ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยTep Cheenchamras ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
สารบัญญัติ ตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
เมธี ชุ่มศิริ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี
2
หมวด 9 การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
หมวด 9 การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
4
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า “สถานที่หรือทางที่มิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้” (มาตรา 4) สินค้า มิได้มีความหมายเฉพาะไว้ จึงน่าจะหมายถึง ข้าวของ วัสดุทุกชนิด ที่นำมาขาย/ จำหน่ายได้ ซึ่งรวมทั้งอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็ง ฯลฯ
5
การควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายสินค้าในที่/
ขออนุญาต (ม.41) ชนิด/ประเภทสินค้า ลักษณะการจำหน่าย สถานที่ขาย เงื่อนไขอื่น ๆ เจ้า พนักงาน ท้องถิ่น ถ้าเปลี่ยน แปลง ต้อง ปฏิบัติ ตาม ต้องแจ้ง มีอำนาจ ออกข้อกำหนดของท้องถิ่น(ม.43) ประกาศเขต (ม.42)
6
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ร่วมกับเจ้า พนักงานจราจร ข้อกำหนดของท้องถิ่น
สุขลักษณะเกี่ยวกับ ผู้ขาย/ผู้ช่วยขาย กรรมวิธีการจำหน่าย ทำประกอบ ปรุง เก็บ/สะสม ความสะอาดภาชนะ น้ำใช้ ของใช้ การจัดวาง/การเร่ขาย เวลาจำหน่าย ป้องกันเหตุรำคาญ/โรคติดต่อ ประกาศเขต ห้ามขายหรือซื้อโดยเด็ดขาด ห้ามขายสินค้าบางชนิด ห้ามขายสินค้าตามกำหนด เวลา เขตห้ามขายตามลักษณะ กำหนดเงื่อนไขการจำหน่าย ปิดที่สำนักงานฯ และบริเวณที่กำหนดเป็นเขต และระบุวันบังคับ โดยไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันประกาศ
7
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใด (1) ปรุงอาหาร ขายหรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือในสถานสาธารณะ (2) ใช้รถยนต์หรือล้อเลื่อนเป็นที่ปรุงอาหารเพื่อขายหรือจำหน่ายให้แก่ประชาชนบนถนนหรือในสถานสาธารณะ (3) ขายหรือจำหน่ายสินค้าซึ่งบรรทุกบนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนถนนหรือในสถานสาธารณะ ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับ แก่การปรุงอาหารหรือการขายสินค้าตาม (1) หรือ (2) ในถนนส่วนบุคคลหรือในบริเวณที่ จพถ. /พนักงานจนท. ประกาศ ผ่อนผันให้กระทำได้ระหว่างวัน เวลาที่กำหนด ด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร
8
ประเด็นพิจารณา ทำไงดี.... ถ้าจะให้มีการขายของบนที่หรือทางสาธารณะได้ ..
9
คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ฉบับที่ 3/2542
เรื่อง การประกาศเขตควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ตาม ม. 42 แห่ง พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ และ ม. 20 แห่งพ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 การประกาศเขตควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ จพถ. ร่วมกับ จพง. จราจร ในท้องถิ่นนั้น ดำเนินการพิจารณาทั้ง เขตห้าม และเขตผ่อนผัน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ การสาธารณสุข พ.ศ และมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ ควบคู่ในคราวเดียวกัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาการโต้แย้งระหว่าง จพง. กับผู้จำหน่ายสินค้าที่มิได้ประกาศห้ามไว้ แต่ จพง. ก็อ้างข้อกฎหมายการรักษาความสะอาดฯ ว่ามิใช่เป็นเขตผ่อนผันเพื่อเอาผิดกับผู้จำหน่ายสินค้านั้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะที่ไม่เสมอภาคและเป็นการเลือกปฏิบัติ
10
ประเด็นพิจารณา กรณี ขายสินค้าบนถนนริมทางหลวง .....
