งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอ่านวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอ่านวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอ่านวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
การอ่านวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ครูผู้สอน นางพรลภัส ทองชุบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนนครสวรรค์

2 ลำดับที่ ขอบข่ายของกิจกรรม เวลา การอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง สรุปเนื้อหา - ประวัติและผลงานสุนทรภู่ - เนื้อเรื่อง พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อ วิเคราะห์คุณค่า และวิถีไทยที่ปรากฏ สรุปความรู้ และข้อคิดที่ได้ นำไปใช้ในชีวิต ท่องจำบทอาขยาน

3 การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยม และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราว หรือรสประพันธ์ที่อ่าน หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว      1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ เพื่อเเบ่งวรรคตอน      2. อ่านให้คล่อง และเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง      3. อ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คำควบกล้ำต้องออกเสียงให้ชัดเจน      4. เน้นเสียงและถ้อยคำ ตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง      5. อ่านออกเสียงให้เหมาะสมกับประเภทของเรื่อง เช่น ถ้าอ่านเรื่องที่ให้ข้อเท็จจริงทั่วไป จะอ่านออกเสียงธรรมดาให้ชัดเจน      6. ในระหว่างที่อ่าน ควรกวาดสายตามองตัวอักษร สลับกับการเงยหน้าขึ้นมาสบตาผู้ฟัง ในลักษณะที่เหมาะสม เป็นธรรมชาติ    7. ถ้าอ่านในที่ประชุม ต้องยืนทรงตัวในท่าทางที่สง่า มือที่จับกระดาษอยู่ในท่าทางทีเหมาะ ไม่เกร็ง หรือเอกสารบังหน้า หรือไม่ถือต่ำเกินไปจนต้องก้มลง

4 วิธีการอ่านออกเสียงข้อความที่เป็นร้อยแก้ว สร้างวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักอ่าน
            ในปัจจุบันกล่าวกันว่า/ เรากำลังอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ หรือเรียกอีกอย่างว่าโลกไร้พรมแดน// แต่จะเรียกอย่างไรก็ตามเถิด/การอ่าน/ ก็เป็นกระบวนการสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนในทศวรรษนี้/ เพราะโลกของการศึกษา/ มิได้จำกัดอยู่ภายในห้องเรียน/ ที่มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมเเคบๆ เท่านั้น/ เเต่ข้อมูลข้าวสารสารสนเทศต่างๆ /ได้ย่อโลกให้เล็กลงเท่าที่เราอยากรู้ได้รวดเร็ว/ ในชั่วลัดนิ้วมือเดียวอย่างที่คนโบราณกล่าวไว้/ จะมีสื่อให้อ่านอย่างหลากหลายให้เลือก/ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ที่เราคุ้นเคย/ ไปจนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" เพราะการต่อสู้รุกรานกันของมนุษย์ยุคใหม่/ จะใช้ข้อมูล/ สติ/ ปัญญา/ และคุณภาพของคนในชาติ/ มากกว่าการใช้กำลังอาวุธเข้าประหัตประหารกัน// หากคนในชาติด้อยคุณภาพ/ ขาดการเรียนรู้/ จะถูกครอบงำทางปัญญาได้ง่ายๆ / จากสื่อต่างๆ จากชาติที่พัฒนาเเล้ว              หากคนไม่อ่านหนังสือ/ ก็ยากที่จะพัฒนาสติปัญญา และความรู้ได้/ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา/ จะต้องทุ่มเทให้คนมีนิสัยรักการอ่าน/ มีทักษะในการอ่าน/ และพัฒนาวิธีการอ่านให้เป็นนักอ่านที่ดี// นักอ่านที่ดีจะมีภูมิคุ้มกันการครอบงำทางปัญญาได้เป็นอย่าง/ รู้เท่ากันคน และสามารถแก้ปัญหาได้ดี ชาติก้าวไกลด้วยคนไทยรักการอ่าน : มานพ ศรีเทียม  * เครื่องหมาย / หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะสั้นๆ   เครื่องหมาย // หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะที่ยาวกว่าเครื่องหมาย /   เครื่องหมาย ____ หมายถึง การเน้น การเพิ่มน้ำหนักของเสียง

5 การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์ ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ดังนี้             1. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน             2. อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม

6 หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
       1. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น        2. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์       3. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน        4. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป        5. คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา       6. มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง         การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้         1. ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น       2. ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านเเละขณะกำลังอ่าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด        3. ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผันวรรณยุกต์ และอื่นๆ        4. พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ        5. หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่างๆอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ

7 คุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะ 1. ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน 2
คุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะ             1. ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน             2. ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง             3. เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน             4. จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วเเม่นยำ             5. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน             6. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ

8 วิธีการอ่านทำนองเสนาะจากคำประพันธ์             กลอนสุภาพ นิยมอ่านเสียงสูง ๒ วรรค และเสียงต่ำ ๒ วรรค             การเเบ่งจังหวะวรรคในการอ่าน มีดังนี้                   วรรคละ ๖ คำ อ่าน ๒/๒/๒ OO/OO/OO                 วรรคละ ๗ คำ อ่าน ๒/๒/๓ OO/OO/OOO                 วรรคละ ๘ คำ อ่าน ๓/๒/๓ OOO/OO/OOO                 วรคคละ ๙ คำ อ่าน ๓/๓/๓ OOO/OOO/OOO ตัวอย่าง  การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๖ คำ             ไผ่ซอ/อ้อเสียด/เบียดออด//                   ลมลอด/ไล่เลี้ยว/เยวไผ่//             ออดเเอด/แอดออด/ยอดไกว//                แพใบ/ไล้น้ำ/ลำคลอง// การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๘ คำ             เเล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์                มันเเสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด             ถึงเถาวัลย/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด//            ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน//

9 ประวัติสุนทรภู่ บุคคลสำคัญของโลก

10 ประวัติย่อ สุนทรภู่ เกิด-ตาย
สุนทรภู่มีชีวิตวนเวียนอยู่ใน “วัง”กับ “วัด” เริ่มตั้งแต่ เกิด-วังหลัง สมัยรัชกาลที่ ๑ โต-วังหลวง สมัยรัชกาลที่ ๒ บวช-วังหลวง สมัยรัชกาลที่ ๓ ตาย-วังหน้า สมัยรัชกาลที่ ๔

11 เกิด-วังหลัง สมัยรัชกาลที่ ๑
วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ (ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลา ๒ โมงเช้า ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑) พ.ศ. ๒๓๒๙-๒๓๕๒ (อายุ ๑-๒๓ ปี) สุนทรภู่เป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง พ.ศ. ๒๓๔๙ เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ (ลูกเธอในกรมพระราชวังหลัง) ขณะทรง ผนวชอยู่วัดระฆังฯ ผลงาน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ตอนต้นปีไปหาบิดาที่เมืองแกลง แต่งนิราศเมืองแกลง - ตอนปลายปีแต่ง นิราศพระบาท - เล่ากันว่าสุนทรภู่แต่งนิทานเรื่องโคบุตรก่อนไปเมืองแกลง - แต่งเรื่อง ลักษณวงศ์ ก่อนเข้ารับราชการ

12 โต-วังหลัง สมัยรัชกาลที่ ๒
พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗ (อายุ ๒๓-๓๘ ปี) ตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เสวย ราชย์ จนถึงสวรรคต สุนทรภู่เข้ารับราชการเป็นที่โปรดปราน และ ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร ในกรมพระอาลักษณ์ ได้รับพระราชทานให้ อยู่เรือนแพริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงท่าช้างวังหลวง - เล่ากันว่าช่วงนี้สุนทรภู่แต่งเรื่อง สิงหไตรภพ (ตอนต้น) - แต่งเรื่องพระอภัยมณี (ตอนต้น) - แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม

13 บวช-วังหลวง สมัยรัชกาลที่ ๓
พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๘๕ (อายุ ๓๘-๕๖ ปี)ตั้งแต่บวชจนสึกรวม ๑๗ ปี อยู่ในรัชกาลที่ ๓ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔ พ.ศ. ๒๓๗๑ อายุ ๔๒ ปี ไปอยู่อยุธยาแต่งนิราศภูเขาทอง พ.ศ. ๒๓๗๒ อายุ ๔๓ ปี เจ้าฟ้ากลางกับเจ้าฟ้าปิ๋วมาเป็นลูกศิษย์ แต่งเพลงยาวถวายโอวาท พ.ศ. ๒๓๗๔ อายุ ๔๕ ปี ไปเพชรบุรี แต่งนิราศเมืองเพชร พ.ศ. ๒๓๗๕ อายุ ๔๖ ปี ไปอยุธยา แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้า (สำนวน“เณรหนูพัด”)

