ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2
แนวทางการประเมินตามสภาพจริง
การวัดผลทางการศึกษาและแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 26 หมวด 4 “ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบของการศึกษา….”
3
ความหมายของการประเมิน ตามสภาพจริง
การประเมินผลที่ใช้วิธีการและเกณฑ์ที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละหลักสูตร โดยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหรือสร้างผลงานออกมาเพื่อแสดงตัวอย่างของความรู้และทักษะที่ตนมี ซึ่งกิจกรรมที่นำมาใช้ในการประเมินนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่าเป็นการทดสอบ และข้อมูลของการประเมินผล ได้มาจากทั้งการเก็บรวบรวมผลงานที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน มีการสังเกตพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการทดสอบความรู้ความเข้าใจ
4
ลักษณะของการประเมิน ตามสภาพจริง
งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมาย คือ สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีการที่หลากหลาย คือ ประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะ ด้วยเครื่องมือที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ และกระทำหลายครั้งอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่การเรียนรู้เกิดขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพ งานทุกงานมีเกณฑ์มาตรฐานที่ร่วมกันตั้งไว้โดยครู ผู้เรียนและอาจจะมีผู้ปกครองร่วมด้วย ผู้เรียนจะประเมินตนเองตลอดเวลาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง จนผลงานมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีการแสดงผลงานต่อสาธารณะเพื่อสร้างความภูมิใจแก่ผู้เรียนด้วย
5
ลักษณะของการประเมิน ตามสภาพจริง (ต่อ)
ใช้ความคิดระดับสูง กล่าวคือ ผลงานที่สร้างนั้นต้องเกิดจากการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินทางเลือก ลงมือกระทำ ตลอดจนต้องใช้ทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์ทางบวก กล่าวคือ ผู้เรียน ครู และผู้ปกครองจะต้องมีการร่วมมือกันประเมินและผู้เรียนไม่มีความเครียด มีการกำหนดจำนวนงาน ขอบเขตและมาตรฐานอย่างชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
6
ลักษณะของการประเมิน ตามสภาพจริง (ต่อ)
สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียน โดยผู้เรียนมีโอกาสแสดงความรู้สึกนึกคิด เหตุผลในการทำ ไม่ทำ ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้เห็นและทราบถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน เป็นการบูรณาการซึ่งองค์ความรู้ กล่าวคือ ผลงานที่ทำต้องใช้ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ ในลักษณะสหสาขาวิชา (Interdisciplinary)
7
ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง
ใช้งานที่มีลักษณะปลายเปิดและสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนที่แท้จริง ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากลยุทธการเรียนการสอนที่สำคัญ เน้นการใช้ทักษะ ความรู้ความเข้าใจระดับสูงที่สามารถประยุกต์ใช้ข้ามวิชาได้ เน้นที่สาระสำคัญของลักษณะที่บ่งบอกถึงพัฒนาการทางการเรียนรู้มากกว่าเพียงแต่การดูปริมาณของความบกพร่อง
8
ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง (ต่อ)
เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดและแสดงให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีความสลับ ซับซ้อนและยุ่งยากได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย และบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้างที่ได้มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ กัน สามารถใช้ได้กับทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ให้ความสำคัญและสนใจในความคิดและความสามารถของปัจเจกบุคคลมากกว่านำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน
9
ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง (ต่อ)
สนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคลและประเภทของผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการวัดและการประเมินผลระหว่างผู้เรียน ผู้สอนและผู้ปกครอง ผู้เรียนและผู้สอน ล้วนมีบทบาทสำคัญในการประเมินผล ไม่เน้นว่าผลการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้าที่จะมีการเรียนการสอน สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการประเมินในระยะยาวได้ ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าที่ต้องการให้เกิดขึ้นมากกว่าการบันทึกจุดอ่อนของผู้เรียน