จะทำได้ไหม ตามกฎหมายในหมวดนี้ ราชการส่วนท้องถิ่นจะออกใบอนุญาตให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตาม ม.41 หรือกำหนดเขตตาม ม.42 สำหรับสถานที่ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยราชการอื่นจะต้องให้หน่วยราชการที่มีอำนาจนั้นๆเห็นชอบด้วย โดย - เชิญหัวหน้าหน่วยราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมเป็นกรรมการในการพิจารณา - หรือ มีหนังสือขอความเห็นชอบจากหน่วยราชการนั้นๆก็ได้
11
คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ฉบับที่ 4/2545
เรื่อง การควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ตาม หมวด 9 แห่ง พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ.2535 สำหรับสถานที่ที่เป็นทางน้ำหรือทางหลวง หรือพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในความดูแลของหน่วยราชการอื่น (1) สถานที่หรือทางสาธารณะที่เป็นทางน้ำ/ทางหลวง/พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในความดูแลของหน่วยราชการใด หน่วยราชการนั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลตามวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายที่หน่วยงานนั้นรับผิดชอบ (2) กรณีที่สถานที่หรือทางสาธารณะในเขตท้องถิ่นนั้นมีการจำหน่ายสินค้า จะโดยได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการที่มีอำนาจในการควบคุมดูแลหรือไม่ก็ตาม ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นชอบที่จะใช้อำนาจตาม ม.41 ม.42 และ ม.43 แห่งกฎหมายการสาธารณสุข ในการควบคุมดูแลด้านสุขลักษณะของการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชนในท้องถิ่นเป็นสำคัญ
12
ทั้งนี้ราชการส่วนท้องถิ่นจะออกใบอนุญาตให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามมาตรา 41 หรือกำหนดเขตตามมาตรา 42 สำหรับสถานที่ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยราชการอื่นจะต้องให้หน่วยราชการที่มีอำนาจนั้นๆ เห็นชอบด้วย โดย - เชิญหัวหน้าหน่วยราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมเป็นกรรมการในการพิจารณา - หรือมีหนังสือขอความเห็นชอบจากหน่วยราชการนั้นๆก็ได้
13
ประเด็นพิจารณา จากกรณีที่ มีกฎหมายให้สถานที่บางจุดขายได้ .. บางจุดขายไม่ได้ .. จะทำอย่างไร และอย่างไร
14
(1) ราชการส่วนท้องถิ่นควรอาศัย ม. 20 วรรคสอง แห่งกฎหมายพ. ร. บ
(1) ราชการส่วนท้องถิ่นควรอาศัย ม.20 วรรคสอง แห่งกฎหมายพ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ และ/หรือ ม.42 แห่งกฎหมาย พ.ร.บ.การสาธารณสุข ประกาศกำหนด เขตผ่อนผันและ/หรือเขตห้ามจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยความเห็นชอบของ จพง.จราจรเสียก่อน ซึ่งในทางปฏิบัติราชการส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้โดยการเชิญ จพง.จราจรเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณากำหนดเขตดังกล่าว หรือมีหนังสือขอความเห็นชอบก็ได้ (2) เมื่อมีผู้ประกอบการมายื่นขอใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ จพถ. จึงจะพิจารณาอนุญาตให้ประกอบการจำหน่ายสินค้า ชนิดหรือประเภทใดๆตามความเหมาะสมสำหรับในเขตผ่อนผันและ/หรือเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท หรือตามเงื่อนไขใดๆตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้ประกาศกำหนดเขตดังกล่าวไว้แล้วตามข้อ (1) โดย จพถ. ควรพิจารณาออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการเป็นรายๆไป
15
อนึ่ง ในกรณีที่ จพถ. ได้ ออกใบอนุญาต ตาม ม
อนึ่ง ในกรณีที่ จพถ. ได้ ออกใบอนุญาต ตาม ม.41 แห่งกฎหมายการสาธารณสุข ให้ขายสินค้าในที่สาธารณะใดแล้ว โดยยังมิได้ประกาศเขตผ่อนผันและ/หรือเขตห้ามจำหน่าย ย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะดำเนินคดีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตนั้นในฐานความผิดที่ฝ่าฝืน ม.20 แห่งกฎหมายพ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯได้อีก คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ฉบับที่ 5/2545 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการออกใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ เพื่อความสอดคล้องกับมาตรา 20 แห่งพ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
16
กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลปกครอง ในคดีเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามกฎหมายการสาธารณสุข
17
การขายในที่ห้ามขาย (ตลาดโบ๊เบ๊)
