีอสุจิที่ผิดปกติ จำนวนอสุจิน้อย ไม่มีอสุจิ ความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอสุจิ หรือความผิดปกติของอวัยวะเพศชาย โดยปกติการหลั่งอสุจิแต่ละครั้งจะได้น้ำอสุจิประมาณ 3-4 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งจะมีอสุจิประมาณ300 – 500 ล้านเซลล์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรืออสุจิมีรูปร่างผิดปกติมากอาจจะทำให้มีบุตรได้ยาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
41
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ความผิดปกติเกี่ยวกับทางผ่านของอสุจิ เช่น ท่อทางผ่านของอสุจิตีบตันทำให้อสุจิไม่สามารถออกสู่ภายนอกร่างกายได้ ความผิดปกติในน้ำอสุจิ เช่น ความเป็นกรด – เบส ของน้ำอสุจิผิดไป การขาดน้ำตาลฟรักโทสหรือมีการติดเชื้อทำให้อสุจิตายได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
42
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน ความผิดปกติของเพศหญิง 1. มีอวัยวะเพศพิการมาแต่กำเนิด เช่น ไม่มีช่องคลอด ช่องคลอดหรือท่อนำไข่ ตีบตัน มีผนังกั้น หรือก้อนเนื้องอก หรือแผลเป็น 2. การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ เกิดการอักเสบเนื่องจากติดเชื้อ เช่น พยาธิ รา แบคทีเรีย ไวรัส ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภาวะความเป็นกรด – เบส ของช่องคลอด หรือปากมดลูกทำให้อสุจิตายได้ 3. เยื่อบุผนังมดลูกผิดปกติ หรือเกิดเนื้องอกที่กล้ามเนื้อผนังมดลูกทำให้เกิดการแท้ง 4. การขาดฮอร์โมนโดยเฉพาะโพรเจสเทอโรน ทำให้เยื้อบุผนังมดลูกผิดปกติ ไม่เหมาะที่จะให้เอ็มบริโอฝังตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
43
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน เทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาการมีบุตรยาก การผสมเทียม การผสมเทียมหมายถึง การใช้เครื่องมือฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปภายในอวัยวะสืบพันธุ์ ของสตรี ในช่องที่มีการตกไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างตัวอสุจิกับไข่ของสตรีนั้น เชื้ออสุจิอาจเป็นของสามีหรือของผู้บริจาคทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ มักทำในกรณีที่น้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน มีปัญหาเกี่ยวกับการร่วมเพศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
44
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน วิธีทำการผสมเทียมมีหลายวิธีได้แก่การฉีดเชื้ออสุจิเข้าช่องคลอดเข้าปากมดลูก เข้าโพรงมดลูก หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าปีกมดลูกโดยตรง คือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก ต้องคัดเฉพาะเชื้ออสุจิที่แข็งแรง การผสมเทียมเป็นวิธีที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย อัตราการตั้งครรภ์จะมีปริมาณร้อยละ10–20 ต่อรอบเดือน ซึ่งโดยปกติการผสมเทียมมักจะประสบความสำเร็จภายใน 3 – 6 รอบเดือน ของการรักษา ถ้ายังไม่ตั้งครรภ์ ควรจะประเมินหาสาเหตุซ้ำเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
45
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การผสมเทียม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
46
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การทำกิ๊ฟ (Gamete intrafallopian transfer) การทำกิ๊ฟเป็นวิธีมาตรฐานของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หลักการคือ การนำไข่และเชื้ออสุจิซึ่งโดยปกติจะใช้เชื้ออสุจิประมาณ 50, ,000 ตัวต่อไข่ 1 ใบ ใส่กลับเข้าไปในมดลูกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง โดยหวังว่าไข่และเชื้ออสุจิจะสามารถปฏิสนธิในปีกมดลูก เป็นตัวอ่อน และเดินทางจากปีกมดลูกเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้ ดังนั้นการทำกิ๊ฟจะต้องมี ปีกมดลูกที่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง โดยปีกมดลูกจะต้องไม่ตีบตัน เยื่อบุในปีกมดลูกจะต้องไม่เสียหาย การเคลื่อนตัวของปีกมดลูกต้องดี เพื่อบีบส่งตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกได้สำเร็จ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
