ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPanas Songprawati ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อัตราส่วนตรีโกณมิติ ที่เรียนด้วยการสอนแบบ STAD และการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 แผนกช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ผู้เสนอ นายศุภกร แสนสุข สาขาวิชาสามัญ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
2
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 3 ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าการที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำเป็นผลมาจากกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการสอนก็จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาทดลองการเรียนการสอนแบบ STAD และการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยจะนำไปเปรียบเทียบกัน
3
วัตถุประสงค์งานการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 3 ของนักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่าง การเรียนรู้แบบ STAD และการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
4
ตาราง-ผังสรุปสำคัญ ประชากร : นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 แผนกช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน คน กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 แผนกช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 2 ห้อง 40 คน โดยการจับฉลากเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
5
ตัวแปรต้น : ชุดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบ STAD
และการเรียนรู้แบบรายบุคคล ตัวแปรตาม : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
6
ขั้นตอนการดำเนินงาน ก่อนการทดลอง ทำแบบทดสอบก่อนการทดลอง ขั้นทดลอง
ใช้เวลาในการทดลองกลุ่มละ 6 คาบ กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม สอนแบบ STAD สอนแบบเป็นรายบุคคล
7
ขั้นตอนการดำเนินงาน(ต่อ)
หลังทดลอง ทำแบบทดสอบหลังเรียน กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม
8
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตาราง 1 กลุ่มตัวอย่าง N กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม 20 12.25 8.85 6.20 3.10 2.546 2.049 2.496
9
สรุปผล นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการเรียนรู้เป็นรายบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
10
ผู้อำนวยการวรรณา ตันประภัสร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
ผู้สนับสนุนการวิจัย ผู้อำนวยการวรรณา ตันประภัสร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี สถานศึกษารับรางวัลพระราชทาน 2 ครั้งต่อเนื่อง ระดับอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ วิสัยทัศน์ มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศและความเป็นสากล ปรัชญา มาตรฐานดี กิจกรรมเด่น เน้นวินัย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.