กรณีผู้ค้าฯ ขายในที่หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้กำหนดเป็นจุดผ่อนผัน ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งห้ามขาย กรณีพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้เป็นจุดผ่อนผันเป็นการขายโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิที่จะขายมาตั้งแต่ต้น กรณีไม่ถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายฯ ไม่มีสิทธิฟ้องคดี แต่หากเคยกำหนดให้เป็นจุดผ่อนผัน และได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ถ้าต่อมามีการยกเลิกจุดผ่อนผัน หรือห้ามขาย กรณีถือว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายแล้ว นำคดีมาฟ้องศาลปกครองได้ตามเงื่อนไขแห่งการฟ้องคดี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๙๘/๒๕๕๑)
18
กรณีศึกษาอื่น ๆ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๐/๒๕๔๙ ระหว่าง นายนเรศน์ และนายกเทศมนตรีตำบลพนมสารคาม ที่ ๑ กับพวกรวม ๒ คน กรณีกำหนดจุดผ่อนผันบังหน้าร้าน และออกใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (เนื้อโค) เห็นว่า มีอำนาจตามกฎหมาย (กฎหมายเทศบาล กฎหมายการสาธารณสุข และกฎหมายการรักษาความสะอาดฯ) ในการกำหนดจุดผ่อนผัน และออกใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ฟ้องคดี และเป็นการกำหนดในลักษณะทั่วไปมิได้ผ่อนผันเฉพาะหน้าร้านผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดียังคงประกอบกิจการค้าขายในอาคารได้ตามปกติ ไม่ทำให้เดือดร้อนเสียหายหรือไม่ได้รับความสะดวกอันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ฟ้องคดี คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๗๑/๒๕๕๐ ระหว่าง น.ส. นงลักษณ์ และ ทม.โพธาราม กรณีกำหนดจุดผ่อนผัน จะต้องไม่ก่อให้เกิดกระทบต่อผู้อื่นจนเกินควร
19
แผงลอยบังหน้าร้าน (ทน.นครศรีธรรมราช)
ผู้ฟ้องคดีประกอบกิจการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องจากเทศบาลปล่อยให้มีการจอดรถเข็นและแผงลอยขายอาหารและอื่น ๆ บริเวณสองฝั่งถนน บังหน้าร้านตน เป็นเหตุให้ผู้ที่จะซื้อสินค้าผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความสะดวกและไม่มีที่จอดรถ จึงไม่มาซื้อสินค้าเป็นเหตุให้ขาดรายได้จำนวนมาก เป็นมานานนับ ๑๐ ปี เคยมีหนังสือร้องเรียนเทศบาลแล้วก็ไม่ได้รับการแก้ไข จึงนำคดีมาฟ้องขอให้เทศบาลมีคำสั่งให้ผู้ค้าฯ ย้ายไปที่อื่นแทนการเบียดเบียนพื้นที่ผิวจราจรอันเป็นสมบัติส่วนรวม เทศบาลอ้างว่า เนื่องจากชาวบ้านจำนวนมากมีฐานะยากจน ไม่มีรายได้ จึงผ่อนผันให้ทำการค้าฯ โดยมิได้ละเลยแต่อย่างใด เมื่อได้รับคำร้องเรียนก็ได้กวดขันจัดระเบียบให้มีการแบ่งช่องทางชัดเจน และให้ผู้ค้าฯ ทำความสะอาดพื้นที่ทุกวัน
20
มีประเด็นต้องพิจารณาว่าเทศบาลละเลยต่อหน้าที่ฯ หรือไม่ เห็นว่า
พรบ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา ๒๐ กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดปรุงอาหาร ขายหรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือในสถานสาธารณะ แต่ไม่ห้ามในถนน ส่วนบุคคล หรือในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศผ่อนผันให้กระทำได้ในระหว่างวัน เวลาที่กำหนดด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร และ มาตรา ๔๔ กำหนดว่า นอกจากอำนาจหน้าที่ที่ได้บัญญัติไว้ใน พรบ. นี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) โฆษณาให้ประชาชนได้ทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม พรบ. นี้ (๒) สอดส่องและกวดขันไม่ให้มีการฝ่าฝืน พรบ. นี้ โดยเคร่งครัด (๓) ตักเตือนผู้กระทำความผิด หรือสั่งให้ผู้กระทำความผิดแก้ไขหรือขจัดความสกปรกหรือความไม่เป็นระเบียบหรือความไม่เรียบร้อยให้หมดไป หรือ (๔) จับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งไม่เชื่อฟังคำตักเตือนและดำเนินคดีตาม พรบ. นี้
21
คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ ๗๘/๒๕๔๖
เมื่อบนถนนสองฟากถนนมีผู้ค้าฯ ตั้งแผงลอยและรถเข็นขายอาหารและอื่น ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ เมื่อผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องเรียน เทศบาลในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการตามมาตรา ๔๔ การที่เทศบาลผ่อนผันให้มีการตั้งแผงลอยและรถเข็นขายอาหารฯ ตลอดมา โดยไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทั้งที่มีอำนาจตามมาตรา ๒๐ ที่จะออกประกาศผ่อนผันโดยถูกต้องตามกฎหมายได้ แต่เทศบาลก็หาได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ กรณีจึงฟังว่าเทศบาลละเลยต่อหน้าที่ตามที่ พรบ. รักษาความสะอาดฯ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงพิพากษาให้เทศบาลดำเนินการตามมาตรา ๔๔ ภายใน ๖๐ วัน (ผู้ค้าฯ ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายสาธารณสุขด้วย) คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ ๗๘/๒๕๔๖
22
หวังว่าทุกท่านคงสามารถเดินบนทางเท้า
ได้สบายๆ ตามนี้..... สวัสดี...
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.