ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พระวาจา ทรง ชีวิต ธันวาคม 2014
2
"ใครมีเสื้อสองตัว จงแบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ไม่มี คนที่มีอาหาร ก็จงทำเช่นเดียวกัน" (ลก.3:11)
3
ในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ซึ่งเป็นเทศกาลเตรียมตัวสำหรับการฉลองคริสต์มาสของเรา เราจะได้ยินเรื่องราวของนักบุญยอห์น บัปติสต์อีกครั้งหนึ่ง พระเป็นเจ้าทรงส่งท่านมาเพื่อเตรียมทางสำหรับการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์
4
“จงประพฤติตนให้สมกับที่ได้กลับใจแล้วเถิด” และกับประชาชนที่ถามท่านว่า
ท่านประกาศ เร่งเร้าผู้คนที่มารับฟังคำสอนของท่าน ให้เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตอย่างจริงจังว่า “จงประพฤติตนให้สมกับที่ได้กลับใจแล้วเถิด” และกับประชาชนที่ถามท่านว่า “พวกเราจะต้องทำอะไร” ท่านตอบว่า
5
"ใครมีเสื้อสองตัว จงแบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ไม่มี คนที่มีอาหาร ก็จงทำเช่นเดียวกัน"
6
ทำไมฉันต้องให้ของของฉันแก่คนอื่นด้วย ก็เพราะว่าพระเป็นเจ้าได้ทรงสร้างเราทุกคนมา คนอื่นจึงเป็นพี่น้องของฉัน ดังนั้น เขาจึงเป็นส่วนหนึ่งของฉันด้วย
7
"มหาตมะคานธีเคยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่อาจทำร้ายตัวท่าน โดยไม่ทำอันตรายแก่ตัวของข้าพเจ้าเองได้”
8
เราถูกสร้างมาให้เป็นของขวัญแก่กันและกัน ในภาพลักษณ์ของพระเป็นเจ้าผู้ทรงเป็นองค์ความรัก เรามีกฎแห่งความรักอยู่ในสายเลือดของเรา
9
“เรารักท่านอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด”
เมื่อองค์พระเยซูเจ้าเสด็จมาประทับท่ามกลางเรา พระองค์ทรงอธิบายเรื่องนี้อย่างชัดเจนในพระบัญญัติใหม่ของพระองค์ “เรารักท่านอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด”
10
นี่เป็นกฎแห่งสวรรค์ เป็นชีวิตของพระตรีเอกภาพที่พระองค์ทรงนำมาในโลก เป็นหัวใจของพระวรสาร
11
ความรักซึ่งกันและกันของเรา
พระบิดา พระบุตรและพระจิตทรงสนิทสัมพันธ์จนเป็นหนึ่งเดียวกันในสวรรค์ เราที่อยู่ในโลกนี้จะบรรลุถึงการเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ได้มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการเจริญชีวิต ความรักซึ่งกันและกันของเรา
12
แต่ต้องแบ่งปันข้าวของสมบัติฝ่ายกายด้วย
สมดังคำที่พระบุตรได้ตรัสกับพระบิดาว่า “ทุกสิ่งที่เป็นของข้าพเจ้าเป็นของพระองค์ และทุกสิ่งที่เป็นของพระองค์ก็เป็นของข้าพเจ้า” ดังนั้น ความรักของเราก็เช่นกันจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเราแบ่งปันกับผู้อื่น มิใช่เพียงสมบัติฝ่ายจิตเท่านั้น แต่ต้องแบ่งปันข้าวของสมบัติฝ่ายกายด้วย
13
ความขาดแคลนของคนหนึ่งก็เป็นความขาดแคลนของเราด้วย เขาตกงานหรือ ฉันก็ตกงานด้วย
14
ก็เหมือนกับว่าเป็นตัวฉันเองที่หิวและฉันจะพยายาม
