แนวทางการเลื่อนเงินเดือนแบบใหม่ ตาม พรบ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
นำเสนอข้อมูลการใช้ยา กลุ่มที่ต้องมีการเฝ้าระวังการสั่งใช้ โรงพยาบาลสระบุรี ปี 2549 (1 ต.ค เม.ย.49)
Advertisements

ระบบข้อมูล/ระบบ GIS รพ.สต.
ทิศทางการบริหารจัดการโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง
ระบบ IT สปสช. กับงานเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยา
การติดตามประเมินผล ปี 2552
สถานการณ์การดำเนินงาน สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค.
โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน
แนวทางควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
Anti-retroviral treatment
P&P expressed demand (Itemized 9 รายการ)
ข้อมูลสารสนเทศและ การบริหารจัดการงบ P&P
NHSO National Health Security Office, Thailand แนวทางการใช้ข้อมูล OP/PP Individual 55 กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค.
Taweesak Dhammaraj Faculty of Pharmacy Mahasarakham University
Pre-Exposure Prophylaxis for HIV prevention
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แนวทางการเลื่อนเงินเดือนแบบใหม่ ตาม พรบ แนวทางการเลื่อนเงินเดือนแบบใหม่ ตาม พรบ.2551 ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 ใช้บัญชีเงินเดือนแบบใหม่ที่ปรับ 5% มีผล ณ วันที่ 1 เมษายน 2554 ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 8 ลว.28 เมย.2554 (แจ้งเวียนแล้วเมื่อเดือน พค.2554)

เกณฑ์ในการคำนวณเงินเดือน 1. ให้นับคนครอง ณ วันที่ 1 กย. 2554 ของรอบการเลื่อนที่ ปฏิบัติงานจริงภายในจังหวัดให้ สสจ/รพ/สสอ นับคนปฏิบัติจริง รวมผู้ที่ลาศึกษาต่อ แต่ไม่รวมผู้ที่มาช่วยราชการที่มี จ.18 อยู่ส่วน ราชการอื่น คือข้ามจังหวัดฯ ไม่นับ) 2. รวมอัตราเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภทตามข้อ 1 แล้วคูณด้วย 2.80 % จะเป็นฐานวงเงินที่ใช้เลื่อนเงินเดือนในแต่ละรอบการเลื่อน เช่น วงเงินมีอยู่ 200,000 x 2.80 % = 5,600บาท คือเงินที่จะใช้ เลื่อน ในรอบนี้

เกณฑ์ในการคำนวณเงินเดือน (ต่อ) 3. ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน แต่ละกลุ่มประเภทให้เลื่อนจาก ค่ากลางของแต่ละกลุ่มประเภท ตามบัญชีเงินเดือนใหม่ที่มีขั้น สูงขั้นต่ำ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2552 มีผลบังคับตั้งแต่ 1 เมย. 2554 4. กรณีผู้ที่มีเงินเดือนเต็มขั้น ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษตาม อัตราของผลการประเมินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน ค่าตอบแทนของกระทรวงการคลังกำหนด

เกณฑ์ในการคำนวณเงินเดือน (ต่อ) 5. การเลื่อนเงินเดือนตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ, อาวุโส ลงมาเป็น อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ 6. ในการบริหารวงเงินงบประมาณในการเลื่อนของส่วนราชการทุกแห่ง ในจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ เป็นผู้บริหารวงเงินตาม ก.พ.กำหนด ในจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ 7. การเลื่อนเงินเดือนของแต่ละประเภทกรณีเลื่อนให้ปัดเศษเป็นสิบบาท ในกลุ่มที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น เช่นเลื่อนร้อยละ 2 เป็นเงิน 423 บาท ให้ปัดเป็น 430 บาท

เกณฑ์ในการคำนวณเงินเดือน (ต่อ) 8. กรณีเงินเดือนเต็มขั้นที่ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ การเลื่อนค่าตอบแทน ไม่ต้องปัดเศษให้เป็นสิบบาท เช่น เลื่อนร้อยละ 3 เป็นจำนวนเงินที่ เลื่อนค่าตอบแทนจำนวน 963 ก็ให้ได้ตามนี้จะไม่มีการปัดเศษให้ ได้รับเงินค่าตอบแทน 963 บาท

