ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยภิรมย์ ชินวัตร ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
สอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (H1N1/2009) ตำบล A อำเภอเมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร กุมภาพันธ์ 2558
2
ทีมสอบสวนโรค แมน แสงภักดิ์ 1, ณัฐพร บุญลรรลุ 2, รณรงค์ ผิวเรืองนนท์ 1, สมพร จันทร์แก้ว 3, กัลป์พัทธ์ เตโช 3 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร 2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เมืองยโสธร 2 โรงพยาบาลยโสธร
3
ความเป็นมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.00 น. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหิน ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากคุณครูอนามัย โรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบล A อำเภอเมือง ยโสธร จังหวัดยโสธร ว่า นักเรียนกลุ่มหนึ่งมี อาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง ไอ มี น้ำมูก ในขณะนี้หยุดเรียนทั้งห้องและอยู่ใน ชุมชนไม่ได้ไปโรงเรียน และได้แจ้งกลุ่มงาน ควบคุมโรคติดต่อ เวลา 16.12 น. ทีมเฝ้า ระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วตำบล A ได้ออก สอบสวนโรคในวันเดียวกัน
4
วัตถุประสงค์ ยืนยันการระบาดของโรค ศึกษา การกระจายและแหล่งโรค ปัจจัยที่ ทำให้เกิดโรคและวิธีถ่ายทอดโรค รวมทั้งมาตรการป้องกันและควบคุม โรค เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิง พรรณนา
5
ผลการสอบสวน ผู้ป่วยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบล A อำเภอเมือง ยโสธร จังหวัดยโสธร จำนวน 21 คน เพศ ชาย 11 คน เพศหญิง 10 คน อายุ 11-12 ปี
6
ผลการสอบสวน มีอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ที่สำคัญ คือ ไข้สูง ไอ น้ำมูกใส มี เสมหะ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว แขน ขา ร้อยละ 100 มีอาการเจ็บ คอ และหนาวสั่นร้อยละ 50 เข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร ผู้ป่วยใน จำนวน 2 ราย แพทย์ วินิจฉัยเป็น “ โรคไข้หวัดใหญ่ ” และ ผู้ป่วยนอก จำนวน 1 ราย แพทย์ วินิจฉัยเป็น “ โรคไข้หวัดใหญ่ ” ได้รับยา Oseltamivir ทุกราย
7
ผลการสอบสวน ผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นนักเรียนหญิง อายุ 11 ปี หลังจากนั้นเริ่มมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในชั้น เรียนเดียวกันและในชุมชน 2 หมู่บ้าน ( บ้านเดียวกัน )
8
จำนวนผู้ป่วย / ผู้ป่วยเข้านิยามการสอบสวน โรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (H1N122009) ตำบล A อำเภอ เมือง จังหวัดยโสธร ผู้ป่วยรายแรก รับรายงานและสอบสวนโรค
9
ผลการสอบสวน ค้นหาผู้ป่วยที่เข้านิยามการสอบสวน โรค พบว่า มีผู้ป่วย จำนวน 44 คน เพศชาย 27 คน เพศหญิง 17 คน อายุเฉลี่ย 16.3 ปี (46.2 ปี (Min- Max=1-75) อาชีพส่วนใหญ่ คือ ทำนา ปัจจัยเสี่ยง คือ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เรียน รวมกันและเป็นนักเรียนมาจาก 2 หมู่บ้าน ส่งผลให้มีการแพร่กระจาย เชื้อโรคสู่ประชาชนในชุมชน
10
N E S W ไปหนองหงอก ม.9 ไปบ้านหนองหงอก ม. 9 ไปโนนกุง ไปบ้านหนองหิน ไปบ้านหนองคู แผนผังบ้านหนองหงอก ม.6 109 103 83 82 9 34 32 35 37 8080 53 3737 61 29 3 27 28 93 101 31 4630 102 91 78 52 25 95 5 4 66 155 54 10758 51 5050 49 65 76 74 8556 86 บริเวณวัดเก่า 63 99 5793 14 2 77 8 7 84 13 8181 6 19 8787 44 33 1515 60 40 72 16 19 20 18 23 ป้อมตรวจ 24 41 67 122 129 11 10 10543 73 88 89 45 62 95 90 42 69 10438 39 70 71 10 1 68 98 94 108 26 96 2121 15 8 47 44 166 10 173 97 177 176 48
11
ไปบ้านหนองหงอก ม.6 N E S W ไปบ้านหนองบก ไปบ้านคำเกิด ไปบ้านโนนกุง 174 89 2614027 28 111 23 56 106 33 120 91 25 43 59 104 84 83 34 40 121/1 71 63 98 36 117 49 82 35 118 30 119 145 116 105 31 74 135 73 1358624 128 46 45 109 112 37 115 113 851019394 134 98399218 122 42 4 163120 11360 4748 147 189 วัดร.ร.ร.ร. 158 แผนผังบ้านหนองหงอก ม.9 ศาลา กลาง บ้าน
12
ผลการสอบสวน ทีมสอบสวนโรคได้ทำ Throat swab ส่ง ตรวจ 6 ตัวอย่าง ส่งตรวจที่ศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ผลการตรวจวิเคราะห์พบสารพันธุกรรม ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (H1N1/2009) ทั้งหมด
13
มาตรการควบคุมโรค ผู้ป่วยได้รับยา Oseltamivir จำนวน 10 ราย การค้นหาผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยามการ สอบสวนโรค ประชุมร่วมกับแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ ผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงและให้ความรู้เรื่องโรค ไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอ (H1N1)
14
มาตรการควบคุมโรค ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อลดความตระหนกและสร้างความตระหนัก สื่อสารความเสี่ยงให้ส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยที่เข้า นิยามทุกรายเข้ารับการตรวจเบื้องต้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล A และรีบส่งต่อ ผู้ป่วยทันที คือ ผู้ที่มีอาการไข้ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อและหอบเหนื่อย โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ เพิ่มการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงและมีโรคประจำตัว ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้มีภูมิ ต้านทานต่ำและผู้มีโรคอ้วน
15
สรุปผลการสอบสวน พบผู้ป่วย จำนวน 65 ราย ผลการ วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติพบสาร พันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (H1N1/2009) เป็นการระบาดแบบแหล่งโรค แพร่กระจาย และสามารถควบคุมโรคให้ อยู่วงจำกัด ไม่เกินระยะการเฝ้าระวังโรค ข้อเสนอแนะ ควรนำเสนอข้อมูล ILI เปรียบเทียบมัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ( สอบสวนครั้งนี้ไม่ได้นำเสนอ เนื่องจากได้ลง โปรแกรมใหม่ ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ สมบูรณ์ )
16
นวัตกรรม อสม. (SRRT หมู่บ้าน )
17
ถุงผ้าต้านภัยไข้หวัด 2009
18
สวัส ดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.