งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญ
เอกสารหมายเลข 1 หลักการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญ รศ.ดร.นพ.พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช LL.B., M.D., Ph.D. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

2 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดโรคอันเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อม
สิ่งคุกคามตามธรรมชาติ: สิ่งคุกคามจากความทันสมัย: การขับถ่ายของเสีย การพัฒนาของมนุษย์ เหตุการณ์ตามธรรมชาติ การปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม อากาศ น้ำ อาหาร ดิน การรับเข้าสู่ร่างกาย ขนาดภายนอก ขนาดดูดซึม ขนาดก่อผลกระทบภายใน ผลกระทบทางสุขภาพ ระยะก่อนมีอาการ ระยะเฉียบพลัน ระยะเรื้อรัง

3 การเฝ้าระวัง “การเฝ้าคุมเหตุการณ์ด้านสุขภาพในประชากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อผลในการป้องกันและควบคุมภาวะสิ่งคุกคามในสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกับโรค”

4 ความสำคัญของระบบเฝ้าระวัง
โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมักเป็นโรคเรื้อรัง ใช้เวลานานในการเกิดโรค โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมักเกิดจากเหตุปัจจัยหลายชนิดร่วมกัน การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพจากสิ่งแวดล้อมในระดับบุคคลมักทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย แต่สามารถวินิจฉัยในระดับกลุ่มคนได้

5 ความสำคัญของระบบเฝ้าระวัง
เป้าประสงค์ของระบบเฝ้าระวัง เพื่อหามาตรการการป้องกันแก้ไขให้เร็วที่สุดก่อนที่โรคจะลุกลามออกไป หลักการในการป้องกัน คือ การค้นหาปัจจัยเสี่ยง และทำการป้องกันหรือควบคุมปัจจัยเสี่ยงนั้น “ปัจจัยเสี่ยงในวันนี้ คือโรคในวันพรุ่งนี้”

6 วัตถุประสงค์และประโยชน์ของระบบเฝ้าระวัง
ป้องกันโรคหรือปัญหาก่อนที่โรคหรือปัญหานั้นจะเกิด ช่วยในการวางแผนด้านบริการและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ทำนายการเกิดโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต กำกับและประเมินผลโครงการที่ดำเนินการแก้ปัญหา

7 วัตถุประสงค์และประโยชน์ของระบบเฝ้าระวัง
สามารถตรวจจับอาการหรือโรคในระยะเริ่มต้นและจำนวนผู้ที่เป็นโรคได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment) ช่วยในการพัฒนาระบบเตือนภัย

8 ชนิดของการเฝ้าระวัง การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Effect Surveillance) การเฝ้าระวังสิ่งคุกคาม (Hazard Surveillance)

9 การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ
การเฝ้าระวังเชิงรับ (Passive Surveillance) “กิจกรรมที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อเฝ้าคุมและติดตามการเกิดโรคภายในสถานบริการอย่างต่อเนื่อง” การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) “กิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยนอกพื้นที่”

10 การเฝ้าระวังสิ่งคุกคาม
“คือการเฝ้าคุมสิ่งคุกคามที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมของประชากรกลุ่มเสี่ยง” การเฝ้าคุมสิ่งแวดล้อม (Environment monitoring) การเฝ้าคุมที่บุคคล (Personal monitoring)

11 ขั้นตอนการเฝ้าระวัง รวบรวมข้อมูลการเกิดโรค
จัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูล รายงานผลการวิเคราะห์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขสาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

12 หลักเกณฑ์การระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญ
เป็นปัญหาที่มีขอบเขตในเชิงพื้นที่เป็นวงกว้าง เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในประชากรจำนวนมาก ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่ร้ายแรง ยากต่อการรักษาหรือไม่สามารถกลับคืนได้ ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงถึงชีวิต สามารถส่งผลไปถึงคนรุ่นต่อไปได้ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาอย่างรุนแรง เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

13 กรณีปัญหากากสารเคมีที่ Love Canal

14 ภาพถ่ายทางอากาศของบริเวณ Love Canal ซึ่งเป็นที่ทิ้งกากของเสียอันตราย

15 Toxic Waste in Love Canal
Residents of the Love Canal area in Niagara Falls were forced to evacuate when hazardous wastes leaking from a former disposal site threatened their health and homes in the late 1970s. One of the most notorious cases of toxic waste leakage, the crisis received attention on both local and national levels. Investigation spurred by public outrage revealed that many waste disposal sites like Love Canal existed nationwide; New York alone had several hundred. Several states passed stricter regulations on industrial waste disposal and allocated billions of dollars for the cleanup of contaminated areas.

16 เลิฟแคเนลที่ถูกล้อมรั้วปิดเอาไว้


ดาวน์โหลด ppt หลักการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google