ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวัดและประเมินผลการศึกษา
รศ. บรรพต พรประเสริฐ
2
จุดประสงค์การเรียนรู้
การจัดการศึกษา จุดประสงค์การเรียนรู้ เชิงพฤติกรรม การวัดผลและ ประเมินผล กิจกรรมการเรียน การสอน
3
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา
การสอบ (testing) เป็นกระบวนการใช้เครื่องมือหรือแบบทดสอบในการสอบหรือการวัดการดำเนินการสอบ การควบคุมการสอบ หรือการจัดทำข้อสอบและเครื่องมือที,ใช้ในการวัด ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งของกระบวนการใช้เครื่องมือ 3
4
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา
การวัดผล (measurement) เป็นกระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด(object or even ) ภายใต้ข้อกำหนด โดยค่าการวัด ( criteria measured) หรือผลการวัดที,ได้จากการใช้เครื่องมือจะอยู่ในรูปจำนวน ตัวเลขที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ( quantitative data ) 4
5
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา
การประเมินผล(evaluation ) เป็นการตัดสินคุณค่า (value judgement) หรือการลงสรุปสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างมีหลักเกณฑ์ กระบวนการตัดสินคุณค่า จะต้องการวินิจฉัยหรือดุลยพินิจในการสรุปประเด็นสาระภายใต้ข้อมูล หรือสารสนเทศ ตามมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่กำหนด 5
6
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา
การสอบ (testing) เป็นกระบวนการใช้เครื่องมือหรือแบบทดสอบในการสอบหรือการวัดการดำเนินการสอบ การควบคุมการสอบ หรือการจัดทำข้อสอบและเครื่องมือที,ใช้ในการวัด ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งของกระบวนการใช้เครื่องมือ 6
7
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา
การวัดและประเมิน (assessment ) เป็นกระบวนการ ที,มุ่งเน้นการค้นหา แสวงหา ข้อมูลหรือสารสนเทศ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยอาศัยเทคนิควิธีการสังเกต สัมภาษณ์ การศึกษา วิเคราะห์ เอกสาร หรือการใช้เครื่องมือในการวัด เพื่อตรวจสอบการพัฒนาการ ความก้าวหน้า ความงอกงาม โดยการเปรียบเทียบกับข้อกำหนด 7
8
ข้อสรุประหว่างการเรียนการสอน กับการวัดและประเมิน
ลักษณะและสิ่ง ที่ต้องการวัด - เนื้อหาหรือจุดประสงค์ - พฤติกรรมหรือทักษะ วิธีการวัด (เครื่องมือ-วิธีการ) ผลการวัด หรือ สิ่ง ที่ได้จากการวัด -ความรู้ทางทฤษฎี - ทักษะการปฏิบัติ - ลักษณะนิสัย - คะแนน(score ) - อันดับที่(ranking ) - ระดับผลการเรียน(grade) - ผ่าน/ไม่ผ่าน(pass/fail)
9
ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา
1. เพื่อการจัดตำแหน่ง (Placement) เป็นการนำผลการวัด หรือผลการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลมาจัดกลุ่มระดับความรู้ความสามารถ เพื่อจัดประเภทและตำแหน่ง โดยอาศัยเครื่องมือหรือแบบทดสอบในการสอบวัดด้านผลสัมฤทธิ์ (achievement test) ความถนัด (aptitude test ) หรือ ความพร้อม (readiness test ) เป็นหลัก
10
ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา
2 เพื่อการวินิจฉัย ( Diagnosis ) เป็นการวัดและประเมิน ที่ใช้ผลการสอบหรือผลการวัดหรือผลการเรียนรู้ เพ,ือค้นหาความเด่น-ความด้อย ความเก่ง-ความอ่อน ในเนื้อหา ในเรื่องราวเพื่อค้นหาสาเหตุ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง พัฒนาและการซ่อมเสริม 10
11
ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา
3. เพื่อการเปรียบเทียบความก้าวหน้า ( Assessment ) เป็นการตรวจสอบผลการเรียนเพื่อพิจารณาพัฒนาการหรือความงอกงาม (growth) ในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนในเวลาหนึ่งกับอีกเวลาหนึ่ง 11
