งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระวาจา ทรง ชีวิต กันยายน 2010.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระวาจา ทรง ชีวิต กันยายน 2010."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระวาจา ทรง ชีวิต กันยายน 2010

2 "เราไม่ได้บอกท่านว่า ต้องยกโทษเจ็ดครั้ง แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง" (มธ. 18,22)

3 นี่เป็นพระวาจาที่พระเยซูเจ้าทรงตอบเปโตร หลังจากได้ฟังสิ่งดีๆมากมายหลายอย่างจากพระองค์แล้ว เปโตรก็ได้ถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องยกโทษพี่น้องที่ทำผิดต่อข้าพเจ้ากี่ครั้ง ถึงเจ็ดครั้งไหม” พระเยซูเจ้าตอบว่า “เราไม่ได้บอกท่านว่าต้องยกโทษเจ็ดครั้ง แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง”

4 เปโตรเป็นคนดีและใจกว้าง อาจเป็นเพราะว่าได้รับอิทธิพลจากคำเทศน์สอนของพระอาจารย์ จึงคิดจะเจริญชีวิตแนวใหม่ที่พระเยซูเจ้าสอน คือ อยากทำสิ่งที่ ยอดเยี่ยม อย่างเช่น สามารถยกโทษผู้อื่นได้ถึงเจ็ดครั้ง (...)

5 แต่พระเยซูเจ้ากลับทรงตอบว่า “
แต่พระเยซูเจ้ากลับทรงตอบว่า “... เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง” ซึ่งหมายความว่า สำหรับพระองค์ การให้อภัยต้อง ไม่มีขีดจำกัด ต้องยกโทษเสมอ

6 "เราไม่ได้บอกท่านว่า ต้องยกโทษเจ็ดครั้ง แต่ต้อง ยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง" (มธ. 18,22)

7 พระวาจานี้ทำให้เราหวนระลึกถึงบทเพลงของลาเมคในพระคัมภีร์ ลาเมคเป็นลูกหลานของอาดัม ท่านกล่าวว่า “ถ้ากาอินจะถูกแก้แค้นเป็นเจ็ดเท่า ลาเมคจะถูกแก้แค้นเป็นเจ็ดสิบเท่า” เมื่อความเกลียดชังแทรกเข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ความเกลียดชังนี้ กลับเป็นเสมือนแม่น้ำที่ล้นฝั่งไหลท่วมไปทุกหนทุกแห่ง

8 เพื่อจะต่อสู้กับความเลวร้ายที่ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วนี้ พระเยซูเจ้าทรงใช้การอภัยที่ไม่มีขีดจำกัด ปราศจากเงื่อนไข เพื่อหยุดยั้งความรุนแรง

9 การให้อภัยเป็นเพียงวิธีเดียว ที่สามารถหยุดยั้งความสับสนวุ่นวาย และป้องกันมิให้มนุษยชาติทำลายตนเอง

10 "เราไม่ได้บอกท่านว่า ต้องยกโทษเจ็ดครั้ง แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง" (มธ. 18,22)

11 จงให้อภัย อภัยเสมอ การให้อภัยมิใช่การลืม เพราะบ่อยครั้ง การลืมหมายถึง ไม่ต้องการ ที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริง

12 การให้อภัยมิใช่เป็นความอ่อนแอ คือไม่สนใจในสิ่งผิดนั้น เนื่องจากกลัวบุคคลที่แข็งแรงกว่าซึ่งเป็นฝ่ายผิด

13 การให้อภัยหมายถึงการไม่ตอบสนองความชั่วร้ายด้วยความชั่ว แต่ทำอย่างที่นักบุญเปาโลกล่าวคือ “อย่าให้ความชั่วเอาชนะท่าน แต่จงเอาชนะความชั่วด้วยความดี”

14 การให้อภัยเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ที่ทำผิดต่อเรา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับเรา นั่นหมายถึงเราและเขามีทางเริ่มชีวิตใหม่ เป็นการเริ่มอนาคตใหม่ที่มิใช่ความชั่วเป็นตัวตัดสิน

15 "เราไม่ได้บอกท่านว่า ต้องยกโทษเจ็ดครั้ง แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง" (มธ. 18,22)

