งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มัธยมศึกษาปีที่๕/๓ กลุ่มรักเด็ก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มัธยมศึกษาปีที่๕/๓ กลุ่มรักเด็ก."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มัธยมศึกษาปีที่๕/๓ กลุ่มรักเด็ก

2 อุปมา อุปมา    คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้ คำเชื่อมที่มี ความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า      " เหมือน "       เช่น     ดุจ  ดั่ง  ราว  ราว กับ   เปรียบ   ประดุจ    เฉก   เล่ห์   ปาน   ประหนึ่ง เพียง    เพี้ยง    พ่าง    ปูน  ฯลฯ

3 ตัวอย่างเช่น จมูกเหมือนลูกชมพู่ ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ
 ตัวอย่างเช่น    จมูกเหมือนลูกชมพู่                ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี

4  อุปลักษณ์    อุปลักษณ์  ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบ เหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้ เข้าใจเอาเอง  ที่สำคัญ  อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา

5 ตัวอย่างเช่น ขอเป็นเกือกทองรองบาทาไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย
   ตัวอย่างเช่น ขอเป็นเกือกทองรองบาทาไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย ทหารเป็นรั้วของชาติ เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์

6 ปฏิพากย์  ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์  คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกัน ข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่ม ความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น   น้ำร้อนปลาเป็น   น้ำเย็นปลาตาย เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

7 อติพจน์    อติพจน์ หรือ อธิพจน์  คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้น ความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้งภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้ กันมากแม้ในภาษาพูด  เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่าย และแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน     ตัวอย่างเช่น คิดถึงใจจะขาด    คอแห้งเป็นผง   ร้อนตับจะแตก    หนาวกระดูกจะหลุด  

8 บุคลาธิษฐาน บุคลาธิษฐาน  มาจากคำว่า  บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง  อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต   คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ  เช่น โต๊ะ  เก้าอี้   อิฐ  ปูน    หรือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น  ต้นไม้  สัตว ์  โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์       

9 ตัวอย่างเช่น บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน
มองซิ..มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหินฃ บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น บางครั้งยังสะอื้น              ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป

10 สัญลักษณ์  สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน  ไม่เรียก ตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบ และตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป       ตัวอย่างเช่น เมฆหมอก แทน อุปสรรค สีดำ แทนความตาย ความชั่วร้าย

11  นามนัย    นามนัย  คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  คล้ายๆสัญลักษณ์   แต่ต่างกัน ตรงที่  นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมา กล่าว  ให้หมายถึงส่วนทั้งหมด   ตัวอย่างเช่น เมืองโอ่ง หมายถึง จังหวัดราชบุรี เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา

12 สัทพจน์ สัทพจน์ หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น
 สัทพจน์  หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ     เช่น   เสียงดนตรี    เสียงสัตว์   เสียงคลื่น    เสียงลม   เสียงฝตก เสียง น้ำไหล ฯลฯ  การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียง นั้นจริง ๆ ตัวอย่างเช่น 1.ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ     ลุกนกร้องจิ๊บๆๆ    ลูกแมวร้องเหมียว ๆๆ 2.เปรี้ยง ๆ  ดังเสียงฟ้าฟาด      

13 สมาชิกในกลุ่ม นาย ปลื้มมานัส ชูสวัสดิ์ ม.๕/๓ เลขที่ ๑๒
นาย ปลื้มมานัส ชูสวัสดิ์ ม.๕/๓ เลขที่ ๑๒ นาย ศุภณัฐ ไฝสีทอง ม.๕/๓ เลขที่ ๑๙ นาย สหวัช รัตนพงษ์ ม.๕/๓ เลขที่ ๒๐ นาย ศิรศิษฏ์ โกฏิรัตน์ ม.๕/๓ เลขที่ ๒๑ นาย เนวิน เปลี่ยนเภท ม.๕/๓ เลขที่ ๒๖ นาย ธาดา กาญจนโสภา ม.๕/๓ เลขที่ ๓๖


ดาวน์โหลด ppt มัธยมศึกษาปีที่๕/๓ กลุ่มรักเด็ก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google