งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ประกอบของร่างกาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ประกอบของร่างกาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 องค์ประกอบของร่างกาย
องค์ประกอบของร่างกายจะเริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ (Cell) เซลล์หลาย ๆ เซลล์จะรวมกลุ่มเป็น เนื้อเยื่อ (Tissue) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เนื้อเยื่อหลาย ๆ ชนิดจะรวมกันเป็น อวัยวะ(Organ) เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง อวัยวะหลาย ๆ อวัยวะที่ทำหน้าที่ประสานกันจะรวมกลุ่มกันเป็นระบบ (System) ร่างกายคนเรามีอวัยวะมากมายหลายชนิด ทำหน้าที่แตกต่างกันไป อวัยวะที่ทำงานประสานกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในร่างกาย เรียกว่า ระบบอวัยวะ ระบบอวัยวะในร่างกายคนเราแบ่งออกตามหน้าที่ได้หลายระบบ ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนประกอบของระบบ และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ศึกษาได้จากตารางดังต่อไปนี้

3 ตารางแสดงระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
อวัยวะที่เกี่ยวข้อง 1. ระบบย่อยอาหาร 2. ระบบขับถ่ายของเสีย ระบบไหลเวียนเลือดและ น้ำเหลือง 4. ระบบห่อหุ้มร่างกาย 5. ระบบประสาท – อวัยวะสัมผัส ปาก ฟัน ต่อมน้ำลาย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ตับ ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ไต กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หัวใจ ต่อมน้ำเหลือง หลอดเลือด ท่อน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก ผิวหนัง ขน เล็บ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง

4 ระบบ อวัยวะที่เกี่ยวข้อง 6. ระบบกล้ามเนื้อ 7. ระบบโครงกระดูก 8. ระบบหายใจ 9. ระบบสืบพันธุ์ 10. ระบบต่อมไร้ท่อ กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจ กระดูกแกน กระดูกระยาง กระดูกข้อต่อ เส้นเอ็น จมูก หลอดลม ปอด รังไข่ ท่อนำไข่ มดลูก อัณฑะ ต่อมลูกหมาก ต่อมทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ

5 (Integumentary system)

6 ระบบห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system)
1) ผิวหนัง (Skin) เป็นส่วนที่สำคัญและซับซ้อนมากมีหน้าที่ห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด เป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุดของร่างกาย ใช้เลือดหล่อเลี้ยงในปริมาณ 1/3 ของเลือดในร่างกาย ผู้ที่มีสุขภาพดีจะต้องปราศจากโรคผิวหนังและรอยด่างดำ มีผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยงาม ส่วนผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ผิวหนังจะซีดเซียว แห้งหรืออาจเป็นโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น เป็นผดผื่นคัน หิด กลาก เกลื้อน เป็นต้น ผิวหนังจึงแสดงให้เห็นถึงระดับสุขภาพของคนเราได้

7 โครงสร้างของผิวหนัง 1.1) ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังชั้นนอก มีลักษณะบางมากประกอบด้วยเยื่อบุผิวและเซลล์บุผิวที่ตายแล้วเรียงกันเป็นลำดับชั้นต่าง ๆ ชั้นในสุดประกอบด้วยเซลล์ผิวที่ยังมีชีวิตทำหน้าที่แบ่งเซลล์มาทดแทนเซลล์ชั้นนอกสุดที่ตาย และหลุดออกมาเป็นขี้ไคล และมีเซลล์ที่มีสารเมลานิน ทำให้เกิดสีผิวช่วยดูดรังสีอัลตร้าไวโอเลตไม่ให้ผ่านเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งผิวหนังของแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเซลล์สีที่เรียกว่า เมลานิน (Melanin pigments) ที่อยู่ชั้นลึกสุดของผิวหนังกำพร้า ถ้ามีเมลานินมากผิวจะมีสีคล้ำ ถ้ามีเมลานินน้อยผิวจะมีสีขาว

8 1.2) ชั้นหนังแท้ (Dermis) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิด ทำให้ผิวหนังเหนียวยืดหยุ่นได้ และยังมีต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน ประสาทสัมผัสชนิดต่าง ๆ และหลอดเลือดจำนวนมากมาย ถัดจากหนังแท้เป็นชั้นไขมัน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อไขมัน ทำหน้าที่ในการป้องกันการสูญเสียความร้อน และรองรับการสะเทือน เมื่ออายุมาก ๆ ชั้นไขมันจะสลายหายไปบางส่วน