แม่ของเขาไม่สบายหรือ ฉันต้องช่วยเหลือเธอเหมือนกับว่าเธอเป็นแม่ของฉันด้วย มีคนอดอยากหิวโหยหรือ ก็เหมือนกับว่าเป็นตัวฉันเองที่หิวและฉันจะพยายาม หาอาหารให้พวกเขาเหมือนหาอาหารให้ตัวเอง
15
นี่เป็นประสบการณ์ของคริสตชนสมัยแรกๆที่กรุงเยรูซาเล็ม ชุมชนผู้มีความเชื่อนั้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่มีใครอ้างว่าทรัพย์สมบัติที่ตนมีเป็นของตน แต่พวกเขาวางทุกสิ่งเป็นกองกลาง การแบ่งปันซึ่งการวางทรัพย์สิ่งของเป็นกองกลางนั้น มิใช่กฎบังคับ แต่พวกเขาถือปฏิบัติอย่างจริงจัง
16
นักบุญเปาโลอธิบายไว้ว่า “มิใช่ว่าให้การงานของคนอื่น
เบาลง และให้การงานของพวกท่านหนักขึ้น แต่เป็นเรื่องของความเท่าเทียมกัน
17
นักบุญบาซิลองค์ใหญ่กล่าวว่า ซุกซ่อนไว้เป็นของคนที่ขาดแคลน”
“ขนมปังที่คุณไม่ต้องการแล้วเป็นของคนหิวโหย เสื้อหนาวที่คุณเก็บไว้ในตู้เป็นของคนที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม เงินทองที่คุณเก็บ ซุกซ่อนไว้เป็นของคนที่ขาดแคลน”
18
นักบุญเอากุสตินกล่าวว่า “สิ่งของที่มากเกินความจำเป็นของคนรวยเป็นของคนยากจน”
“แม้คนจนด้วยกันก็สามารถช่วยกันเองได้ คนหนึ่งอาจใช้ขาของตนช่วยคนที่ขาพิการ คนหนึ่งอาจใช้ตาของเขาช่วยนำคนตาบอด หรืออีกคนอาจไปเยี่ยมคนเจ็บได้”
19
"ใครมีเสื้อสองตัว จงแบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ไม่มี คนที่มีอาหาร ก็จงทำเช่นเดียวกัน"
20
สมัยนี้เราก็เจริญชีวิตแบบคริสตชนสมัยแรกๆได้ พระวรสารมิใช่เรื่องเพ้อฝัน
21
แต่เราเห็นได้จากการที่พระจิตเจ้าบันดาลให้เกิดกลุ่มใหม่ๆในพระศาสนจักรเพื่อช่วยฟื้นฟูให้พระศาสนจักรมีชีวิตชีวา สนใจใคร่เจริญชีวิตแบบคริสตชนสมัยแรกๆ และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายยิ่งใหญ่ของโลกปัจจุบันที่ถูกทับถมรุมเร้าด้วยความอยุติธรรมและภาระอันหนักอึ้งของความยากจน
22
ดิฉันจำได้ว่าในสมัยเริ่มแรกของคณะโฟโคลาเร พระพรพิเศษใหม่นี้เต็มเปี่ยมอยู่ในหัวใจของเรา เรามีความรักพิเศษต่อคนยากจน ทุกครั้งที่เราพบคนยากจนตามถนนหนทาง เราจะขอที่อยู่ของพวกเขาไว้ เพื่อว่าภายหลัง เราจะได้ไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือพวกเขา พวกเขาคือองค์พระเยซูเจ้า “ท่านได้กระทำต่อเราเอง”
23
เมื่อเราไปเยี่ยมเยียนพวกเขาที่บ้าน ซึ่งแทบจะไม่มีอะไรเลย เราจะชวนเขามารับประทานอาหารที่บ้าน เราจัดโต๊ะอาหารโดยใช้ผ้าปูโต๊ะ จาน ชาม ช้อนที่สวยที่สุด เราแต่ละคนในบ้านโฟโคลาเรนั้น เราจะนั่งข้างๆคนยากจน สลับกันไปกับพวกเขาจนรอบโต๊ะอาหาร
24
เราแต่ละคนจะนำสิ่งของที่รู้สึกว่าเกินความต้องการมา
พอถึงช่วงเวลาหนึ่ง เรารู้สึกว่าพระเป็นเจ้าทรงเรียกร้องให้เราเจริญชีวิตยากจนอย่างแท้จริงเพื่อรับใช้คนจนและคนอื่นๆ เราแต่ละคนจะนำสิ่งของที่รู้สึกว่าเกินความต้องการมา วางรวมกันในห้องรับแขก มีเสื้อคลุม ถุงมือ หมวก บางคนให้แม้กระทั่งเสื้อคลุมขนสัตว์
