ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยนัยนา ติณสูลานนท์ ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
การประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ ( Self-Assessment and Reporting : SAR)
โดย ส่วนประสานและบริหารจัดการลุ่มน้ำมูลตอนบน สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5
2
ความเป็นมา กรมทรัพยากรน้ำ ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายองค์การลุ่มน้ำแห่งเอเชีย NARBO (Network of Asian River Basin Organization) และในเดือนพฤศจิกายน NABRO ได้คัดเลือกให้สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำมูล เข้าร่วมการอบรม 7th Integrated Water Resources Management Training ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เพื่อรับทราบองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และนำเสนอประสบการณ์จากการดำเนินงานด้านบริหารจัดการลุ่มน้ำแบบมีส่วนร่วมของประเทศไทย ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกับเครือข่ายสมาชิกอื่นอีก 9 ประเทศ ต่อมา NABRO ได้เชิญชวนให้สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำมูล เข้าร่วมกิจกรรมการประเมินศักยภาพคณะกรรมการลุ่มน้ำ ประจำปี 2013 – 2014 (NABRO’s river basin organization benchmarking program in 2013 – 2014 : RBOB 2013) ซึ่งสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำมูล ได้แสดงความสนใจและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
3
การประเมินตนเอง (Self Assessment)
การประเมินตนเอง หมายถึง การทบทวนการปฏิบัติงาน และบทบาทหน้าที่ขององค์กรในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่ามีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด โดยมักเทียบจากเกณฑ์มาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ รายงานการประเมินตนเอง(Self Assessment Report : SAR) รายงานการประเมินตนเอง คือ รายงานผลการประเมินการดำเนินงานขององค์กร เพื่อนำมาพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ที่กำหนด
4
ความสำคัญของการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ
จากสภาพปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ องค์กรลุ่มน้ำจึงมีบทบาทที่สําคัญในการแก้ไขปัญหาด้านน้ำ แนวคิดในการประเมินศักยภาพขององค์กรลุ่มน้ำ จะช่วย สนับสนุนการดําเนินการขององค์กรลุ่มน้ำได้ ดังนี้ เป็นเครื่องมือและแนวทางในการสนับสนุน ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำ แบบผสมผสาน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างองค์กรลุ่มน้ำ 3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ รวมถึง การคุ้มครองและรักษาสภาพนิเวศน์ทางน้ำ 4. เพิ่มความน่าเชื่อถือ และการตรวจสอบการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
5
ขั้นตอนการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ (Bench marking)
การประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้า (RBO Benchmarking) NARBO ได้กำหนดกรอบในการประเมินโดยใช้ดัชนีชี้วัดผลสาเร็จ (Key Performance Indicators; KPI) เพื่อกำหนดเป้าหมายและวัดศักยภาพองค์กร ซึ่งจะครอบคลุมทุกมิติของการดำเนินงานองค์กรลุ่มน้ำ และสามารถดำเนินการเฉพาะลุ่มน้ำหรือในกลุ่มลุ่มน้าที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยการดำเนินงานหลัก ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินการดำเนินงานในปัจจุบันของลุ่มน้ำเอง 2) ตั้งเป้าหมายสำหรับการดำเนินงานในอนาคตในแต่ละด้าน 3) จัดทำแผนงานที่จะนำไปสู่เป้าหมาย 4) ตรวจสอบจากสมาชิกองค์กรลุ่มน้ำอื่น (Peer Review) และประเมินแผนเพื่อปรับปรุงองค์กร โดยขั้นตอน 1-3 เป็นกระบวนการเรียนรู้ และการประเมินภายในองค์กร โดยได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของ NARBO และขั้นตอนที่ 4 เป็นการประชุมและอภิปรายของการ Peer Review ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำ Benchmarking เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์และข้อชี้แนะจากภายนอก เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการดำเนินงาน เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ระหว่างองค์การที่คล้ายกัน
6
ตัวชี้วัด ลักษณะของตัวชี้วัดที่เหมาะสมและสามารถขับไปสู่ความสําเร็จขององค์กรได้ 1.จะต้องสามารถวัดได้และกําหนดระดับการวัดที่ชัดเจน 2. มีความเหมาะสมและแสดงความแตกต่างของระดับการดําเนินงานที่ชัดเจน 3. จะต้องกําหนดเป้าหมายในการวัด 4. จะต้องมีความน่าเชื่อถือ 5. เป็นมาตรฐาน และวัดผลลัพธ์จากการดําเนินงานขององค์กรได้ ซึ่ง NARBO ได้กำหนดตัวชี้วัดในการประเมินองค์กรลุ่มน้ำไว้ 5 ด้าน คือ 1. ด้านภารกิจ (Mission) 2. ด้านผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Customers/Stakeholders) 3. ด้านกระบวนการภายใน (Internal Business Processes) 4. ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth)เพื่อประเมินปัจจัยภายในองค์กร 5. ด้านการเงิน (Finance)
7
(Critical Performance Area)
