งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา ปี 2557 และแนวโน้ม ปี 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา ปี 2557 และแนวโน้ม ปี 2558"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา ปี 2557 และแนวโน้ม ปี 2558
ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา ปี และแนวโน้ม ปี 2558 โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5

2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครราชสีมา โครงสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาคงที่ของจังหวัดนครราชสีมา ปี โดย สาขาอื่นๆ อาทิ การทำเหมืองแร่ การไฟฟ้า ก่อสร้าง โรงแรม ซึ่งรวมกันแล้วอยู่ร้อยละ 32.8ส่วนสาขาเกษตรกรรมและประมงมีสัดส่วนร้อยละ 12.0 สาขาการผลิต ทั้งหมด 16 สาขา (1) การเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ (A) (2) การประมง (B) (3) การทาเหมืองแร่ และเหมืองหิน (C) (4) การอุตสาหกรรม (D) (5) การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา (E) (6) การก่อสร้าง (F) (7) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ และของใช้ (G) (8) โรงแรม และภัตตาคาร (H) (9) การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม (I) (10) ตัวกลางทางการเงิน (J) (11) บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ (K) (12) การบริหารราชการแผ่นดิน การป้องกันประเทศ แบะการประกันสังคมภาคบังคับ ( L) (13) การศึกษา (M) (14) การบริการสุขภาพ และสังคมสงเคราะห์ (N) (15) การบริการชุมชน สังคม และส่วนบุคคล (O) (16) ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล (P)

3 ภาพรวมเศรษฐกิจการเกษตรจังหวัดนครราชสีมา
สัดส่วน GPP รายสาขาต่อ GPP ภาคเกษตร สาขาการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัด นครราชสีมา ในช่วงปี 2557 ได้แก่ สาขาพืช ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 69.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคเกษตร หรือ GPP ภาคเกษตร รองลงมาคือ สาขาปศุสัตว์ บริการทางการเกษตร ประมง และป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ และ 0.2 ตามลำดับ

4 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ปี 2557

5 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2557
ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2557 - 3.6 % พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทาง การเกษตร ป่าไม้ - 0.8 % % 4.7 % - 0.5 % - 0.6 % ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2557 หดตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และโคเนื้อ มีปริมาณลดลง โดยที่สาขาพืชหดตัวร้อยละ 0.8 สาขาปศุสัตว์หดตัวร้อยละ 12.8 สาขาประมงขยายตัวร้อยละ 4.7 สาขาป่าไม้หดตัวร้อยละ 0.6 และสาขาการบริการทางการเกษตรหดตัวร้อยละ 0.5 โดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนที่ลดลง เนื่องจากภาวะฝนแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเสียหายและผลผลิตต่อไร่ลดลง ประกอบกับระดับราคาพืชผลทางการเกษตรทรงตัวและมีแนวโน้มลดลง

6 สาขาพืช หดตัวร้อยละ 0.8 ปริมาณน้ำฝนน้อยลง
ผลผลิตมันสำปะหลัง ข้าวนาปี ข้าวนาปรังลดลง มันสำปะหลังโรงงานซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยจังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของประเทศไทย มีปริมาณผลผลิตลดลงร้อยละ 3.5 รวมทั้งข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลงด้วย ทำให้ปริมาณลดลง ส่งผลให้ GPP สาขาพืชในปี 2557 หดตัวร้อยละ 0.8

7 สาขาปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ 12.8
ปัญหาโรคระบาด เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยในโคเนื้อ ราคาแม่พันธุ์ปศุสัตว์มีราคาสูงขึ้น การผลิตสาขาปศุสัตว์ในปี 2557 หดตัวร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับปี 2556 พิจารณาจากเครื่องชี้จำนวนอาชญาบัตรโคลดลง ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวนและปัญหาโรคระบาด และข้อจำกัดด้านพื้นที่และเงินทุนในการซื้อแม่พันธุ์มีราคาที่สูงขึ้น ส่วนด้านราคาสินค้าปศุสัตว์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี

8 สาขาประมง ขยายตัวร้อยละ 4.7
ขยายตัวร้อยละ 4.7 ปริมาณการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และ การเพาะเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก สถานการณ์ในแหล่งผลิตที่สำคัญของจังหวัดอยู่ในภาวะปกติ ทำให้การจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้ปริมาณมากขึ้น รวมทั้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีการสนับสนุนให้เลี้ยงปลาในบ่อดินจึงส่งผลทำให้สาขาประมงขยายตัวเพิ่มขึ้นไปด้วย

9 สาขาบริการทางการเกษตร
หดตัวร้อยละ 0.5 พื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เก็บเกี่ยวลดลง การบริการทางการเกษตรจึงลดลงตามไปด้วย เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ทำให้มีการจ้างบริการรถไถและรถแทรกเตอร์ในการเตรียมดินและไถพรวนดิน ส่งผลให้รถเก็บเกี่ยวผลผลิตลดลงตามไปด้วย

10 สาขาป่าไม้ หดตัวร้อยละ 0.6
การตัดไม้ยังไม่มากนักเพราะยังไม่ครบอายุการใช้งาน การเก็บของป่า เห็ด ฟืนและถ่านลดลง การตัดไม้ลดลง เนื่องจากไม้ที่ปลูกอยู่ยังไม่ครรอบอายุของการที่จะไปใช้งานได้ รวมทั้งการเก็บของป่า เห็ด ฟืนและถ่านลดลง

11 แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร
ปี 2558

12 แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร
ปี 2558 (-0.2) – 0.8 % พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทาง การเกษตร ป่าไม้ (-0.5) -0.5% % (-0.5)-0.5 % (-0.1)-0.9% (-0.9)-0.1% สาขาพืช คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.5) – 0.5 เนื่องจากราคาผลผลิตพืชในปี 2557 อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกอยู่ โดยผลผลิตข้าวนาปรังลดลง จากการลดลงพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ข้าวนาปี เกษตรกรบางส่วนปรับไปปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า รวมทั้งคาดว่าฝนมาล่าช้า ปริมาณน้ำฝนจะไม่เพียงพอ สาขาปศุสัตว์ คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 – 1.9 เนื่องจากปริมาณการผลิตปศุสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะผู้เลี้ยงและปศุสัตว์จังหวัดมีความร่วมมือกัน จึงสามารถควบคุมและป้องกันโรคจากภายนอกได้ สาขาประมง คาดว่าอัตราการการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.5) – 0.5 เนื่องจากปริมาณการผลิตประมงโดยเฉพาะการจับสัตว์น้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาขาการบริการทางการเกษตร คาดว่าอัตราการการเจริญเติบโตของอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.1) – 0.9 เป็นผลจากสาขาพืชที่ขยายพื้นที่การเพาะปลูกกันมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน สาขาป่าไม้ คาดว่าอัตราการการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.9) – 0.1 เนื่องจากการเจริญเติบโตของไม้จะถึงรอบอายุ ที่สามารถการตัดไปใช้งานได้

13 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา ปี 2557 และแนวโน้ม ปี 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google