งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE,Ph.D

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักรัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE,Ph.D"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE,Ph.D

2 สรุป สมัยทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887 - 1950)
1.1 การบริหารแยกออกจากการเมือง 1.2 ระบบราชการ 1.3 วิทยาศาสตร์การจัดการ 1.4 หลักการบริหาร

3 การบริหารระบบราชการ

4 ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory)
ทฤษฎีระบบราชการ ถือเป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญมากต่อการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ บุคคลที่เสนอแนวคิดการจัดองค์การแบบระบบราชการคนแรก คือ Max Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน คำว่า “ระบบราชการ” หรือ “Bureaucracy” ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยชาวฝรั่งเศส ชื่อ กูร์เนย์ (Gournay) เพื่อบรรยายลักษณะของรัฐบาลในความหมายที่ไม่ดีว่า อำนาจตกอยู่ในมือของข้าราชการ ระบบราชการจึงเป็นรูปแบบการปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เพิ่มจากรูปแบบการบริหารของรัฐบาลที่อริสโตเติลเสนอไว้

5 รูปแบบการปกครอง 6 รูปแบบ ของอริสโตเติล
จำนวนผู้ปกครอง รูปแบบที่ชอบธรรม : ปกครองเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ รูปแบบที่ฉ้อฉล : ปกครองเพื่อประโยชน์เฉพาะตน หรือ กลุ่ม คนเดียว ราชาธิปไตย (Monarchy) ทรราชย์ (Tyranny) คนจำนวนน้อย อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) คนจำนวนมาก มัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity) ประชาธิปไตย (Democracy)

6 ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory)
Bureaucracy มาจากรากศัพท์ว่า Bureau ซึ่งหมายถึง ผ้าปูโต๊ะของเจ้าหน้าที่รัฐบาลฝรั่งเศส และคำว่า Cracy หมายถึง การปกครอง (Rule of Government) ซึ่งโดยรวมหมายถึง การปกครองโดยบุคคลที่นั่งทำงานบนโต๊ะเขียนหนังสือ (จุมพล หนิมพานิช, 2538)

7 ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory)
นัยยะแรก เป็นการมอง “ระบบราชการ” หรือ “Bureaucracy” ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (Social Institute) สถาบันหนึ่ง ในมุมมองนี้ ระบบราชการ (Bureaucracy) ถือเป็นสถาบันหนึ่ง ในกระบวนการปกครองประเทศ เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ปกป้อง ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมือง เหมือนกับ รัฐสภา ศาล พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ

8 ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory)
นัยยะที่สอง คือ การมองระบบราชการ (Bureaucracy) ในฐานะ ที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (A form of organization) ในมุมมองนี้ Bureaucracy จึงเป็นระบบการทำงานระบบหนึ่ง ที่มีลักษณะการจัดโครงสร้างองค์การและการบริหารงานที่เหมาะสำหรับนำไปใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อน มีภารกิจจำนวนมากที่ต้องปฏิบัติ มีบุคลากรจำนวนมากที่เข้าร่วม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการวางระบบการทำงานที่ชัดเจน

9 ระบบราชการ (Bureaucracy)
Max Weber ( ) นักปราชญ์ ชาวเยอรมัน ได้เสนอแนวความคิด การจัดองค์การแบบระบบราชการ ว่าเป็นวิธีการจัดองค์การที่มี ประสิทธิภาพเหนือกว่าวิธีอื่นใด จึงถือกันว่า Weber เป็น บิดาของทฤษฎีระบบราชการ

10 ระบบราชการ (Bureaucracy)
ลักษณะพื้นฐานสำคัญของระบบราชการแบบอุดมคติ (Ideal Type) 7 ประการ คือ ลำดับชั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ความรับผิดชอบ (Responsibility) ความสมเหตุสมผล (Rationality) การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (Achievement Orientation)5 การทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Differentiation or Specialization) ระเบียบวินัย (Discipline) 7. ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization)

