งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

PN.4 เลขที่ 40.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "PN.4 เลขที่ 40."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 PN.4 เลขที่ 40

2 วันเกิด 9 กุมภาพันธ์ 2524 อายุ 31 ปี
นางสาววิไล โสโภกรม ชื่อเล่น น้องวิ วันเกิด 9 กุมภาพันธ์ อายุ 31 ปี ภูมิลำเนา จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี

3 อาคาร B2 หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่อยู่ปัจจุบัน อาคาร B2 หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันปฏิบัติงานที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แผนก สำนักงานกลุ่มงานการพยาบาล ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

4 ประวัติส่วนตัว ลักษณะนิสัย
คุยไม่เก่ง ยิ้มง่าย มองโลกในแง่ดี มีโลกส่วนตัวสูง งานอดิเรก ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยว ปัจจุบัน กำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล วิทยาลัยบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

5 แนะนำบ้านเกิด..... มาแวะเที่ยวบ้านเฮา..... เมืองดอกบัวงาม จังหวัดอุบลราชธานี

6 มารู้จักกับเมืองดอกบัวงาม (อุบลราชธานี)
คำขวัญประจำจังหวัด “อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล”

7 ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด
ดอกบัว ชื่อพรรณไม้"ยางนา" ชื่อทาง วิทยาศาสตร์ "Dipterocarpus alatus"

8 ธงประจำจังหวัด ด้านบนของธงจะมีรูปดอกบัวสีชมพูบาน ปักอยู่บนพื้นสีชมพู ด้านล่าง จะมีอักษรสีขาว คำว่า "อุบลราชธานี" ปักอยู่บนพื้นสีเขียว

9 ผ้าประจำจังหวัด "ผ้ากาบบัว" เป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณอีสาน ซึ่งไม่อาจทราบหรือพบในปัจจุบันแล้ว สีของผ้ากาบบัวหรือกลีบบัว จะไล่กันไปจากสีอ่อนไปถึงแก่ คือ ขาว ชมพู เทา เขียว น้ำตาลและชื่อของผ้ากาบบัว จะมีความหมาย และเหมาะสมกับชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี

10 ประเพณีที่มีชื่อเสียงของอุบลราชธานี
ประเพณีแห่เทียนพรรษา

11 ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา
พรรษา คือ ช่วงระยะเวลา 3 เดือนในฤดูฝนที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องปฏิบัติธรรมอยู่วัดใดวัดหนึ่งโดยตลอดจะไปค้างคืนที่วัดอื่นไม่ได้ ข้อห้ามที่ให้พระอยู่วัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือนนี้ เพราะฤดูฝนเป็นฤดูเพาะปลูก ข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านกำลังเขียวขจี ถ้าพระออกเดินทางในฤดูนี้จะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านเสียหายได้

12 ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา
ชาวอุบลฯ ก็เหมือนกับชาวพุทธทั่วไป เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็จะนำเทียนไปถวายพระ ในสมัยก่อนยังไม่มีเทียนสำเร็จรูปขาย ชาวบ้านจะใช้ขี้ผึ้งซึ่งได้จากรังผึ้งมาต้มให้ละลายแล้วเอาฝ้ายที่จะทำเป็นไส้เทียนจุ่มลงไปในน้ำผึ้งที่ละลายนั้น ปล่อยให้เย็นพอที่จะเอามือคลึงให้ขี้ผึ้งโอบล้อมไส้เทียนให้เต็ม (วิธีการแบบนี้ชาวอุบลฯ เรียกว่า “ฟั่นเทียน”) จากนั้นนำมาตัดตามขนาดที่ต้องการ เสร็จเรียบร้อยก็จะเป็นเทียนที่พร้อมนำไปถวายพระได้

13 ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา
เทียนพรรษา ในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์นั้นจะเป็นการทำเทียนร่วมกันของชาวบ้านในแต่ละคุ้ม (คุ้ม คือ กลุ่มชุมชนเล็กๆ ของชุมชนใหญ่ ในแต่ละหมู่บ้านจะมีหลายคุ้ม) โดยการนำขี้ผึ้งมารวมกัน ต้มให้ละลายแล้วเทใส่เบ้าหลอม ตกแต่งให้สวยงามแล้วใส่คานหามหรือบรรทุกใส่เกวียน นำเข้าขบวนแล้วแห่ไปรวมกันที่หน้าศาลากลางมณฑล พระองค์จะประทานรางวัลให้กับคุ้มที่ทำต้นเทียนได้สวยงาม การแห่เทียนพรรษาจึงเริ่มมีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

14 ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา
ด้วยเหตุนี้การตกแต่งฐานต้นเทียนให้แปลกแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะการตกแต่งให้เป็นรูปลอยตัว ของสัตว์ในวรรณคดีหรือเรื่องราวทางพุทธประวัติ ในอากัปกริยาต่างๆ ก็เกิดขึ้น เช่นเดิมคุ้มที่จัดทำแบบนี้ก็ชนะ และถ้าคุ้มอื่นทำตามคุ้มที่อยากชนะในปีต่อไปก็จะทำให้แปลกแตกต่างๆ หรือทำให้ใหญ่ ให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ทางวรรณคดีหรือทางพุทธประวัติที่ครบสมบูรณ์ในต้นเทียนต้นเดียวหรือขบวนเดียว ผู้ชมดูแล้วเพลิดเพลิน ได้ความรู้ ได้อรรถรส อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน

15 สนใจเที่ยวบ้านเฮา ....บอกได้เด้อ สวัสดีค่ะ
สนใจเที่ยวบ้านเฮา ....บอกได้เด้อ สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt PN.4 เลขที่ 40.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google