12
ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา
4 เพื่อการพยากรณ์ ( Prediction ) การวัดและประเมินลักษณะนี้ ต้องการนำผลการสอบผลการวัด หรือผลการเรียนรู้ในปัจจุบันไปคาดคะเนความสำเร็จในอนาคต เช่น ในการสอบคัดเลือก 12
13
ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา
5 เพื่อการประเมินค่า ( Evaluation ) การวัดและประเมินลักษณะนี้ ต้องการนำผลการสอบหรือผลการวัดหรือผลการเรียนรู้ มาประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดการศึกษา ในภาพรวมว่ามีความสัมฤทธิผลตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้หรือไม่ 13
14
การวางแผนการวัดและประเมินผลการศึกษา
1. กำหนดจุดมุ่งหมาย การวัดและประเมิน แต่ละครั้งต้องกำหนดเป้าหมายของการวัด 2. กำหนดลักษณะและสิ่งที่ต้องการ การวัดและประเมิน 3. กำหนดเครื่องมือและวิธีการ ขั้นตอนนี้เป็นการเลือกใช้เครื่องมือและกำหนดวิธีการวัดตามลักษณะและสิ่งที่ต้องการวัด 4. การสร้างเครื่องมือ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นลงมือเขียนข้อคำถามและพิจารณาเลือกคำถาม ที่ต้องการใช้ตามลักษณะเครื่องมือที่กำหนด 5. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 14
15
การวางแผนการวัดและประเมินผลการศึกษา
6. การใช้เครื่องมือ เป็นการนำเครื่องมือไปใช้ในการสอบหรือการวัดจริง ในการใช้เครื่องมือจะต้องคำนึงถึงความยุติธรรมในการวัด 7. การตรวจให้คะแนนและการใช้ผลการวัด การตรวจให้คะแนนเป็นการใช้น้ำหนักของผลการวัดออกมาเป็นตัวเลข เพื่อประโยชน์ต่อการแปลผลและใช้ผล 15
16
หลักของการวัดและประเมินผลการศึกษา
1. วัดให้ตรงจุดประสงค์ การวัดในแต่ละครั้งต้องมั่นใจว่า เครื่องมือที่สร้างขึ้นนั้นสามารถวัดได้ตรงจุดตรงประเด็น 2. ใช้เครื่องมือมือที่มีคุณภาพและอย่างยุติธรรม 3. แปลผลถูกต้องและใช้ผลอย่างคุ้มค่า 16
17
แนวคิดในการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. ลักษณะและรูปแบบ :ระยะเวลา การวัดและประเมินผลการศึกษาในลักษณะนี้ มุ่งเน้นที่ระยะเวลาของกระบวนการจักการเรียนการสอน จำแนกได้ 3 ระยะ คือ การวัดและประเมินก่อนเรียน การวัดและประเมินระหว่างเรียน และการวัดและประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียน
18
แนวคิดในการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ลักษณะและรูปแบบ : กลุ่มพฤติกรรม การวัดและประเมินผลการศึกษาในลักษณะนี้ มุ่งเน้นตามกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ที,เป็นจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา จำแนกได้เป็น 3ลักษณะใหญ่ คือ ด้านพุทธิพิสัย( cognitive domain ) ด้านเจตพิสัย ( affective domain) และด้านทักษะพิสัย(psychomotor domain)
19
แนวคิดในการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3 ลักษณะและรูปแบบ : วิธีการสอบ การวัดและประเมินผลการศึกษาลักษณะนี้เน้น ีวิธีการสอบวัดที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน จำแนกได้ 4 ลักษณะ คือ การสอบปากเปล่า การสอบภาคปฏิบัติ การสอบข้อเขียน และการตรวจประเมินผลงาน
20
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. การวัดและประเมินระดับชั้นเรียน มุ่งตรวจสอบความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียน ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ อันเป็นผล เนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระที่จัดให้เรียนในชั้นเรียน
21