10
หลักการประเมินตามสภาพจริง
ไม่เน้นการประเมินทักษะพื้นฐาน (Basic Skills Assessment) แต่เน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อน (Complex Thinking Skill) ในการทำงาน ความร่วมมือ ในการแก้ปัญหา และการประเมินตนเองทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เป็นการวัดและประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน เป็นการสะท้อนให้เห็นการสังเกตสภาพงานปัจจุบัน (Current Work) ของนักเรียน และสิ่งที่นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
11
หลักการประเมินตามสภาพจริง
เป็นการผูกติดนักเรียนกับงานที่เป็นจริง โดยพิจารณาจากงานหลาย ๆ ชิ้น ผู้ประเมินควรมีหลาย ๆ คน โดยมีการประชุมระหว่างกลุ่มผู้ประเมินเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน การประเมินต้องดำเนินการไปพร้อมกับการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง นำการประเมินตนเองมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินตามสภาพที่แท้จริง ควรมีการประเมินทั้ง 2 ลักษณะ คือ การประเมินที่เน้นการปฏิบัติจริง และการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
12
แนวปฏิบัติในการประเมิน ตามสภาพจริง
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน ต้องสอดคล้องกับสาระ มาตรฐานจุดประสงค์การเรียนรู้และสะท้อนการพัฒนา กำหนดขอบเขตในการประเมิน ต้องพิจารณาเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เช่นความรู้ ทักษะและกระบวนการ ความรู้สึก คุณลักษณะ เป็นต้น กำหนดผู้ประเมิน โดยพิจารณาผู้ประเมินว่าจะมีใครบ้าง เช่น นักเรียนประเมินตนเองเพื่อนนักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมิน ควรมีความหลากหลายและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ วิธีการประเมิน เช่น การทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกพฤติกรรม แบบสำรวจความคิดเห็น บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง แฟ้มสะสมงาน ฯลฯ
13
แนวปฏิบัติในการประเมิน ตามสภาพจริง
กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างนักเรียนทำกิจกรรม ระหว่างทำงานกลุ่ม/โครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เวลาว่าง/พักกลางวัน ฯลฯ วิเคราะห์ผลและวิธีการจัดการข้อมูลการประเมิน เป็นการนำข้อมูลจากการประเมินมาวิเคราะห์โดยระบุสิ่งที่วิเคราะห์ เช่น กระบวนการทำงาน เอกสารจากแฟ้มสะสมงาน ฯลฯ รวมทั้งระบุวิธีการบันทึกข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดเกณฑ์ในการประเมิน เป็นการกำหนดรายละเอียดในการให้คะแนนผลงานว่าผู้เรียนทำอะไร ได้สำเร็จหรือว่ามีระดับความสำเร็จในระดับใด คือ มีผลงานเป็นอย่างไร การให้คะแนนอาจจะให้ในภาพรวมหรือแยกเป็นรายให้สอดคล้องกับงานและจุดประสงค์การเรียนรู้
14
เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics Score)
ให้คะแนนในลักษณะภาพรวม เป็นการให้คะแนนในความหมายว่า คะแนนนั้นเป็นตัวแทนความประทับใจในผลงานทั้งหมดรวมทุกด้าน มักใช้กับเครื่องมือวัดประเมินผลที่เป็น Authentic Test ให้คะแนนในลักษณะวิเคราะห์งานเป็นส่วนย่อย เป็นการแตกย่อยผลสัมฤทธิ์ของงานหนึ่งๆ ออกเป็นหลายๆ ด้าน เพื่อวิเคราะห์ระดับความสำเร็จแต่ละด้านในงานนั้น ของนักเรียนข้อมูลมีประโยชน์มากต่อการพัฒนาการเรียนการสอน มักใช้ประเมินแฟ้มสะสม
15
ตัวอย่างการให้คะแนน ในลักษณะภาพรวม
ตัวอย่างที่ 1 กำหนดสถานการณ์ให้นักเรียนคิด แล้วให้ตอบพร้อมอธิบายวิธีการคิดเกณฑ์การให้คะแนน 0 = ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกและอธิบายวิธีคิดไม่ได้ 1 = ไม่ตอบ แต่แสดงวิธีคิดเล็กน้อย วิธีคิดมีแนวทางจะนำไปสู่คำตอบได้ 2 = ตอบผิดแต่มีเหตุผลหรือเกิดจากการคำนวณผิดพลาด แต่มีแนวทางไปสู่คำตอบที่ชัดเจน 3 = คำตอบถูก เหตุผลถูกต้อง อาจมีข้อผิดพลาดบ้าง 4 = คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง แนวคิดชัดเจน
16
ตัวอย่างการให้คะแนน ในลักษณะภาพรวม
