ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJintana Wisetkaew ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การแก้ไขปัญหาทักษะการพิมพ์สัมผัสเพื่อพัฒนาความเร็วและ
ความแม่นยำของ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ห้อง 1 สาขาพณิชยการ โดยใช้แบบทดสอบการพิมพ์จับเวลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพรเขต 2 ของ จินตนา โภคากร วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
2
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการเรียนการสอนวิชาพิมพ์ดีดไทย 1 รหัสวิชา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) เป็นวิชาที่สร้างทักษะขั้นพื้นฐานของการเรียนในสาขานี้ให้เกิดกับนักเรียนทุกคน โดยสามารถนำวิชานี้ไปใช้ผลิตเอกสารสำหรับการเรียนรายวิชา อื่น ๆ จากการสังเกตนักเรียนที่เข้ามาเรียนพบว่านักเรียนไม่มีปัญหาในการเรียนรู้เรื่องการพิมพ์แป้นอักษรล่างและแป้นอักษรบน แต่จะมีปัญหาเรื่องการพิมพ์งานตามแบบฝึกพิมพ์จับเวลา ในช่วงการเรียนการพิมพ์สัมผัสเพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำ เพราะนักเรียนต้องพิมพ์ให้ได้ 25 คำต่อนาทีถึงจะผ่านเกณฑ์ และในทุก ๆ ปีที่มี การเรียนการสอนจะมีนักเรียนส่วนมาก ก้าวนิ้วผิดหลักการพิมพ์ มองแป้นอักษรขณะพิมพ์งาน และไม่ค่อยพิมพ์งานส่งครบตามที่กำหนดไว้ พิมพ์งานช้าและพิมพ์ผิดมาก และเมื่อถึงช่วงการเรียนการพิมพ์สัมผัสเพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำ นักเรียนดังกล่าวจะไม่สามารถพิมพ์แบบฝึกหัดการพิมพ์จับเวลาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน
3
จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2 ซึ่งเป็นครูประจำ ทำหน้าที่ปฏิบัติงานสอน จึงสนใจศึกษาเกี่ยวกับการพิมพ์สัมผัสของผู้เรียน เพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำ สามารถนำไปใช้ร่วมกับการพิมพ์งานขั้นผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546)
4
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกหัดการพิมพ์จับเวลา ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 สาขาพณิชยการ เรื่อง การแก้ไขปัญหาทักษะการพิมพ์สัมผัสเพื่อพัฒนา ความเร็วและความแม่นยำให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำ โดยมีเป้าหมายให้นักเรียน ที่พิมพ์ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด สามารถพัฒนาความเร็วและความแม่นยำด้วยแบบฝึกหัดการพิมพ์จับเวลา ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 25 คำต่อนาที 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางทักษะการพิมพ์จับเวลา เรื่อง การแก้ไขปัญหาทักษะ การพิมพ์สัมผัสเพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำ ก่อนและหลังการฝึกพิมพ์ โดย ใช้แบบทดสอบการพิมพ์จับเวลา
5
ความสำคัญของการวิจัย
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2 สามารถนำข้อมูล ไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน กลุ่มงานวิชาการของสถานศึกษา มีข้อมูลสำหรับพัฒนาในการด้านการเรียน การสอนในครั้งต่อไป
6
ผลการวิจัย ผลจากการทดสอบหลังเรียนพบว่านักเรียนจำนวน 21 คนจาก 31 คน สามารถพิมพ์ พิมพ์งานตามแบบฝึกพิมพ์สัมผัสเพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 25 คำต่อนาที ส่วนอีก 10 คน ยังพิมพ์ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดจากการสังเกตของผู้วิจัยพบว่า พบว่านักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์บางคนหันกลับไปดูแป้นอักษรบนและบางครั้งก็มองนิ้วตนเองว่าวางถูกแป้นหรือไม่ ทำให้เกิดการล้าช้าในการพิมพ์และมองผิดบรรทัด จำนวนคำสุทธิคงที่ไม่พัฒนาขึ้น
7
การสังเกตครั้งต่อไปของผู้วิจัยพบว่านักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทุกคนไม่มีสมาธิในการพิมพ์เพราะพะวงกับคำผิดกลัวไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากตนเองได้พิมพ์ใกล้จะผ่านเกณฑ์อยู่แล้ว ไม่มั่นใจในการเคาะแป้นไปยังตัวอักษรต่าง ๆ จึงกลับไปมองแป้น และเมื่อก้าวไปยังแป้นที่อยู่ไกล ๆ ก็จะใช้นิ้วที่ตนเองถนัดพิมพ์ ทำให้การพิมพ์ไม่สม่ำเสมอ พอคำผิดเริ่มมากก็จะหยุดพิมพ์ไม่ยอมพิมพ์ต่อ ผู้วิจัยได้แก้ไขปัญหานี้ โดยกำหนดให้นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 10 คน ทำการฝึกพิมพ์แบบฝึกพิมพ์จับเวลาเพิ่มเติม ช่วงพักเที่ยงกลางวัน หลังเลิกเรียนตอนเย็น และนักเรียนสามารถพิมพ์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
8
อาคารเรียน
9
ห้องพิมพ์ดีดไทย
10
ฝึกทักษะการพิมพ์
11
สิ้นสุดการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.