11 หลักการทั่วไปในการจัดระเบียบบริหารราชการ

12 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการ
การรวมอำนาจ (Centralization) การแบ่งอำนาจ (Deconcentration) การกระจายอำนาจ (Decentralization)

13 หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
หมายถึง หลักการจัดวางระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยรวมอำนาจในการปกครองไว้ให้แก่ หน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองต่าง ๆ ของรัฐ และ มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง โดยให้ขึ้นต่อกันตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการปกครองตลอดทั่วทั้งอาณาเขตของประเทศ

14

15 ลักษณะสำคัญของหลักการรวมอำนาจปกครอง
มีการรวมสรรพกำลังให้ขึ้นต่อส่วนกลาง เพื่อให้ การบังคับบัญชาเป็นไปอย่างเด็ดขาด และทันท่วงที มีการรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการไว้ในส่วนกลาง มีการลำดับขั้นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ลดหลั่นกันไป (Hierarchy)

16 จุดแข็งของการรวมอำนาจปกครอง
การที่รัฐบาลมีอำนาจแผ่ขยายไปทั่วอาณาเขต ทำให้นโยบาย แผนหรือคำสั่งเกิดผลได้ทั่วประเทศอย่างทันที ให้บริการและประโยชน์แก่ประชาชนโดยเสมอภาคทั่วประเทศ มิได้ทำเพื่อท้องถิ่นใดโดยเฉพาะ

17 จุดแข็งของการรวมอำนาจปกครอง
3. ทำให้เกิดการประหยัด เพราะสามารถหมุนเวียนเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเครื่องใช้ไปยังจุดต่างๆ ของประเทศได้ โดยไม่ต้องจัดซื้อจัดหาประจำทุกจุด 4. มีความเป็นเอกภาพในการปกครองและการบริหารงาน การปกครองในท้องที่เป็นไปในแนวเดียวกัน 5. มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าเจ้าหน้าที่ ในท้องถิ่น ทำให้บริการสาธารณะดำเนินไปโดยสม่ำเสมอ และเป็นไปตามระเบียบแบบแผนอันเดียวกัน

18 จุดอ่อนของหลักการรวมอำนาจปกครอง
ไม่สามารถดำเนินกิจการทุกอย่างให้ได้ผลดีทั่วทุกท้องที่ในเวลาเดียวกัน เพราะมีพื้นที่กว้างใหญ่ จึงไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ทั่วถึง การปฏิบัติงานมีความล่าช้า เพราะมีแบบแผนและขั้นตอนมากมายตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา ไม่สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่อาจตอบสนองความต้องการของแต่ละท้องถิ่นได้ อย่างแท้จริง เพราะความหลากหลายของความแตกต่าง ในแต่ละท้องถิ่น

19 หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentration)
หมายถึง หลักการที่การบริหารราชการส่วนกลาง ได้จัดแบ่งอำนาจวินิจฉัยและสั่งการบางส่วนไปให้ข้าราชการในส่วนภูมิภาค โดยให้มีอำนาจในการใช้ ดุลยพินิจ ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ตลอดจนริเริ่มได้ ในกรอบแห่งนโยบายของรัฐบาลที่ได้วางไว้

20

21 จุดแข็งของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง
หลักการนี้เป็นก้าวแรกที่จะนำพาไปสู่การกระจายอำนาจ การปกครอง ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้น ในการมาติดต่อ ในเรื่องที่ราชการส่วนภูมิภาคมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ เพราะ ไม่ต้องรอให้ส่วนกลางมาวินิจฉัยสั่งการ เป็นจุดเชื่อมระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ทำให้การติดต่อประสานงานระหว่างทั้ง 2 ส่วนดีขึ้น มีประโยชน์ต่อประเทศที่ประชาชนยังไม่รู้จักการปกครองตนเอง

22 จุดอ่อนของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง
เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เพราะการที่ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปบริหารงาน ในท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังไม่เชื่อ ในความสามารถของท้องถิ่น เกิดความล่าช้าในการบริหารงานเพราะต้องผ่านระเบียบแบบแผนถึง 2 ระดับ คือ ระดับส่วนกลาง และระดับส่วนภูมิภาค

