งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การนำเสนอข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การนำเสนอข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การนำเสนอข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้
แผนงานระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อความปลอดภัยทางงถนน Road Safety Information System (RSIS) การนำเสนอข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้

2 การนำเสนอข้อมูล หลักการนำเสนอข้อมูล การนำเสนอในรูปแบบรายงาน
การนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint

3 หลักการนำเสนอข้อมูล การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (Informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความ และการนำเสนอข้อมูลในรูปบทความกึ่งตาราง การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (Formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง และแผนภูมิ

4 การนำเสนอในรูปแบบรายงาน
การบรรยาย เพื่ออธิบายพรรณนาถึงข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นต่างๆ หากมีการนำข้อมูลมาจากแหล่งอื่นควรมีการอ้างอิงถึงที่มาตามรูปแบบที่เหมาะสม ตัวอย่าง “นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543, หน้า 47) ให้ความหมายของการวิจัยว่าหมายถึง การแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีที่มีระบบ มีความเชื่อถือได้โดยอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ที่เป็นคำตอบของปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน”

5 การนำเสนอในรูปแบบรายงาน
รูปแบบ (format) ของรายงานที่ควรให้ความสำคัญ เช่น รูปแบบของตัวอักษร (font) ที่ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเป็นรูปแบบเดียวกัน  การนำเสนอข้อมูล (Presentation)  การนำเสนอข้อมูล (Presentation) ขนาดและสีของตัวอักษรในส่วนเดียวกันควรจะเหมือนกัน

6 การนำเสนอในรูปแบบรายงาน
ตัวสะกดและการใช้ภาษา เครื่องหมายวรรคตอน การจัดลำดับหัวข้อเรื่อง: ควรใช้การจัดลำดับหัวข้อแบบอัตโนมัติ (Numbering/bullet) มาช่วยแทนการพิมพ์ใส่โดยตรง เพราะหากมีการแก้ไขตัวเลขของลำดับ ก็จะสามารถจัดการได้ง่าย เลขหน้า สารบัญหรือดัชนี

7

8 ตาราง แผนภูมิ (Graphs) แผนผัง (Diagram)
ช่วยให้การเปรียบเทียบข้อมูลทำได้ง่ายและเห็นภาพมากขึ้น เลือกรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสม การนำเสนอข้อมูลบางประเภทเหมาะกับรูปแบบแผนภูมิ บางประเภทเหมาะกับรูปแบบตาราง วางในตำแหน่งที่เหมาะสมและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ควรมีการแสดงชื่อให้ชัดเจน

9 การนำเสนอในรูปแบบตาราง
ตาราง เป็นการแสดงข้อมูลที่มีการจำแนกให้ง่ายต่อความเข้าใจ ตัวอย่าง ตารางแสดงระดับความเจ็บปวดก่อนได้รับยา ความเจ็บปวด จำนวน (คน) ร้อยละ ไม่ปวด 7 16.3 ปวดน้อย 12 27.9 ปวดปานกลาง 9 20.9 ปวดมาก 15 34.9

10 ตารางแสดงลักษณะพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย หญิง 156 698 18.3 81.7 สถานภาพ โสด สมรส หย่าร้าง หม้าย 409 407 22 11 48.2 47.9 2.6 1.3

11 การนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิ (Graphs)
แผนภูมิ เป็นการแสดงข้อมูลแบบเปรียบเทียบ ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างหรือแนวโน้มอย่างชัดเจน ข้อมูลบางประเภทหากแสดงด้วยแผนภูมิจะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการบรรยายหรือการนำเสนอด้วยตาราง ตัวอย่าง

12 แผนภูมิ (Graphs)

13 แผนผัง (Diagram) 13

14 + จำนวนประชากร - + + + - + + + + + + + สารเคมีในแหล่งน้ำ + + + + + - -
วงจรปัญหา ทรัพยากรและบทบาทชุมชน ความจำเป็นต้องขยายพื้นที่ อยู่อาศัยและแหล่งทำกิน + จำนวนประชากร การบุกรุกพื้นที่ป่า/ ที่ดินชายคลอง - + การควบคุมกิจกรรม การใช้ประโยชน์ที่ดิน กิจกรรมการเพาะปลูก เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ/ปศุสัตว์ + + - + + รายได้ของชุมชน พื้นที่ป่าไม้ชายเลน ป่าชายคลอง + โรงงานอุตสาหกรรม ปริมาณ/ชนิด สัตว์น้ำที่จับได้ ปริมาณการใช้ สารเคมีในพื้นที่เกษตร + การบริโภคของชุมชน + + + การชะล้างพังทลายของดิน ของเสีย/แบคทีเรีย/ปุ๋ย ความชุกชุมสัตว์น้ำ สารเคมีในแหล่งน้ำ + + + โครงสร้างทรัพยากร สัตว์น้ำ + + ตะกอนในแหล่งน้ำ คุณภาพน้ำ ในแหล่งน้ำ - การควบคุมและ การจัดการน้ำ - - + - ปริมาณน้ำ ในแหล่งน้ำ ความเดือดร้อน ข้อขัดแย้งใช้น้ำ + - + - + การนำเสนอ ปัญหาของชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จิตสำนึกใน การรักษา สิ่งแวดล้อม ความรู้และ ความเข้าใจปัญหา + + +