14 บวช-วังหลวง สมัยรัชกาลที่ ๓
พ.ศ. ๒๓๗๙ อายุ ๕๐ ปี ไปสุพรรณบุรี แต่งนิราศสุพรรณ (คำโคลง) พ.ศ. ๒๓๘๐ อายุ ๕๑ ปี ต่อเรื่องพระอภัยมณี พ.ศ. ๒๓๘๓ อายุ ๕๔ ปี ต่อเรื่องสิงหไตรภพ พ.ศ. ๒๓๘๔ อายุ ๕๕ ปี ไปพระประธม (นครไชยศรี) แต่งนิราศพระประธม

15 บวช-วังหลวง สมัยรัชกาลที่ ๓
พ.ศ. ๒๓๘๕ อายุ ๕๖ ปี แต่งรำพันพิลาป แล้วลาสิกขา ระหว่างบวชเป็นพระอยู่วัดเทพธิดาราม ได้แต่งกาพย์ลำนำเรื่องพระไชยสุริยา อาจได้แต่งนิราศอิเหนา เห่กล่อมพระบรรทม พระอภัยมณี ส่วนเห่เรื่องอื่นๆ อาจแต่งแต่ในรัชกาลที่ ๒

16 ตาย-วังหน้า/วังเดิม สมัยรัชกาลที่ ๔
พ.ศ. ๒๓๘๕-๒๓๙๘ (อายุ ๕๖-๖๙) อยู่ในช่วงปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ จนถึงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) เมื่อสึกแล้วสุนทรภู่ได้ไปอยู่กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ราชวังเดิม (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิสเรศรังสรรค์แต่เรียกกันเป็นสามัญว่า “เจ้าฟ้าน้อย”)

17 ตาย-วังหน้า/วังเดิม สมัยรัชกาลที่ ๔
เมื่อรัชกาลที่ ๔ เสวยราชย์สมบัติ “เจ้าฟ้าน้อย”ได้รับบวรราชาภิเษกทรงแต่งตั้งให้สุนทรภู่เป็นพระสุนทรโวหาร อาลักษณ์ในกรมพระราชวังบวรฯ เข้าใจว่าได้แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา และเสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร สุนทรภู่ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุ ๖๙ ปี มีผู้จำได้ว่า ถึงแก่กรรมที่บ้านสวนบางระมาด ในคลองบางกอกน้อย แล้วทำศพที่ว่าชิโนรสฯ ริมคลองมอญ ธนบุรี

18 ผลงานที่เป็นนิราศ นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. ๒๓๔๙)
- แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง นิราศพระบาท (พ.ศ. ๒๓๕๐) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๑) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่ง ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่ จังหวัดอยุธยา

19 ผลงานที่เป็นนิราศ นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๔)
- แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๕) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทง ที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา

20 ผลงานที่เป็นนิราศ – แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ ๓) – แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา รำพันพิลาป (พ.ศ. ๒๓๘๕) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตา ขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท

21 ผลงานที่เป็นนิราศ นิราศพระประธม (พ.ศ. ๒๓๘๕)
- เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. ๒๓๘๘) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระ ราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

22 ผลงานที่เป็นนิทาน โคบุตร เชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่ เป็นเรื่องราวของ "โคบุตร" ซึ่งเป็นโอรสของพระอาทิตย์กับนางอัปสร แต่เติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของนางราชสีห์ พระอภัยมณี คาดว่าเริ่มประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ ๒ และแต่งๆ หยุดๆ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน

23 ผลงานที่เป็นนิทาน พระไชยสุริยา
: เป็นนิทานที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์หลายชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน เนื้อหาเรียงลำดับความง่ายไปยาก จากแม่ ก กา แม่กน กง กก กด กบ กม และเกย เชื่อว่าแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๓ - ๒๓๘๕

24 ผลงานที่เป็นนิทาน ลักษณวงศ์
: เป็นนิทานแนวจักรๆ วงศ์ๆ ที่นำโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน แต่มีตอนจบที่แตกต่างไปจากนิทานทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แต่จบด้วยงานสมโภชศพนางทิพเกสร ชายาของลักษณวงศ์ที่สิ้นชีวิตด้วยการสั่งประหารของลักษณวงศ์ สิงหไตรภพ : เชื่อว่าเริ่มประพันธ์เมื่อครั้งถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ภายหลังจึงแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ น่าจะหยุดแต่งหลังจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สิงหไตรภพเป็นตัวละครเอกที่แตกต่างจากตัวพระในเรื่องอื่นๆ เนื่องจากเป็นคนรักเดียวใจเดียว

