งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 : การเรียนรู้ (Learning)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 : การเรียนรู้ (Learning)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 : การเรียนรู้ (Learning)
อาจารย์ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล 1.บทนำ 2.ความหมาย ”การเรียนรู้” 3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ 3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มปัญญานิยม ทฤษฎีการเรียนรู้แบบหยั่งรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม 3.ทฤษฎีการเรียนรู้ 4.Link ค้นคว้าเพิ่มเติม 5.แบบฝึกหัด

2 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของการเรียนรู้ได้ นักศึกษาสามารถจำแนกแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ในแต่ละทฤษฎีได้ นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การนำการทฤษฎีการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

3 1. บทนำ ในบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ กล่าวได้ว่ามนุษย์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างมากมาย รวมทั้งยังมีความสามารถที่จะถ่ายทอดการเรียนรู้ที่ได้รับมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งได้ และผลจากความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์ดังกล่าว ส่งผลให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆมากมายทั้งพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์ที่ทำให้มนุษย์สมารถดำรงชีวิตและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่อาศัยอยู่ได้ และในทางตรงกันข้ามการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ได้ด้วยเช่นกัน

4 1. บทนำ(ต่อ) จากความสำคัญของการเรียนรู้ดังกล่าวนี้จึงทำให้มีนักจิตวิทยาจำนวนมากที่ให้ความสนใจในการศึกษาถึงกระบวนการของการเรียนรู้ที่เป็นตัวนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ เพื่อที่จะได้สามารถเข้าใจถึงที่มาของพฤติกรรมในแง่มุมต่างๆของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งและชัดเจน

5 2. ความหมายของ “การเรียนรู้”
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่าง ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลจากการได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ (ไม่ใช่ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจาก วุฒิภาวะ หรือ ปฏิกริยาสะท้อนโดยอัตโนมัติของร่างกาย)

6 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ นักจิตวิทยามองว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิตของบุคคล รวมทั้งเชื่อว่ามนุษย์สามารถเสริมสร้าง พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จากการเรียนรู้ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีนักจิตวิทยาเป็นจำนวนมากที่ให้ความสนใจในการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อจะได้นำมาอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะได้สามารถทำนาย เสริมสร้าง พัฒนา และควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายทฤษฎี โดยในบทนี้จะขอนำเสนอเฉพาะบางทฤษฎีที่มีความสำคัญ ดังต่อไปนี้

7 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยา อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory) 3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)

8 3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (S=stimulus) กับการตอบสนอง (R=response) ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก 2. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ

9 3.1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
อีแวน พาโตรวิช พาฟลอฟ (Ivan Petrovich Pavlov; )

10 3.1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
ผู้พัฒนาทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก คือ อีแวน พาโตรวิช พาฟลอฟ (Ivan Petrovich Pavlov; ) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี 1904 เกี่ยวกับการวิจัยด้านระบบการย่อยอาหารของสุนัข ในการศึกษาวิจัยดังกล่าวนี้ พาฟลอฟได้ทำการทดลองโดยการนำผงเนื้อ (meat powder) ไปวางไว้ที่ลิ้นของสุนัข ซึ่งปรากฏว่าสุนัขมีน้ำลายไหลออกมา และหลังจากที่ทำการให้ผงเนื้อแก่สุนัขเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก พาฟลอฟก็ได้สังเกตเห็นว่าสุนัขมีน้ำลายไหลออกมา แม้เมื่อมันได้เห็นเพียงแค่จานอาหารของมัน หรือแม้แต่เพียงแค่การได้ยินเสียงฝีเท้าของนักวิจัยผู้ที่ให้อาหารแก่มัน

11 3.1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนัขตัวนี้ได้เกิดการเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงจานอาหารและเสียงฝีเท้าของผู้ให้อาหารเข้ากับรสชาติของผงเนื้อ โดยพาฟลอฟเรียกปรากฏการณ์การตอบสนองของสุนัขต่อสิ่งเร้าเช่นนี้ว่า “การตอบสนองต่อเงื่อนไข” อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พาฟลอฟพัฒนาทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบคลาสสิกขึ้น เพื่อทำการศึกษาว่าสุนัขสามารถเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงอาหารเข้ากับสิ่งเร้าอื่นๆได้อีกหรือไม่

12 การทดลองของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classic Experiment)

13 การทดลองของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classic Experiment)
พาฟลอฟได้ดำเนินการทดลองโดยให้สุนัขยืนบนแท่นทดลองแล้วนำเครื่องรั้งมารั้งตัวสุนัขไม่ให้เคลื่อนที่ จากนั้นจึงเจาะรูเล็กๆที่แก้มของสุนัขแล้วนำหลอดยางใส่เชื่อมเข้าไปที่ต่อมน้ำลาย เมื่อสุนัขน้ำลายไหล น้ำลายก็จะไหลเข้าไปยังหลอดรับน้ำลาย เพื่อวัดปริมาณน้ำลายของสุนัข ด้วยวิธีการนี้ก็จะทำให้ทราบว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้หรือไม่

14 การทดลองของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classic Experiment)
จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยทำการสั่นกระดิ่งก่อน หลังจากนั้นประมาณ วินาทีจึงยื่นผงเนื้อให้แก่สุนัข ทำเช่นนี้อยู่ 7–8 วัน จึงให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็มีอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าคือมีน้ำลายไหลออกมา ปรากฏการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็นว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การตอบสนองต่อเงื่อนไขแล้ว ซึ่งสามารถแสดงการทดลองของพาฟลอฟได้ดังนี้