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การวัดและประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ เป็นรายชั้นปี และช่วงชั้น โดยสถานศึกษาจะต้องนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน และคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้
22
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. การวัดและประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพระดับชาติ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในปี สุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น ข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมิน
23
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. การวัดและประเมินระดับเขตพื้นทีการศึกษาหรือหน่วยต้นสังกัดเป็นการประเมิน ตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา เพื่อการติดตามตรวจสอบและการควบคุมมาตรฐานการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต้นสังกัดที่รับผิดชอบ
24
แนวคิดการวัดแบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์
แบบทดสอบอิงกลุ่ม ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่เราใช้กันมานาน จนเรียกกันว่าเป็นการวัดผลตามประเพณี (Traditional Measurement) ในปัจจุบันนี้แบบทดสอบอิงกลุ่มยังคงเป็นแบบทดสอบที่นิยมใช้กันอยู่ เช่น แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ส่วนใหญ่สำหรับใช้ในชั้นเรียน เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดของนักเรียน หรือแบบทดสอบมาตรฐานซึ่งจัดพิมพ์ในต่างประเทศที่มีจำหน่ายทั่ว ไปในท้องตลาด อาทิแบบทดสอบที่นำไปใช้ในการทดสอบทางจิตวิทยา หรือทางการศึกษา
25
คุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาแบบทดสอบอิงกลุ่ม
แบบทดสอบอิงกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบมาตรฐานหรือแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นก็ตาม ต่างก็มุ่งจะวัดคุณลักษณะของบุคคล ( Attribute ) ที่แตกต่างกันในกลุ่มเป็นสำคัญ ดังนั้น การพัฒนาแบบทดสอบประเภทนี้จึงไม่เพียงแต่จะต้องมีคุณสมบัติในการวัดคุณลักษณะเฉพาะได้เท่านั้น ยังจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในด้านของอำนาจจำแนกที่สูงพอ เพื่อที่จะช่วยบ่งชี้คุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในกลุ่มได้
26
มโนทัศน์เกี่ยวกับการสอบแบบอิงเกณฑ์ (Concept of Criterion – Referenced Test)
แบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์เป็นแบบทดสอบที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เฉพาะทักษะของผู้สอบในลักษณะของคะแนน ซึ่งสามารถตีความได้ว่า เป็นลักษณะเฉพาะงาน ( Task ) ผู้สอบสามารถกระทำได้เมื่อเทียบกับ “เกณฑ์” ที่กำหนดขึ้น สำหรับคำว่า”เกณฑ์” ในการวัดผลแบบอิงเกณฑ์จะต่างกับคำว่า ”เกณฑ์” ที่ใช้ในการวัดผลแบบอิงกลุ่ม กล่าวคือ ”เกณฑ์” ที่ใช้ในการวัดผลแบบอิงกลุ่ม หมายถึง ความสามารถของกลุ่มหรือเรียกกันว่ามาตรฐานของกลุ่ม
27
แนวคิดการสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์
1.คำว่า “Criterion” ที่ใช้แบบทดสอบอิงเกณฑ์ หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ที่แสดงว่า ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จึงอาศัยสัดส่วนของวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ก่อนที่บุคคลผู้นั้นจะสามารถบรรลุได้ 2. คำว่า “Norm” ทีใช้ในแบบทดสอบอิงกลุ่ม หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้สอบแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ ดังนั้น การตัดสินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนแต่ละคน จึงอาศัยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของบุคคลผู้นั้นกับกลุ่มผู้สอบด้วยกัน
