งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางนุชจรินทร์ แก้ววงวาล วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางนุชจรินทร์ แก้ววงวาล วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางนุชจรินทร์ แก้ววงวาล วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
การใช้สื่อแอนิเมชันเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เรื่อง ผังงานในวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง นางนุชจรินทร์ แก้ววงวาล วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเรียนวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมของนักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจในส่วนของการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาครูผู้สอนได้ใช้วิธีการสอนโดยการเปิดสื่อ PowerPoint และบรรยายเนื้อหาที่เตรียมมา จากนั้นจึงนักเรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามใบงานที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียน วิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆเช่นนักเรียนไม่สนใจในการฟังคำอธิบายนักเรียนเสียเวลาไปกับการจดบันทึกจากสื่อ PowerPoint ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติอย่างชัดเจนผู้สอนต้องอธิบายซ้ำหลาย ๆ ครั้ง นักเรียนจึงจะปฏิบัติได้เนื่องจากการรับรู้ของนักเรียนแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงทำให้ผู้สอนเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนรู้เรื่อง ผังงาน ในการเรียนวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมของนักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ โดยครูผู้สอนได้นำสื่อแอนิเมชันเรื่อง ผังงาน

3 จากการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของผังงาน มาใช้เป็นสื่อประกอบในการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย และผู้เรียนยังสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ตอบสนองเรื่องของความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการการศึกษาในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะใช้สื่อแอนิเมชันเรื่อง ผังงาน เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เรื่อง ผังงานเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นอันจะทำให้การเรียนการสอนวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมได้ผลตามจุดมุ่งหมายต่อไป

4 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อแอนิเมชันเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เรื่อง ผังงาน ในวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมไปใช้ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อแอนิเมชันประกอบการเรียนการสอนเรื่องผังงาน ในรายวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม

5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 1. แสดงการเปรียบเทียบผลการใช้สื่อแอนิเมชันประกอบการเรียนการสอนเรื่องผังงาน ในรายวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมก่อนเรียนและหลังเรียน การใช้สื่อ จำนวนนักเรียน คะแนนเต็ม S.D t-test ก่อนเรียน 30 20 8.00 2.51 24.71** หลังเรียน 15.03 1.60 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6 การสอน เรื่องผังงาน ในรายวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม
ตารางที่ 2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อแอนิเมชันประกอบการเรียน การสอน เรื่องผังงาน ในรายวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม รายการประเมิน S.D ระดับความพึงพอใจ 1. ความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์ 4.37 0.49 มาก 2. ปริมาณเนื้อหาและบทเรียน 4.43 0.63 3. ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา 4.33 0.48 4. ความเหมาะสมของเนื้อหากับผู้เรียน 4.67 มากที่สุด 5. ความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง 6. เนื้อหาทำให้เกิดแรงจูงใจต่อการเรียน 4.60 0.50 7. ความทันสมัยของเนื้อหา 4.40 8. รูปแบบของการทบทวนแบบฝึกหัด 4.47 0.51 9. ความน่าสนใจของเกม 10. ความสนุกและการได้รับความรู้ 4.63 เฉลี่ยรวม 4.50

7 สรุปผลการวิจัย  การใช้สื่อแอนิเมชันเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เรื่อง ผังงาน ในวิชาในวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทำให้นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีผลการเรียนรู้เรื่อง ผังงาน สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 8 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ เมื่อนาค่าเฉลี่ยของคะแนนไปทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-test ได้ว่า สรุปได้ว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

8  นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อแอนิเมชันประกอบการเรียนการสอนเรื่องผังงาน ในรายวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทุกหัวข้ออยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยในหัวความเหมาะสมของเนื้อหากับผู้เรียน ,ความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง, เนื้อหาทำให้เกิดแรงจูงใจต่อการเรียน และความสนุกและการได้รับความรู้สูงที่สุด รองลงมาคือหัวข้อความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์ , ปริมาณเนื้อหาและบทเรียน, ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา , ความทันสมัยของเนื้อหา, รูปแบบของการทบทวนแบบฝึกหัด, ความน่าสนใจของเกม

9 ตัวอย่างสื่อการสอน


ดาวน์โหลด ppt นางนุชจรินทร์ แก้ววงวาล วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google