แนวทางประการประเมินผลประกอบการเลื่อนเงินเดือน 1. ใช้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด คือ 1.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ร้อยละตามที่หน่วยงานกำหนด 1.2 ประเมินสมรรถนะตามที่ ก.พ กำหนด 5 ตัวหลัก และ เพิ่มเติมตามหน่วยงานกำหนด 1.3 ระยะเวลาในการประเมินตามรอบของการเลื่อนแต่ละครั้ง ในการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ

แนวทางประการประเมินผลประกอบการเลื่อนเงินเดือน 1. การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานให้หน่วยงานจัดทำคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารผลงานและประเมินผล และดำเนินการ ในรูปคณะกรรมการ 2. และในการพิจารณาเงินเดือนของข้าราชการ ลูกจ้าง ในทุกกรณี ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการในรูปคณะกรรมการของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน

บัญชีเงินเดือนชั้นต่ำและชั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทต่าง ๆ ตำแหน่งประเภทบริหาร บาท ชั้นสูง ชั้นต่ำ ชั้นต่ำชั่วคราว 67,560 51,140 24,400 69,810 56,380 29,980 ระดับ ต้น สูง

บัญชีเงินเดือนชั้นต่ำและชั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทต่าง ๆ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ บาท ชั้นสูง ชั้นต่ำ ชั้นต่ำชั่วคราว 54,090 26,660 19,860 63,960 32,850 24,400 ระดับ ต้น สูง

บัญชีเงินเดือนชั้นต่ำและชั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทต่าง ๆ ตำแหน่งประเภทวิชาการ บาท ชั้นสูง ชั้นต่ำ ชั้นต่ำชั่วคราว 24,450 8,340 7,140 39,630 15,050 13,160 53,080 22,140 19,860 63,760 31,400 24,400 69,810 43,810 29,980 ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชนก.พิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณ วุฒิ

บัญชีเงินเดือนชั้นต่ำและชั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทต่าง ๆ ตำแหน่งประเภททั่วไป บาท ชั้นสูง ชั้นต่ำ 19,100 4,870 35,220 10,190 49,830 15,410 62,760 48,220 ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ทักษะพิเศษ

การกำหนดค่ากลาง บัญชีการกำหนดค่ากลางให้ใช้บัญชีที่ใช้เลื่อนรอบ 1 เมษายน 2554 ที่แจ้งเวียนไปแล้ว ให้ใช้บัญชีค่ากลางของแต่ละประเภทที่กำหนดไว้ และแบบฟอร์มในการประเมินให้ใช้แบบที่ ก.พ. กำหนด

การเลื่อนค่าจ้างประจำ ปี 2554 ให้ใช้ตามแนวทางหนังสือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0203.034/ว 135 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 เรื่อง การปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างประจำของส่วนราชการ หนังสือแนวทางมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป

การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ใช้แนวทางการประเมินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ของลูกจ้างประจำกำหนด ตามตำแหน่งงาน ลักษณะงาน และสมรรถนะสำหรับตำแหน่งนั้น ๆ ในการประเมินผลงาน เกณฑ์ในการเลื่อน 1 ขั้น / 1.5 ขั้น/ 2 ขั้น ตามบัญชีโครงสร้างค่าจ้าง การนับคนครอง ณ วันที่ 1 กย.2554 ของรอบการเลื่อน โควตาในการเลื่อนไม่เกิน 15 % ของลูกจ้างที่มีอยู่จริง กรณีผู้ที่มีค่าจ้างเต็มขั้น ให้เป็นคำสั่งให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ

แนวทางในการดำเนินงาน 1. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยอาจใช้ คณะกรรมการชุดเดียวกันกับข้าราชการก็ได้ แล้วแต่กรณี 2. ให้พิจารณาดำเนินการในรูปคณะกรรมการบริหารของหน่วยงาน ตามคำสั่งที่แต่งตั้ง

ข้อพึงระวังในการเลื่อนเงินเดือน 1. กรณีที่มีผู้เกษียณอายุราชการ ในปีนั้น (1 ตค. ของทุกปี) ในการ เลื่อนเงินเดือนถ้ามีเงินเดือนเต็มขั้นในปีที่เกษียณอายุราชการ จะไม่ได้รับการพิจารณาการเลื่อนเงินเดือน แต่สามารถนำวงเงิน มารวมเป็นฐานในการนับด้วย 2. กรณีผู้ที่กลับจากลาศึกษาต่อ และบรรจุใหม่ มีระยะเวลาปฏิบัติงาน ไม่ครบ 4 เดือน ไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนในรอบการเลื่อนนั้น ๆ แต่สามารถนำเงินมานับรวมได้