25 สุภาษิต สวัสดิรักษา - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

26 บทละคร มีการประพันธ์ไว้เพียงเรื่องเดียวคือ อภัยนุราช
ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

27 บทเห่กล่อมพระบรรทม เห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องโคบุตร
น่าจะแต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้า ลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี ๔ เรื่องคือ เห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี

28 ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่
บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

29 ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่
บางตอนจาก พระอภัยมณี บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน (พระฤาษีสอนสุดสาคร)

30 ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป (ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา")

31 บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท
อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

32 บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง

33 บางตอนจาก นิราศสุพรรณ
เสียดายสายสวาทโอ้ อาวรณ์ รักพี่มีโทษกรณ์ กับน้อง จำจากพรากพลัดสมร เสมอชีพ เรียมเอย เสียนุชดุจทรวงต้อง แต่ฟ้าผ่าสลาย (นิราศสุพรรณ)

34 กิจกรรมเสริมความรู้

35 การถอดคำประพันธ์ หลักการถอดคำประพันธ์
   ๑. อ่านข้อความนั้นให้จบ  จับใจความให้ถูกต้องว่าข้อความตอนนั้นกล่าวถึงอะไร    และรู้ต่อไปว่าข้อความนั้นมีเรื่องละเอียดเป็นประการใด    ๒. คำศัพท์ต่างๆ ต้องหาคำสามัญที่มีความหมายตรงกันมาแทน ถ้าเป็นกาพย์กลอนต้องเพิ่มคำที่เว้นให้เติมความ เพราะตามธรรมดาภาษากาพย์กลอนมักจะเว้นคำบางคำ  หรือบางอย่างในฐานะเข้าใจกันเอง    ๓. การถอดคำศัพท์ไม่ใช่อธิบายความ  จึงต้องเขียนให้ตรงกับความเดิมอย่าเพิ่มความใหม่หรือเรื่องใหม่ให้เกินไปจากต้อนเรื่องเดิม  ในบางกรณีอาจต้องขยายความหรือตัดความ  เห็นว่าความเดิมกล่าวไว้ไม่ชัดเจนบ้าง  กล่าวซ้ำกล่าวเกินบ้าง ดังนั้นเวลาถอดต้องนึกถึงความจำเป็นว่าควรจะขยายความเพื่อให้เกิดความชัดเจนหรือไม่

36 ๔. ต้องถอดความให้ได้ลักษณะเดิมของคำประพันธ์นั้นๆ   กล่าวคือ ถ้าเป็นบทกวีที่แสดงความศักดิ์สิทธิ์  ความอาลัย ความรัก ฯลฯ ต้องให้ข้อความนั้นแสดงลักษณะเช่นนั้นด้วย ๕. ไม่อาจหาคำใดที่มีความหมายดีและตรงกับคำในบทเดิมก็ให้ใช้คำในบทเดิม ๖. ถ้าบทประพันธ์เป็นร้อยแก้ว  ที่มีประโยคซับซ้อนยืดยาว ต้องพยายามแยกประโยคนั้นออกเป็นประโยคง่ายๆ คือ พยายามใช้เอกรรถประโยค (ประโยคความเดียว) ๗. ถ้าในบทประพันธ์ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑, ๒ หรือ ๓ ในบทที่ถูกถอดให้คงใช้สรรพนามตามเดิม ๘. ควรลำดับเนื้อความตามบทเดิม  อย่าสลับความเป็นอย่างอื่น  เว้นแต่ในการสลับนั้นจะช่วยให้อ่านเข้าใจดีขึ้น ๙. ถ้าบทประพันธ์ใด มีโวหารภาพพจน์ที่ยากแก่การเข้าใจควรหาโวหาร  ที่มีความหมายคล้ายกัน  แต่อ่านเข้าใจง่ายแทน มิฉะนั้นก็ใช้ข้อความตรงไปตรงมา แทนที่จะกล่าวเป็นโวหาร

37 กิจกรรมอ่าน คิด วิเคราะห์
วรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ เวลา ๔ ชั่วโมง

38 ความรู้เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร
ผู้แต่ง แต่งสุนทรภู่ เริ่มแต่งในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และแต่งต่อในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตอนออกบวช ลักษณะคาประพันธ์ เป็นกลอนนิทาน

39 ที่มาของเรื่อง สุนทรภู่ผูกเรื่องขึ้นเอง โดยนำเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมา หรืออ่านมาจากวรรณคดีไทยและวรรณคดีต่างชาติ มาผสมผสานเข้ากับเรื่องจริงที่ได้พบเห็น และเป็นเรื่องที่สุนทรภู่จินตนาการขึ้นอย่างกลมกลืน

40 เนื้อเรื่องโดยย่อ พระอภัยมณีอยู่กับนางผีเสื้อสมุทรจนมีบุตรชาย หน้าตาเหมือนพระบิดา แต่ดวงตาดังสุรีย์ฉาย มีกำลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา  พระบิดามีความรักใคร่เลี้ยงดูมาจนอายุได้แปดปี จึงให้ชื่อว่าสินสมุทร  สอนวิชาเป่าปี่และเพลงอาวุธให้จนชำนาญ             วันหนึ่งนางผีเสื้อน้ำออกจากถ้ำไปหาอาหาร  ฝ่ายสินสมุทรซึ่งรักพ่อมากกว่าแม่ เห็นพระอภัยหลับสนิทก็หนีไปวิ่งเล่นในคูหาเห็นแผ่นผาพิงผนิดปิดหนทาง จึงเข้าลองผลักด้วยกำลัง ก็พังออก เห็นหาดทรายงาม ทะเลกว้างและป่าที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ก็ออกวิ่งเล่นและว่ายน้ำด้วยความสนุกสนาน ไปพบเงือกเข้าก็แปลกใจ เห็นเป็นครึ่งคนครึ่งปลา จับไปให้พระบิดาดู พระอภัยทราบว่าสินสมุทรออกไปนอกถ้ำ ก็ตกใจบอกว่าถ้าแม่ของสินสมุทรรู้ก็จะโกรธ ด้วยเกรงว่าจะพาพระบิดาหนี จะพากันตายหมด  สินสมุทรได้ฟังจึงถามความหลังจากพระบิดา พระอภัยก็เล่าให้ฟังจนหมดสิ้น สินสมุทรรู้เรื่องแล้วก็เสียใจที่มีแม่เป็นยักษ์ร้าย

41             ฝ่ายเงือกน้ำฟังภาษามนุษย์รู้เรื่อง ก็ขออาสาพระอภัยมณีที่ได้ช่วยชีวิตไว้ว่าจะใช้ตนทำอะไรก็จะรับใช้ทุกอย่าง    พระอภัยเห็นว่าเงือกพูดได้และได้ฟังเรื่องแล้วก็เกิดความสงสาร  จึงบอกว่าตนต้องการหนีนางผีเสื้อ แต่ไม่รู้ว่าจะไปแห่งหนใด เงือกเฒ่าบอกตำแหน่งที่อยู่ของถ้ำและแนะนำให้หนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร และถ้าแม้ว่าจะให้พวกตนพาหนีต้องใช้เวลาถึง ๗ วัน จึงจะถึงยัง เกาะแก้วพิสดาร ส่วนนางผีเสื้อยักษ์มีกำลังมากใช้เวลาเพียง ๓ วันเท่านั้น ต่อมานางผีเสื้อสมุทรฝันว่า เทวดาที่อยู่บนเกาะมาทำลายร้าย ตรงเข้าทุบตีนาง และคว้าดวงตาของนางแล้วเหาะหนีไปพระอภัยมณีทำนายฝันว่า เทวดานั้นคือมัจจุราชที่มาเอาชีวิต ฉะนั้นควรจะต้องไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์โดยให้ไปอดอาหารจำศีลที่ตีนเขา แล้วอดข้าวอดปลากระยาหาร ให้ครบสามคืนจะบันดาลให้รอดตาย นางผีเสื้อสมุทรเชื่อและออกจากถ้ำไปแล้ว พระอภัยมณีพร้อมกับสินสมุทรหนีโดยมีเงือกเฒ่า เมียและลูกสาวคอยช่วยเหลือ

42                  ฝ่ายนางผีเสื้อสมุทร อดปลาอดนอนได้สามวันก็อ่อนกำลังจวนเจียนถึงชีวิต เมื่อครบกำหนดแล้วก็หาผลไม้มากิน แล้วกลับมายังถ้ำ เห็นประตูคูหาเปิดอยู่ เข้าไปดูในถ้ำไม่พบใครก็ตกใจ แลดูปี่ที่เป่าก็หายไปด้วยก็รู้ว่าพากันหนีนางไปแล้ว มีความเสียใจที่ทั้งลูกและผัวหนีจากไป แล้วก็เกิดความโกรธ ออกติดตามดูร่องรอยในมหาสมุทรก็ไม่พบ จึงเรียกโยธาหาญของตนที่เป็นปีศาจ ราชทูตภูติพรายมาซักถาม พวกผีที่อยู่ทิศทักษิณแจ้งว่า เห็นเงือกพามนุษย์ไปทางทิศใต้เมื่อคืนวานซืน ตนจะตามไปก็เกรงขามเด็กตัวเล็กแต่ไม่กลัวผี   นางผีเสื้อรู้ความแล้วก็รีบติดตามไปอย่างรีบร้อนและเหลือโกรธ ทำลายสิ่งที่กีดขวางทางไปตลอดทาง

43 ฝ่ายพระอภัยมณี หนียักษ์มาได้ห้าคืน เห็นทะมื่นมาข้างหลังดังสะเทือน จึงถามเงือก ฝ่ายเงือกรู้ว่าสิ่งนั้นคือ ฤทธิ์ของยักษ์จึงตอบพระอภัยไปว่า นางยักษ์กำลังตามมา คงจะทันกันในวันนี้ หนีไม่พ้น เห็นสุดจนจะม้วยลงด้วยกันสินสมุทรตอบว่า จะไม่ทิ้งพระบิดา ถ้าแม้ตามมาจะห้ามไว้ แล้วให้พระบิดารีบหนีไปก่อน  ผีเสื้อสมุทรตามมาได้สามวันก็ตามทันผัวกับลูกน้อย  ฝ่ายเงือกน้ำสิ้นกำลังที่จะพาพระอภัยหนีต่อไป จึงเรียกลูกสาวให้ช่วยพาพระอภัยหนีต่อไป  สินสมุทรเห็นมารดาในร่างเดิม ไม่ใช่ร่างนิมิตที่ตนเคยเห็น ก็สงสัยออกขวางกลางน้ำ แล้วร้องถามว่าเป็นสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ ที่ตามมานั้นต้องประสงค์อะไร นางผีเสื้อน้ำได้ยินคำพูดของลูกก็ให้นึกอดสู จึงตอบไปว่าตนไม่ใช่ชาติยักษ์ เมื่ออยู่ในถ้ำได้จำแลง แต่ออกเดินทางอย่างนี้ต้องนิมิต รูปจึงผิดไปกว่าเก่าจนเป็นที่สงสัย แล้วถามพ่อไปอยู่ที่ไหน สินสมุทรได้ฟังสำเนียงก็รู้ว่าเป็นแม่ แต่ดูรูปร่างแล้วน่าสมเพช ด้วยเหตุนี้พระบิดาจึงหนี จึงแกล้งบอกว่าตนไม่เชื่อ ถ้าหากเป็นแม่จริงก็อย่าตามมา ด้วยแม่เป็นผีเสื้อแต่พระบิดาเป็นมนุษย์จึงขอให้ปล่อยพระบิดาไป ส่วนตนนั้นจะขอลาไปเที่ยวสักหนึ่งปี ถ้าได้พบ อา ย่า ปู่ อยู่เป็นสุขแล้วก็จะชวนพระบิดามาหามารดาต่อไป

44 นางผีเสื้อรู้ทันสินสมุทร เมื่อเจรจาหว่านล้อมไม่เป็นผลแล้วนางจึงเข้าโจนจับสินสมุทร แต่สินสมุทรก็หลบหลีกไปได้ แล้วหนีล่อให้มารดาตามตนไปต้นทาง หมายให้ห่างพระบิดาได้คลาไคล นางผีเสื้อหาลูกและผัวไม่พบ จึงอ่านพระเวท มองหาพระอภัย เมื่อเห็นแล้วก็ติดตามไปพบเงือกยายตา ที่อ่อนกำลังว่ายน้ำอยู่จึงเข้าไปจับแล้วซักถาม สองเงือกก็หลอกนางผีเสื้อว่า พระอภัยอยู่บนเขาขวางริมทางที่ผ่านมา ตนจะพาไปจับตัว ถ้าไม่เหมือนคำที่สัญญา ก็ขอให้ฆ่าตนทั้งสองเสียนางผีเสื้อก็เชื่อ เงือกพานางผีเสื้อมาได้ครึ่งวันแล้วก็พูดล่อให้ต่อไป แต่นางผีเสื้อรู้ทันจึงว่าสองเงือกตอแหล จึงหักขาฉีกสองแขน แล้วเคี้ยวกินเงือกทั้งสองนั้นเสีย จากนั้นก็ออกติดตามพระอภัยต่อไป  นางเงือกพาพระอภัยมาถึงเกาะแก้วพิสดารพร้อมกับสินสมุทรนางผีเสื้อวิงวอนพระอภัยขอติดตามไปด้วยจนตลอดชีวิต ขอให้อภัยอย่าได้ตัดรอนความรักของตนเลย พระอภัยได้ฟังก็สงสาร และได้ชีแจงนางไปถึงความจำเป็น และเหตุผลที่ต้องหนีมานางผีเสื้อพยายามอ้อนวอนให้พระอภัยและสินสมุทรไปหา บอกว่าจะให้มนต์เวทวิเศษ  สินสมุทรสงสารแม่แล้วบอกว่าฝ่ายพระโยคีก็พูดจาปลอบโยนและให้โอวาทนางผีเสื้อ  แต่นางผีเสื้อไม่ฟัง และโกรธต่อว่าพระโยคีด้วยประการต่าง ๆ จนพระโยคีโกรธเสกทรายขว้างไป นางผีเสื้อกลัวจึงหลบออกไป

45 แนวคิดของเรื่องพระอภัยมณี
ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร แนวคิดของเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร คือ ความทุกข์ และความผิดหวังที่เกิดจากความรักที่มิได้เกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย

46 ความรู้เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร
กิจกรรมที่ ๑ ความรู้เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาบทประพันธ์ให้เข้าใจแล้วเขียนตัวเลขจัดลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง ( ใบกิจกรรมที่ ๑ )

47 กิจกรรมที่ ๓ การอ่านคิดวิเคราะห์ คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองเรื่อง พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทรแล้วตอบคำถามต่อไปนี้ ( ใบกิจกรรมที่ ๒ )

48 การวิเคราะห์องค์ประกอบ คำสั่ง จงนำคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่าง
กิจกรรมที่ ๓ การวิเคราะห์องค์ประกอบ คำสั่ง จงนำคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่าง ให้สัมพันธ์กับคำกลอน ( ใบกิจกรรมที่ ๓ )

49 อ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดี
กิจกรรมที่ ๔ อ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดี คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ( ใบกิจกรรมที่ ๔ )

50 การท่องจำบทอาขยาน พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา
พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ                เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา           ค่อยเคลื่อนคลาคล้ายคล้ายในสายชล ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่                    ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน                     บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง          ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร              ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน ฝูงม้าน้ำทำท่าเหมือนม้าเผ่น                 ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน                         ตะเพียนทองท่องน้ำนำตะเพียน              ดาษเดียรดูเพลินจนเกินมา เห็นละเมาะเกาะเขาเขียวชอุ่ม               โขดตะคุ่มเคียงเคียงเรียงรุกขา จะเหลียวซ้ายสายสมุทรสุดสายตา           จะแลขวาควันคลุ้มกลุ้มโพยม จะเหลียวดูสุริย์แสงเข้าแฝงเมฆ              ให้วิเวกหวาดองค์พระทรงโฉม ฟังสำเนียงเสียงคลื่นดังครื้นโครม           ยิ่งทุกข์โทมนัสในฤทัยทวี

