ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยVuthisit Prasarttong ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
มาตรา ๑๔๔๘ การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชาย และหญิง มีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการ สมรสก่อนนั้นได้
2
เพศของบุคคลธรรมดานั้น กฎหมายรับรองและ ถือเอาตามเพศที่ถือกำเนิดมา และคำว่า หญิง ตามพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถานหมายความถึง ฎีกาที่ ๑๕๗ / ๒๕๒๔ คนที่ออกลูกได้ ผู้ร้องถือกำเนิดมาเป็นชาย ถึงหากจะมีเสรีภาพ ในร่างกายโดยรับการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศเป็น อวัยวะเพศของหญิงแล้วก็ตาม แต่ผู้ร้องก็รับอยู่ว่าไม่สามารถมีบุตรได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติและตามที่กฎหมายรับรองผู้ ร้องยังคงเป็นเพศชายอยู่ และไม่มีกฎหมายรับรองให้ สิทธิผู้ร้องขอเปลี่ยนแปลงเพศที่ถือกำเนิดมาได้ ทั้งมิใช่กรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม กฎหมาย
3
ฎีกาที่ ๓๗๒๕ / ๒๕๓๒ แม้โจทก์จะเป็นหญิงแต่ก็มีนิสัยและทำตัวอย่าง ผู้ชาย คนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์เป็นชาย โจทก์มีความรักใคร่จำเลยฉันชู้สาวจึงพาจำเลยมา อยู่กับโจทก์ในฐานะเป็นแม่บ้านของโจทก์เป็นเวลา เกือบ ๒๐ ปี โดยโจทก์จำเลยได้ร่วมกันทำมาหากิน แสวงหาทรัพย์สินซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงหรือเงินของ ฝ่ายใดก็ตาม ถือว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์ที่ทั้งโจทก์จำเลย มีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์และจำเลยจึงมี ส่วนในทรัพย์ที่พิพาททั้งหมดคนละกึ่งหนึ่ง ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๕๗
4
ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ม. มีอายุไม่ครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ กรณีที่จำเลยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยากับเด็กหญิง ม. โดยนาง จ. มารดาเด็กหญิง ม. ยื่นคำร้องต่อศาล เยาวชนและครอบครัวกลางขออนุญาตให้เด็กหญิง ม. จด ทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้วแม้ต่อมาศาล เยาวชนและครอบครัวกลางจะอนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก็ มิอาจลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำมา ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิด ฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงชอบแล้ว ฎีกาที่ ๒๔๒๙ / ๒๕๔๑ ( ๑ - ๒ )
5
แต่เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้อนุญาตให้ จำเลยและเด็กหญิง ม. สมรสกันการกระทำของจำเลยใน ข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน ๑๕ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๗ วรรค แรกจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคท้ายแม้ จำเลยจะมิได้ฎีกามาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่ เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง ไม่ฟังคำสั่งสอน ต้องคำสั่งศาล ฎีกาที่ ๒๔๒๙ / ๒๕๔๑ ( ๒ - ๒ )
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.