16 เราจะเจริญชีวิตตามพระวาจานี้ได้อย่างไร
เปโตรถามพระเยซูเจ้าว่า “ข้าพเจ้าต้องยกโทษให้พี่น้องกี่ครั้ง”

17 และเพื่อตอบคำถามนั้น แน่นอน พระเยซูเจ้าทรงคิดไปถึงพี่น้องของเรา คือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเรา ในครอบครัว ที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่ชุมชนที่เราอยู่ บ่อยครั้ง เราอยากตอบสนองความชั่วด้วยกิจการแบบเดียวกัน หรืออย่างน้อยก็ด้วยคำพูดที่รุนแรง

18 การขาดความรัก มักพบได้บ่อยในบุคคลที่อยู่ร่วมกัน อันเนื่องมาจากอุปนิสัยต่างกัน หรือเพราะอารมณ์เสีย หรือเพราะเหตุผลอื่นๆ กระนั้นเราต้องระลึกเสมอว่า มีแต่ การให้อภัย และให้อภัยเสมอเท่านั้น ที่จะช่วยรักษาสันติ และความเป็นหนึ่งเดียวในบรรดาพี่น้องได้

19 เรามักจะมีแนวโน้มที่จะคิดถึงข้อบกพร่องของพี่น้องของเรา นึกถึงอดีตอันไม่ดีไม่งามของเขา เราอยากให้เขาต่างจากที่เขาเป็น เราต้องสร้างอุปนิสัยใหม่ คือมองผู้อื่นด้วยสายตาใหม่เสมอ และมองเขาเหมือนดังคนใหม่ ยอมรับเขาเสมอ ทันที และถึงที่สุด ถึงแม้เขาจะไม่นึกเสียใจในอดีตที่ผ่านมาเลยก็ตาม

20 เรามักจะมีแนวโน้มที่จะคิดถึงข้อบกพร่องของพี่น้องของเรา นึกถึงอดีตอันไม่ดีไม่งามของเขา เราอยากให้เขาต่างจากที่เขาเป็น เราต้องสร้างอุปนิสัยใหม่ คือมองผู้อื่นด้วยสายตาใหม่เสมอ และมองเขาเหมือนดังคนใหม่ ยอมรับเขาเสมอ ทันที และถึงที่สุด ถึงแม้เขาจะไม่นึกเสียใจในอดีตที่ผ่านมาเลยก็ตาม

21 เราอาจจะนึกว่า “ช่างยากเหลือเกิน” ใช่แล้ว แต่นี่คือสิ่งท้าทาย ของคริสต์ศาสนา เราคริสตชนกำลังติดตามพระคริสตเจ้าผู้ซึ่งขณะกำลังสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ยังทรงวอนขอพระบิดาให้ยกโทษผู้ที่ประหารพระองค์ และพระองค์ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากความตาย

22 จงกล้าหาญเถิด ให้เราเริ่มชีวิตใหม่เช่นนี้ อันจะนำสันติและความยินดีอันใหญ่หลวงมาให้เราอย่างที่เราไม่เคยพบมาก่อน

23 "เราไม่ได้บอกท่านว่าต้องยกโทษเจ็ดครั้ง แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง" (มธ.18,22)
“พระวาจาทรงชีวิต” จัดพิมพ์รายเดือนโดยคณะโฟโคลาเร คำอธิบายโดย เคียร่า ลูบิค เมื่อเดือนกันยายน 1999 กราฟฟิกโดย Anna Lollo โดยความร่วมมือของ Fr. Placido D’Omina (ซิชิลี - อิตาลี) คำอธิบายพระวาจาทรงชีวิตนี้แปลเป็นภาษาต่างๆถึง 96 ภาษา และภาษาท้องถิ่นต่างๆด้วย พระวาจานี้ไปถึงผู้คนกว่าล้านคนทั่วโลก ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต รายละเอียดเพิ่มเติม พาวเวอร์พ้อยท์พระวาจาทรงชีวิตภาษาต่าง ๆ พบได้ที่


ดาวน์โหลด ppt พระวาจา ทรง ชีวิต กันยายน 2010.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google