ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPuenthai Chiwpreecha ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง
2
ขั้นตอนการเขียนบทรายการวิทยุ ขั้นเริ่มต้นแนวคิด (Begin with idea) จะเป็น การบอกแนวทาง ขอบเขตและการวาง แผนการผลิตในอนาคต
3
ขั้นไตร่ตรองแนวคิด (Investigate idea) มี ความเหมาะสมกับสภาพกลุ่มคนฟัง สภาพ สังคม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งใดบ้าง ในการ พิจารณาแนวคิดดังกล่าวต้องดูว่าเป็นแนวคิด เรื่องอะไร กลุ่มเป้าหมายในรายการคือใคร เรื่องนั้นๆ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย หรือ อยู่ในความสนใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างไร ด้วย
4
ขั้นพัฒนาแนวคิด (Develop idea) แนวคิดที่ได้มานั้นสมควรจัดทำเป็นรูปแบบ รายการอย่างไรได้บ้าง รูปแบบรายการต่างๆ นั้นรูปแบบรายการใด เหมาะสมกับกลุ่มคนฟังเป้าหมาย เวลาในการ นำเสนอ อย่างไร แล้วจึงมาดูว่าควรจะปรับให้ เหมาะสมกับกลุ่มคนฟังอย่างไรต่อไป ระยะเวลาในการนำเสนอ ในการดำเนินการ ผลิตต้องอาศัยเวลามากน้อยเพียงใด จะ เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ออกอากาศนั้นหรือไม่ และสามารถผลิตได้ทันเวลาออกอากาศใน ขณะนั้นหรือไม่
5
ขั้นเขียนบท (Write into script) ขั้นเริ่มรายการ (Introduce) การใช้คำถาม การใช้เสียงประกอบ
6
ขั้นจัดรูปและตกแต่งรายการ (Development) เป็นการนำเอาแก่นของเรื่อง หรือแก่นของรายการมาขยาย แล้วจัดเป็น รูปร่างตามรูปแบบ (Format)
7
ขั้นสร้างจุดประทับใจ (Climax) เป็นขั้นที่ สามารถสร้างความประทับใจของรายการโดย การเสนอประเด็นสำคัญๆ หรือความคิดเห็น ต่างๆ หรือถ้าเป็นละครก็หมายถึงการสร้างปม มาตลอด แล้วมาคลี่คลายปมปัญหา หรือหัก มุมโดยผู้ฟังไม่คาดคิดมาก่อน
8
ขั้นสรุป (Conclusion) ตอกย้ำหรือทบทวนโดย เรียบเรียงเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบ เพื่อให้ผู้ฟัง กระจ่างชัดแจ้งและจดจำได้ง่าย
9
การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงจึงมี หลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ ให้แนวความคิดที่กระจ่าง ชัดเจน ไม่ คลุมเครือ ผู้ฟังฟังแล้วเข้าใจว่ารายการนั้นมี เนื้อหาสาระอย่างไร ต้องการนำเสนอสิ่งใด มีการเน้นย้ำข้อความที่สำคัญเพื่อให้ผู้ฟัง จดจำ และไม่เกิดความสับสน เนื่องจากการ ออกอากาศรายการวิทยุเมื่อออกอากาศแล้ว ผู้ฟังไม่สามารถกลับมาฟังได้อีกเช่นการอ่าน หนังสือ ใช้ถ้อยคำ ภาษาที่เข้าใจง่าย กระจ่าง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า รายการนั้นพูดถึงเนื้อหาสาระอะไร
10
หลีกเลี่ยงข้อความหรือประโยคที่ซับซ้อน เข้าใจยาก สามารถใช้สำนวนภาษาที่แปลกและเด่นเพื่อ เป็นการดึงดูดความสนใจได้ ทั้งนี้ต้อง คำนึงถึงความเหมาะสมด้วย จัดลำดับข้อความอย่างต่อเนื่องในการดำเนิน เรื่องตังแต่ต้นจนจบ มีความราบรื่นในการใช้ คำเชื่อมโยง เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน ระหว่างประโยคแต่ละประโยค
11
กำหนดความยาวของบทให้พอดีกับ ระยะเวลาที่จะออกอากาศ เช่น บทสปอต วิทยุ ความยาว 30 วินาที จะมีความยาว ประมาณ 5 – 6 บรรทัด หรือบทที่มีความยาว 5 นาที จะมีข้อความประมาณ 1 2/3 หน้ากระดาษ คำที่อ่านออกเสียงยาก หรือไม่คุ้นเคย คำที่ ออกเสียงเฉพาะต้องเขียนคำอ่านไว้ท้ายคำ
12
ไม่ใช้คำย่อหรืออักษรย่อ ยกเว้นคำที่ใช้กัน จนบ่อยเป็นที่เข้าใจอย่างดี หลีกเลี่ยงตัว เลขที่มีรายละเอียดปลีกย่อย ควรใช้วิธีการ ประมาณและควรจะมีคำอ่านจำนวนกำกับไว้ ด้วย เช่น จำนวนประชากร 210,000 ( สอง แสนหนึ่งหมื่น ) คน การเริ่มต้นรายการและปิดท้ายรายการควรจะ ใช้ถ้อยคำที่จับใจและน่าจดจำ
13
ควรใช้ภาษาพูดง่ายๆ ไม่เป็นภาษาทางการ หรือภาษาเขียน เพราะจะทำให้ฟังแล้วไม่ เป็นธรรมชาติ ไม่น่าฟัง ระบุความต้องการไว้ชัดเจนทางด้านเทคนิค และด้านผู้ประกาศ เช่น เปิดเพลงดังขึ้นแล้ว เฟดแบล็กกราวด์ ( เปิดคลอ ) ระหว่างพูด หรือผู้ประกาศ ( ญ ) เสียงนุ่มนวล อ่อนหวาน ใช้ถ้อยคำภาษาที่ทำให้เห็นภาพพจน์ จริงจัง มีศิลปะในการพูดจูงใจเพื่อให้ผู้ฟังเกิด ความเห็นคล้อยตาม
14
คำสั่งการใช้ดนตรีและเสียงประกอบต่างๆ ในบท Fade in = การนำเสียงเข้าจากไม่มีเสียงเข้า มาด้วยวิธีค่อยๆเพิ่มทีละน้อยจนดังปกติ Fade out = การค่อยๆลดความดังของเสียง จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงอีกต่อไป Fade under = การหรี่คลอเสียงใดเสียงหนึ่ง ให้ค่อยลงกว่าระดับปกติเป็น background
15
Fade up = การเพิ่มระดับความดังของเสียงที่ มีอยู่ให้ดังขึ้น Fade down = การลดระดับความดังของ เสียงที่มีอยู่ให้เบาลงกว่าปกติ Cross fade = การลดระดับเสียงต่างๆ ได้แก่ เสียงดนตรีหรือเสียงพูด โดยเสียงที่ 1 ค่อยๆ จางหายไป ขณะที่เสียงที่ 2 ค่อยๆดังขึ้นมา Seque (seg-way)= การเปลี่ยนหรือตัด เสียงดนตรีหรือเสียงประกอบจากอารมณ์หนึ่ง ไปอีกอารมณ์หนึ่ง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.