23 จุดอ่อนของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง
3. ทำให้ระบบราชการมีขนาดใหญ่โต เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ 4. ทำให้ทรัพยากรที่มีค่าบางอย่างในท้องถิ่นไม่เกิดประโยชน์ เช่น บุคลากร เจ้าหน้าที่ เพราะถูกส่งมาจากที่อื่น 5. บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งเข้าไปปฏิบัติในท้องถิ่น ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ อาจจะเนื่องมาจากไม่ใช่ คนพื้นที่จึงไม่เข้าใจพื้นที่ และอาจเกิดความขัดแย้งกับ คนในพื้นที่

24 หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
หมายถึง หลักการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์การอื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วย การบริหารราชการส่วนกลางให้ไปจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยมีอิสระตามสมควร เป็นการมอบอำนาจให้ทั้งด้านการเมืองและการบริหาร เป็นเรื่องที่ท้องถิ่น มีอำนาจที่จะกำหนดนโยบายและควบคุมการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามนโยบายท้องถิ่นของตนเองได้

25

26 รูปแบบขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) (Provincial Administrative Organization : PAO) เทศบาล (แบ่งเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล) (Municipality) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) (Tambon Administrative Organization : TAOs) กรุงเทพมหานคร (กทม.) (Bankok Metropolitan Administration) เมืองพัทยา (Pattaya City)

27 ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจปกครอง
1. ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยผลแห่งกฎหมาย ให้มีส่วนเป็น นิติบุคคล หน่วยการปกครองท้องถิ่นเหล่านี้มีหน้าที่ งบประมาณ และทรัพย์สินเป็นของตนเองต่างหาก และ ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยการปกครองส่วนกลาง ส่วนกลางเพียงแต่กำกับดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น

28 ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจปกครอง
2. มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นทั้งหมด เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง 3. มีอำนาจอิสระในการบริหารงาน จัดทำกิจกรรมและวินิจฉัย สั่งการได้เองพอสมควร ด้วยงบประมาณและเจ้าหน้าที่ ของตนเอง 4. หน่วยการปกครองท้องถิ่น ต้องมีอำนาจในการจัดเก็บรายได้ เช่น ภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามที่รัฐอนุญาตเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่างๆ

29 จุดแข็งของหลักการกระจายอำนาจปกครอง
ทำให้มีการสนองความต้องการของแต่ละท้องถิ่นได้ดีขึ้น เพราะผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งในท้องถิ่นจะรู้ปัญหาและ ความต้องการของท้องถิ่นได้ดีกว่า เป็นการแบ่งเบาภาระของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง เป็นการส่งเสริมและพัฒนาการเมืองในระดับท้องถิ่น ตามระบอบประชาธิปไตย เพราะการกระจายอำนาจทำให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักรับผิดชอบในการปกครองท้องถิ่น ของตนเองมากขึ้น

30 จุดอ่อนของหลักการกระจายอำนาจปกครอง
อาจก่อให้เกิดการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบ ต่อเอกภาพทางการปกครองและความมั่นคงของประเทศ ประชาชน ในแต่ละท้องถิ่นอาจมุ่งแต่ประโยชน์ของท้องถิ่นตน โดยไม่ให้ความสำคัญกับส่วนรวม ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งอาจใช้อำนาจบังคับกดขี่คู่แข่งหรือประชาชน ที่ไม่ได้ อยู่ฝ่ายตนเอง ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้และบุคลากรประจำอยู่ทุกหน่วยการปกครองท้องถิ่น ไม่มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนเหมือนการบริหารส่วนกลางและภูมิภาค

31 โครงสร้างระบบราชการไทย

32 ระบบราชการในสมัยสุโขทัย
มีลักษณะแบบพ่อปกครองลูก (Paternalism) คือ พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อ ประชาชนเปรียบเสมือนลูก ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมื่ออาณาจักรขยายใหญ่ขึ้นได้ปรับเอาความคิดของพราหมณ์และพุทธศาสนามาใช้ กลายเป็นรูปแบบการปกครองครองแบบธรรมราชา คือ กษัตริย์ต้องมีทศพิธราชธรรม