15 (คลิกเพื่อดูตัวอย่างการทดลองของพาฟลอฟ)
1.ขั้นก่อนวางเงื่อนไข ผงเนื้อ น้ำลายไหล ucs ucr (ธรรมชาติ) กระดิ่ง ไม่ตอบสนอง cs 2.ขั้นการวางเงื่อนไข กระดิ่ง+ผงเนื้อ น้ำลายไหล cs ucs ucr+cr 3.ขั้นเรียนรู้ กระดิ่ง น้ำลายไหล cs cr (คลิกเพื่อดูตัวอย่างการทดลองของพาฟลอฟ)

16 องค์ประกอบของการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
จากการทดลองดังกล่าวพาฟลอฟได้กำหนดคำสำคัญ เพื่อใช้ในการอธิบายการทดลอง การวางเงื่อนไขแบบคลาสิกว่าจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้ 1 1. UCS (Unconditioned Stimulus) สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข คือ สิ่งเร้าที่สามารถกระตุ้นให้อินทรีย์เกิดการตอบสนองโดยอัตโนมัติ ซึ่งจากการทดลองของพาฟลอฟ ผงเนื้อ ถือเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข

17 องค์ประกอบของการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
2. UCR (Unconditioned Response) การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข คือ พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ ที่เกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCS) ซึ่งจากการทดลองของพาฟลอฟการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข คือ อาการน้ำลายไหล ของสุนัข เมื่อเห็นผงเนื้อ

18 องค์ประกอบของการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
3. CS (Conditioned Stimulus) 1 สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข คือ สิ่งเร้าที่ตัวของมันเองไม่ได้มีอิทธิพลที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมตอบสนองโดยตรง แต่ถ้าจะให้เกิดพฤติกรรมการตอบสนองจะต้องมีการวางเงื่อนไข ในการทดลองของพาฟลอฟ เสียงกระดิ่ง เป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไขคู่กับผงเนื้อ สุนัขจึงจะเกิดพฤติกรรมการตอบสนองได้

19 องค์ประกอบของการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
4. CR (Conditioned Response) 1 การตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข คือ พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากการวางเงื่อนไขของสิ่งเร้า 2 อย่างร่วมกัน คือทั้งสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข ซึ่งในการทดลองของพาฟลอฟ อาการน้ำลายไหล ของสุนัข เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง ถือเป็นการตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข

20 เมื่อพาฟลอฟค้นพบการได้มาซึ่งการเรียนรู้แล้ว (Acquisition) พาฟลอฟได้ทำการทดลองต่อและค้นพบหลักการสำคัญของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ดังต่อไปนี้ 1. Extinction (การหยุดยั้งของพฤติกรรม) เมื่อสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว (เมื่อให้แต่เสียงกระดิ่ง (CS) อย่างเดียวแล้วสุนัขน้ำลายไหล) พาฟลอฟทดลองต่อโดยให้แต่ เสียงกระดิ่ง (CS) อย่างเดียวไปเรื่อย ๆ โดยไม่ให้อาหาร (UCS) เลย ปรากฏว่าการตอบสนอง (น้ำลายไหล) ของสุนัขจะค่อยๆ ลดลง จนน้ำลายหยุดไหลในที่สุด ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า สุนัขเกิดการ หยุดยั้งพฤติกรรม (Extinction) หรือเกิดการหดหายของพฤติกรรม

21 เมื่อพาฟลอฟค้นพบการได้มาซึ่งการเรียนรู้แล้ว (Acquisition) พาฟลอฟได้ทำการทดลองต่อและค้นพบหลักการสำคัญของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ดังต่อไปนี้ 2. Spontaneous Recovery (การฟื้นกลับมาใหม่ของพฤติกรรม) เมื่อเกิดการหยุดยั้งพฤติกรรมแล้ว หลังจากนั้นทิ้งช่วงเวลา ไว้สักระยะหนึ่ง แล้วทำการทดลองโดยให้เฉพาะเสียงกระดิ่ง (CS) เพียงอย่างเดียวอีกครั้ง ปรากฎว่าสุนัขเกิดอาการตอบสนอง คือมีน้ำลายกลับมาไหลใหม่อีกครั้ง จึงเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "การพื้นกลับมาใหม่ของพฤติกรรม”

22 เมื่อพาฟลอฟค้นพบการได้มาซึ่งการเรียนรู้แล้ว (Acquisition) พาฟลอฟได้ทำการทดลองต่อและค้นพบหลักการสำคัญของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ดังต่อไปนี้ 3. Generalization (การแผ่ขยายสิ่งเร้า) เมื่อสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว พาฟลอฟได้ทดลองเปลี่ยน เสียงกระดิ่งใหม่ โดยเสียงใหม่นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับเสียงเดิม (อาจจะมีโทนเสียงสูงหรือต่ำกว่าเดิมเล็กน้อย) ปรากฏว่าสุนัข เกิดการตอบสนอง คือมีอาการน้ำลายไหล ปรากฏการณ์เช่นนี้ เรียกว่า "การแผ่ขยายสิ่งเร้า"

23 เมื่อพาฟลอฟค้นพบการได้มาซึ่งการเรียนรู้แล้ว (Acquisition) พาฟลอฟได้ทำการทดลองต่อและค้นพบหลักการสำคัญของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ดังต่อไปนี้ 4. Discrimination (การแยกแยะสิ่งเร้า) พาฟลอฟได้ทดลองเปลี่ยนจากเสียงกระดิ่ง เป็นเสียงระฆัง ปรากฎว่าสุนัขไม่ตอบสนองแสดงว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้ที่จะแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างเสียงกระดิ่งกับเสียงระฆัง และมีการตอบสนอง ต่างกันกับสิ่งเร้าที่มีลักษณะต่างไปจากเดิม

24 3.1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
เบอร์ฮัส เอฟ สกินเนอร์ (Burrhus F. Skinner; )