47
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การทำกิ๊ฟ (Gamete intrafallopian transfer) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
48
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การปฏิสนธินอกร่างกาย (In vitro fertilization) การปฏิสนธินอกร่างกาย คือ การนำไข่และเชื้ออสุจิมาผสมให้เกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนในห้องทดลองและนำตัวอ่อนที่เกิดขึ้นใส่กลับเข้าไปในปีกมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ มีดังนี้ การทำซิ๊ฟ หรือ พรอส (ZIFT or PROST) คือการใส่ตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วระยะที่ยังไม่เกิดการแบ่งเซลล์ คือ ตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์ เข้าปีกมดลูก อาจจะใส่ผ่านทางช่องคลอดหรือการเจาะหน้าท้อง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
49
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การทำเทสท์ (TEST) คือการใส่ตัวอ่อนระยะตั้งแต่สองเซลล์ขึ้นไปเข้าในปีกมดลูกด้วยวิธีการเดียวกับการทำ ZIFT การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF – ET) คือการใส่ตัวอ่อนระยะตั้งแต่สองเซลล์ขึ้นไปเข้าโพรงมดลูก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
50
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic sperm inujection) คือ การฉีดตัวอสุจิเพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่ ทำให้ช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิ ส่วนขั้นตอนอื่นเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว การทำดังกล่าว ต้องทำผ่านเครื่องมือพิเศษ ที่ประกอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเข็มขนาดเล็กมาก เพื่อจับไข่และมีการฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่ ด้วยการเคลื่อนไหวที่ละเอียดนุ่มนวลมาก เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง เลือกใช้ในรายการที่เชื้ออสุจิฝ่ายชายคุณภาพไม่ดีอย่างมาก ไข่กับเชื้ออสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองในหลอดทดลอง เช่น เปลือกไข่หนาเหนียวในสตรีอายุมาก โอกาสตั้งครรภ์ต่อการทำ 1 ครั้ง ประมาณร้อยละ 25 – 30 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
51
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การรับบริจาคไข่ ตัวอสุจิ หรือตัวอ่อน ในกรณีที่ภรรยาไม่สามารถผลิตไข่ได้ เช่น อายุมาก รังไข่เสื่อม ไม่มีรังไข่ หรือมีโรคติดต่อทางพันธุกรรม คู่สามีภรรยาอาจหาสตรีอื่นมาบริจาคเซลล์ไข่แทนได้ แล้วผ่านกระบวนการเด็กหลอดแก้ว โดยปฏิสนธิกับตัวอสุจิสามี ในกรณีที่สามีมีเชื้ออสุจิ คุณภาพไม่ดี หรือไม่มีเชื้ออสุจิ หรือมีโรคติดต่อทางพันธุกรรม คู่สามีภรรยาอาจหาชายอื่นมาบริจาคเชื้ออสุจิ หรือใช้เชื้ออสุจิจากธนาคารอสุจิของโรงพยาบาล แล้วผ่านกระบวนการผสมเทียมหรือเด็กหลอดแก้วแล้วแต่กรณีในกรณีที่ทั้งสามีและภรรยาไม่สามารถผลิตไข่และตัวอสุจิได้หรือมีโรค ทางพันธุกรรมที่ต้องการหลีกเลี่ยง อาจขอบริจาค ตัวอ่อนจากคู่สามีภรรยาอื่นที่มีเหลือเก็บแช่แข็งไว้ แล้วใส่กลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายภรรยาเพื่อให้ตั้งครรภ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
52
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน . การอุ้มบุญ (Surrogate mather) คือ การนำตัวอ่อนที่ได้จากการปฏิสนธิของไข่และตัวอสุจิของคู่สามีภรรยาใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของสตรีอื่น เพื่อให้ตั้งครรภ์แทน เนื่องจากฝ่ายสามีภรรยามีปัจจัยที่ไม่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ เช่น เนื้องอกในมดลูก ไม่มีมดลูก หรือมีโรคระบาดประจำตัวทางร่างกายที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
53
