ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSupp Udomprecha ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
โรคเบาหวาน เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรค ที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้
ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้นและถูกขับออกมาทาง ปัสสาวะ
2
สาเหตุ สาเหตุการเป็นโรคเบาหวานยังไม่แน่นอน
แต่องค์ประกอบที่สำคัญๆ ที่อาจเป็นต้นเหตุ ของการเกิดโรคดังนี้ 1. กรรมพันธุ์ มักพบโรคนี้ในผู้ที่มีบิดา มารดา ญาติ เป็นเบาหวาน 2. จากเชื้อโรคหรือยาบางชนิดไปทำลาย เซลล์ของตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนไม่ สามารถหลั่งฮอร์โมนอินสุลินได้เพียงพอ 3. ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย การตั้งครรภ์บ่อย
3
อาการ 1. ปัสสาวะบ่อยและมีมดขึ้น 2. ดื่มน้ำบ่อยและมาก
3. กินจุแต่ผอมลงเรื่อยๆ 4. น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย 5. เป็นแผลหรือฝีง่ายแต่หายยาก 6. คันตามผิวหนังและบริเวณอวัยวะ สืบพันธุ์ 7. เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ชาตามมือเท้า หมดความรู้สึกทางเพศ 8. ตาพร่ามัว ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ 9. คลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4000 กรัม ในแม่ที่เป็นเบาหวาน
4
โรคแทรกซ้อน * แบบเฉียบพลัน - การติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น เป็นแผลหรือฝี
ซึ่งลุกลามเร็ว แผลที่เท้า วัณโรคปอด เป็นต้น - ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำมาก * แบบเรื้อรัง - หลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ ทำให้เจ็บ หน้าอก, หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้เป็นอัมพาต กลืนลำบาก พูดไม่ชัด - ตาพร่า ตามัว ตาบอด, ไตอักเสบ, ไตวาย ประสาทอักเสบ ชาปลายมือ-ปลายเท้า ปัสสาวะลำบากหมดความรู้สึกทางเพศ ท้องผูกสลับท้องเดิน โรคแทรกซ้อนมีมาก แต่สามารถป้องกันได้ โดยการควบคุมรักษา เบาหวานให้ดีจะเกิดได้น้อย และไม่รุนแรง
5
การดูแลรักษา โรคนี้เป็นแล้วไม่หายขาด แต่สามารถ
ควบคุมได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง คือ 1. ควบคุมอาหาร 2. ออกกำลังกาย 3. ยาลดระดับน้ำตาล 4. การเรียนรู้และการดูแลรักษาตนเอง
6
การควบคุมอาหาร ลด…หลีกเลี่ยง….งด ในผู้ป่วยเบาหวาน * ลดอาหารจำพวกแป้งลง
* หลีกเลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์ ครีม กะทิ อาหารทอด นำมันปาล์ม * หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย * งดอาหารที่ใส่น้ำตาลมาก บุหรี่ สุรา
7
ควรกินอย่างไรดี ! * กินอาหารครบ 5 หมู่ กินผักให้มากขึ้น
* กินข้าวตามกำหนด ถ้าไม่อิ่มให้กินผักเพิ่ม * กินผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้มโอ ฝรั่ง พุทรา * ใช้เต้าหู้ ถั่วต่างๆ ทำอาหารให้มากขึ้น * ใช้น้ำมันพืชแทนไขมันสัตว์ เช่น น้ำมัน รำข้าว ถั่วเหลือง * กินอาหารให้ตรงเวลา * กินยาตามแพทย์สั่ง อย่างเคร่งครัด * ควรกระจายอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ คือ กิน ทีละน้อยแต่กินทุกมื้อ เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ย่อยอาหารได้ง่ายกว่ากินทีละมากๆ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.