25 3.1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย เบอร์ฮัส เอฟ สกินเนอร์ (Burrhus F. Skinner ; ) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน สกินเนอร์ได้ทำการทดลองทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ และเผยแพร่จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1935 เป็นต้นมา

26 3.1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
ถึงแม้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้แบบการกระทำของสกินเนอร์จะได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของพาฟลอฟก็ตาม แต่ทั้งสองทฤษฎีดังกล่าวต่างก็มีมุมมองที่มีต่อวิธีการวางเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ทฤษฎีของพาฟลอฟให้ความสำคัญกับ สิ่งเร้า ที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง และเชื่อว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฏิกิริยาสะท้อนโดยอัตโนมัติของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้ว ส่วนทฤษฎีของสกินเนอร์ให้ความสำคัญกับ ผลกรรม ที่ตามมาหลังจากการแสดงพฤติกรรม รวมทั้งเชื่อว่าพฤติกรรมที่ปรากฏออกมาเกิดจากการกระทำของตัวบุคคลเอง (Active) มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของสิ่งเร้า (Passive)

27 การทดลองของสกินเนอร์ (Skinner’s Experiment)
การทดลองโดยการฝึกให้หนูกดคาน

28 การทดลองของสกินเนอร์ (Skinner’s Experiment)
วิธีการทดลอง สกินเนอร์นำหนูที่กำลังหิวใส่เข้าไปในกล่อง(Skinner’s box) ซึ่งภายในประกอบด้วยกลไกสำหรับการให้อาหาร นั่นก็คือ ถ้าหนูไปแตะโดนที่คาน ก็จะมีอาหารหล่นลงมา 1 ชิ้น ซึ่งปรากฏว่าเมื่อหนูเข้าไปในกล่อง มันก็วิ่งวนไปมาทั่วกล่อง จนกระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งที่มันบังเอิญวิ่งไปแตะที่คานจึงทำให้มีอาหารหล่นลงมา หนูจึงได้กินอาหาร พฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนกระทั่งครั้งหลังๆเมื่อหนูหิวและต้องการอาการมันก็ตรงไปกดคานทันที แสดงว่าหนูได้เกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว โดยมีคานเป็นสิ่งเร้า (Stimulus) และมีอาหารเป็นตัวเสริมแรง (Reinforcer) ที่ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่า ถ้าหากมันกดคาน มันก็จะได้กินอาหารอีก ซึ่งสกินเนอร์เรียกพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “การเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ” (Operant Conditioning)

29 แนวคิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
จากการทดลองของสกินเนอร์ดังกล่าว เขาได้ขยายผลการทดลองโดยนำหลักการจัดเงื่อนไขผลกรรมมาศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วย และพบว่าเงื่อนไขผลกรรมก็เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยเช่นกัน สกินเนอร์อธิบายว่าพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยพฤติกรรม (Behavior) ที่เกิดขึ้นของบุคคลจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามผลกรรม (Consequence) ที่ตามมา ซึ่งสกินเนอร์ให้ความสำคัญกับผลกรรม 2 ประเภท คือ

30 แนวคิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
หากบุคคลได้รับผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรง (Reinforcer) ก็จะทำให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีก 1. การเสริมแรง (Reinforcement) หากบุคคลได้รับผลกรรมที่เป็นตัวลงโทษ (Punisher) ก็จะทำให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้นมีแนวโน้มที่จะลดลงหรือยุติลง 2. การลงโทษ (Punishment)

31 1. การเสริมแรง (Reinforcement)
การเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ Positive 1.1 การเสริมแรงทางบวก Positive Reinforcement Negative 1.2 การเสริมแรงทางลบ Negative Reinforcement

32 1.1 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)
คือ การให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลพึงพอใจแล้วทำให้พฤติกรรมที่บุคลนั้นกระทำอยู่มีความถี่เพิ่มขึ้น หรือทำให้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นมีความสม่ำเสมอ ตัวอย่างการเสริมแรงทางบวก มิกิจังขับรถฝ่าไฟแดง ตำรวจไม่เห็นก็เลยไม่ถูกจับ ปรากฏว่าหลังจากนั้นมิกิจังก็มักจะขับรถฝ่าไฟแดงอยู่บ่อยๆ A (Antecedent) B (Behavior) C+ (Consequence) ไฟแดง ขับรถฝ่าไฟแดง ตำรวจไม่จับ

33 ประเภทของตัวเสริมแรง สิ่งที่มีศักยภาพเป็นตัวเสริมแรงได้นั้นมีดังต่อไปนี้
1 1 ตัวเสริมแรงประเภทสิ่งของ (Material Reinforcers) คือ การให้การเสริมแรงด้วยสิ่งของประเภทต่างๆ เช่น ของเล่น ของขวัญ อาหาร เป็นต้น 2 ตัวเสริมแรงทางสังคม (Social Reinforcers) คือ การให้การเสริมแรงด้วยการพูดชมเชย และ การแสดงออกโดยใช้ท่าทาง เช่น การยิ้มให้ การโอบกอด การพยักหน้าแสดง การยอมรับ การมองด้วยความชื่นชม เป็นต้น

34 ประเภทของตัวเสริมแรง สิ่งที่มีศักยภาพเป็นตัวเสริมแรงได้นั้นมีดังต่อไปนี้
3 ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม (Activity Reinforcers) คือ การให้ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรมที่บุคคลชื่นชอบ มาช่วยเสริมแรงในกิจกรรมที่บุคคลไม่ค่อยชื่นชอบ หรือที่เรียก ว่า “หลักการพรีแมค” (Premack Principle) เช่น การให้เด็กเล่นคอมพิวเตอร์ เมื่อเด็กทำการบ้าน เสร็จแล้ว โดยวางเงื่อนไขว่าเด็กจะต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อน ที่จะไปเล่นคอมพิวเตอร์ได้