9

10 หน้าที่ของผิวหนัง 1. ป้องกันอวัยวะภายใน เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผิวหนังเพราะผิวหนังเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายเรา 2. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ อุณหภูมิของร่างกายปกติจะอยู่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส 3. ขับถ่ายของเสียออกจากต่อมเหงื่อออกทางรูเหงื่อ เพื่อกำจัดของเสียและระบายความร้อนออกจากร่างกาย อีกทั้งทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นทั่วร่างกาย ทั่วร่างกายของเรามีต่อมเหงื่อประมาณ 2 ล้านต่อม มีมากที่สุดบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า

11 4. ขับน้ำมันออกจากต่อมไขมันออกทางรูขน ทำให้ผิวหนังไม่แห้งแตกและยังช่วยลดแสงแดดที่ตกกระทบผิวหนังอีกทั้งช่วยป้องกันน้ำที่จะไหลเข้า – ออกทางผิวหนัง 5. เป็นแหล่งสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยอาศัยแสงแดดช่วยสังเคราะห์สารเฮอร์โกสเตอรอยที่อยู่ในผิวหนังให้เป็นวิตามินดี เพื่อป้องกันโรคกระดูกอ่อน 6. รับความรู้สึกโดยมีปลายประสาทรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ชั้นหนังกำพร้า ปลายประสาทรับความเจ็บปวด สัมผัส ชั้นหนังแท้ ปลายประสาทรับความเย็น ชั้นไขมัน ปลายประสาทรับความร้อน แรงกดดัน

12 ความผิดปกติของผิวหนังที่พบบ่อย
สิว (Acne) เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้ต่อมไขมันขับไขมันออกมามาก เมื่อไขมันแข็งตัวอุดตันต่อมไขมันและรูขนก็จะทำให้เกิดสิวเสี้ยน และถ้าถูกไขมันที่ต่อมไขมันขับออกมาใหม่ดันจนนูนขึ้นจะเป็นหัวสิว ถ้ามีเชื้อแบคทีเรียคุกคามเข้าไปยังต่อมไขมันและรูขนที่เป็นสิวนั้น ก็จะเกิดการอักเสบ บวมแดงและเป็นหนอง ซึ่งบางคนเรียกสิวชนิดนี้ว่า สิวหัวช้าง นอกจากนี้ สิวยังอาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีมากผิดปกติ อากาศที่ร้อนและชื้นทำให้เหงื่อออก ผิวหนังสกปรก ภาวะที่ตึงเครียด และการใช้เครื่องสำอางที่เป็นน้ำมันหรือครีมอาจทำให้มีการอุดตันของรูขนและเป็นสาเหตุทำให้เกิดสิวได้

13 เมื่อเป็นสิวควรล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดบ่อย ๆ อย่าใช้มือแกะหรือบีบหัวสิวเพราะจะเพิ่มความสกปรก และทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ หรือหวานจัด เช่น ไอศกรีม ช็อกโกแลต เป็นต้น นอกนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เลิกวิตกกังวลในสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป หากเป็นสิวมาก ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรนำยาของคนอื่นมารักษาสิว เพราะการเกิดสิวในแต่ละคนจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสุขภาพ ฮอร์โมน และกรรมพันธุ์

14

15 ตาปลา (Corn) เกิดจากแรงกดหรือมีแรงเสียดสีผิวหนังบริเวณนั้นบ่อย ๆ ทำให้ผิวหนังค่อย ๆ ด้าน และหนาตัวขึ้นมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ แข็ง ๆ และจะเจ็บปวดมากเมื่อเม็ดกลม ๆ นั้นกดลงบนเนื้ออ่อนที่อยู่ด้านล่างลงไปโดยทั่วไปตาปลามักจะเกิดบริเวณนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า เนื่องจากใส่รองเท้าที่คับเกินไป วิธีป้องกันไม่ให้เกิดตาปลาที่ดีที่สุด คือการสวมรองเท้าที่ไม่คับหรือไม่บีบเท้า และเมื่อเป็นแล้วหากจะตัดทิ้งหรือคว้านออกต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเพราะอาจจะอักเสบและติดเชื้อโรคได้