25
ปัจจุบันนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือคนจน เรามีธุรกิจที่ให้คนจน
ปัจจุบันนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือคนจน เรามีธุรกิจที่ให้คนจน มีงานทำและแบ่งผลกำไรไปช่วยพวกเขา แต่ทว่ายังมีงานอีกมากที่เราต้องทำเพื่อช่วย “คนจน”
26
"ใครมีเสื้อสองตัว จงแบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ไม่มี คนที่มีอาหาร ก็จงทำเช่นเดียวกัน"
27
เราอาจจะไม่รู้สึกว่า เราเองก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถแบ่งปันได้ เราต้องฝึกตนเองให้เป็นคนที่รู้สึกไวและเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะลงมือช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อเปิดหนทางของการเจริญชีวิตความเป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง
28
เรามีความรักในหัวใจที่จะให้ เรามีท่าทีของความเป็นมิตรที่จะเสนอ มีความสุขความยินดีที่จะแบ่งปัน เราสามารถให้เวลา เราสวดภาวนาให้ได้ และสามารถแบ่งปันขุมทรัพย์ในจิตใจของเราด้วยการเขียนหรือการพูด บางครั้งเรามีสิ่งของที่เราจะแบ่งปันให้คนอื่นได้ เช่น กระเป๋า ปากกา หนังสือ เงิน บ้าน รถยนต์
29
บางทีเราอาจสะสมสิ่งของมากมาย คิดว่าวันหนึ่งอาจต้องการใช้ แต่ขณะนี้อาจมีคนใกล้ตัวเราที่จำเป็นต้องการใช้มันจริงๆ
30
การจนไปสักนิดดีกว่าการรวยมากไปหน่อย
จงเป็นเหมือนต้นไม้ที่ดูดซึมน้ำจากดินเท่าที่มันจำเป็น เราก็เช่นเดียวกัน เราควรจะมีเท่าที่จำเป็น บางครั้งเป็นการดีที่เราจะมีประสบการณ์ของการขาดแคลนสิ่งนั้น สิ่งนี้ไปบ้าง การจนไปสักนิดดีกว่าการรวยมากไปหน่อย
31
นักบุญบาซิลกล่าวว่า “ถ้าหากเราทุกคนพึงพอใจ มีเท่าที่จำเป็นและให้ส่วนที่เกินความจำเป็นนั้นกับคนที่ขาดแคลน ก็จะไม่มีคนจนคนรวยอีกต่อไป”
32
ไม่ว่าจะให้กับใครก็ตาม เราได้ให้กับพระองค์เอง
ขอให้เราทดลองเริ่มเจริญชีวิตแบบนี้ พระเยซูเจ้าจะทรงตอบแทนเราเป็นร้อยเท่าทวีคูณ และเราก็จะสามารถให้ต่อไปได้อีก และที่สุด พระองค์จะทรงบอกเราว่า สิ่งที่เราได้ให้ไปนั้น ไม่ว่าจะให้กับใครก็ตาม เราได้ให้กับพระองค์เอง
33
"ใครมีเสื้อสองตัว จงแบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ไม่มี คนที่มีอาหาร ก็จงทำเช่นเดียวกัน“
“พระวาจาทรงชีวิต” จัดพิมพ์รายเดือนโดยคณะโฟโคลาเร คำอธิบายโดย เคียร่า ลูบิค เดือนธันวาคม 2003 กราฟฟิกโดย Anna Lollo โดยความร่วมมือของ Fr. Placido D’Omina (ซิชิลี - อิตาลี) คำอธิบายพระวาจาทรงชีวิตนี้แปลเป็นภาษาต่างๆถึง 96 ภาษา และภาษาท้องถิ่นต่างๆด้วย พระวาจานี้ไปถึงผู้คนกว่าล้านคนทั่วโลก ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต รายละเอียดเพิ่มเติม พาวเวอร์พ้อยท์พระวาจาทรงชีวิตภาษาต่าง ๆ พบได้ที่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.