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การสืบพันธุ์ของคน การตรวจความสมบูรณ์ของตัวอ่อนก่อนการฝัง (Preimplantation diagnosis) ปัจจุบันเราสามารถแยกเอาตัวเซลล์เพียงเซลล์เดียวจากตัวอ่อนระยะ 8 เซลล์ ที่เลี้ยงในหลอดทดลองของกระบวนการเด็กหลอดแก้ว หรือ อิ๊กซี่ เพื่อนำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย เมื่อพบว่าตัวอ่อนไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม จึงใส่ตัวอ่อนนั้นกลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เจริญเป็นทารกต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
54
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้นและเป็นผลทำให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตนั้น ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่างๆ หลายประการ คือ การแบ่งเซลล์ หรือ การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว เมื่อมีการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ก็จะทำให้เกิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศขึ้น สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เมื่อเกิดปฏิสนธิแล้ว เซลล์ที่ได้ก็คือ ไซโกต ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
55
การเจริญเติบโตของสัตว์
56
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโต (growth) ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว การเพิ่มของไซโทพลาซึมก็จัดว่าเป็นการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งเซลล์ในตอนแรกเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เดิม ในเวลาต่อมาเซลล์ใหม่ที่ได้จะสร้าง สารต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ขนาดของเซลล์ใหม่นั้นขยายขนาดขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
57
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ (cell differention) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ เหมือนกัน เช่น มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น การสร้าง เอนโดสปอร์ ของแบคทีเรียในพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็มี เช่น การสร้างเซลล์พิเศษซึ่งเรียกว่า เฮเทอโรซิสต์ (heterocyst) มี ผนังหนาและสามารถจับแก๊สไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มี ประโยชน์ต่อเซลล์ของสาหร่ายชนิดนั้นๆได้สิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์ทางเพศ เมื่อไข่และอสุจิผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่ คือ ไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ กัน เช่น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
58
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
- เซลล์กล้ามเนื้อทำหน้าที่ในการหดตัวทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว - เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจน - เซลล์ประสาททำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึกและคำสั่ง - เซลล์ต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เซลล์ภายในร่างกายของเราจะเริ่มต้นมากจากเซลล์เดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กันได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
59
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เส้นโค้งของการเจริญเติบโต (growth curve) เส้นโค้งที่แสดงการเติบโตอาจจะวัดออกมาเป็นหน่วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยเวลาที่เปลี่ยนไป หรือหน่วยความสูงที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยเวลาที่เปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมี เส้นโค้งการเจริญเติบโตเป็นรูปตัว S หรือ sigmoid curve เสมอ เส้นโค้งการเติบโตแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นเริ่มการเติบโต ในระยะนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ เส้นโค้งการเติบโตจึงมีความชันน้อย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
60
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ระยะเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่ต่อจากระยะแรกโดยที่สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นจะมีการเพิ่มจำนวนเซลล์มีการสร้างสารต่างๆ สะสมในเซลล์มากขึ้นทำให้น้ำหนักหรือความสูงหรือจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนโค้งการเติบโตจึงชันมากกว่าระยะอื่นๆ ระยะคงที่ เป็นระยะที่มีการเติบโตสิ้นสุดแล้ว ทำให้น้ำหนัก ความสูงหรือขนาดของสิ่งมีชีวิต ไม่เพิ่มขึ้นและค่อนข้างจะคงที่อยู่อย่างนั้นตลอดไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
61
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ระยะสิ้นสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตเติบโตถึงที่สุดแล้ว และถ้าปล่อยเวลาต่อไปอีกก็จะถึงระยะเวลาที่ร่วงโรยเสื่อมโทรมในที่สุดก็จะตายไป ในสัตว์พวกที่มีโครงร่างแข็งนอกตัว (exoskeleton) จะมีแบบแผนของการเติบโตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตทั่วไป เช่น มวนน้ำชนิดหนึ่ง จะมีแบบแผนแบบขั้นบันได ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
62
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของกบ เซลล์ใข่ของกบไม่มีเปลือกแข็งหุ้มแต่มีวุ้นห่อหุ้มอยู่โดยรอบ เมื่อลอยน้ำจะเห็นด้านที่มีสีเหลืองอยู่ด้านล่าง เนื่องจากมีใข่แดง(yolk) ซึ่งเป็นอาหารที่สมบูรณ์มาก ส่วนด้านบนสีเทาเข้มจนเกือบเป็นสีดำ เนื่องจากมีสารสีอยู่หนาแน่นที่บริเวรใกล้ผิวของเซลล์ เมื่อผเซลล์ของใข่กบได้รับการปฏิสนธิเป็นไซโกตจะเริ่มมีการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ดังภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
63
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของกบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
64
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
จากการศึกษาการเจริญเติบโตของกบ ดังภาพ สามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงในระยะเอ็มบริโอของกบได้ 4 ขั้นตอนคือ คลีเวจ (cleavage) บลาสทูเลชัน (blastulation) แกสทรูเลชัน (gastrulation) และ ออร์แกโนเจเนซิส (organogenesis) คลีเวจ เป็นกระบวนการที่ไซโกตมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสอย่างรวดเร็วทำให้ได้เอ็มบริโอที่มีจำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น แต่ขนาดของเซลล์ของเอ็ทบริโอก็เล็กลงตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดระยะคลีเวจจะได้เอ็มบริโอที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
65
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
บลาสทูเลชัน เป็นกระบวนการที่เซลล์เอ็มบริโอจัดเรียงตัวอยู่ชั้นรอบนอก ตรงกลางเป็นช่องว่างที่มีของเหลวบรรจุอยู่เต็มเรียกว่า บลาสโทซีล(blastocoel) เรียกเอ็มบริโอระยะนี้ว่า บลาสทูลา(blastula) แกสทรูเลชัน เป็นกระบวนการที่เซลล์มีการเคลื่อนที่และจัดเรียงตัวเป็นเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ โดยมีการเคลื่อนที่ของเซลล์ในลักษณะต่างๆกัน เช่น กลุ่มเซลล์ชั้นนอกปุ๋มตัวเข้าไปข้างใน หรือมีการม้วนตัวเข้าไปในช่องว่างภายในเอ็มบริโอ เป็นต้น เอ็มบริโอที่ผ่านกระบวนการนี้จะมีรูปร่างต่างไปจากเดิม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
66
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เอกโทเดิร์ม (ectoderm) เมโซเดิร์ม (mesoderm) แ ละเอนโดเดิร์ม(endoderm) เรียกเอ็มบริโอระยะนี้ว่า แกสทรูลา (gastrula) ออร์แกโนเจเนซิส เป็นกระบวนการที่เนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นของเอ็มบริโอพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ ตัวอ่อน(larva) ของกบที่ฟักออกจากใข่ เรียกว่าลูกอ๊อด จะมีลักษณะแตกต่างไปจากพ่อแม่ ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะการดำรงชีวิตหลายครั้ง เรียกกระบวนการนี้ว่า เมทามอร์โฟซิส(metamorphosis) จนกระทั่งได้สัตว์ที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
67