16

17 กลิ่นตัว (Odour) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไขมันจากต่อมเหงื่อ เซลล์บุผิวที่ตายแล้ว เหงื่อรวมกับแบคทีเรียและความชื้นเกิดเป็นกลิ่นตัวขึ้น หากมีกลิ่นตัวควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งฟอกสบู่ โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ขาหนีบใต้คอและหลังหู แล้วเช็ดตัวให้แห้ง ถ้ามีกลิ่นตัวแรง อาจใช้ก้อนสารส้มหรือลูกกลิ้งระงับกลิ่นเหงื่อทาบริเวณรักแร้หลังอาบน้ำทุกครั้ง ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ

18 โรคราที่เท้า หรือฮ่องกงฟุต เกิดจากติดเชื้อราที่เท้า เนื่องจากรองเท้าอับชื้นหรือเดินลุยน้ำสกปรก ทำให้มีอาการคันบริเวณซอกนิ้วเท้า และอาการคันจะเพิ่มมากขึ้น ถ้ามีการเกาด้วยจะทำให้ผิวหนังลอกเป็นขุย ๆ มีกลิ่นเหม็น หากเป็นนาน ๆ ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีเนื้อนูนหนา แข็ง และลอกออกเป็นขุย ๆ สามารถลามไปยังนิ้วใกล้เคียงได้ การป้องกันและรักษาทำได้โดยการล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้งสนิท พยายามอย่าให้เท้าอับชื้นในกรณีที่มีเหงื่อออกบริเวณเท้ามากอาจใช้แป้งฝุ่นโรยบริเวณง่ามนิ้วเท้า เพื่อช่วยให้นิ้วเท้าและฝ่าเท้าแห้งได้ โรคเชื้อราที่เท้ามีการรักษาค่อนข้างยาก ควรจะปรึกษาแพทย์และเมื่อหายแล้วไม่ควรนำถุงเท้า และรองเท้าคู่เดิมมาใช้อีก เพราะยังมีเชื้อราอยู่ ถ้าจะนำมาใช้ควรนำไปฆ่าเชื้อโดยการต้มหรืออบฟอร์มาลีนเพื่อให้เชื้อตายก่อน

19

20 ผิวหนังแห้งกร้าน (Dry’s skin) เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกผิดปกติ เช่น อากาศหนาวจัดหรืออากาศแห้งมาก การฟอกสบู่บางชนิด เช่น สบู่ยา หรือใช้สบู่บ่อยครั้งเกินไปทำให้ไขมันที่ผิวหนังลดน้อยลง ผิวหนังไม่อาจรักษาความชื้นไว้ได้จึงแห้ง เป็นขุยและแตกอย่างรุนแรง มีอาการคันและแสบอาจติดเชื้อทำให้ผิวหนังอักเสบได้ การป้องกันให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น หนาวจัด ร้อนจัด และสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้หนังแห้งและแตกมากขึ้น ควรใช้น้ำมันหรือครีมทาผิวเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังไว้และป้องกันไม่ให้น้ำระเหยออกจากผิวหนังมากเกินไป และควรระมัดระวังในการอาบน้ำอุ่น การใช้กระเป๋าน้ำร้อน การผิงไฟกลางแจ้ง เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งและแตกมากยิ่งขึ้น

21 เกลื้อน (Tinea versicolor) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง พบมากในผู้ที่ประกอบอาชีพที่อยู่ในอุณหภูมิสูงมีเหงื่อออกมาก มีความชื้นสูง หรือสกปรกเปรอะเปื้อนพวกไขมันและฝุ่นละออง เช่น นักกีฬา ทหาร ตำรวจจราจร ผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น ลักษณะของเกลื้อนที่ผิวหนังจะเป็นปื้นๆ มีขนาดต่างๆ กัน อาจมีสีค่อนข้างแดง น้ำตาล ขาวซีด อาจมีสะเก็ดบาง ๆ เล็ก ๆ เป็นต้น การป้องกันและรักษาทำได้โดยอาบน้ำและเช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ ไม่คลุกคลีหรือใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้เป็นเกลื้อน และถ้าเป็นเกลื่อนให้ใช้ขี้ผึ้งรักษากลากเกลื้อนทาบริเวณที่เป็น ถ้ามีอาการลุกลามมากขึ้นให้ไปพบแพทย์