33 การจัดรูปแบบการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองส่วนกลาง ราชธานี (เมืองหลวง) การปกครองหัวเมือง หัวเมืองชั้นใน เมืองอุปราช เมืองหน้าด่าน เมืองลูกหลวง เมืองท้าวพระยามหานคร เมืองประเทศราช

34 ระบบราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การบริหารปกครองแบบสมมติหรือเทวสิทธิ์ (Divine Rights) กษัตริย์คือสมมุติเทพ จากราชโองการเป็นเทวโองการ ผู้ใต้ปกครองต้องเชื่อฟังโดยไม่มีข้อแม้

35 ระบบราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปกครองส่วนกลาง - จตุสดมภ์ 4 กรม คือ เวียง วัง คลัง นา สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งกรมกลาโหม และกรมมหาดไทยเพิ่ม เกิดสมุหกลาโหม และสมุหนายก มีอำนาจเหนือเสนาบดีจตุสดมภ์ สมัยพระเพทราชาแบ่งให้สมุหกลาโหมดูแลทางใต้ สมุหนายกดูแลทางเหนือ

36 ระบบราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปกครองหัวเมือง : การรวมอำนาจสู่ส่วนกลาง ยกเลิกหัวเมืองชั้นในทั้ง 4 ทิศ ขยายบริเวณราชธานีออกไปทับเขตเดิม อยู่ใต้กษัตริย์โดยตรง คงเมืองพระยามหานคร โดยแบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดใหญ่เล็ก ในเมืองหนึ่งๆ แบ่งการปกครองท้องที่เป็น เมือง แขวง ตำบล(กำนัน) บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)

37 แผนภูมิการบริหารสมัยกรุงศรีอยุธยา
“เมือง” มีหัวหน้าเรียกว่า “ เจ้าเมือง” “แขวง” มีหัวหน้าเรียกว่า “ หมื่นแขวง” “ตำบล” มีหัวหน้าเรียกว่า “ กำนัน” “บ้าน” มีหัวหน้าเรียกว่า “ผู้ใหญ่บ้าน” ที่มา: สมาน รังสิโยกฤษฎ์. การบริหารราชการไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต หน้า 16

38 ระบบราชการในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สมัย ร.1-ร.4 ยังคงใช้รูปแบบการปกครองในสมัยกรุงศรี-อยุธยาเป็นหลัก อัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมดูแลทหาร สมุหนายกดูแลพลเรือน เสนาบดี 4 ตำแหน่ง

39 การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5
สาเหตุของการปฏิรูปสมัย ร.5 การเปลี่ยนแปลงของโลก การคุกคามจากจักรวรรดินิยม ความต้องการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ความต้องการลดอำนาจขุนนาง

40 การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5
มีการปฏิรูประบบราชการ แบ่งการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน 1. การบริหารราชการส่วนกลาง 2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

41 การบริหารราชการส่วนกลาง
จัดตั้งกระทรวง 12 กระทรวง โดยมีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีฐานะเสมอกันทั้งหมด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงนครบาล กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงมุรธาธิการ

42 การบริหารราชการส่วนกลาง
ตั้งสภาที่ปรึกษา 2 สภา 1. เสนาบดีสภาหรือรัฐมนตรีสภา ให้คำปรึกษาราชการแผ่นดิน พิจารณาร่างกฎหมาย 2. องคมนตรีสภา ที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ เป็นคณะกรรมการชำระความ

43 การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ขยายอำนาจการปกครองของส่วนกลางออกไปยังหัวเมืองต่างๆโดยตรง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและความมั่นคงของประเทศ ยังผลให้หัวเมืองต่างๆ อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวเท่านั้น

44 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ เป็นสุขาภิบาลแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2440 พ.ศ จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม ตลอดรัชกาลมีการจัดตั้งสุขาภิบาลทั้งสิ้น 35 แห่ง หน้าที่หลักสำคัญ คือ การรักษาความสะอาด การบำรุงรักษาถนน