35 ประเภทของตัวเสริมแรง สิ่งที่มีศักยภาพเป็นตัวเสริมแรงได้นั้นมีดังต่อไปนี้
4 ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (Token Reinforcers) คือ การใช้เงิน คูปอง ดาว เบี้ย แต้ม แสตมป์ เป็น ตัวเสริมแรง โดยที่ตัวเสริมแรงนี้มีคุณค่าเป็นตัวเสริมแรงได้ เพราะสามารถนำไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่นๆได้ เช่น ห้างสรรพสินค้าให้คูปองส่วนลด 1 ใบ เมื่อซื้อ สินค้าครบ 500 บาท ซึ่งคูปอง 1 ใบ มีค่าเท่ากับส่วนลด 15% ในการซื้อสินค้าครั้งต่อไป เป็นต้น

36 ประเภทของตัวเสริมแรง สิ่งที่มีศักยภาพเป็นตัวเสริมแรงได้นั้นมีดังต่อไปนี้
5 ตัวเสริมแรงภายใน (Covert Reinforcers) คือ ตัวเสริมแรงที่เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจ เช่น ความสุข ความสบายใจ ความภูมิใจ ความอิ่มเอมใจ เป็นต้น เช่น การที่คนเราชอบทำบุญเป็นประจำ เพราะทำแล้ว รู้สึกสบายใจ ความสบายใจที่ได้รับจาการทำบุญจึงเป็นตัวเสริมแรง จากภายในที่ทำให้เราทำบุญอยู่เสมอ

37 ตารางการเสริมแรง สกินเนอร์เห็นว่าปัจจัยที่สำคัญในการสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ให้การเสริมแรงจะต้องมีความเข้าใจถึงวิธีการในการกำหนดระยะเวลาในการเสริมแรง โดยสกินเนอร์ได้กำหนดวิธีการให้การเสริมแรงไว้ดังต่อไปนี้

38 ตารางการเสริมแรง (ต่อ)
1. การเสริมแรงแบบต่อเนื่อง (Continuous Reinforcement) คือ การให้การเสริมแรงอย่างต่อเนื่องในทุกครั้งที่บุคคลแสดงพฤติกรรมเป้าหมายได้ถูกต้อง ซึ่งเหมาะกับการสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ในระยะเริ่มแรก 2. การเสริมแรงแบบครั้งคราว (Intermittent Reinforcement) คือ การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราวเมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมเป้าหมายได้ถูกต้อง โดยสามารถให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แสดงพฤติกรรมหรือตามจำนวนครั้งของการแสดงพฤติกรรมก็ได้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

39 ตารางการเสริมแรง (ต่อ)
2.1 การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed Interval Schedule หรือ FI) เป็นการเสริมแรงที่กำหนดเวลาของการเสริมแรงแบบตายตัวลงไปไม่ว่าจะแสดงพฤติกรรมเป้าหมายกี่ครั้งก็ตาม ซึ่งการเสริมแรงเช่นนี้จะทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มมากขึ้นเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาของการเสริมแรงและจะลดความถี่ลงเมื่อได้รับการเสริมแรงแล้ว เช่น พฤติกรรมการส่งงานของนักศึกษา จะเห็นได้ว่าเมื่อใกล้ถึงช่วงกำหนดส่งงานนักศึกษาจะมีความขยันทำงานส่งกันมาก แต่เมื่อส่งงานไปแล้ว ความขยันตรงนี้ก็จะลดลง และจะไปเพิ่มขึ้นอีกเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาการส่งงานชิ้นต่อๆไป

40 ตารางการเสริมแรง (ต่อ)
2.2 การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable interval Schedule หรือ VI) เป็นการเสริมแรงที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาของการเสริมแรงที่ตายตัวเอาไว้ โดยจะกำหนดเป็นช่วงเวลาในการให้การเสริมแรง เช่น การจัดให้มีการทดสอบในระหว่างการเรียนหลายครั้ง โดยไม่ได้ระบุวันสอบไว้ล่วงหน้า ก็จะทำให้ผู้เรียนจะต้องเตรียมตัวดูหนังสือไว้ล่วงหน้าตลอดเวลา เพราะการทดสอบเกิดขึ้นในวันใดก็ได้เสมอ

41 ตารางการเสริมแรง (ต่อ)
2.3 การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่แน่นอน (Fixed Ratio Schedule หรือ FR) เป็นการให้การเสริมแรงเมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมเป้าหมายได้ครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ เช่น ถ้าตอบคำถามถูก 4 ครั้ง จึงจะได้คะแนน 1 คะแนน หรือถ้าเย็บผ้าได้ 100 ชิ้นจะได้เงิน 200 บาท เป็นต้น ซึ่งการให้การเสริมแรงเช่นนี้จะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเป้าหมายอย่างรวดเร็ว แต่จะลดลงเมื่อได้รับการเสริมแรงในแต่ละครั้งแล้ว แล้วจึงจะแสดงพฤติกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกว่าจะได้รับการเสริมแรงครั้งต่อไป

42 ตารางการเสริมแรง (ต่อ)
2.4 การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ไม่แน่นอน (Variable Ratio Schedule หรือ VR) เป็นการให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการแสดงพฤติกรรมเป้าหมายที่ไม่คงที่ ซึ่งการให้การเสริมแรงลักษณะนี้บุคคลจะไม่รู้ได้เลยว่าตนเองจะต้องแสดงพฤติกรรมเป้าหมายมากน้อยเพียงใดจึงจะได้รับการเสริมแรง ดังนั้น อัตราการแสดงพฤติกรรมเป้าหมายจึงสูงและมีความสม่ำเสมอ เช่น การซื้อหวย การเล่นการพนัน การขอทาน เป็นต้น

43 1.2 การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)
เป็นการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการที่เราทำพฤติกรรมดังกล่าวแล้วสามารถหลีกหนีจากสิ่งที่เราไม่พึงพอใจ (Aversive Stimuli)ได้ ตัวอย่างการเสริมแรงทางลบ ชานนท์เห็นเพื่อนคนหนึ่งที่มาทำงานสายถูกเจ้านายเรียกเข้าไปต่อว่า เขาจึงเกรงว่าหากตนเองยังคงมาทำงานสาย เขาก็อาจจะถูกเจ้านายเรียกไปต่อว่าด้วยเช่นกัน ชานนท์จึงปรับพฤติกรรมตนเองโดยการมาทำงานเช้าขึ้น A (Antecedent) B (Behavior) C (Consequence) เห็นเพื่อนถูกเจ้านายต่อว่า มาทำงานเช้าขึ้น หลีกเลี่ยงการถูกเจ้านายต่อว่า

44 2. การลงโทษ (Punishment)
คือ การให้ผลกรรมหลังจากที่บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อทำให้ความถี่ของพฤติกรรม ลดลง หรือ ยุติลง ตัวอย่างการลงโทษ สมศักดิ์ทุจริตในการสอบวิชาจิตวิทยา และถูกครูจับได้ สมศักดิ์จึงติด F และถูกพักการเรียน หลังจากนั้นสุดหล่อก็ไม่กล้าทุจริตในห้องสอบอีกเลย A (Antecedent) B (Behavior) C- (Consequence) การสอบ ทุจริต ติด F และถูกพักการเรียน

45 วิธีการลงโทษ การลงโทษมีวิธีการอยู่หลายวิธีด้วยกันดังต่อไปนี้
1 การลงโทษโดยการทำให้เกิดความเจ็บปวด ทางด้านร่างกาย (Physical Pain) เช่น แม่ลงโทษลูกด้วยการตีที่ลูกแอบขโมยเงิน 2 การตำหนิ (Reprimands) คือ การใช้ถ้อยคำเพื่อให้บุคคลได้ยุติพฤติกรรมบางอย่างที่เขาแสดงออกมา เช่น ครูตำหนินักเรียนที่พูดคุยในห้องเรียนว่า “หยุดคุยกันได้แล้วนะ”

46 วิธีการลงโทษ การลงโทษมีวิธีการอยู่หลายวิธีด้วยกันดังต่อไปนี้
3 การใช้เวลานอก (Time-out) คือ การทำให้บุคคลสูญเสียโอกาสที่จะได้รับการเสริมแรงทางบวกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้บุคคลยุติการกระทำเช่นนั้น เช่น การให้เด็กพูดคุยเล่นในห้องเรียนออกไปยืนตรงมุมห้อง โดยไม่ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรมในชั้นเรียน เป็นต้น 4 การปรับสินไหม (Response Cost) คือ การถอดถอนการเสริมแรงทางบวกออกไปเมื่อบุคคลกระทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การหักคะแนนนักศึกษาที่แต่งตัวเรียบร้อย การถูกปรับเมื่อขับรถแล้วไม่คาดเข็ดขัดนิรภัย เป็นต้น

47 วิธีการลงโทษ การลงโทษมีวิธีการอยู่หลายวิธีด้วยกันดังต่อไปนี้
5 การแก้ไขให้ถูกต้องเกินกว่าที่ทำผิด (Overcorrection) เป็นวิธีการลงโทษโดยการให้บุคคลแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อันประกอบด้วยวิธีการ 2 วิธีการ ดังนี้ 5.1 การให้บุคคลแก้ไขในสิ่งที่ทำผิดให้ถูกต้องเกินกว่าความผิดที่เกิดขึ้น เช่น ในกรณีของเด็กที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ก็ทำโทษโดยการให้เด็กทำความสะอาดบริเวณโดยรอบนั้นทั้งหมด 5.2 การแก้ไขให้ถูกต้องเกินกว่าที่ทำผิดโดยการฝึกให้กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น ลงโทษเด็กที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่โดยการให้เด็กนำขยะไปทิ้งลงถังซ้ำกันไปมาหลายๆรอบ

48 ข้อควรพิจารณาในการลงโทษ
ถึงแม้ว่าในหลายๆสภาพการณ์ วิธีการลงโทษก็ดูจะเป็นวิธีการหยุดยั้งพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างรวดเร็วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าควรจะใช้วิธีการลงโทษหรือไม่ เพราะการลงโทษอาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อจำกัดของการนำวิธีการลงโทษไปใช้ให้ถ่องแท้เสียก่อน เพื่อให้การปรับพฤติกรรมบรรลุผลที่ตั้งไว้

49 ข้อดีของการลงโทษ การลงโทษช่วยให้พฤติกรรมที่ไม่ต้องการลดลงหรือยุติลงได้อย่างรวดเร็ว 1. การลงโทษทำให้พฤติกรรมที่พึงปรารถนามีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ 2.

50 ข้อจำกัดของการลงโทษ 1. การลงโทษอาจก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ เช่น โกรธ ผิดหวัง ร้องไห้ เป็นต้น 2. การลงโทษอาจกระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวได้ เช่น การด่าว่าผู้ที่ลงโทษตน การข่มขู่ การกระทืบเท้า หรือแม้กระทั่ง การทำร้ายร่างกายผู้อื่น 3. การลงโทษอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการหลีกหนี หรือเลี่ยงเลี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ตนถูกลงโทษ เช่น การวิ่งหนี หรือการแยกไปอยู่คนเดียว 4. การลงโทษไม่ได้ให้ผลของการหยุดพฤติกรรมอย่างถาวร เมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วถูกลงโทษ แต่เมื่อไปอยู่ในอีกสถานการณ์หนึ่งที่ไม่มีผู้ที่จะลงโทษเขาได้ พฤติกรรมอย่างเดิมก็สามารถเกิดขึ้นได้อีก

51 ข้อเสนอแนะในการลงโทษ
สกินเนอร์เสนอแนะว่าควรใช้การลงโทษเป็นวิธีสุดท้าย ซึ่งแนวทางที่ดีสำหรับการหยุดยั้งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ก็คือ การใช้หลักการเสริมแรง (Reinforcement) เมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ควบคู่กับการหยุดยั้ง (Extinction) เมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และหากจะใช้วีธีการลงโทษก็ควรจะบอกถึงการกระทำที่ทำให้ถูกลงโทษ พร้อมทั้งทำการชี้แนะพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้ที่ถูกลงโทษด้วย และเมื่อบุคคลได้แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมก็ต้องไม่ละเลยที่จะให้การเสริมแรงแก่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นด้วย

52 3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ 1.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบหยั่งรู้ 2.ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม

53 3.2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบหยั่งรู้
โวล์ฟกัง โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler; ) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน คือ ผู้ที่พัฒนาทฤษฎีนี้ โดยมีแนวความคิดที่ว่าเมื่อบุคคลประสบกับสิ่งเร้าหรือปัญหา บุคคลก็จะเห็นโครงสร้างของปัญหาในภาพรวมก่อน แล้วจึงมองเห็นความสัมพันธ์ส่วนย่อยๆที่มาประกอบกันทั้งหมดจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในวิธีการที่จะจัดการกับสิ่งเร้าหรือปัญหานั้นได้ในทันทีทันใด ซึ่งโคห์เลอร์เรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า “การหยั่งรู้” (Insight) จากนั้นบุคคลจึงแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งเร้านั้นตามการหยั่งรู้ของตน ซึ่งแสดงว่าบุคคลนั้นได้เกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างค่อนข้างถาวร

54 การทดลองการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ของโคห์เลอร์ (Kohler’s Insight Learning Experiment)

55 การทดลองการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ของโคห์เลอร์ (Kohler’s Insight Learning Experiment)
การทดลองครั้งที่ 1 โคห์เลอร์นำสุลต่านที่กำลังหิวไปขังกรงไว้ โดยมีกล้วยวางอยู่ห่างจากกรงซึ่งสุลต่านเอื้อมไม่ถึง ส่วนภายในกรงก็มีท่อนไม้ที่ยาวพอที่จะเขี่ยกล้วยได้ ซึ่งสุลต่านก็พยายามหาวิธีการต่างๆเพื่ออกไปจากกรง เช่น เอาเขย่ากรง เอามือเอื้อมออกไปนอกกรง แต่เมื่อทำไม่สำเร็จ สุลต่านก็หยุดนิ่งไปครู่หนึ่ง จากนั้นสุลต่านได้มองไปที่ไม้และหันไปมองยังกล้วยที่วางอยู่ จากนั้นสุลต่านจึงลุกไปหยิบไม้และเขี่ยกล้วยมากินได้สำเร็จ

56 การทดลองการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ของโคห์เลอร์ (Kohler’s Insight Learning Experiment)
การทดลองครั้งที่ 2 โคห์เลอร์นำสุลต่านมาขังกรงและนำกล้วยมาวางไว้ในตำแหน่งเดิม และมีวางไว้อยู่ 3 ท่อน โดยที่ไม้แต่ละท่อนมีความยาวไม่เพียงพอต่อการที่จะนำกล้วยมากินได้ แต่ถ้านำไม้มาต่อกันก็จะได้ไม้ที่มีความยาวเพียงพอที่จะสอยกล้วยลงมาได้ ซึ่งปรากฏว่าสุลต่านได้พยายามนำไม้แต่ละท่อนมาลองเขี่ยไปยังผลกล้วย แต่ปรากฏว่าก็ไม่สามารถเขี่ยกล้วยได้ถึง มันจึงหยุดนิ่งลงสักครู่จากนั้นจึงนำไม้ 3 ท่อนมาต่อกันและนำกล้วยมากินได้เป็นผลสำเร็จ

57 การทดลองการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ของโคห์เลอร์ (Kohler’s Insight Learning Experiment)
การทดลองครั้งที่ 3 โคห์เลอร์นำกล้วยไปแขวนไว้สูงโดยที่สุลต่านไม่สามารถเอื้อมได้ถึง แต่มีลังไม้วางไว้ให้อยู่ 1 ใบ ซึ่งปรากฏว่าสุล่านได้มองไปรอบๆ เมื่อมันเห็นลังไม้ มันได้จ้องมองอยู่สักครู่แล้วจึงเลื่อนลังไม้มาวางไว้ในตำแหน่งเดียวกับกล้วยที่แขวนอยู่และนำกล้วยลงมากินได้สำเร็จ

58 การทดลองการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ของโคห์เลอร์ (Kohler’s Insight Learning Experiment)
การทดลองครั้งที่ 4 ในการทดลองครั้งนี้ โคห์เลอร์ได้แขวนกล้วยไว้ในตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม และวางลังไม้ไว้ 3 ใบ ซึ่งปรากฏว่าสุลต่านได้นำลังไม้มาไว้ในตำแหน่งเดียวกับที่มีกล้วยแขวนอยู่และลองเอื้อมหยิบกล้วยดู แต่เมื่อไม่สามาถนำกล้วยลงมาได้ สุลต่านได้นั่งจ้องมองกล้วยสักพักหนึ่ง จากนั้นมันจึงได้นำเอาลังไม้ 2 ใบมาเรียงต่อกัน และลองเอื้อมหยิบกล้วยอีกครั้งหนึ่งและเมื่อไม่สำเร็จอีก มันจึงไปยกลังไม้ที่เหลืออีก 1 ใบมาเรียงต่อกันเป็น 3 ใบ มันจึงมารถนำกล้วยลงมากินได้สำเร็จ