22

23 กลาก (Ring Worm) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด กลากจะขึ้นทั่วไป และมีลักษณะต่าง ๆ กันตามตำแหน่งของผิวหนังที่เป็น เช่น ที่ศีรษะ ลำตัว ขาหนีบ ก้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา อาการโดยทั่วไป จะเป็นผื่นแดงที่ผิวหนัง จากจุดเล็ก ๆ แล้วขยายออกเป็นวงเดียว หรือสองสามวงแล้วลามมาติดกันเป็นวงใหญ่ มีอาการคันบ้างแต่ไม่มากนัก และติดต่อสู่ผู้อื่นได้ มีการป้องกันและรักษาเช่นเดียวกับเกลื้อน

24

25 ฝี (Avscess) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอยู่บนผิวหนังทั่วไป ทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณรอบ ๆ ขุมขน ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน หรือทางรากผม ต่อมาเป็นหนอง ระยะแรกจะมีลักษณะบวมแดง แข็ง และร้อนบริเวณที่เป็น เจ็บมาก เริ่มจากเป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือก้อนแข็งแล้วโตอย่างรวดเร็ว มีหัวหนองสีเหลืองตรงกลาง ต่อมาหัวหนองอ่อนตัวลงจนมีลักษณะนุ่มเหลว มีหนองสีเหลือง เหนียวเหลว ซึ่งมีเชื้อโรคปะปนอยู่มาก และอาจกระจายไปสู่ที่อื่นๆ ของร่างกายได้ การป้องกันและรักษา อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และรักษาผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอไม่ใช้เล็บหรือมือที่สกปรกแกะ เกา ผิวหนัง หากเป็นฝีห้ามบีบหรือบ่งหัวฝีจนกว่าจะมีอาการอ่อนนุ่มที่ตรงกลาง ถ้าฝีไม่แตกออก หรือเป็นหนองควรไปพบแพทย์ ถ้าปวดหรือมีไข้ให้กินยาลดไข้

26

27 สังคัง (Tinea Cruris) เป็นโรคเชื้อราชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณขาหนีบใกล้ๆ กับอวัยวะเพศหรืออาจจะพูดได้ว่า สังคังคือกลากที่ขาหนีบนั่นเอง ที่สำคัญคือตำแหน่งที่เกิดของโรคนี้จะเกิดบริเวณขาหนีบใกล้ๆ กับอวัยวะเพศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนส่วนมากคิดไปเองว่า สังคังคือกามโรคชนิดหนึ่ง

28 อาการของสังคังที่เห็นได้เด่นชัด คือ อาการคันอย่างรุนแรงบริเวณที่เป็น (ขาหนีบ) จะเกิดเป็นผื่นแดงที่ผิวหนัง ต่อมาจะเริ่มเป็นตุ่มแดงขยายออกไปเป็นวงกว้างขึ้น บริเวณขอบวงจะนูนแดงและมีขุยขาว ๆ อาการคันจากการเป็นสังคังจะทำให้รู้สึกรำคาญอยู่นิ่งไม่ได้ต้องเกาอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเกายิ่งคัน ยิ่งเกายิ่งมัน หากเกาแรงเกินไปอาจทำให้ผิวหนังถลอกทำให้ทั้งคันและแสบผสมกันไป ทำให้คนที่เป็นสังคังเสียบุคลิกภาพที่ดีไปเลย

29 สาเหตุของสังคัง เกิดจากการได้รับเชื้อราและเชื้อรานั้นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่จะลุกลามต่อไปเป็นวงกว้าง เชื้อรามักอยู่ในเซลล์ที่ตายแล้วบริเวณขาหนีบและเนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน อากาศชื้น เหงื่อออกตามร่างกายได้ง่ายโดยเฉพาะบริเวณขาหนีบซึ่งเป็นมุมอับ อากาศระบายเข้า-ออกไม่ดีทำให้เกิดการหมักหมมของเชื้อราเป็นแหล่งแพร่เชื้อราไปเลย

30 วิธีป้องกันและรักษาสังคัง เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการคันบริเวณขาหนีบ อย่าชะล่าใจปล่อยให้ลุกลามไปมากกว่านี้ ให้รีบไปหาหมอเพื่อทำการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยากินหรือยาทาที่ได้รับมาจากหมอ ให้ใช้ยานั้นอย่างต่อเนื่องตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัดและที่สำคัญคือเมื่ออาการสังคังทุเลาหรือดีขึ้นแล้วอย่าหยุดใช้ยาโดยเด็ดขาด ให้ใช้ยาต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นสังคังซ้ำอีก