45 แผนภูมิการบริหารราชการสมัยรัชกาลที่ 5

46 โครงสร้างระบบราชการไทยในปัจจุบัน

47 แผนภูมิการบริหารราชการสมัยใหม่
การบริหารราชการส่วนกลาง กระทรวง ทบวง กรม รัฐมนตรีดูแลกระทรวง ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดี การบริหารราชการส่วนภูมิภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) การบริหารราชการแบบปกครองพิเศษ กรุงเทพมหานคร พัทยา

48 โครงสร้างระบบราชการไทย
ระบบราชการไทยได้กำหนดให้มีโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง และ สำนักนายกรัฐมนตรี แต่ละกระทรวงจะแบ่งส่วนราชการภายในคล้ายคลึงกัน คือ ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

49 โครงสร้างระบบราชการไทย
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการที่ราชการบริหารส่วนกลางแบ่งอำนาจหรือมอบหมายอำนาจหน้าที่บางส่วนให้ปฏิบัติแทน การจัดหน่วยงานยึดถืออาณาเขตหรือท้องที่เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ ประกอบด้วย จังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ

50 โครงสร้างระบบราชการไทย
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นส่วนราชการที่ตั้งขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดในเรื่องการกระจายอำนาจและอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตนเอง ประกอบด้วย 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

51 การปฏิรูประบบราชการไทย

52 วัตถุประสงค์ของการปฏิรูประบบราชการ
เพื่อยกระดับขีดความสามารถของหน่วยราชการ ให้สามารถก้าวทันและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง ตามกระแสโลกาภิวัตน์และสังคมในยุคเศรษฐกิจใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานของระบบราชการให้หมดไปอย่างเร่งด่วน เช่น ค่าตอบแทน และขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติงาน กระบวนการจัดสรรและบริหารงบประมาณ คุณภาพในการให้บริการประชาชน เป็นต้น

53 ลักษณะของระบบราชการยุคใหม่
รัฐจะมีบทบาทในเฉพาะส่วนที่จำเป็นจะต้องทำเท่านั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีบทบาทมากขึ้น การบริหารจัดการในภาคราชการจะมีความรวดเร็ว คุณภาพและประสิทธิภาพสูง การจัดองค์การมีความกะทัดรัด คล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว เน้นการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐมีคุณภาพสูง

54 ลักษณะของระบบราชการยุคใหม่
5. ข้าราชการทำงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์โดยมีประชาชน เป็นเป้าหมาย 6. มีกลไกการบริหารงานบุคคลที่หลากหลาย มีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้คนไทย ที่มีคุณภาพเต็มใจมารับราชการเป็นอาชีพ 7. มีวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบมีส่วนร่วม 8. มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

55 สาระสำคัญของการปฏิรูประบบราชการ
การขจัดภารกิจที่ล้าสมัยหรือไม่จำเป็นออกไปและมุ่งให้ความสำคัญเฉพาะภารกิจหลักของภาครัฐเท่านั้น การให้อิสระความคล่องตัวทางการบริหาร และการตรวจสอบผลงาน ปรับเปลี่ยนแนวทางและวิธีการจัดการงบประมาณ การปรับปรุงเงินเดือนและค่าตอบแทนของข้าราชการเสียใหม่ การตอบสนองความต้องการและเปิดโอกาสให้ประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วม

56 แนวทางการจัดบทบาทภารกิจ และการจัดโครงสร้างราชการใหม่
รักษาของเดิมที่มีอยู่แล้ว รื้อสิ่งเก่าที่ชำรุดหรือล้าสมัย สร้างเสริมสิ่งใหม่ให้ทันโลกปัจจุบัน พัฒนาคนเพื่อยกคุณภาพและคุณธรรม เปลี่ยนแปลงจากภายในเพื่อความยั่งยืน แสวงหาแนวร่วมจากสังคม


ดาวน์โหลด ppt หลักรัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE,Ph.D

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google