ตัวอย่างที่ 2 ใช้แนวคิดคล้ายการประเมินแบบอิงกลุ่ม คือ แบ่งงานนักเรียนออกเป็น 3 กอง กองที่ 1 งานที่มีคุณภาพพิเศษ กองที่ 2 งานที่ได้รับการยอมรับ กองที่ 3 งานที่ไม่ได้รับการยอมรับ แบ่งงานแต่ละกองออกเป็น 2 ระดับ แต่ละกองจะได้ระดับคะแนนเป็น 5-6, 3-4, และ 1-2 ตามลำดับ พร้อมทั้งอธิบายลักษณะงานแต่ละกอง สำหรับงานที่แสดงว่าไม่ได้ใช้ความพยายามเลยให้ “0” คะแนน
17
ตัวอย่างการให้คะแนนในลักษณะวิเคราะห์งานเป็นส่วนย่อย
การประเมินภาพวาด (ศิลปศึกษา) การจัดองค์ประกอบ 1) คะแนน องค์ประกอบภาพน้อยหรือมากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงจุดมุ่งหมาย ระยะภาพมีระยะเดียว 2) คะแนน องค์ประกอบภาพกระจายจนไม่มีจุดเด่น ระยะภาพผิดขนาดในบางส่วน 3) คะแนน ภาพมีความสมดุล จุดเด่นภาพชัดเจน เหมาะสม มีการใช้ระยะภาพใกล้ – ไกล นำสายตาไปยังจุดเด่น การผสมสี 1) คะแนน บีบสีจากหลอด ระบายบนกระดาษเลย และไม่สามารถผสมสีได้ตามต้องการ 2) คะแนน ใช้จานสีในการผสมสี แต่สีเหลวหรือข้นเกินไป 3) คะแนน ผสมสีได้เหมาะสมและใช้สีได้ใกล้เคียงความจริง ฯลฯ
18
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
วิธีการ – เครื่องมือ การสังเกต ประกอบด้วย - แบบสำรวจรายการ - ระเบียนพฤติกรรม - แบบมาตราส่วนประมาณค่า กิจกรรมที่วัด วัดพฤติกรรมที่ลงมือปฏิบัติ แล้วสังเกตความสามารถและร่องรอยของการปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติตามคำสั่ง การทำงานร่วมกันอย่างมีขั้นตอน การเข้าร่วมการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่กำหนด วัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะนิสัยและความรู้สึก
19
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
วิธีการ – เครื่องมือ การสัมภาษณ์ ได้แก่ - แบบบันทึกการสัมภาษณ์ กิจกรรมที่วัด สอบถามเพื่อให้ทราบถึงความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ และการกระทำด้านต่างๆ เช่น ความกล้าในการแสดงความคิดเห็น บอกแนวความคิดที่มี อธิบายสิ่งที่มีความเชื่ออยู่ เป็นต้น
20
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
วิธีการ – เครื่องมือ การสอบถาม ได้แก่ - แบบสอบถาม กิจกรรมที่วัด ใช้วัดความต้องการ ความสนใจ ที่แสดงความรู้สึกได้อย่างอิสระ
21
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
วิธีการ – เครื่องมือ การทดสอบ ประกอบด้วย - แบบเขียนตอบ - แบบทดสอบปฏิบัติจริง กิจกรรมที่วัด ทดสอบทักษะ ความรู้ความสามารถต่างๆ ที่ต้องการทราบ เช่น ความเร็วในการอ่าน รวมทั้งความเข้าใจในการอ่านและการเขียน และการสรุปความ เป็นต้น กิจกรรมที่ไม่อาจสังเกตได้ทุกเวลาและอย่างทั่วถึง รวมทั้ง พฤติกรรมบางอย่างที่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งเงื่อนไขบางอย่างเกิดขึ้นไม่บ่อยนักทำให้การสังเกตในสถานการณ์จริงเป็นเรื่องยากและเสียเวลานาน ดังนั้น การใช้แบบทดสอบจะมีความเหมาะสมมากกว่า
22
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
วิธีการ – เครื่องมือ แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) กิจกรรมที่วัด กิจกรรมที่ผู้เรียนทำเป็นชิ้นงานออกมา อาจเป็นรายงาน แบบบันทึก เทปบันทึกเสียง ฯลฯ และทำการประเมินโดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น โดยมีลักษณะที่เน้นให้ผู้เรียนคิดทบทวนและประเมินตนเอง
23
เอกสารอ้างอิง ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2540). “การประยุกต์ใช้การวัดและประเมินความสามารถจริงในสภาพการเรียนการสอน”. วารสารแนะแนว, ปีที่ 31. ฉ.167 หน้า: 9-17. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). การวัดและประเมินผลสภาพแท้จริงของนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. Morgan, Bobbette M. (1999). “Portfolios in Preservice Teacher Fieldbased Program : Evolution of a Rubric for Performance Assessment.” Education. Vol. 119, Issue 3, Page: Reckase, Mark D. (1995). “Portfolio Assessment : A Theoretical Estimate of Score Reliability.” Educational Measurement: Issues and Practice. Vol. 14, No. 1, Page: Richard, J. Stiggins, Judith A. Arter, Jan Chappuis, and Stephen Chappuis. (2007). Classroom Assessment for Student Learning. New Jersey : Pearson Education, Inc. Weldin, Donna J. and Tumarkin, Sandra R. “Parent Involvement More Power in the Portfolio Process.” Childhood Education. Vol. 75, No. 2. Page:
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.