15 ภาพประกอบ ภาพประกอบ เพื่อช่วยอธิบายข้อมูลให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ควรเลือกภาพที่มีความละเอียด สี ขนาดภาพ ชนิดของไฟล์ ขนาดไฟล์ ที่เหมาะสม ตัวอย่าง

16 การใช้รูปภาพ

17

18 ภาพประกอบ ภาพต้นแบบ ภาพหลังการปรับขนาด

19 การนำเสนอข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint

20 สิริมงคลของชุมชนชนบท พันธมิตรของทรัพยากรสัตว์น้ำ
น้ำท่วม : ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิริมงคลของชุมชนชนบท หายนะของคนเมือง พันธมิตรของทรัพยากรสัตว์น้ำ

21 น้ำท่วม : ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิริมงคลของชุมชนชนบท หายนะของคนเมือง พันธมิตรของทรัพยากรสัตว์น้ำ

22 เทคนิคการทำสไลด์ด้วย Microsoft PowerPoint

23 อย่าเริ่มต้นในคอมพิวเตอร์

24 Storyboard: logical sequence & flow of thought

25 การวางแผนในการทำสไลด์
เขียนหัวข้อ เก็บขัอมูล เขียนสไลด์ ฝึกซ้อม สไลด์ 30 % 50% 20%

26 Title Slide สไลด์เริ่มต้น
ประกอบด้วย ชื่อเรื่องที่จะนำเสนอ ชื่อผู้นำเสนอ หน่วยงาน ช่องทางการติดต่อผู้นำเสนอ

27 ระบบข้อมูลสุขภาพ Health Information System (HIS)
ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

28 สไลด์แสดงหัวข้อหรือภาพรวมที่จะนำเสนอ
ควรแสดงหัวข้อที่จะนำเสนอทั้งหมด โดยมีการเรียงลำดับหัวข้อ ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียด

29 การนำเสนอข้อมูล หลักการนำเสนอข้อมูล การนำเสนอในรูปแบบรายงาน
การนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint

30 การนำเสนอข้อมูลด้วย Microsoft PowerPoint
การใส่หัวข้อเรื่องและหมายเลขสไลด์ ควรใส่หัวข้อเรื่องทุกสไลด์ และใส่หมายเลขสไลด์ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังอ้างอิงได้ และป้องกันการสับสน การตรวจคำผิดและไวยากรณ์ การสะกดคำผิด การใช้คำซ้ำ การใช้ภาษา ไวยากรณ์ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน

31 การจัดหน้า <= 3 ประเด็นสำคัญต่อหนึ่งหน้า
ตัวอักษร <= 8 บรรทัดต่อหนึ่งหน้า

32 การเก็บข้อมูล การทำแบบสอบถามชนิดให้ผู้ตอบกรอกข้อมูลเอง (Self-administered questionnaire) วิธีนี้จะมีการนำแบบสอบถามไปมอบไว้ให้กับผู้ตอบ โดยอธิบายถึงวิธีการกรอกที่จำเป็น ผู้ตอบจะต้องกรอกแบบสอบถามเอง แบบสอบถามที่ใช้จะต้องมีคำถามที่เข้าใจง่าย มีคำอธิบายอย่างชัดเจน และการกรอกแบบสอบถามไม่ยุ่งยาก การสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง (Face to face interview) นิยมใช้ในการสำรวจและการทำสำมะโนประชากร โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสัมภาษณ์ผู้ให้คำตอบ แล้วบันทึกคำตอบลงในแบบบันทึกข้อมูล เป็นวิธีการที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพราะเจ้าหน้าที่ผู้สัมภาษณ์สามารถอธิบายให้ผู้ตอบเข้าใจคำถามได้ โดยก่อนที่จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปต้องอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ คำจำกัดความของคำต่าง ๆ ที่ใช้ในแบบสอบถาม ขั้นตอนการสัมภาษณ์ การกรอกแบบสอบถาม และกำหนดไว้ในคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard operation procedure: SOP) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Telephone interview) เป็นวิธีการที่ทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยคำถามที่ถามจะต้องสั้น เข้าใจง่าย มีจำนวนไม่มากนัก การสังเกตการณ์ (Observation) เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยการสังเกตโดยตรงจากปฏิกิริยา ท่าทาง หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง และจดบันทึกไว้โดยไม่มีการสัมภาษณ์ ใช้ในกรณีที่การสัมภาษณ์อาจไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง เช่น การสังเกตจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายของร้านอาหารโดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร วิธีการวัด วิธีนี้จะใช้อุปกรณ์ในการวัดตามความเหมาะสม เช่น การนับจำนวนรถยนต์ที่แล่นผ่านสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง โดยการใช้เครื่อง sensor ตรวจนับจำนวนรถที่แล่นผ่านเครื่องดังกล่าว