51 ประลองวิชา กันหน่อยนะจ๊ะ ๑. ข้อใดที่สินสมุทรได้รับการถ่ายทอดจากแม่
๑. ข้อใดที่สินสมุทรได้รับการถ่ายทอดจากแม่ ก. มีเขี้ยว ข. มีดวงตาสีแดง ค. มีพละกำลังมาก ง. ถูกทุกข้อ ๒. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่นางผีเสื้อสมุทรรู้ว่าพระอภัยมณีหนีไป ก. การที่นางฝันร้าย ข. ประตูถ้ำเปิดทิ้งไว้ ค. ไม่พบพระอภัยมณีและสินสมุทร ง. ปี่ของพระอภัยมณีหายไป ๓. “ท่านส่งเราที่เกาะละเมาะนี้ แล้วรีบหนีไปในน้ำแต่ลำพัง” คำกล่าวนี้แสดงว่าผู้พูดเป็นคนอย่างไร ก. ขี้ขลาด ข. กล้าหาญ ค. เสียสละ ง. เห็นแก่ตัว ๔. “มาตั้งซ่องศีลจะมีอยู่ที่ไหน” คำว่า “ซ่อง” ในที่นี้มีความหมายตรงกับข้อใด ก. แหล่งอบายมุข ข. แหล่งบันเทิงเริงรมย์ ค. แหล่งหาความสุขทางกามารมณ์ ง. แหล่งมั่วสุมหรือชุมนุมกันอย่างลับ ๆ ๕. “ช่างเฉโกโยคีหนีเขาใช้” คำว่า “หนีเขาใช้” มีความหมายตรงกับข้อใด ก. หนีหนี้ไม่ใช้เงินเขา ข. หนีการเกณฑ์เข้าทำงานของราชการมาบวช ค. หนีการอยู่เวรยามของผู้ชายมาบวช ง.หนีหน้าไม่ยอมรับใช้ใคร ๆ มาบวช ประลองวิชา กันหน่อยนะจ๊ะ

52 ๖. “ช่วยแนะนำอนุกูลอย่าสูญใจ” คำว่าอย่าสูญใจ” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. อย่าใจน้อย ข. อย่าใจหาญ ค. อย่าแล้งน้ำใจ ง. อย่าหมดกำลังใจ ๗. คำประพันธ์ในข้อใดไม่แสดงอาการเคลื่อนไหว ก. มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน ข. ฝูงม้าน้ำทำท่าเหมือนม้าเผ่น ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน ค. ตะเพียนทองท่องน้ำนำตะเพียน ดาษเดียรดูเพลินจนเกินมา ง. เห็นละเมาะเกาะเขาเขียวชอุ่ม โขดตะคุ่มเคียงเคียงเรียงรุกขา ๘. คำประพันธ์ในข้อใด ให้ความรู้สึกอ้างว้างและหวาดหวั่นต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น ก. จะเหลียวซ้ายสายสมุทรสุดสายตา จะแลขวาควันคลุ้มกลุ้มโพยม ข. ถึงประตูคูหาเห็นเปิดอยู่ เอ๊ะอกกูเกิดเข็ญเป็นไฉน ค. เข้าในห้องมองเขม้นไม่เห็นใคร ยิ่งตกใจเพียงจะดิ้นสิ้นชีวา ง. แลดูปี่ที่เป่าเล่าก็หาย นางยักษ์ร้ายรู้ว่าพากันหนี ๙. คำประพันธ์ในข้อใด แสดงว่าผู้พูด พูดด้วยความโกรธ ก. แล้วว่าแก่สินสมุทรสุดที่รัก แม้นางยักษ์จะมารับจงกลับหลัง ข. พระโยคีชี้หน้าว่าอุเหม่ ยังโว้เว้วุ่นวายอีตายโหง ค. เที่ยวดำด้นค้นหามัจฉาใหญ่ พอจับได้ปลาอินทรีขึ้นขี่หลัง ง. ฉวยไม้เท้าก้าวย่างจากบัลลังก์ แขกฝรั่งพรั่งพร้อมล้อมลีลา ๑๐. ข้อใดเป็นการวางแผน ก. อันตาข้าถ้าค่ำเห็นสว่าง ทั้งเดินทางเรี่ยวแรงแข็งขยัน ข. เห็นละเมาะเกาะใหญ่ที่ไหนบ้าง หยุดเสียบ้างให้สบายจึงผายผัน ค. ถ้าแก้ไขให้นางไปค้างป่า ได้ล่วงหน้าเสียบ้างจะยังชั่ว ง. เห็นลูกไม้ในป่าคว้าเข้าปาก กำลังอยากยืนขยอกจนกลอกหัว

53 แล้วพบกันเรื่องต่อไปนะจ๊ะ
จบแล้วนะคะ...สวัสดีค่ะ แล้วพบกันเรื่องต่อไปนะจ๊ะ


ดาวน์โหลด ppt การอ่านวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google