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของไก่ เซลล์ของไก่เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีปริมาณใข่แดงซึ่งเป็นอาหารสะสมอยู่ภายในเซลล์เป็นจำนวนมาก และมีเพียงบริเวณเล็กๆ ใกล้ผิวเซลล์ด้านบนของเซลล์ใข่ที่มีนิวเคลียสและไซโทพลาซึมเป็นบริเวณที่เกิดการปฏิสนธิกับอสุจิ ได้ไซโกตซึ่งเจริญไปเป็นเอ็มบริโอต่อไป เอ็มบริโอของไก่จะมีการเจริญเติบโตตามขั้นตอนต่างๆคล้ายกบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
68
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของไก่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
69
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ไก่เป็นสัตว์ที่วางไข่บนบก เอ็มบริโอของไก่มีการปรับโครงสร้างหลายประการที่แตกต่างไปจากเอ็มบริโอที่เจริญในน้ำ ได้แก่ การมีเปลือกไข่ เพื่อป้องกันอันตรายและแก้ปัญหาการสูญเสียน้ำของเซลล์ไข่ นอกจากนี้เอ็มบริโอยังห่อหุ้มด้วยถุง 2 ชั้น ถุงชั้นใน คือ ถุงน้ำคร่ำ (amnion) มีของเหลวบรรจุอยู่ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือนและป้องกันไม่ให้เอ็มบริโอแห้งถุงชั้นนอก เรียกว่า คอเรียน (chorion) อยู่ใกล้เปลือกไข่ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
70
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ในระยะที่มีการเจริญของอวัยวะต่างๆ เอ็มบริโอจะมีการสร้างถุง เรียกว่า แอลแลนทอยส์ (allantois) จากตัวเอ็มบริโอแทรกไปชิดกับเปลือกไข่ พร้อมกับมีหลอดเลือดฝอยอยู่โดยรอบ ถุงนี้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สกักบภายนอกและเก็บของเสียประเภทกรดยูริกสะสมไว้จนกระทั่งเอ็มบริโอออกจากไข่ เมื่อเอ็มบริโอนี้เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะฟักออกจากไข่ แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบเมตามอร์โฟซิส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
71
การเจริญเติบโตของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน เริ่มจากเซลล์ไข่ ปฏิสนธิกับอสุจิเป็นไซโกตที่ท่อนำไข่ส่วนต้นมีกระบวนการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่ม จำนวนเซลล์ เรียก คลีเวจ ได้เป็นเอ็มบริโอในระยะ มอรูลา (morula) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเอ็มบริโอระยะบลาสทูลาขณะที่มีการเจริญเติบ โตเอ็มบริโอจะเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่และมาฝังตัวในผนังมดลูกชั้นเอรโดมีเทรียม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
72
การเจริญเติบโตของคน
73
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน การเจริญเติบโตของคน ภาพการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอคน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
74
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน ประมาณวันที่ 7 หลังจากการปฏิสนธิ เอ็มบริโอจะสร้างถุงคอเรียนล้อมรอบเอ็มบริโอ และมีบางส่วนยื่นเป็นแขนงเล็กๆแทรกในเอนโดมีเทรียมของมดลูกซึ่งต่อมาจะพัฒนา เป็นรก ดังนั้นรกจึงประกอบด้วยส่วนของถุงคอเรียนของลูกและเนื้อเยื่อชั้นเอนโดมีเท รียมของแม่ เอ็มบริโอมีการสร้างถุงน้ำคร่ำหุ้มตัวเองภายในถุงบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำคร่ำเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนและช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และตัวเอ็มบริโอยังมีการสร้างสายสะดือเชื่อมกับรก ดังภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
75
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน น้ำคร่ำส่วน ใหญ่มาจากเลือดของทารกโดยผ่านทาง ปอด ไต อีกส่วนหนึ่งจะซึมจากทารกและผนังของถุงน้ำคร่ำปริมาณน้ำคร่ำจะเพิ่มตามอายุค รรถ์ ในช่วงใกล์คลอดจะมีปริมาณน้ำคร่ำ 800-1,500 cm. ซึ่งถ้าน้ำคร่ำมีปริมาตรมากหรือน้อยเกินไปอาจบ่งถึงภาวะผิดปกติของทารกใน ครรภ์ได้ น้ำ คร่ำส่วนประกอบคล้ายกับของเหลวที่อยู่รอบๆ เซลล์ ซึ่งจะมีปริมาณแร่ธาตุ โปรตีน ไขมัน และน้ำตาล น้อยกว่าในพลายสมามาก นอกจากนี้ยังมีฮออร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ การเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อศึกษาเพศ ความผิดปกติของโครโมโซม ปริมาณฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เป็นวิธีการหนึ่งในการวินิจฉัยความผิดปกติและสภาพทั่งไปของทรกในครรภ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