31 สิ่งสำคัญที่สุดของการป้องกันและรักษาสังคัง คือ การรักษาความสะอาดของร่างกายโดยอาบน้ำทุกวันๆ ละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย หลังอาบน้ำเสร็จแล้วเช็ดตัวให้แห้ง อย่าให้ร่างกายมีความอับชื้นโดยเฉพาะที่ขาหนีบ ส่วนความสะอาดของข้าวของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า กางเกง ชุดชั้นใน ที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ฯลฯ ต้องหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ นอกจากนี้สิ่งที่ควรระวังเพิ่มเติมคือ ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ โดยเด็ดขาด พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องของการรักษาความสะอาดของร่างกายเพื่อให้ห่างไกลจากโรคสังคัง

32

33 เล็บ ส่วนของเล็บที่เลยหนังกำพร้าออกมาเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ส่วนที่อยู่ในหนังกำพร้าเป็นส่วนที่มีชีวิตสามารถแบ่งเซลล์ได้ การตัดเล็บมือให้ตัดมนตามนิ้วมือ ส่วนเล็บเท้าให้ตัดตรง เล็บที่มีสุขภาพดีจะมีแผ่นเล็บเรียบสีชมพูเรื่อ ๆ ตามสีของเลือดที่สะท้อนผ่านเล็บขึ้นมา แต่ถ้าเป็นโรคโลหิตจางเล็บจะมีสีซีดขาว หมั่นรักษาเล็บให้สะอาดอยู่เสมอ หน้าที่ของเล็บ เล็บช่วยให้การหยิบจับสิ่งต่าง ๆได้สะดวก ใช้สำหรับแคะ แกะ เกา ข่วน และช่วยป้องกันไม่ให้ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าได้รับอันตรายได้โดยง่าย

34 ความผิดปกติเกี่ยวกับเล็บ ได้แก่
เล็บขบ (Ingrown nail) มักเป็นกับนิ้วหัวแม่เท้าที่เกิดจากการงอกของเล็บที่กดลึกเข้าไปในเนื้อบริเวณซอกเล็บ ทำให้เกิดความเจ็บปวด อาจเป็นแผล ถ้าติดเชื้อก็จะเกิดการอักเสบได้ การป้องกันรักษา ให้ตัดเล็บเป็นแนวตรง ไม่ควรตัดสั้นจนเกินไป ถ้ามีอาการเล็บขบให้ทำความสะอาดมุมเล็บ ใช้สำลีชุบยาฆ่าเชื้ออุดไว้ใต้เล็บ

35 เชื้อราที่เล็บ (Tinea unguium) ส่วนใหญ่จะเป็นกับผู้ทำงานที่ทำให้มือต้องเปียกน้ำอยู่เป็นประจำ หรือเท้าอยู่ในที่อับชื้น อาการส่วนมากจะเป็นที่ซอกเล็บก่อน แล้วลามออกไปยังผิวหนังข้างเล็บและตัวเล็บ เล็บจะเปลี่ยนสีเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเหลืองจะเกิดมีขุยสะสมอยู่ใต้เล็บ ทำให้เล็บแยกออกจากเนื้อแล้วค่อย ๆ กร่อนลงที่ตอนปลายแล้วลามต่อไปจนถึงโคนเล็บ การป้องกันรักษา ตัดเล็บให้สั้น รักษาเล็บให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ ไม่ควรเกาบริเวณที่เป็นเชื้อราเพราะเชื้อราจะติดเล็บมาได้ ถ้าต้องโดนน้ำบ่อยหรือโดนน้ำเป็นเวลานานให้ใช้ถุงมือยางสวมก่อน ถุงเท้ารองเท้าควรรักษาให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น ถ้าเล็บเป็นเชื้อราให้ใช้ขี้ผึ้งรักษาเชื้อราทาบริเวณที่เป็น ถ้ามีอาการมากควรปรึกษาแพทย์