28
ความคล้ายกันของแบบทดสอบอิงเกณฑ์และแบบทดสอบอิงกลุ่ม
แบบทดสอบอิงเกณฑ์และแบบทดสอบอิงกลุ่มต่างก็มีความมุ่งหมายสำคัญที่ต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ในสถานการณ์ทั่วไปด้วยกันกล่าวคือ แบบทดสอบอิงเกณฑ์มีความมุ่งหมายที่จะจำแนกความสามารถของผู้เรียนว่า อยู่ในระดับที่บรรลุผลหรือไม่บรรลุผล คือ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน”
29
แบบทดสอบอิงปริเขต (Domain-Referenced Test)
แบบทดสอบอิงปริเขต หมายถึง แบบทดสอบที่ประกอบด้วยตัวแทนของกลุ่มปัญหาที่นำมาถามหรือกลุ่มตัวอย่างของข้อกระทง ซึ่งสุ่มมาจากจำนวนทั้งหมดของเนื้อหาสาระที่ต้องการทดสอบ จำนวนข้อกระทงทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการกำหนดขึ้นตามปริเขตหรือขอบข่ายที่อ้างอิงถึงโดยยึดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเป็นหลัก
30
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
1. ความเที่ยงตรง (validity) 1.1 ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity) หมายถึง การวัดนั้นสามารถวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาและวัดได้ครบถ้วนตามจุดประสงค์ของการวัด ในทางปฏิบัติมักจะต้องทำตารางจำแนกเนื้อหา จุดประสงค์
31
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
1. ความเที่ยงตรง (validity) 1.2 ความเที่ยงตรงเชิงสัมพันธ์ (criterion-related validity) แบ่งการออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1)ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) คือค่าคะแนนจากแบบสอบสามารถทำนายถึงผลการเรียนในวิชานั้นๆได้อย่างเที่ยงตรง 2)ความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) หมายถึงค่าคะแนนที่ได้จากแบบสอบสะท้อนผลตรงตามสภาพเป็นจริง กล่าวคือ เด็กเก่งจะได้คะแนนสอบสูง ส่วนเด็กอ่อนจะได้คะแนนต่ำจริง1.3 ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (construct validity) หมายถึงคะแนนจากแบบวัดมีความสอดคล้องกับลักษณะและพฤติกรรมจริงของเด็ก
32
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
2. ความเชื่อมั่น (reliability) แบบทดสอบที่ดีต้องมีความเชื่อมั่นได้ว่าผลจากการวัดคงที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนไปมา การวัดครั้งแรกเป็นอย่างไร เมื่อวัดซ้ำอีกโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมผู้ถูกทดสอบกลุ่มเดิม จะวัดกี่ครั้งก็ตามผลการวัดควรจะเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงเดิม
33
วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
1. การสอบซ้ำ (test and retest) เป็นการนำแบบทดสอบชุดเดียวกันไปสอบผู้เรียน กลุ่มเดียวกัน 2 ครั้ง ในเวลาห่างกันพอสมควร (ป้องกันการจำข้อสอบได้) แล้วนำค่าคะแนนทั้ง 2 ชุดนั้น มาหาค่าความสัมพันธ์ที่ได้ คือค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิธีการนี้เรียกว่า “measure of stability”
34
วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
2.ใช้แบบทดสอบคู่ขนาน (parallel test หรือ equivalence tests) แบบทดสอบคู่ขนานหมายถึง แบบทดสอบ 2 ชุด ที่มีลักษณะและคุณภาพใกล้เคียงกันมากที่สุด ทั้งด้านเนื้อหา ความยากง่าย อำนาจจำแนก ลักษณะคำถาม และจำนวนข้อคำถาม จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้
35
วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