ข้อพึงระวังในการเลื่อนเงินเดือน 3. ผู้ที่มาช่วยราชการ (ข้าราชการ) แต่มีตำแหน่งและอัตราเงินเดือน(จ.18) อยู่ต่างจังหวัดฯ หน่วยงานไม่สามารถนำมานับรวมหรือพิจารณาเลื่อนใน วงเงินของหน่วยได้ตามระเบียบใหม่ แต่ให้ส่งผลการประเมินไปให้ หน่วยงานตาม จ.18 เป็นผู้พิจารณาให้และใช้เงินของจังหวัดนั้น ๆ 4. กรณีผู้ที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย และอยู่ระหว่างดำเนินการ สอบสวน ผลการพิจารณายังไม่สิ้นสุดให้พิจารณาประเมินและ เลื่อนเงินเดือนได้ แต่ภายหลังผลการพิจารณาว่าผิดจริงและมีบทลงโทษ ให้แจ้ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทราบ เพื่อยกเลิกคำสั่งการเลื่อนเงิน ในรอบนั้น

ข้อพึงระวังในการเลื่อนเงินเดือน 5. วงเงินในการเลื่อนแต่ละรอบ คือ 1 เมย และ 1 ตค ไม่สามารถ นำมารวมกันได้ (เดิมให้รวมกัน) และการเลื่อนไม่มีโควตา 15% 6. กรณีผู้ถึงแก่กรรม และมีเวลาปฏิบัติราชการครบ 4 เดือนของแต่ละ รอบการเลื่อนให้เลื่อนเงินเดือนในวันที่ถึงแก่กรรมได้ 7. กรณีแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1 ไม่ให้นับรวมเพราะเป็นการหมุนเวียน ในการปฏิบัติงาน

ข้อพึงระวังในการเลื่อนค่าจ้าง 1. กรณีมีผู้เกษียณอายุราชการในปีนั้นๆ ถ้ามีค่าจ้างเต็มขั้นจะไม่ได้เลื่อน ค่าจ้าง 2. กรณีมีการสอบสวนวินัย และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้รอ การเลื่อนค้าจ้างไว้ก่อน และแจ้งให้จังหวัดทราบเพื่อแจ้งกระทรวงฯ ในการขอกันเงินเดือนเลื่อนค่าจ้าง (กรณีผลการพิจารณาไม่ผิด) 3. กรณีลูกจ้างประจำมาช่วยราชการและมีผลประเมินให้นับวงเงินใน การเลื่อนที่ส่วนราชการปฏิบัติจริง และจัดทำรายละเอียดแจ้งจังหวัดพร้อมหัก วงเงิน โควตา ไปให้ส่วนราชการ (ต่างจังหวัด) นั้นทำการเลื่อนค่าจ้างให้

ข้อพึงระวังในการเลื่อนค่าจ้าง และวงเงิน 0.5 แรกให้เป็นวงเงินของต้นสังกัด แต่ส่วนที่ได้เพิ่มเป็นอีก 0.5 หรือ 1 ขั้น ให้เป็นวงเงินของส่วนราชการที่ไปช่วยราชการจ่ายให้ 4. กรณีลูกจ้างประจำอยู่ระหว่างลาศึกษาต่อให้งดเลื่อนค่าจ้าง และให้ นับวงเงินรวมเป็นในการเลื่อนได้

การประเมินผลปฏิบัติราชการตามโปรแกรม PPIS ให้ทุกแห่งเตรียมบุคลากรผู้ที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ไว้แห่งละ 1 คนเพื่อจะได้ดำเนินการจัดทำการลงข้อมูลเรื่องตัวชี้วัดรายบุคคล จังหวัดได้เชิญเจ้าหน้าที่ ของ สสจ ไปประชุมเมื่อวันที่ 18-19 สค. 54 ที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้มีการปรับรายการ และเมนูในโปรแกรมเพิ่มเติมอีกบางส่วน และจังหวัดจะได้เตรียมข้อมูลพื้นฐานไว้เพื่อจัดประชุมแนวทางในการดำเนินงานอีกครั้ง วันเวลาจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป