งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 4 การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketplace: E-marketplace) คือตลาดนัดขนาดใหญ่บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้ซื้อและผู้ขาย จำนวนมากเข้ามาพบปะเป็นกลุ่มสังคมเพื่อการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นแหล่งที่มี สินค้าหรือบริการที่หลากหลายให้ผู้ซื้อได้เลือกซื้อ โดย ลักษณะของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์นั้นขึ้นอยู่กับผู้เป็น เจ้าของ ซึ่งมีทั้งตลาดกลาง ที่ขับเคลื่อนโดยผู้ขาย (Sellers-driven) ผู้ซื้อ (Buyers-driven) และตลาดกลาง อิสระซึ่งมีคนกลางเป็นเจ้าของ (independent e- marketplace)

3 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
2. ส่วนประกอบหลักของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ลูกค้า (customers) ผู้ขาย (Buyers) สินค้าหรือบริการ (Products or Services) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) งานส่วนหน้าร้าน (Front Office) งานส่วนหลังร้าน (Back Office) คนกลาง (Intermediaries)

4 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
3. ประเภทของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Private e-Marketplace) ซึ่งเป็น ตลาดกลางที่มีเจ้าของหรือผู้ดำเนินการเป็นองค์กรธุรกิจใด ๆ เพียงเจ้าเดียว 3.2 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์แบบสาธารณะ (Public e-Marketplace) ซึ่งเป็น เจ้าของโดยบุคคลที่สาม 4. ประโยชน์ของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 4.1 ด้านอำนาจการซื้อ โดยตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์มีการสร้างกลุ่มผู้ซื้อเพื่อให้ รวมตัวกันสั่งซื้อสินค้าชนิดเดียวกันร่วมกัน ทำให้ได้สินค้าในราคาที่ต่ำลงเพราะการ ซื้อมีปริมาณมาก ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ขายได้รับข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนมากขึ้น สำหรับการวางแผน การผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบออกมาขาย ในทาง กลับกันผู้ขายก็อาจจะรวมตัวกันเพื่อขายสินค้า ในปริมาณที่ผู้ซื้อต้องการได้

5 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
4.2 ด้านกระบวนการจัดการ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์มี แค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถค้นหาสินค้าหรือบริการหรือ ผู้ขายที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยสมาชิกสามารถสั่งซื้อ สินค้าหรือบริการได้อย่างง่าย รวมทั้งมีระบบการชำระเงินที่จะ ทำให้ลดต้นทุนในแง่ของการทำธุรกรรม 4.3 ด้านห่วงโซ่อุปทาน การซื้อสินค้าในตลาดกลาง อิเล็กทรอนิกส์นั้นจะสามารถติดตามลักษณะและราคาของสินค้า ที่จะซื้อได้ตลอดเวลา และสามารถสั่งซื้อได้ทันทีเมื่อราคามี ความเหมาะสม ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดเก็บสินค้าไว้ในคลังมาก จนเกินไป ซึ่งส่งผลให้การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4.4 ด้านข้อมูลข่าวสารและสังคม ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขาย สินค้ารู้เท่าทันเหตุการณ์

6 การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ การค้า ปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing: E-tailing) คือ การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยตรงจากองค์กร ธุรกิจหรือร้านค้าให้กับผู้บริโภครายบุคคลผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ขายเรียกว่า ผู้ค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tailors) โดยการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์จะมีลักษณะ การทำงานโดยทั่วไป แสดงกระบวนการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

7 การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
2. แบบจำลองทางธุรกิจของการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ การตลาดขายตรง ( Direct Marketing) คือ การขายสินค้าหรือ บริการ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่อาศัยคน การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว (Pure-play e- tailing) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อโดยตรงผ่านทาง ช่องทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้ขายไม่มีหน้าร้านทางกายภาพจริง จึง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การค้าปลีกแบบผสมผสาน (Mixed Retailing) เป็นการค้าปลีก ที่มีทั้งการขายสินค้าหรือบริการแบบดั้งเดิมที่กระทำผ่านหน้าร้านทาง กายภาพ (traditional storefront) และมีการเพิ่มช่องทางการทำ ธุรกรรมผ่านทางอินเทอร์เน็ต (online transaction) อีกหนึ่ง 3. ข้อแตกต่างระหว่างการค้าปลีกทั่วไป และการค้าปลีก อิเล็กทรอนิกส์

8 การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
4. ความท้าทายและแนวทางในการแก้ไข - ความขัดแย้งของช่องทางการจัดจำหน่าย - ความขัดแย้งสำหรับองค์กร - การจัดการด้านการส่งมอบสินค้าและโลจิสติกส์ - การค้นหาแนวทางเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนิน ต่อไปให้ได้ และความเสี่ยงจากการค้าปลีก อิเล็กทรอนิกส์ - การกำหนดวิธีแสวงหารายได้

9 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Auction: E-Auction) คือการแข่งขันเสนอราคาผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเวลาที่กำหนด เมื่อ สิ้นสุดเวลาจะมีผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่จะได้ สินค้านั้นมาครอบครอง ซึ่งการประมูล อิเล็กทรอนิกส์แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือแบบประมูล ซื้อที่ผู้ขายเป็นผู้เสนอราคาต่อผู้ซื้อและแบบประมูล ขายที่ผู้ซื้อเป็นผู้เสนอราคาภายใต้กรอบกติกาของ ผู้ขาย

10 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. ความแตกต่างระหว่างการประมูลแบบดั้งเดิม กับการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลแบบดั้งเดิม (Traditional Auction) หรือแบบ “ออฟไลน์” นั้น ผู้ซื้อและผู้ขาย จะต้องมาพบปะกันเพื่อเสนอราคาสินค้าแข่งขันกัน จนกระทั่งมีผู้ชนะการประมูล ในขณะที่การประมูล อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Auction) ซึ่งเป็นแบบ “ออนไลน์” นั้นใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการ ประมูล

11 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
แสดงความแตกต่างระหว่างการประมูลแบบดั้งเดิมและแบบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัย การประมูลแบบเดิม การประมูล อิเล็กทรอนิกส์ สถานที่/การเดินทาง ต้องเดินทางไปยังสถานที่ประมูลเพื่อเข้าร่วมการประมูล ประมูลผ่านหน้าเว็บไซต์ ไม่ต้องเดินทางไกล ระยะเวลา ให้เวลาแก่ผู้ประมูลน้อยเกินไปในการเสนอราคาทำให้ผู้ประมูลมีเวลาในการตัดสินใจน้อย มีเวลาในการเปรียบเทียบราคาและรายละเอียดสินค้าได้ ค่าใช้จ่าย/ต้นทุน เสียค่าใช้จ่ายสูงในการดำเนินการ เช่น ค่านายหน้า ค่าเช่าสถานที่การประมูล ค่าโฆษณา ลดต้นทุนในการทำเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนต้นทุนที่เกิดจากการเช่าสถานที่

12 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
3. รูปแบบของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 จัดการประมูลโดยผู้ขายในเว็บไซต์ของผู้ขาย เอง supplier’s site) 3.2 จัดการประมูลโดยผู้ซื้อในเว็บไซต์ของผู้ซื้อ buyer’s site) 3.3 จัดการประมูลโดยคนกลาง (intermediately site/neutral exchanges)

13 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
4. ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งตามรูปแบบ การประมูลได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 4.1 การประมูลขาย (Forward Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ที่ ต้องการขายสินค้า โดยผู้ขายกำหนดความต้องการ ให้ผู้ซื้อกำหนดราคาสินค้าหรือบริการแข่งขันกัน ผู้ ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและ ได้รับสินค้าไป

14 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
4.2 การประมูลซื้อ (Reverse Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ต้องการซื้อสินค้า โดยผู้ ซื้อกำหนดความต้องการซื้อสินค้าให้ผู้ขายเสนอราคาแข่งขันกัน ซึ่งผู้ขายที่ เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ ชนะการประมูลในครั้งนั้น ซึ่งการประมูลซื้อจะมี 2 ลักษณะคือ English Reverse Auction เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะทราบสถานะ ของการประมูลและราคาประมูลของผู้ยื่นประมูลที่เสนอราคาต่ำสุด แต่ผู้เข้า ประมูลจะไม่ทราบชื่อของผู้เข้าประมูลรายอื่น ๆ Sealed Bid เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะไม่ทราบสถานะของการ ประมูลและราคาต่ำสุดของผู้ยื่นประมูล ซึ่งการยื่นข้อเสนอราคาแบบ Sealed Bid แบ่งมี 2 แบบ คือ แบบยื่นข้อเสนอได้เพียงครั้งเดียว และยื่น ข้อเสนอได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด

15 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
5. ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อดีสำหรับผู้ขาย (Sellers) ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ขาย ช่วยขยายฐานลูกค้าให้กับผู้ขายได้มากขึ้น สามารถกำหนดราคาได้ในระดับที่ช่วยให้ผู้ขายได้ผลกำไรที่เหมาะสม ช่วยกำจัดพ่อค้าคนกลางออกจากระบบทำให้ผู้ขายมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้ขายมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ขายสามารถระบาย สินค้าจากคลังสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการโฆษณาสินค้า สามารถลดงานและลดต้นทุนในด้านเอกสารบางอย่างได้ เช่นเอกสาร จดหมายเวียนไปยังผู้ซื้อที่ต้องการเข้าร่วมประมูล เป็นต้น

16 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีสำหรับผู้ซื้อ (Buyers) ผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสะสมหรือ สินค้าที่หายาก ผู้ซื้อมีโอกาสในการต่อรองราคาได้มากขึ้น เนื่องจากกลไกการประมูล อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเสนอราคาได้หลายครั้ง มีความสะดวกสบายเนื่องจากผู้ซื้อสามารถเข้าร่วมประมูลผ่านทาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ข้อดีสำหรับผู้ดำเนินการประมูล (Auctioneer) มีโอกาสสร้างพันธมิตรทางการค้าได้มากขึ้น เนื่องจากผู้ขายและผู้ซื้อ อาจฝากลิงก์ไว้ที่เว็บไซต์ตลาดกลาง ทำให้เชื่อมโยงได้ทันที เมื่อมีการประมูลมากขึ้นผู้ให้บริการตลาดกลางหรือผู้ดำเนินการประมูล จะได้รับค่าธรรมเนียมมากขึ้น และโฆษณาเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

17 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อเสียของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงสำหรับสินค้าที่หายาก เช่น โบราณวัตถุ หรืองานศิลปะต่าง ๆ เพราะผู้ซื้อไม่ สามารถเห็นชิ้นงานก่อนการประมูลได้ จำกัดกลุ่มผู้เข้าร่วมประมูล เช่น ตลาดกลาง อิเล็กทรอนิกส์จะส่งอีเมลไปยังผู้เข้าร่วมประมูลบางราย เท่านั้น เสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูล เพราะข้อมูลผู้ซื้อและผู้ขายได้ ฝากไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีปริมาณการซื้อขายต่ำ ราคาที่ประมูลได้อาจไม่ต่ำเท่าที่ควร

18 การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Procurement: E-Procurement) เป็นพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบ B2B ที่สนับสนุนการให้บริการซึ่ง เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง โดยครอบคลุม ตั้งแต่การค้นหา การเลือกสินค้า การตกลงราคา การ สอบราคา การประกวดราคา การออกใบขอสั่งซื้อ การอนุมัติใบขอสั่งซื้อ การออกใบสั่งซื้อ การติดตาม การสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชำระเงิน รวมถึง การลงทะเบียนบริษัทผู้จำหน่าย และฟังก์ชันการทำงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับสนับสนุนให้ระบบการจัดซื้อ จัดจ้างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

19 การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์
2. วิวัฒนาการการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์มีวิวัฒนาการเป็นขั้น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงดังต่อไปนี้ ระบบจัดซื้อจัดจ้างภายใน (Internal Buy-Side System) ระบบจัดซื้อจัดจ้างโดยตรง (Direct Purchasing System) การเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace Involvement) การทำงานร่วมกัน (Collaboration)

20 การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์
3. องค์ประกอบของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 ระบบแค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (e –Catalog) ระบบแค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้า หรือบริการไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง (Supplies) ที่มี คุณสมบัติในการทำธุรกรรมสามารถเข้ามาทำการแจ้งหรือปรับปรุงรายการ สินค้าหรือบริการของตนเอง โดยระบบสามารถทำงานได้ดังนี้ การลงทะเบียนผู้ขายหรือผู้รับจ้าง การจัดการแค็ตตาล็อกของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ผู้ซื้อสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าหรือบริการและ พิจารณาสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากแค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตลอดเวล

21 การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์
3.2 ระบบร้องขอข้อเสนออิเล็กทรอนิกส์ (e-RFP (Request for Proposal) / e-RFQ (Request for Quotation)  3.2.1 ผู้ซื้อ/ผู้ว่าจ้างสามารถค้นหาข้อมูลผู้ขายหรือผู้รับจ้างและข้อมูล คุณลักษณะเฉพาะของสินค้าหรือบริการ (Specification) ของผู้ขายหรือ ผู้รับจ้างที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว และคัดเลือกผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่ เหมาะสมเพื่อเสนอราคา 3.2.2 ระบบแจ้งผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่ได้รับการคัดเลือกผ่านระบบ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)  3.2.3 ผู้ขายหรือผู้รับจ้างยื่นข้อเสนอราคาและคุณสมบัติสินค้าหรือบริการ (Quotation/Proposal) 3.2.4 ผู้ซื้อ/ผู้ว่าจ้างและผู้ขาย/ผู้รับจ้างทำข้อตกลงในเรื่องราคาและ คุณสมบัติของสินค้าหรือบริการระหว่างกัน 3.2.5 ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างคัดเลือกผู้ขายหรือผู้รับจ้างเพื่อซื้อหรือขอจ้างงาน 3.2.6 ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างจัดทำใบขอซื้อหรือขอจ้าง รวมทั้งขั้นตอนการ อนุมัติ

22 การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์
3.3 ระบบประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e- Auction) การประมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการซื้อจัดจ้าง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์มักจะเป็นการประมูลซื้อ (Reverse Auction) โดยผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างจะเลือกผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่นำเสนอ ขายสินค้าหรือบริการตามคุณสมบัติ ที่กำหนดไว้ในราคาที่ต่ำสุด 3.4 ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-DataExchange) 3.5 ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace Service Provider) เป็นผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่จัดการประมูลและ เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายรวมทั้งจัดหาผู้ขายหรือผู้รับจ้างเพิ่มเติมผ่าน ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีศูนย์กลางการติดต่ออยู่ที่เว็บไซด์ของตลาด กลาง

23 การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์
4. กิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมหรือวิธีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการนั้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสินค้าหรือบริการที่ต้องการ จำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง และ ปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งโดยภาพรวมจะมีกิจกรรม ที่ คล้าย ๆ กัน 5. ประโยชน์ของการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่าย สามารถควบคุมขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง สามารถลดกระบวนการที่อาศัยระบบเอกสารที่เป็นกระดาษ ออกไป สามารถตรวจสอบ และติดตามการสั่งซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้

24 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายทางสังคม
1. เครื่องมือสนับสนุนการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บน สื่อสังคม การจัดอันดับและความคิดเห็นของลูกค้า (Customer Ratings and Reviews) ข้อเสนอแนะของผู้ใช้และการแนะนำผลิตภัณฑ์ (User Recommendations and Referrals) เครื่องมือการซื้อขายทางสังคม (Social Shopping Tools) กระทู้และชุมชนออนไลน์ (Forums and Communities) Social Media Optimization (SMO) การโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์(Social Advertising)

25 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายทางสังคม
2. ตัวอย่างรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อ สังคม การพาณิชย์ผ่านเฟสบุ๊ค (Facebook Commerce: F-commerce) เป็นการเปิดร้านขายสินค้าหรือบริการ ผ่าน Facebook Flash Sale sites คือเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าราคา ลดแบบสุด ๆ เฉพาะช่วงเวลาสั้น ๆ (ไม่กี่ชั่วโมง) เท่านั้น Group-Buying คือเว็บไซต์ที่เสนอขายโปรโมชันหรือ คูปองลดราคา โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการนั้นจำนวนขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ โปรโม ชันดังกล่าวจึงจะใช้งานได้

26 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
คือ การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บ เล็ต และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายอื่น ๆ เป็นต้น เพื่อทำ ธุรกรรมการค้าในการสั่งซื้อและการชำระค่าสินค้าและ บริการ 1. คุณลักษณะเด่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ความแพร่หลายของเครื่องลูกข่ายหรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่หาซื้อได้ง่าย และ ในปัจจุบันมี ความแพร่หลายมากขึ้น ความสามารถในการเคลื่อนย้าย ติดตามตัวได้เสมอ กระบวนการรักษาความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน

27 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
2. ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันความสำเร็จของพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลตำแหน่งท้องถิ่น หรือ เทคโนโลยี Location Based Service สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารได้ ในทันที ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยีการรับส่ง ข้อมูลแบบใหม่ ๆ การจัดการฐานข้อมูลส่วนบุคคล ในปัจจุบันนี้ โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ที่มีหน่วยความจำ ขนาดใหญ่ และมีการใช้เทคโนโลยีการพัฒนา โปรแกรมพิเศษ


ดาวน์โหลด ppt การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google