59 การทดลองการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ของโคห์เลอร์ (Kohler’s Insight Learning Experiment)
จากการทดลองดังกล่าว โคห์เลอร์เห็นว่าการเรียนรู้ที่ซับซ้อนประกอบด้วยขั้นของการเรียนรู้ 2 ขั้น คือ - ขั้นการได้มาซึ่งวิธีการแก้ปัญหา - ขั้นที่วิธีการแก้ปัญหาถูกเก็บไว้ในความทรงจำ และถูกดึงออกมาใช้เมื่อมีสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้น

60 สรุปหลักการสำคัญของการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1 2 3 การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้และเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าต่างๆเป็นภาพรวมแล้วจึงสามารถมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้โดยทันทีทันใด จึงเรียกว่าการหยั่งรู้ (Insight) บุคคลที่จะสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ต่างของสิ่งเร้าต่างๆได้จะต้องมีระดับสติปัญญาดีพอสมควรจึงสามารถแก้ปัญหาโดยการหยั่งรู้ได้ ประสบการณ์หรือความรู้เดิมถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้เกิดการหยั่งรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

61 3.2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมนี้พัฒนาขึ้นโดย อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura; 1925) นักจิตวิทยาชาวแคนาดา

62 3.2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory)
แบนดูรามองว่าแนวคิดของนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่พิจารณาสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมของบุคคลที่ปัจจัยภายนอกนั้นไม่คลอบคลุมถึงพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์อย่างเพียงพอ เพราะในความเป็นจริงแล้วมนุษย์มีปัญญา มีความคิด และมีความรู้สึก ดังนั้นปัจจัยภายในเหล่านี้ต่างหากที่น่าจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ส่วนปัจจัยภายนอกนั้นน่าจะเป็นเพียงปัจจัยที่เอื้อให้เกิดพฤติกรรมเท่านั้น แต่มิใช่เป็นสาเหตุหลักที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล โดยแบนดูราได้ทำการเสนอแนวความคิดดังกล่าวของเขาขึ้นในปี 1977 ในทฤษฎีที่ชื่อว่า “ทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคม” (Social Learning Theory) และต่อมาในปี 1986 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม” (Social Cognitive Theory)

63 แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎี (Basic Concept of Social Cognitive Theory)
1. แบนดูรามองว่าพฤติกรรมของบุคคลไม่ได้เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีปัจจัยส่วนบุคคล อันได้แก่ ปัจจัยทางด้านปัญญา และความรู้สึกนึกคิดภายในต่างๆ ร่วมกำหนดซึ่งกันและกัน

64 แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎี (Basic Concept of Social Cognitive Theory)
2. แบนดูรามองพฤติกรรมการเรียนรู้ในแง่ของกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน นั่นคือ เพียงแค่การได้มาซึ่งความรู้ใหม่ๆ แบนดูราก็ถือว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วกับบุคคลนั้น โดยที่บุคคลนั้นยังไม่จำเป็นต้องแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้นั้นออกมาทันที

65 แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎี (Basic Concept of Social Cognitive Theory)
3. แบนดูราเห็นว่าการเสริมแรงไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ แต่การเสริมแรงเป็นเพียงปัจจัยที่จูงใจให้คนแสดงพฤติกรรมเท่านั้น เนื่องจากแบนดูราเชื่อว่าคนเราส่วนใหญ่เรียนรู้พฤติกรรมผ่านการสังเกตจากตัวแบบแทบทั้งสิ้น

66 การทดลองการเรียนรู้โดยการสังเกต (Bandura’s Experiment)
ตัวอย่างการทดลองของแบนดูรา ในการทดลอง แบนดูราได้แบ่งเด็กก่อนวัยเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม โดยให้เด็กทั้ง 3 กลุ่มได้ภาพยนตร์ที่มีตัวแบบผู้ใหญ่ 2 คนที่ทั้งชกต่อย ทั้งเตะและขว้างปาสิ่งของใส่ตุ๊กตายาง โดยที่ตอนจบของภาพยนตร์ตัวแบบทั้ง 2 คนได้รับผลที่มาตามมาแตกต่างกัน ดังนี้ คือ เด็กในกลุ่มที่ 1 ได้ดูภาพยนตร์ที่ตอนจบตัวแบบได้รับรางวัลซึ่งเป็นลูกอม เครื่องดื่มและคำชมเชย ส่วนเด็กในกลุ่มที่ 2 ได้ดูภาพยนตร์ที่ตอนจบตัวแบบที่เป็นผู้ใหญ่ถูกลงโทษด้วยการตำหนิและเฆี่ยนตี และสำหรับเด็กในกลุ่มที่ 3 ได้ดูภาพยนตร์ที่ตอนจบตัวแบบไม่ได้รับผลกรรมใดๆเลย

67 การทดลองการเรียนรู้โดยการสังเกต (Bandura’s Experiment)
หลังจากนั้นผู้ทดลองได้นำเด็ก เข้าไปยังห้องที่มีทั้งตุ๊กตายางที่ปรากฏในภาพยนตร์ และของเล่นอื่นๆอยู่รวมกันในห้อง โดยปล่อยให้เด็กอยู่ในห้องเป็นเวลา 10 นาที ในระหว่างนี้ผู้ทดลองได้ทำการสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในทุกๆครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเหมือนตัวแบบ

68 การทดลองการเรียนรู้โดยการสังเกต (Bandura’s Experiment)
จากการทดลอง ปรากฏว่าเด็กในกลุ่มที่ 1 ที่ได้ดูตัวแบบที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวแล้วได้รับรางวัล ได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกับตุ๊กตาตามตัวแบบที่ได้ดูมา และยังพบว่าเมื่อให้เด็กได้ลองแสดงพฤติกรรมที่เขาได้เรียนรู้มา เด็กๆทั้ง 3 กลุ่มต่างก็สามารถแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้เท่าๆกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กกลุ่มที่ 3 ที่แม้จะไม่ได้เห็นตัวแบบก้าวร้าวได้รับผลกรรมใดๆจากการแสดงพฤติกรรม แต่เมื่อให้เด็กได้ลองเลียนแบบพฤติกรรมที่ได้ดูมา เด็กก็สามารถเลียนแบบพฤติกรรมตามตัวแบบได้อย่างแม่นยำเลยทีเดียว

69 ประเภทของตัวแบบ แบนดูราได้แบ่งตัวแบบออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
1. ตัวแบบที่บุคคลในชีวิตจริง คือ ตัวแบบที่บุคคลสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้โดยตรงในชีวิตจริง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครู เป็นต้น Live Model Symbolic Model 2. ตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวแบบที่เสนอผ่านสื่อ เช่น การ์ตูน วิทยุ โททัศน์ นิตยสาร เป็นต้น

70 หน้าที่ของตัวแบบ 1. ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างพฤติกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้น เช่น การฝึกทำกับข้าวโดยดูตัวแบบจากแม่ หรือ การฝึกพิมพ์ดีดโดยดูตัวแบบจากครูผู้สอน 2. ทำหน้าที่ในการยับยั้งหรือควบคุมการเกิดขึ้น ของพฤติกรรม เมื่อตัวแบบแสดงพฤติกรรมแล้วได้รับผลกรรมที่ไม่น่าพึงพอใจ บุคคลที่สังเกตตัวแบบก็มีแนวโน้มที่จะไม่แสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ เช่น การที่บุคคลเห็นคนที่เดินข้ามถนนโดยไม่ใช้สะพานลอยแล้วถูกรถชนเสียชีวิต ตัวแบบที่ได้รับผลกรรมที่ไม่น่าพึงพอใจเช่นนี้ ก็จะช่วยยับยั้งพฤติกรรมการข้ามถนนโดยไม่ใช้สะพานลอยของบุคคลที่พบเห็นตัวแบบนี้ได้

71 หน้าที่ของตัวแบบ 3. ทำหน้าที่ช่วยให้พฤติกรรมที่เคยเรียนรู้มาแล้ว ได้มีโอกาสแสดงออก โดยตัวแบบจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ออกมา เช่น การที่บุคคลสนใจในเรื่องการร้องเพลงอยู่แล้ว และได้เห็นตัวแบบศิลปินที่ร้องเพลงจนมีชื่อเสียงโด่งดัง บุคคลจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปประกวดร้องเพลงบ้าง เป็นต้น

72 กระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวแบบ ในการเรียนรู้โดยการสังเกตผ่านตัวแบบนี้ ประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
1 กระบวนการใส่ใจ(Attention Process) เป็นกระบวนการที่บุคคลให้ความใส่ใจสังเกตถึงพฤติกรรมของตัวแบบเพื่อที่จะได้สามารถรับรู้ถึงพฤติกรรมของตัวแบบได้อย่างชัดเจน Click to add Title 1 2 Click to add Title กระบวนการจดจำ(Retention Process) เมื่อบุคคลใส่ใจที่จะสังเกตและรับรู้ถึงพฤติกรรมของตัวแบบแล้ว บุคคลก็จะทำการจดจำพฤติกรรมที่สังเกตนั้นมาไว้ในความทรงจำของตน 2

73 กระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวแบบ ในการเรียนรู้โดยการสังเกตผ่านตัวแบบนี้ ประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
1 Click to add Title กระบวนการกระทำ (Production Process) เป็นกระบวนการที่บุคคลแปลงข้อมูลที่ได้รับมาจากการจดจำไว้มาแสดงเป็นการกระทำ ซึ่งบุคคลจะสามารถแสดงพฤติกรรมได้ดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลจดจำพฤติกรรมของตัวแบบที่ตนเองสังเกตมาได้มากน้อยเพียงใด 3 2

74 กระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวแบบ ในการเรียนรู้โดยการสังเกตผ่านตัวแบบนี้ ประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
กระบวนการจูงใจ (Motivation Process) เป็นกระบวนการที่บุคคลเกิดแรงจูงใจในการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ซึ่งการที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมที่จดจำมาจากตัวแบบหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการคาดหมายและความพึงพอใจของบุคคลที่คาดว่าตนเองจะได้รับตัวเสริมแรงเมื่อได้แสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ซึ่งตัวเสริมแรงนี้ก็เป็นสิ่งจูงใจที่ทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรม เช่น วัตถุสิ่งของ หรือ การได้รับการยอมรับทางสังคม เป็นต้น 2 Click to add Title 4

75 กระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวแบบ ในการเรียนรู้โดยการสังเกตผ่านตัวแบบนี้ ประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
นอกจากนี้แบนดูราได้เน้นว่ามนุษย์สามารถที่จะตั้งมาตรฐานการกระทำของตนเอง โดยให้รางวัลหรือลงโทษตนเอง เมื่อสามารถบรรลุหรือไม่สามารถบรรลุซึ่งมาตรฐานที่ตั้งไว้ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแบนดูราเชื่อว่าบุคคลสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้

76 Link ค้นคว้าเพิ่มเติม


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 : การเรียนรู้ (Learning)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google