76
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน ภาพการเจริญเติบโตของคนในระยะที่อยู่ในครรภ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
77
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน โนโทคอร์ด เป็นโครงสร้างค้ำจุนร่างกาย มีลักษณะเป็นแท่งมีความยืดหยุ่น ทอดยาวไปตามลำตัวใต้ไขสันหลัง แต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร พบได้ในเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด ในสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่โนโทคอร์ดจะถูกแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง หรือกระดูกอ่อนเมื่อโตเต็มวัย เมื่อ อายุได้ 2 สัปดาห์ เอ็มบริโอจะมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีกรเจริญเติบโตในระยะแกสทรูลาทำให้เกิดเนื้อเยื่อ3 ชั้น คือ เอกโทรเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม เอก โทเดิร์มจะเจริญเป็นเยื่อบุผิว เยื่อบุผิวของโพรงจมูกเยื่อบุผิวที่ทำหน้าที่รับกลิ่น ระบบประสาท เช่น สมอง ไขสันหลังต่อมบางชนิด เลนส์ตา สารเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
78
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน เม โซเดิร์มจะเจริญเป็นโนโทคอร์ด (notochord) ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบโครงร่างค้ำจุนรางกาย ชั้นหนังแท้ ระบบขอบถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
79
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน ส่วนเอนโดเดิร์มจะเจริญไปเป็นเยื่อบุทางเดิน หายใจ ระบบทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อนในสัปดาห์ที่ 3 เริ่มปรากฏร่องรอยของระบบอวัยวะ ได้แก่ระบบประสาท หัวใจมีลักษณะเป็นท่อ และเริ่มต้นเป็นจังหวะระยะนี้เอ็มบริโอมีความยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร หลังจากนั้นเอ็มบริโอจะเริ่มมีอวัยวะต่างๆ เจริญเพิ่มขึ้น แขนและขาเริ่มปรากฏชัดเจนเมื่ออายุได้ 4 สัปดาห์ อวัยวะต่างๆ จะเจริญเติบโตและมีอวัยวะครบเมื่ออายุได้ 8 สัปดาห์ซึ่งเป็นระยะสิ้นสุดของเอ็มบริโอและหลังจากระยะนี้แล้วจะเรียกว่า ฟีตัส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
80
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน ภาพการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอและฟีตัสของคนในระยะที่อยู่ในครรภ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
81
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน เมื่อแรกเกิด ความยาวส่วนหัวของทารกจะมีอัตราส่วนเป็น 1 : 4 ของความยาวลำตัว ให้นักเรียนวัดความยาวส่วนหัวและความสูงของเพื่อร่วมชั้นเรียนอย่างน้อย 10 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณอัตราส่วนของความยาวส่วนหัวกับความยาวลำตัว เมื่อ อายุได้ 8-9 สัปดาห์ จะมีนิ้วมือ และนิ้วเท้าเจริญเห็นได้ชัดเจน สามารถบอกเพศได้ ในช่วงเดือนที่ 4-6 ฟีตัสจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ มีการเลื่อนไหวมากขึ้น สามารถรับฟังเสียงจากภายนอกได้ มีการเจริญเติบโตของกระดูก มีผม มีขน ฟีตัสในเดือนที่ 6จะมีน้ำหนักประมาณ 680 กรัม ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ฟีตัสจะมีขนาดโตมาก ระยะนี้เป็นระยะที่มีระบบประสาทเจริญมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
82
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน หลัง จากแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 280 วัน ซึ่งนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายก็ถึงระยะครบกำหนดคลอดโดย ปกติส่วนหัวของทารกจะออกมาก่อน หลังจากคลอดออกมาภายใน 1 นาที ทารกจะเริ่มหายใจและติดตามด้วยเสียงร้อง ในกรณีที่ มีการคลอดก่อนกำหนดโดยมีระยะตั้งครรภ์ประมาณ7 เดือน ทารกอาจรอดชีวิตได้ แต่ต้องเลี้ยงไว้ในตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิในร่างกาย แม่ และบางรายอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
83
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน การเพิ่มขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อบางอย่างของคน เมื่อเทียบกับขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อนั้นๆ เมื่อโตเต็มที่แล้ว ก็จะเห็นชัดว่าแต่ละอวัยวะมีการเจริญเติบโตเร็วช้าแตกต่างกัน ดังตัวอย่างเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของสมองและศีรษะ เนื้อเยื่อผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและอวัยวะสืบพันธุ์ของคน ภาพการเพิ่มขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
84
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน สภาวะบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เซลล์ ไข่ของคนนั้นมีไข่แดงน้อยมาก ดังนั้นเอ็มบริโอและฟีตัสต้องได้รับอาหารจากแม่โดยผ่านทางรก ผู้ที่เป็นแม่จึงต้องบริโภคอาหารให้ครบละพอเพียงต่อความต้องการทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิพิด แร่ธาตุ และวิตามิน โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเหลือง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
85
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน ความต้องการโปรตีนของหญิงมีครรภ์มากกว่าปกติในระยะ 3 เดือนก่อนคลอด ถ้าขาดโปรตีนในช่วงนี้จะทำให้การเจริญของระบบประสาทของทารกผิดปกติ นอกจากนี้อาหารที่มีแร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ ก็ต้องบริโภคให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย หญิงมีครรภ์ที่มีนิสัยการบริโภคไม่ถูกต้อง เช่นไม่รับประทานผัก เนื้อสัตว์ หรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องอาหารควรแก้นิสัยและความเชื่อเหล่านั้น มิฉะนั้นมารกที่เกิดมาอาจไม่สมบูรณ์หรือมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าผิดปกติได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
86
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน หญิงมีครรภ์ ได้รับพลังงานจากการกินอาหารวันละประมาณ 2,300 กิโลแคลอรี น้ำหนักของหญิงมีครรภ์ไม่ควรเพิ่มเกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ สารเคมีบางอย่างที่แม่ได้รับอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้เช่น กัน ตัวอย่างเช่น ยากล่อมประสาทพวก ทาลิโดไมด์ (thalidomide) นอกจากนี้สุราและบุหรี่อาจทำให้การเจริญเติบโตของทารกผิดปกติได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
87
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเจริญเติบโตของคน นอก จากสารเคมีต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การเจริญเติบโตของฟีตัสอาจผิดปกติด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะต้นจะทำให้การเจริญเติบโตของหัวใจ เลนส์ตา หูส่วนในและสมองของทารกผิดปกติได้ในขณะที่เชื้อนี้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อ ผู้ใหญ่และเด็ก กรรมพันธุ์ก็มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารก นอกจากนี้การได้รับรังสีเอกซ์มากเกินไปหรือความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยว ข้องกับการเจริญเติบโตก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้เช่นกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
88
คำถามท้ายบท
89
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 1. รกมีความสำคัญต่อการรักษาดุลยภาพของฟีตัสอย่างไร จงอธิบาย แนวคำตอบ แนวคำตอบ : รกเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างแม่กับลูก ของเสียต่างๆ จากลูก เช่น ยูเรีย กรดยูริก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จะแพร่จากหลอดเลือดฝอยของลูกเข้าไปที่หลอดเลือดฝอยของแม่ เพื่อให้แม่นำไปกำจัดออกทางระบบขับถ่ายของแม่ ขณะเดียวกันสารอาหารแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากแม่จะแผ่ผ่านรกไปยังลูก รกจึงมีความสำคัญในการช่วยรักษาดุลยภาพของฟีตัส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
90
