งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์

2 ภาษาคอมพิวเตอร์ การที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรให้ก็ได้ภายในพิสัยขอบเขตความสามารถของมัน แต่การสั่งนั้นจะต้องอาศัย "ภาษา" ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจความหมาย จะใช้ภาษาธรรมดาๆ อย่างที่พูดกันไปสั่งคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำได้ในขณะนี้ แต่ในอนาคตอาจจะสั่งได้ ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นมีมากมายหลายร้อยภาษา บางภาษาเป็นภาษาหลัก มีผู้ใช้ทั่วโลกมากมาย บางภาษาก็คิดขึ้นสำหรับใช้ในวงจำกัดมีผู้ใช้ไม่กี่คน และบางภาษาก็เป็นภาษาที่แตกแขนงออกมาจากภาษาอื่นๆ

3 ภาษาเป็นระบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสาร ใช้ภาษาเป็นการถ่ายทอดความต้องการของฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับทราบฉันใด เมื่อจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ก็จะต้องสื่อสารให้คอมพิวเตอร์รู้โดยใช้ภาษาที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ฉันนั้น ภาษาดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer language) หรือภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (Programming language)

4 คำสั่งที่คล้ายคลึงกันของภาษาคอมพิวเตอร์
คำสั่งรับข้อมูลและแสดงผล คำสั่งคำนวณ โปรแกรม คำสั่งที่มีการเลือกทิศทาง คำสั่งให้นำข้อมูลออก

5 ภาษาคอมพิวเตอร์ที่พูดถึงนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภทที่สำคัญ
ภาษาเครื่อง เป็นภาษาที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มมีคอมพิวเตอร์ใหม่ๆลักษณะทั่วไปก็คือใช้รหัสเป็นเลขฐานสองทั้งหมด ภาษามนุษย์ เมื่อการใช้ภาษาเครื่องเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและผิดพลาดง่าย มนุษย์ก็คิดหาวิธีทำหรือวิธีสื่อสารวิธีอื่นเพื่อให้ง่ายขึ้น จึงมีผู้คิดให้มีการทำโปรแกรมที่ใช้ภาษาที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ด้วยและจำได้ง่ายๆ

6 ภาษามนุษย์ ยังแบ่งเป็นอีก 4 ระดับ คือ
1. ภาษาระดับต่ำ หมายถึง ภาษาที่ยังใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ภาษานี้ยังใช้สัญลักษณ์ต่างๆแทนตัวเลขฐานสองซึ่งยุ่งยาก เช่น ถ้าสั่งให้บวกก็ใช้สัญลักษณ์ A ถ้าสั่งให้ลบก็ใช้สัญลักษณ์ S เป็นต้น ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์เช่นนี้ เรียกว่า mnemonic code อย่างไรก็ตามภาษานี้มีเพียงภาษาเดียว คือ ภาษาแอสเซมบลี้ (Assembly language) เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสเซมบลี้เข้าไปแล้ว ก็จะต้องส่งไปให้ตัวแปลที่มีชื่อว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) ถอดรหัสให้เสียก่อน คอมพิวเตอร์ก็จะเข้าใจ โปรแกรมที่เขียนส่งเข้าไปให้ตอนแรก เรียกว่า โปรแกรมดิบ (Source program) และโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่องแล้ว เรียกว่า โปรแกรมผล (Object program)

7 2. ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ใช้ง่ายขึ้นกว่าภาษาสัญลักษณ์ โดยผู้คิดค้นภาษาได้ออกแบบคำสั่ง ไวยากรณ์ และกฏเกณฑ์ต่างๆ ออกมาให้รัดกุม และจำได้ง่าย ภาษาระดับสูงนี้ยังอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น ประเภทที่เหมาะกับงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ได้แก่ ภาษา Fortran ภาษา BASIC ภาษา PASCAL ภาษา C ประเภทที่เหมาะกับงานธุรกิจได้แก่ ภาษา COBOL ภาษา RPG ประเภทที่เหมาะกับงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ได้แก่ ภาษา C โปรแกรมที่จัดทำขึ้นโดยใช้ภาษาระดับนี้ก็เช่นเดียวกับโปรแกรมภาษาสัญลักษณ์คือ จะต้องใช้ตัวแปลภาษาแปลให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานให้ได้ ภาษาระดับสูงได้แก่

8 ภาษาเบสิค (BASIC ย่อมาจาก Beginnig's All Purpose Symbolic Instruction Code)
ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN คำนี้ย่อมาจาก Formular Translator) ภาษาโคบอล (COBOL คำนี้ย่อมาจาก Common Business Oriented Language) ภาษาพีแอล/วัน (PL/I ย่อมาจาก Programming Language/One) ภาษาปาสคาล (Pascal language)

9 ภาษาอาร์พีจี (RPG ย่อมาจาก Report Program Generator)
ภาษาอัลกอล (ALGOL ย่อมาจาก Algolithmic Language) APL ย่อมาจาก A Programming Language APT ย่อมาจาก Automatically Programmed Tool ภาษาซี C

10 3. ภาษาระดับสูงมาก (Very High Level Language)
นอกจากนี้ยังมีภาษาที่ถือว่าอยู่ในระดับที่ 4 คือภาษาระดับสูงมาก (Very High Level Language) เป็นภาษาที่ทำให้ใช้ง่ายมากขึ้น คือถึงขั้นที่ ไม่จำเป็นจะต้องเขียนคำสั่งเป็นลำดับขั้นตอนเหมือนการใช้ภาษาทั้ง 3 ระดับข้างต้น เพียงแต่บอกว่าต้องการอะไรก็พอ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้ทำงานให้ตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรมเอง ภาษารุ่นนี้นิยมเขียนย่อๆ ว่า 4GL หรือ Fourth Generation Language หรืออีกนัยหนึ่งคือ ภาษารุ่นที่สี่ เช่น ภาษาลิป (LIPS) เป็นต้น ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้เขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์

11 4. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)


ดาวน์โหลด ppt ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google