ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKultilda Chatichai ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
ข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลข เช่น น้ำหนัก ความสูง ระยะทาง อายุ หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในรูปคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ เช่น ที่อยู่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ศาสนา
2
แบ่งตามการจัดกระทำข้อมูล
ข้อมูลดิบ (Raw data) คือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่ได้จัดกระทำ จัดระเบียบ หรือจัดหมวดหมู่ข้อมูล ข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่ (Group data) คือข้อมูลที่มีการจัดกระทำให้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ มีการแจกแจงความถี่ ทำให้ง่ายต่อการคำนวณหรือการนำไปใช้
3
แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสังเกต เป็นต้น ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ข้อเท็จจริงที่มีผู้รวบรวมไว้ และนักวิจัยนำมาใช้ในงานวิจัยของตนเอง
4
ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลนี้ใช้มากในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ หมายถึงข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ที่ผ่านการประมลผลหรือการวิเคราะห์แล้ว ผู้วิจัยเพียงแต่นำมาศึกษาใหม่
5
บันทึกส่วนตัว รายงาน สถิติ เอกสารทางราชการ เอกสารส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอื่นๆ
6
ข้อดีของข้อมูลทุติยภูมิ
ไม่ต้องเก็บรวบรวมใหม่ ประหยัดเวลา ศึกษาย้อนหลังได้ไกลเท่าที่ต้องการศึกษา
7
ข้อจำกัดของข้อมูลทุติยภูมิ
ข้อมูลไม่สมบูรณ์ครบตามประเด็นที่ศึกษา ปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ข้อมูลไม่ทันสมัย การเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างคำนิยามหรือความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ
8
ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นโดยเฉพาะ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
9
การสำรวจ (Field survey)
การเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ โดยใช้วิธี การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
10
การเก็บข้อมูลโดยการควบคุมตัวแปรทดลองให้ผันแปรได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ
การทดลอง การเก็บข้อมูลโดยการควบคุมตัวแปรทดลองให้ผันแปรได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ
11
การทดลองแบบสมบูรณ์ (Experiment)
โดยการควบคุมตัวแปรอิสระและตัวแปรอื่นๆ ได้เต็มที่ ส่วนใหญ่จะเป็นการทดลองในขอบเขตหรือบริเวณที่จำกัด ดังเช่นห้องปฏิบัติการ
12
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experiment)
การทดลองในสภาพความเป็นอยู่ของประชากร โดยการควบคุมตัวแปรต่างๆ เช่น การทดลองการสอน
13
ข้อดีของข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลปฐมภูมิจะต้องกันข้ามกับข้อมูลทุติยภูมิ โดยผู้วิจัยสามารถกำหดลักษณะและควบคุมข้อมูลได้ตามที่ต้องการ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งความรู้ความสามารถของผู้วิจัย
14
ข้อจำกัดของข้อมูลปฐมภูมิ
เสียเวลา ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล ถ้าผู้วิจัยขาดความชำนาญในการเก็บข้อมูลโดยเฉพาะการเก็บโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ จะส่งผลต่อคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล
15
แบ่งตามลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) ข้อมูลคุณภาพ (Qualitative data)
16
ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ คือข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข เป็นการบรรยายคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบและจัดกลุ่มหรือประเภทของข้อมูล
17
เพศ เชื้อชาติ ศาสนา สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา สาขาวิชา อาชีพ ภูมิลำเนา ลักษณะที่อยู่อาศัย
18
การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยพฤติกรรม จะใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การพูดคุย หรือการสัมภาษณ์ คำว่า “คุณภาพ” คือความหมายที่ตรงกันข้ามกับ “ปริมาณ” ไม่ได้หมายถึงคุณภาพดีหรือไม่ดี หรืออาจจะเรียกว่าข้อมูลที่เป็นข้อความหรือเชิงบรรยาย
19
การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพต้องใช้เทคนิคและความอดทนสูง เพราะต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการเลือกวิจัยหรือการใช้ข้อมูลประเภทนี้ ผู้วิจัยต้องมีความมีความซื่อสัตย์ อดทน และเวลามากพอ
20
ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลขโดยตรง ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติเช่น คะแนน ความถี่ ความสูง อายุ น้ำหนัก ตามมาตราการวัดทั้ง 4 ระดับ คือ นามบัญญัติ อันดับ ช่วง และอัตราส่วน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.