งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เครื่องเบญจรงค์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เครื่องเบญจรงค์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เครื่องเบญจรงค์

2 ผู้จัดทำ นาย จรัสพงศ์ นิลนารถ เลขที่ 8 ชั้น ม.6/4
นาย จรัสพงศ์ นิลนารถ เลขที่ ชั้น ม.6/4 นางสาว รัชนี บุญมี เลขที่ 20 ชั้น ม.6/4 นางสาว ชลลิดา อ่อนละมูล เลขที่ ชั้น ม.6/4 นางสาว ธนันท์ญา ฤทธิ์เหมาะ เลขที่ 34 ชั้น ม.6/4

3 เสนอ คุณครู จงรัก เทศนา

4 ประวัติความเป็นมา การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่า เป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยในอดีตใช้การสั่งทำที่ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย การสั่งทำนั้นจะมีช่างของไทยเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปลักษณะที่เป็นแบบไทย สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของราชวงศ์ไทยชั้นสูงได้สั่งทำที่เมืองจิงเต๋อเจิ้น และจากเตาเผาที่มณฑลฝูเจี้ยนและกวางตุ้ง เครื่องเบญจรงค์ที่สั่งทำจากเมืองจิงเต๋อเจิ้น มักเป็นของใช้ในราชสำนักเพราะเนื้อดินปั้นละเอียด แกร่ง และช่างมีฝีมือดี เขียนลายได้ละเอียดสวยงาม

5 ต้นกำเนิดของเครื่องเบญจรงค์ได้ใช้สีวาดระบายเพียง 3 สี ต่อมาได้พัฒนาเครื่องเบญจรงค์มี 5 สี คือ สีขาว สีเหลือง สีดำ สีแดง และสีเขียว ( คราม ) ดังนั้น ชื่อที่เรียกว่า “ เบญจรงค์ ” หมายถึง เครื่องเคลือบที่มีการวาดสีลงไป 5 สี ปัจจุบันมีการใช้สีมากกว่า 30 สี เครื่องเบญจรงค์มีการออกแบบลวดลายต่าง ๆ ด้วยการวาดสี 5 สี ลวดลายที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพพนม ลายนรสิงห์ รวมตลอดถึงลวดลายดอกไม้ ลายสัตว์ และลวดลายจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น ลวดลายที่วาดลงในเครื่องเบญจรงค์ สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน มีวัฒนธรรม ตามความเชื่อของไทย และวิถีชีวิตของคนไทย

6 ผู้ประกอบการ ชื่อ นายนฤมิตร เชี่ยวชาญ ชื่อเล่น นิด อายุ 47 ปี
ชื่อ นายนฤมิตร เชี่ยวชาญ ชื่อเล่น นิด อายุ 47 ปี ที่อยู่ 136 หมู่ 1 ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท 17120 โทร ,

7 วัสดุอุปกรณ์ 1.ดินเหนียว 2.น้ำ 3.จิกเกอร์แป้นหมุน
4.อุปกรณ์ในการแกะลวดลาย 5.เตาเผา 6.สีอัลคิลิค 7.น้ำยาเคลือบ 8.น้ำมุก 9.น้ำทอง

8 ขั้นตอนการทำ 1.นำดินเหนียวที่เป็นวัตถุดิบมาผสมกับน้ำแล้วนวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน 2.ขึ้นรูปตามต้องการด้วยจิกเกอร์แป้นหมุนหรือแบบหล่อ 3.เมื่อนำไปตากจนแห้งแล้วจึงนำไปขัดแต่งผลิตภัณฑ์ 4.นำไปเผาในครั้งแรกที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส 5.นำมาชุบเคลือบ 6.นำไปเผาในครั้งที่สองที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส 7.เขียนลวดลายด้วยน้ำทอง 12% 8.ลงสีบนเคลือบ 9.นำไปเผาในครั้งสุดท้ายที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส

9 สีและลวดลาย จานลายครามเกล็ดเต่า ชามเบญจรงค์ลายเทพพนม
โถข้าวเบญจรงค์ลายถมทอง โถน้ำเย็นลายเขี้ยวยักษ์ โถเบญจรงค์ลายบัวสวรรค์ โถเบญจรงค์ลายพุ่มตา

10 ประเภท โกฐ ถ้วยชาม แก้ว โถ

11 แหล่งสำรวจ ร้านชัยนาทเซรามิค ที่อยู่ 136 หมู่ 1 ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท 17120 โทร

12 เอกสารอ้างอิง


ดาวน์โหลด ppt เครื่องเบญจรงค์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google