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 2. หญิงมีครรภ์คนหนึ่งแจ้งนายแพทย์ว่าวันแรกของการมีรอบเดือนครั้งสุด ท้ายผ่านมาแล้ว 50 วัน อยากทราบว่าเอ็มบริโอที่อยู่ในครรภ์ขงหญิงคนนี้อายุประมาณเท่าใด แนวคำตอบ : เอ็มบริโอที่อยู่ในครรภ์มีอายุประมาณ 36 วัน โดยคำนวณจากวันแรกของรอบประจำเดือน เป็นวันที่เริ่มสร้างเซลล์ไข่และเซลล์ไข่จะตกจากรังไข่เข้าสู่ปีกมดลูก ประมาณกึ่งกลางของรอบประจำเดือน คือ ประมาณวันที่ 14 ซึ่งเซลล์ไข่จะมีอายุรอการผสมกับอสุจิได้ประมาณ 1 วันเท่านั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
91
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 3. จงลำดับขั้นตอนการเจริญของเอ็มบริโอตั้งแต่ระยะไซโกตจนถึงระยะที่เป็นฟีตัส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
92
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท อายุ การเจริญของเอมบริโอ 1 สัปดาห์ ไซโกตมีการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ 2 สัปดาห์ เอ็มบริโอมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และฝังตัวที่มดลูกของแม่ 3 สัปดาห์ เริ่มมีระบบประสาท หัวใจ เอ็มบริโอยาวประมาณ 3 มิลลิลิตร 4 สัปดาห์ เริ่มมีตุ่มที่สร้างแขน ขา ระบบหมุนเวียนเลือดทำงาน 5 สัปดาห์ ศีรษะมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มสร้างอวัยวะรับความรู้สึก 6 สัปดาห์ มีนิ้วมือนิ้วเท้า ขนาดยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร ปรากฏ 8 สัปดาห์ เอ็มบริโอมีอวัยวะครบ เรียกเอ็มบริโอระยะนี้ว่าฟีตัส ตัวยาวประมาณ 4 เซนติเมตร แนวคำตอบ : ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
93
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 4. ชายคนหนึ่งป่วยเป็นไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการสร้างอสุจิหรือไม่อย่างไร แนวคำตอบ : อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ ไม่มีผลต่อการสร้างอสุจิ เพราะอัณฑะอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าภายในร่างกาย และเมื่อระดับอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงถุงหุ้มอัณฑะ จะมีการหดตัว หรือคลายตัวเพื่อให้อัณฑะเข้าใกล้ลำตัว หรือห่างจากลำตัวมากขึ้นเป็นการช่วยรักษาอุณหภูมิของอัณฑะให้พอเหมาะได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
94
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 5. จากการศึกษาพบว่า อสุจิเมื่ออยู่ในระบบสืบพันธุ์ของพสหญิง จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง แต่จะมีอายุยืนยาว กว่าเมื่ออยู่ในอัณฑะ ของเพศชาย เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แนวคำตอบ : เพราะในระบบสืบพันธุ์ ของเพศหญิงมีอุณหภูมิสูงกว่าในอัณฑะ รวมทั้งความเป็น กรด- เบส ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงก็แตกต่างจากในอัณฑะ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
95
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 6. รูปร่างของอสุจิเหมาะสมต่อการทำหน้าที่อย่างไร แนวคำตอบ : การที่ อสุจิมีหัวเรียวจะช่วยลดแรงเสียดทาน ขณะเคลื่อนที่ และการที่อสุจิมีขนาดเล็ก และมีหางยาว ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
96
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 7. ปัจจุบันมีการนิยมใช้เทคโนโลยีการตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซา-วนด์ ท่านคิดว่าการตรวจครรภ์ด้วยวิธีนี้มีประโยชน์อย่างไร จงอธิบาย แนวคำตอบ : การตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์มีประโยชน์ ดังนี้ 1. ทำให้ทราบจำนวนทารกในครรภ์ 2. สามารถบอกอายุของทารกได้ค่อนข้างแน่นอน โดยดูความยาวของกระดูกต้นขา เส้นรอบวงของศีรษะ และท้องของทารก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
97
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบท 3. สามารถบอกเพศของทารกได้ 4. ตรวจความพิการบางอย่างของทารกได้ เช่น ศีรษะผิดปกติ ไม่มีแขนขา หัวใจรั่ว เป็นต้น 5. ตรวจความสมบูรณ์และตพแหน่งของรก 6. ดูลักษณะท่าของทารกในครรภ์ เช่น ท่าขวาง ท่าหัวลงหรือก้นลง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.