งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย
นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

2 วิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์ของการพัฒนาเศรษฐกิจได้แพร่กระจาย เข้าไปในประเทศต่าง ๆ ของโลกที่สาม ผลของการพัฒนาตามแนวทางทุนนิยมดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ประเทศไทยเองก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายและน่ากลัวนั้น เนื่องจากพบว่าสิ่งแวดล้อมและฐานทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกใช้อย่างหนัก ความเสื่อมโทรม และความตึงเครยดทางสิ่งแวดล้อมปรากฏให้เห็นทั้งในเมืองและชนบท อย่างน่าวิตก

3 วิถีการพัฒนาแบบทำลายล้าง
อาจสรุปได้ว่า ระบบการพัฒนาของไทยในช่วง 40 ปี ที่ผ่านมา มีลักษณะที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ มีการประเมินค่าของธรรมชาติต่ำมาก มีการให้ความสำคัญสูงแก่เรื่องการแสวงหาความเจริญสูงสุด มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจสังคมที่ดำรงอยู่ มีการวางนโยบายเพื่อผลประโยชน์ในวงที่คับแคบ

4 นโยบายสิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนา
แนวนโยบายของยุคเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเป็นความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง เพราะแผนพัฒนาของไทย 3 แผนแรก (ในช่วง ) ไม่ได้กล่าวถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมเลย ในสมัยนั้นทรัพยากรธรรมชาติมีไว้เพื่อการขูดรีดและใช้ประโยชน์ เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่มีขีดจำกัด ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ( ) นักวางแผนเริ่มมองเห็นแล้วว่า การขูดรีดทรัพยากรเพื่อการพัฒนากำลังนำความ ทรุดโทรมมาสู่ระบบนิเวศของไทยอย่างร้ายแรง จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ในภาคปฏิบัติยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น

5 การวางแผนนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ของไทยเริ่มมีรูปร่างอย่างเป็นระบบในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ( ) ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ( ) คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประวัติศาสตร์การพัฒนาของไทย แผนใหม่นี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการด้วยกัน คือ

6 1. รักษาความเจริญของเศรษฐกิจต่อไป พร้อม ๆ กับเสถียรภาพ ของระบบเศรษฐกิจ
2. ส่งเสริมการกระจายรายได้และการพัฒนาชนบท 3. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงคุณภาพชิวิต รวมทั้งคุณภาพ ของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

7 ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ( ) ประกาศว่าประเทศไทยใช้แนวทางที่เรียกว่า “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน” หรือ “Sustainable Development” กระทั่งถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ( ) ประเทศไทย ยังผลิตอุดมการณ์การพัฒนาแบบยั่งยืนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน

8 ปรัชญาแห่งความยั่งยืน
จากประสบการณ์ของการพัฒนากว่า 40 ปี เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนากระแสหลักที่เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างจะล้มเหลว ด้วยเหตุนี้ จึงมีความพยายามเกิดขึ้นที่จะแสวงหาหนทาง และวิธีการเพื่อนำเอาเรื่อง “การพัฒนา” และ “สิ่งแวดล้อม” มาผสมผสานกันเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อม

9 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ การพัฒนาแบบยั่งยืนจึงมีหลักการพื้นฐาน ที่สำคัญที่สุด 3 ข้อ คือ
1. ให้ความสำคัญสูงสุดแก่ค่าของสิ่งแวดล้อม 2. ขยายมิติเวลาไปสู่อนาคต 3. เน้นหนักเรื่องความยุติธรรม

10 หลักการพื้นฐานของการพัฒนา แบบยั่งยืน
1. ค่าของสิ่งแวดล้อม - ระบบเศรษฐกิจจะต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับค่าของสิ่งแวดล้อม - จะต้องมีการประเมินค่าของสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง - ในการประเมินโครงการพัฒนา จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการทำลายระบบนิเวศ ส่งเสริมคุณภาพทางสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูธรรมชาติ

11 2. มิติแห่งอนาคต ความยั่งยืน หมายถึง ความยาวนานของกาลเวลา มองจากแง่นี้แล้วการพัฒนาแบบยั่งยืน ก็คือ การพัฒนาเพื่ออนาคต ในการมองอนาคต จุดหนักไม่ได้อยู่ที่การสร้างวัตถุ หากแต่เป็นเรื่องของการพิทักษ์รักษาความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่คงทน นั่นหมายความว่าอนาคตของลูกหลานจะต้องมี “ทุนธรรมชาติ” (Natural Capital) ไม่น้อยไปกว่ายุคของเรา

12 3. ความยั่งยืนทางนิเวศ หลักการพื้นฐานทั้ง 3 ข้อ (ค่าของธรรมชาติ มิติอนาคต และความยุติธรรม) คือประสิทธิภาพของการพัฒนาที่ครอบคลุมเป้าหมาย “ความยั่งยืนทางนิเวศ” (Ecological Sustainable)

13 หลักการพื้นฐาน ในการรักษาความยั่งยืนทางนิเวศ
1. พิทักษ์รักษากระบวนการทางนิเวศที่สำคัญ ๆ และระบบรองรับ การดำรงชีวิตของมนุษย์ 2. คุ้มครองความหลากหลายของระบบนิเวศ 3. ใช้ทรัพยากรแบบยั่งยืน 4. รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 5. สร้างความสมดุลระหว่างการใช้ธรรมชาติกับการเพิ่มประชากร

14 สรุป นิเวศวิทยา สอนเรา ว่าการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติจะไม่เกิดประสิทธิผลแต่อย่างใด ถ้าหากคนเรายังคงมีวิธีคิดเกี่ยวกับธรรมชาติแบบเก่า ๆ นั่นคือการมองว่าธรรมชาติดำรงอยู่เพื่อเศรษฐกิจหรือธุรกิจ ความยั่งยืนยาวนานต้องการวิธีคิกแบบใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญสูงแก่การประเมินค่าของธรรมชาติ ซึ่งหมายถึง - ความเคารพและห่วงใยในสรรพสิ่งทั้งหลายของโลกธรรมชาติ - ความอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ - การให้ความคุ้มครองธรรมชาติ ซึ่งสำคัญกว่าการส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจ


ดาวน์โหลด ppt นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google