งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าเสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ ในรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 แผนกการตลาด.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าเสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ ในรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 แผนกการตลาด."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าเสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ ในรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 แผนกการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ ฯ อาจารย์ชนิศา แจ้งอรุณ

2 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเน้นกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พฤติกรรมการแสดงออก นับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับนักศึกษาที่เรียนในด้านบริหารธุรกิจ

3 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ในรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพโดยวิธีการแสดงบทบาทสมมติ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย นักศึกษามีพฤติกรรมการกล้าแสดงออกในสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่เหมาะสมมากขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวันและทางสังคมรวมถึงการฝึกงานในสถานประกอบการต่าง ๆ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น ๆ

4 นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา
แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ หน่วยการเรียนที่ 3 แบบประเมินกิจกรรม และ แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงบทบาทสมมติ

5 สมมติฐานการวิจัย การใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ มีผลทำให้นักศึกษามีพฤติกรรมการกล้าแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

6 วิธีดำเนินการวิจัย ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ แผนกการตลาด จำนวน 21 คน โดยผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 3 เรื่องการพูดในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ - แบบประเมินกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ - แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงบทบาทสมมติ

7 การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้
ข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ คือพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้เรียนในการแสดงบทบาทสมมติ โดยนำผลที่ได้มาคิดค่าสถิติ สถิติที่ใช้ โดยการเปรียบเทียบผลการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง และคิดค่าสถิติเปรียบเทียบเป็นเป็นร้อยละเพื่อหาการพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ

8 สรุปผลวิจัย จากการศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดง ออกโดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ ของนักศึกษาระดับประกาศ นียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 / 2 แผนกการตลาด ในรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีผลการพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกในครั้งที่ 2 สูงกว่าครั้งที่ 1 ทุกคน โดยผลเป็นดังนี้

9 ตารางเปรียบเทียบผลการวิจัย
ครั้งที่ ครั้งที่ 2 ระดับคะแนน จำนวน(คน) ร้อยละ 1 - 2 3 4 5 6 9.52 7 14 66.67 8 14.29 9 10 11 12 ระดับคะแนน จำนวน(คน) ร้อยละ 1 - 2 3 4 5 6 7 8 9 9.52 10 28.57 11 47.62 12 14.29

10 ข้อเสนอแนะการทำวิจัย
1. ผู้สอนควรมีการพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักศึกษาในหน่วยการเรียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง 2. ผู้สอนควรมีการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของผู้เรียนตั้งแต่เริ่มเรียนในรายวิชา 3. ในรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการการพัฒนาพฤติกรรมความกล้าแสดงออก ควรจะมีการจัดกิจกรรมให้เกิดการพัฒนาต่อไป

11 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าเสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ ในรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 แผนกการตลาด.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google