33 การเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง (Face to face interview) มีเจ้าหน้าที่ออกไปสัมภาษณ์ เป็นวิธีการที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะผู้สัมภาษณ์สามารถอธิบายให้ผู้ตอบเข้าใจคำถามได้ นิยมใช้ในการสำรวจและการทำสำมะโนประชากร การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Telephone interview) ทำได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คำถามต้องสั้น เข้าใจง่าย มีจำนวนไม่มากนัก

34 ขนาดตัวอักษร (Font Size)
ขนาดตัวอักษรแตกต่างกันในหัวเรื่อง หัวข้อหลักและหัวข้อรอง และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ตัวอย่าง การเลือกขนาดตัวอักษร (44 pt) การเลือกขนาดตัวอักษร (32 pt) การเลือกขนาดตัวอักษร (28 pt) การเลือกขนาดตัวอักษร (20 pt) การเลือกขนาดตัวอักษร (12 pt)

35 การกำหนดรูปแบบตัวอักษร (Font)
ควรใช้แบบอักษรมาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเมื่อต้องนำเสนอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ตัวอย่าง แบบอักษรมาตรฐาน (TH SarabunPSK) แบบอักษรมาตรฐาน (Browallia New) แบบอักษรมาตรฐาน (Cordia New) à·¤â¹âÅÂÕÊÒÃʹà·È (DB Eco Thai)

36 การกำหนดรูปแบบตัวอักษร (Fonts)
ไม่ควรใช้ข้อความภาษาอังกฤษแบบตัวใหญ่ทั้งหมด (Capitalize) เพราะจะอ่านได้ยาก ยกเว้นคำสั้น ๆ ที่เป็นหัวข้อหรือต้องการเน้น ตัวอย่าง CAPITALIZE ONLY WHEN NECESSARY. IT IS DIFFICULT TO READ. Capitalize only when NECESSARY. It is EASIER to read.

37 การกำหนดรูปแบบตัวอักษร (Fonts)
ตัวอักษรตัดขอบไม่ควรใช้ การใช้ลูกเล่นของตัวอักษร การใช้สีสันมากเกินไป

38 การใช้สีตัวอักษร (Color)
สามารถใช้สีช่วยในการเน้นคำสำคัญ ไม่ควรใช้สีหลายสีในหัวข้อระดับเดียวกันมากเกินไป

39 การใช้สีตัวอักษร (Color)
ข้อความนี้ยากต่อการอ่าน ข้อความนี้ก็....ยากต่อการอ่านเช่นกัน ข้อความนี้ทรมานสายตา ข้อความสีเข้มกับพื้นหลังสีอ่อนช่วยให้อ่านสบายตา

40 การใช้ฉากหลัง (Background)
ใช้ฉากหลังของการนำเสนอแบบเรียบง่าย หลีกเลี่ยงพื้นหลังที่ยากต่อการอ่าน เช่น เป็นภาพมีลวดลาย ควรใช้ฉากหลังแบบเดียวกันตลอดการนำเสนอ ใช้ฉากหลังที่สีตัดกันกับตัวอักษร

41 การใช้ฉากหลัง (Background)
สีฉากหลังมืด สีตัวอักษรสว่าง สีฉากหลังสว่าง สีตัวอักษรมืด

42 การใช้ฉากหลัง (Background)
ถ้าสีฉากหลังมืด สีตัวอักษรมืด ถ้าสีฉากสว่าง สีตัวอักษรสว่าง

43 การใช้ฉากหลัง (Background)
ฉากหลังมีลวดลาย ควรหลีกเลี่ยง ฉากหลังมีลวดลาย ควรหลีกเลี่ยง

44 การใช้ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ไม่ควรใช้ภาพเคลื่อนไหวที่วุ่นวาย มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป ควรใช้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นแบบเดียวกันในแต่ละหน้า

45 Aquarium Thailand เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันศุกร์
เปิดให้บริการ เวลา น. วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดให้บริการ เวลา น.

46

47

48 การแสดงผลพิเศษ (Effect)
ข้อความขยาย ข้อความหมุน ข้อความเลื่อนเข้าจากมุมซ้าย ข้อความปรากฏขึ้นจากพื้นหลัง

49 ถาม-ตอบ อาจเพิ่มสไลด์สุดท้ายด้วยข้อความง่ายๆ เช่น “ช่วงถาม-ตอบ” หรือ “Question?” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังถามคำถามหรือร่วมอภิปราย

50 Question?


ดาวน์โหลด ppt การนำเสนอข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google