ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAnuthat Yuvaves ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
ทุกข์ - ธรรมที่ควรรู้ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือสภาพที่มนุษย์ทนอยู่ได้อยาก เป็นสภาวะทางธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ หัวข้อธรรมที่สนับสนุนในการศึกษา ได้แก่
2
1. ขันธ์ 5 ขันธ์ 5 คือ องค์ ประกอบของมนุษย์ ได้แก่ ⇒ 1. รูป (ร่างกาย) ⇒ 2. เวทนา (ความรู้สึก ⇒ สุข ทุกข์ อุเบกขา) ⇒ 3. สัญญา (ความจำ) ⇒ 4. สังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งจิต) ⇒ 5. วิญญาณ (ความรู้แจ้ง หรือการรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5และจิตใจ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส และใจ รวมเรียกว่า วิญญาณ 6 หรือ อายตนะ 6)
3
2. จิต-เจตสิก 2.1 จิต ความหมาย
2.1 จิต ความหมาย จิต เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณขันธ์ บางที่เรียกว่า จิตใจ หมายถึง อารมณ์ สภาพความนึกคิดของมนุษย์ หน้าที่ของจิต คือ การรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัส(วิญาณ 6) การจำและ การคิดเรื่องราวต่างๆ เป็นต้น ในพระอภิธรรมปิฎก นับสภาพแห่งจิตทั้งหลายมีจำนวน 89 เรียกว่า จิต 89 ได้แก่ กามาวาจรจิต 54 รูปปาวจิต 15 อรูปาวจรจิต 12 และ โลกุตตรจิต 8
4
2.2 เจตสิก เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต หรือ อาการและคุณสมบุติต่าง ของจิต หรือสภวะทางธรรมชาติที่เกิดดับพร้อมกับจิต ได้แก่ ความรู้สึกรัก ชอบ โกรธ เกลียด สุข และทุกข์ เป็นต้น มีทั้งหมด 52 ดวง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. อัญญสมานาเจตสิก 13 ดวง เข้าได้ทั้งจิตที่เป็นกุศลและอกุศล เช่น ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา (ความเสวยอารมณ์) มนสิการ (การกระทำ อารมณ์ไว้ใน ใจ) วิริยะ (ความเพียร) ฉันทะ ( ความพอใจในอารมณ์) เหล่านี้ ถ้าเกิดดีก็เป็นกุศลจิต คือ อาจจะมีความเพียรในการทำความดี หรืออาจมี ความเพียรในการทำชั่วก็ได้ 2. อกุศลเจตสิก 14 ดวง เป็นเจตสิกฝ่ายชั่ว เช่น โมหะ โทสะ ฯลฯ 3. โสภณเจตสิก 25 ดวง เป็น เจตสิกฝ่ายดี เช่น หิริ-โอตัปปะ เมตตา กรุณา ฯลฯ
5
ความสำคัญของจิต เจตสิก
เป็นตัวการทำให้มนุษย์เกิด ความทุกข์ หรือ ความสุข มนุษย์จึงควรควบคุมหรือบริหารจิตของตนให้ดี ไม่ควรยึดติดสิ่งใด มากเกินไปจนทำให้เกิดอารมณ์แห่งความทุกข์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.