36 ขนหรือผม (Hair) งอกออกมาจากขุมขน ที่โคนขนเป็นส่วนที่มีชีวิตได้รับการหล่อเลี้ยงจากเส้นเลือดฝอยและมีเส้นประสาทพันรอบโคนขน มีกล้ามเนื้อช่วยให้ขนลุกชันเมื่อมีอากาศหนาวเย็น เส้นผมหรือเส้นขนจะเหยียดหรืองอขึ้นอยู่กับลักษณะของรูขุมขน ส่วนของเส้นผม เส้นขนที่งอกเลยหนังกำพร้าขึ้นมาเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต เส้นผมจะมีต่อมในเซลล์เส้นผมที่ผลิตเม็ดสีลงไปในแต่ละเซลล์ของเส้นผม เม็ดสีเหล่านี้จะมีสีต่าง ๆ คือ ดำ น้ำตาลเข้ม และเหลืองปนแดง สีของเส้นผมขึ้นอยู่กับเม็ดสีเหล่านี้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน คนเราเมื่ออายุมากขึ้นการสร้างเม็ดสีจะลดน้อยลงจนกระทั่งหยุดสร้าง ผมจะเริ่มมีสีอ่อนลงและหงอกขาวในที่สุด เส้นผมแต่ละเส้นจะมีอายุประมาณ 7 ปี แล้วจะหลุดร่วงไป และจะมีเส้นใหม่งอกขึ้นมาแทนที่ในรูขุมขนเดิม

37 หน้าที่ของเส้นผม เส้นผมมีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้หนังศีรษะได้รับความร้อนหรือความเย็นมากเกินไปและยังช่วยลดความรุนแรงจากอันตรายต่าง ๆ ที่มากระทบศีรษะ นอกจากนี้เส้นผมยังช่วยเสริมความงามให้แก่ใบหน้าและซับเหงื่อหรือสิ่งสกปรกหรือช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

38 ความผิดปกติของเส้นผม ได้แก่
ผมร่วง (Alopecia) ผมของคนเราจะร่วงได้ตามธรรมชาติแล้วงอกขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากร่วงมากกว่าปกติก็อาจจะมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหาร การเจ็บป่วยด้วยโรค เชื้อรา แพ้ยาสระผม หรืหอเกิดจากต่อมน้ำมันที่โคนผมไม่ผลิตน้ำมันมาหล่อเลี้ยงเส้นผม เป็นต้น การป้องกันรักษา รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการจะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเป่าผมด้วยความร้อน การย้อมผม การดัดผม และเมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

39 รังแค ( Dandruff) เกิดจากผิวหนังหรือเซลล์ที่ตายแล้วแห้งหลุดออกมาเป็นแผ่นหรือเป็นขุย ๆ มักเกาะติดอยู่กับเส้นผม ทำให้คันศีรษะและเป็นสาเหตุให้ผมร่วงได้ การป้องกันรักษา หมั่นสระผมเป็นประจำด้วยยาสระผมอ่อน ๆ หวีหรือแปรงผมบ่อย ๆ งดใช้น้ำมันหรือครีมใส่ผม หากรังแคยังไม่หายควรรีบปรึกษาแพทย์

40 การบำรุงรักษาระบบห่อหุ้มร่างกาย
ระบบห่อหุ้มร่างกายทุกส่วนล้วนมีความสำคัญต่อร่างกาย เราจึงควรบำรุงรักษาอวัยวะทุกส่วนให้สามารถทำงานได้ตามปกติ ดังนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผิวหนัง เช่น พวกโปรตีน ผัก ผลไม้ที่มีวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี 2. ออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ต่อมต่าง ๆ ที่อยู่ใต้ผิวหนังได้ทำงาน และการได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้าและตอนเย็นร่างกายจะได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งจะทำให้ผิวหนังแข็งแรงสมบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง

41 5. พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
3. ชำระล้างร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ ได้แก่ การอาบน้ำ การกำจัดกลิ่นตัว การสระผม การรักษาผมและการตัดเล็บ โดยเฉพาะการอาบน้ำอุ่นจะช่วยผ่อนคลายความเครียดของกล้ามเนื้อ และทำความสะอาดผิวหนังได้ดี นอกจากนี้ยังทำให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังได้มาก ช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า การใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่สะอาดจะช่วยป้องกันโรคผิวหนังบาง 4. การเลือกใช้เครื่องสำอาง เช่น ยาสระผม สบู่ ครีมบำรุงผิว ให้เหมาะสม มิฉะนั้นอาจเกิดอาการแพ้เป็นผื่นคัน หรือเกิดสิวได้ 5. พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ


ดาวน์โหลด ppt องค์ประกอบของร่างกาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google