มิติการประเมิน (Critical Performance Area) วัตถุประสงค์ (Objectives) ตัวชี้วัด (Indicators) 1. มิติด้านภารกิจ (Mission) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แบบบูรณาการ (IWRM) 1.1 สถานภาพองค์กรลุ่มน้ำ : - การวัดระดับการพัฒนาองค์กรลุ่มน้ำและขอบเขตการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร รวมถึงคุณภาพกระบวนการการตัดสินใจขององค์กร 1.2 การกํากับดูแลองค์กรลุ่มน้ำ : - การวัดระดับขอบเขตงานระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับองค์กร ที่สนับสนุนธรรมาภิบาล 2. มิติด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพึงพอใจ อย่างเต็มที่จากบริการที่จัดให้โดย องค์กรลุ่มน้ำ 2.1 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : - การวัดระดับการส่วนร่วมในการตัดสินใจขององค์กรลุ่มน้ำ และการยอมรับเป้าหมายและการปฎิบัติงานขององค์กร 2.2 ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม: การมุ่งมั่นพัฒนาสิ่งแวดล้อม 2.3 การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม : - การวัดระดับความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และความตั้งใจที่จะป้องกันการทําลายสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่/การดํารงชีวิตของ ประชาชนในลุ่มน้ำ 2.4 การดํารงชีวิตของประชากรในลุ่มน้ำ : - การวัดภาพรวมการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่/การดํารงชีวิตของประชากรในลุ่มน้ำ
8
(Critical Performance Area)
มิติการประเมิน (Critical Performance Area) วัตถุประสงค์ (Objectives) ตัวชี้วัด (Indicators) 3. มิติด้านการเรียนรู้และการ เจริญเติบโต (Learning and Growth) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : องค์กรลุ่มน้ำมีเจ้าหน้าที่ ที่ปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิผล และผ่านการฝึกอบรมอย่างดี เพื่อส่งมอบภารกิจ 3.1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: - การวัดศักยภาพและความมีประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามภารกิจ การพัฒนาด้านเทคนิค/วิชาการ : องค์กรลุ่มน้ำมีโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคนิคเพื่อให้บรรลุพันธกิจ 3.2 การพัฒนาด้านเทคนิค : - การวัดระดับความมุ่งมั่นที่จะนําเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ เพื่อสนับสนุนการส่งมอบภารกิจขององค์กร การพัฒนาระบบ : การปรับปรุงการบริหารจัดการ และการดําเนินงานขององค์กร ลุ่มน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบ ภารกิจ 3.3 การพัฒนาองค์กร : - การวัดความมุ่งมั่นในการในการประยุกต์ใช้การบริหารจัดการเชิงคุณภาพเช่น ระบบการบริหารคุณภาพ (QMS) หรือระบบที่คล้ายคลึงกัน
9
(Critical Performance Area)
มิติการประเมิน (Critical Performance Area) วัตถุประสงค์ (Objectives) ตัวชี้วัด (Indicators) 4. มิติด้านกระบวนการภายในขององค์กร (Internal Business Processes) การวางแผน : การใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด 4.1 วุฒิภาวะด้านการวางแผน : - เพื่อระบุการวางแผนที่ดําเนินการอยู่ภายในองค์กร และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการส่งมอบภารกิจ การบริหารจัดการทรัพยากร : การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 การจัดสรรทรัพยากรน้ำ - การวัดการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำซึ่งได้กําหนดให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การบริหารจัดการข้อมูล : การจัดหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและน่าเชื่อถือสําหรับการบริหารจัดการและสําหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4.3 การแลกเปลี่ยนข้อมูล - การระดับความมุ่งมั่นการดําเนินการจัดการข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล 5. มิติด้านการเงิน (Finance) ความเป็นอิสระทางการเงิน : ความเ ป็ น อิ สระทาง การเ งิ นและการตรวจสอบ 5.1 การคืนทุนของค่าใช้จ่าย: - การวัดประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้รับบริการ และจุดแข็งของการบริหารจัดการงบประมาณ การดําเนินการด้านงบประมาณ 5.2 ประสิทธิภาพทางการเงิน: - การวัดความมุ่งมั่นในการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดสําหรับการส่งมอบภารกิจ
10
การอบรมแนวทางการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556
11
Mun RBCs Radar Chart of 2013 Rating
ผลการประเมินฯ ขององค์กรลุ่มน้ำมูล Mun RBCs Radar Chart of 2013 Rating Indicator Rating Target 1.RBO status 2.5 3.0 2.RBO governmance 1.5 2.0 3.Customer involvement 4.0 4.Customer feedback 3.5 5.Environmental audits 6.Basin Livelihood 7.Human resources development 8.Technical development 9.Organizational development 10.Planning maturity 11.Water allocation 12.Data sharing 13.Cost recovery - 14.Financial efficiency
14
การทบทวนผลการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กร (Peer Review)
วัตถุประสงค์ในการทบทวนผลการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมและจุดแข็งขององค์กรลุ่มน้ำมูล เพื่อทบทวนผลการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล (Self Assessment) และให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กรลุ่มน้ำ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสาน (IWRM) ขององค์กรลุ่มน้ำในภูมิภาคเอเชีย
15
ขั้นตอนการทบทวนผลการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ Peer Review
ศึกษารายงานผลการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล (SA report) การสอบถาม พูดคุย สนทนากับคณะทำงาน (SA team)หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครือข่ายองค์กรลุ่มน้ำ และศึกษาดูงานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ การตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่มีการอ้างอิงใน SA report จัดทำรายงานสรุปผลการทบทวนศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล (peer review report) เพื่อให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำต่างๆ
16
ขั้นตอนการทบทวนผลการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ Peer Review
Waluyo Hatmoko (Research Center for Water Resources, Indonesia) Dennis Von Custodio (ADB) 3. ทีม Peer review ได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อทบทวนผลการทำรายงานการประเมินตนเอง และดูงานการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2557
17
การประชุมเพื่อทบทวนผลการทำรายงานการประเมินตนเอง วันที่ 11 มีนาคม 2557
SA team นำเสนอรายงานผลการประเมินตนเอง และตอบข้อซักถาม
18
การประชุมเพื่อทบทวนผลการทำรายงานการประเมินตนเอง วันที่ 12 มีนาคม 2557
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำกับเครือข่าย และการศึกษาดูงานการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่
19
การประชุมเพื่อทบทวนผลการทำรายงานการประเมินตนเอง วันที่ 13 มีนาคม 2557
Peer Review ทีม นำเสนอและอภิปรายผลการทบทวนรายงานการประเมินตนเอง
20
ผลการทบทวนรายงานการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล
ผลการทบทวนศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล (Peer review) ผลการประเมินศักยภาพองค์กร ลุ่มน้ำมูล (SA) ผลการทบทวนรายงานการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล จากผู้เชี่ยวชาญภายนอกองค์กร พบว่า เกือบทุกตัวชี้วัดมีค่าคะแนนที่สูงขึ้นกว่าเดิม
21
ผลการทบทวนรายงานการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล
จากการทบทวนรายงานการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกองค์กร พบว่า เกือบทุกตัวชี้วัดมีค่าคะแนนที่สูงขึ้นกว่าเดิม องค์กรลุ่มน้ำมูลมีศักยภาพ/จุดแข็ง ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีข้อจำกัดด้านการเงิน เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณมีความสัมพันธ์หรือมีผลต่อการดำเนินกิจกรรมขององค์กรลุ่มน้ำ ตัวชี้วัดด้านการคืนทุนค่าใช้จ่าย (Cost recovery) ยังไม่สามารถชี้วัดศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำได้ครอบคลุมทุกประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างด้านกฎหมายและการจัดสรรงบประมาณ
22
ผลการทบทวนรายงานการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล
สถานภาพองค์กรลุ่มน้ำ จุดแข็ง มีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน คณะกรรมการลุ่มน้ำเป็นผู้แทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การตัดสินใจใช้เสียงส่วนใหญ่ เช่น ในกระบวนการจัดทำแผน ข้อเสนอแนะ หากมีประสานงานระหว่างองค์กรลุ่มน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการได้ทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ 2. ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรลุ่มน้ำสามารถพัฒนาศักยภาพได้ด้วยการปรับปรุงมาตรฐานในการสำรวจความคิดเห็น การมีช่องทางร้องทุกข์ และปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน
23
ผลการทบทวนรายงานการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล
3. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ระดับเจ้าหน้าที่) เพื่อให้ทำงานเชิงรุกในการประสานงานอย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานต่างประเทศ และหน่วยงานในพื้นที่ 4. การพัฒนาระบบ องค์กรลุ่มน้ำควรประยุกต์ใช้ระบบ ISO เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน รวมถึงการจัดทำคู่มือสำหรับการทำงาน และเพิ่มการวิเคราะห์ภาระงานและสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและรองรับความต้องการพัฒนาในอนาคต 5. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากการจัดสรรน้ำในพื้นที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จึงควรมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์วิเคราะห์สมดุลน้ำ เข้ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดสรรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
24
ผลการทบทวนรายงานการประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำมูล
6. ด้านการคืนทุนค่าใช้จ่าย (Cost Recovery) องค์กรลุ่มน้ำมูลไม่ได้ประเมินผลในตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีรับรายใดๆ จากผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
25
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม การเพิ่มศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรลุ่มน้ำในการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมบทบาทองค์กรลุ่มน้ำในการประสานงานด้านแผนปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นๆ พัฒนากลไกในการรายงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลสถิติต่างๆ 2. เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสาน (IWRM) ประยุกต์ใช้แนวทางการพัฒนาน้ำผิวดินร่วมกับน้ำใต้ดิน การบริหารจัดการที่ดิน และบริหารจัดการน้ำให้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.