3. วิธีแบ่งครึ่งข้อสอบ (split-half) เป็นการสร้างข้อสอบชุดเดียวใช้ผู้สอบชุดเดียวกัน (แต่แบ่งครึ่งข้อสอบ และได้ค่าคะแนน 2 ชุด) เป็นการแก้ปัญหาความยากในการสร้างแบบทดสอบแบบคู่ขนาน แต่ได้ผลเช่นเดียวกับการสอบซ้ำ หรือการใช้ข้อสอบแบบคู่ขนาน วิธีการอาจแบ่งตรวจข้อสอบครั้งละครึ่งฉบับ (แบ่งข้อคี่กับข้อคู่ หรือครึ่งแรกและครึ่งหลัง)
36
วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
4. วิธี Kuder-Richardson (KR) เป็นการหาค่าความคงที่ภายในของแบบทดสอบ เรียกว่า ความเชื่อมั่นภายใน (internal consistency) สูตรที่นิยมใช้คือสูตรคำนวณ KR-20 และ KR-21
37
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
3. ความเป็นปรนัย (objectivity) ความเป็นปรนัยหมายถึง ความชัดเจน ความถูกต้อง ความเข้าใจตรงกัน โดยยึดถือความถูกต้องทางวิชาการเป็นเกณฑ์ การสร้างแบบทดสอบใดๆ จำเป็นต้องมีความชัดเจนเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ออกข้อสอบและผู้ทำข้อสอบ คุณสมบัติความเป็นปรนัยของแบบทดสอบพิจารณาได้เป็น 3 ประการ คือ 1) ผู้อ่านข้อสอบทุกคนเข้าใจตรงกัน 2) ผู้ตรวจทุกคนให้คะแนนได้ตรงกัน 3) แปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน
38
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
4. ความยากง่าย (difficulty) แบบทดสอบที่ดีต้องมีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากเกินไปหรือไม่ง่ายเกินไป ในแบบทดสอบชุดหนึ่งๆอาจมีทั้งข้อสอบที่ค่อนข้างยาก ปานกลาง และค่อนข้างง่ายปะปนกันไป ความยากง่ายของแบบทดสอบพิจารณาได้ จากผลการสอบของข้อสอบทั้งฉบับเป็นสำคัญ
39
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
5.อำนาจจำแนก (discrimination) แบบทดสอบที่ดีต้องสามารถจำแนกผู้สอบที่มีความสามารถเก่งอ่อนต่างกันออกได้ โดยคนเก่งจะตอบข้อสอบถูกมากกว่าคนอ่อน หากค่าเฉลี่ยของค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับหรือมากกว่า 0.20 แสดงว่าแบบทดสอบฉบับนั้นจำแนกได้
40
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
6.ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) เครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงเครื่องมือที่ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ประโยชน์สูงประหยัดสุด โดยลงทุนน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านเวลา แรงงาน ความสะดวกสบาย แบบทดสอบที่ดี ควรพิมพ์ผิดพลาดตกหล่นน้อย รูปแบบดูง่าย เป็นระเบียบเรียบร้อยอ่านง่าย
41
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
7. ความยุติธรรม (fair) แบบทดสอบที่ดีต้องไม่เปิดโอกาสให้ผู้สอบได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น แบบทดสอบบางฉบับผู้สอนออกข้อสอบเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้เรียนบางคนได้เคยค้นคว้าทำรายงานมาก่อน เป็นต้น ดังนั้นผู้ออกข้อสอบควรคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียบเปรียบของผู้ทำแบบทดสอบด้วย
42
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
8. คำถามลึก (searching) แบบทดสอบที่สอบถามเฉพาะความรู้ความเข้าใจ ผู้ออกข้อสอบไม่ควรถามลึกจนกระทั่งต้องใช้ความรู้ระดับวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา ดังนั้น ความลึกซึ้งของคำถามควรสอดคล้องกับลักษณะและจุดประสงค์ของการวัด
43
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
9. คำถามยั่วยุ (exasperation) คำถามยั่วยุมีลักษณะเป็นคำถามที่ท้ายทายให้ผู้สอบอยากคิดอยากทำมีลีลาการถามที่น่าสนใจ ไม่ถามวกวนซ้ำซากน่าเบื่อ อาจใช้รูปประกอบคำถาม การเรียงข้อคำถามในข้อสอบ ควรเรียงหลายแบบคละกัน อาจเรียงลำดับเนื้อหา เรียงลำดับความยากง่าย สลับกัน
44
ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
10. ความจำเพาะเจาะจง (definite) ลักษณะคำถามที่ดีไม่ควรถามกว้างเกินไป ไม่ถามคลุมเครือหรือเล่นสำนวนจนผู้สอบงง ผู้อ่านอ่านแล้วต้องมีความชัดเจนว่าครูถามอะไร ส่วนจะตอบถูกหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ขึ้นกับความรู้ความสามารถของผู้ตอบ
45
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา
1.แบบทดสอบ แบบทดสอบคือชุดของคำถามหรือสิ่งเร้าทีนำไปใช้ให้ผู้สอบตอบสนองออกมา ชุดของสิ่งเร้านี้มักอยู่ในรูปของข้อคำถาม 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (achievement test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะ และความสามารถสมอง 2) แบบทดสอบวัดความถนัดหรือทักษะ (aptitude test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดศักยภาพระดับสูงของบุคคล
46
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา
1.แบบทดสอบ แบบทดสอบคือชุดของคำถามหรือสิ่งเร้าทีนำไปใช้ให้ผู้สอบตอบสนองออกมา ชุดของสิ่งเร้านี้มักอยู่ในรูปของข้อคำถาม 3) แบบทดสอบวัดความสัมพันธ์ของบุคคล เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดเกี่ยวกับบุคลิกภาพหรือการปรับตนเองของบุคคลในสังคม
47
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา
2. แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความรู้สึก ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ ในทางการศึกษามักนิยมใช้วัดและประเมินผลด้านจิตพิสัยได้แก่มาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งให้ผู้ถูกวัดประเมินตนเอง และผู้อื่นประเมิน
48
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา
3. แบบสำรวจรายการ แบบสำรวจรายการมีลักษณะคล้ายมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท เพียงแต่ส่วนที่เป็นคำตอบไม่ได้กำหนดค่าระดับความรู้สึกว่ามีมากน้อยเพียงไร แต่เป็นการตอบเพียง 2 ตัวเลือกว่า มี-ไม่มี, ใช่-ไม่ใช่, เคย-ไม่เคยฯลฯ
49
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา
4. แบบวัดเชิงสถานการณ์ เป็นแบบวัดที่สอบถามถึงแนวคิด ความรู้สึก หากอยู่ในสถานการณ์สมมติใดๆ ที่ผู้ออกข้อสอบสร้างขึ้น อาจบรรจุไว้ในส่วนที่เป็นข้อความ หรือส่วนที่เป็นคำตอบก็ได้ อาจนำเสนอเหตุการณ์ด้วยข้อความ หรือรูปภาพ หรือสื่ออื่นๆก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากท่านพบผู้ป่วยที่เดินมาพบท่านด้วยลักษณะตัวเอียงอย่างมาก ท่านจะดำเนินการอย่างไรเป็นลำดับแรก
50
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา
5. แบบสังเกต การสังเกตเป็นเครื่องมือวัดผลที่นิยมใช้กันมาก โดยการใช้ประสาทสัมผัสของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินได้สังเกตพฤติกรรมที่สนใจในตัวผู้ถูกวัด ผลการสังเกตจะมีความเที่ยงตรงเพียงใดขึ้นกับองค์ประกอบ 3ประการ คือ 1) สิ่งที่สังเกต 2)ตัวผู้สังเกต 3)ตัวผู้ถูกสังเกต
51
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา
1.แบบทดสอบ แบบทดสอบคือชุดของคำถามหรือสิ่งเร้าทีนำไปใช้ให้ผู้สอบตอบสนองออกมา ชุดของสิ่งเร้านี้มักอยู่ในรูปของข้อคำถาม 3) แบบทดสอบวัดความสัมพันธ์ของบุคคล เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดเกี่ยวกับบุคลิกภาพหรือการปรับตนเองของบุคคลในสังคม
52
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มประชากร ค่าพารามิเตอร์ ค่าสถิติ และ อนุมานสถิติ
พรรณาสถิติ การประมาณค่า ค่าพารามิเตอร์ ค่าสถิติ การทดสอบสมมติฐาน และ X และ S.D.
53
สวัสดี สวัสดี สวัสดี สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.