ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSan'ya Prateung ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การนำเสนอ หัวข้อ “ตอบโจทย์อุตสาหกรรมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มุ่งสู่ตลาดโลก” วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ โดย ดร.ชโย ตรังอดิศัยกุล รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย งานสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรม การนำเสนอหัวข้อ “ตอบโจทย์อุตสาหกรรมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มุ่งสู่ตลาดโลก” ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2
อุปสรรคด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทย
สะท้อนถึงการผลิตกำลังคนด้านการวิจัยและพัฒนา ของภาคการศึกษาที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขาดคน งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาในหลายอุตสาหกรรม มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กไม่กล้าลงทุน ขาดงบประมาณ ผลงานวิจัยไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทำให้นำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ไม่ได้ ขาดการต่อยอด อุปสรรคด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทย ขาดคน - สะท้อนถึงการผลิตกำลังคนด้านการวิจัยและพัฒนา ของภาคการศึกษาที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขาดงบประมาณ - งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาในหลายอุตสาหกรรม มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กไม่กล้าลงทุน ขาดการต่อยอด - ผลงานวิจัยไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทำให้นำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ไม่ได้ ขาดเครือข่าย - ขาดการเชื่อมโยงเพื่อเข้าถึงผลงานวิจัยและผู้วิจัย ขาดเครือข่าย ขาดการเชื่อมโยงเพื่อเข้าถึงผลงานวิจัยและผู้วิจัย
3
ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างคุณค่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างครบวงจร และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการดำเนินธุรกิจแบบคลัสเตอร์ และ Supply Chain Management ยุทธศาสตร์ที่ 4 มาตรการเชิงรุกสำหรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมฯ มีการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างคุณค่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างครบวงจร และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
4
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างคุณค่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างคุณค่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างครบวงจร และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างคุณค่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างครบวงจร และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม - เป็นยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย ให้มีขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เป็นเอกลักษณ์ สร้างโอกาสให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์นี้ คือ การนำความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มาขับเคลื่อนธุรกิจ โดยการพัฒนาด้านการออกแบบ การวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ ตอบสนองความต้องการของตลาด
5
มาตรการหลักเพื่อการขยายผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (200% R&D Tax Relief) มาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement) การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการ ในภาคอุตสาหกรรม มาตรการหลักเพื่อการขยายผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ - ส.อ.ท.ได้เน้นย้ำและขอความร่วมมือภาครัฐผลักดันให้เกิดผลจริงโดยเร็วที่สุด 3 เรื่องสำคัญ ประกอบด้วย มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (200% R&D Tax Relief) มาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement) การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม
6
มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการวิจัยและ
พัฒนาเทคโนโลยี (200% R&D Tax Relief) สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (200% R&D Tax Relief) - ทบทวนเพิ่มสิทธิลดหย่อนภาษีจาก 200% เป็น 300% และมาตรการหักภาษีด้าน R&D 200% ล่วงหน้า (200% R&D Tax Prepaid) ผลักดันให้เกิดโครงการ One Stop Shopping งานวิจัยด้าน วทน.เพื่อนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้องานวิจัยหรือจ่ายค่า Know how นำมายื่นขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ในรอบบัญชีของปีที่ซื้องานวิจัย ผลักดันมาตรการกระตุ้นการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยการให้บริษัทเหล่านี้จ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปหักภาษี 200% R&D Tax มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (200% R&D Tax Relief) - เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนมีการลงทุนวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้มีนวัตกรรมทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยการทบทวนพัฒนานโยบายกฎหมาย กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมทำ R&D ตามมาตรการต่างๆ ดังนี้ สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ทบทวนเพิ่มสิทธิลดหย่อนภาษีจาก 200% เป็น 300% และมาตรการหักภาษีด้าน R&D 200% ล่วงหน้า (200% R&D Tax Prepaid) ผลักดันให้เกิดโครงการ One Stop Shopping งานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อนำไปต่อยอดเป็นมูลค่าเพิ่มหรือลงทุนจนสามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้องานวิจัยหรือจ่ายค่า Know how นำมายื่นขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ทันทีในรอบบัญชีของปีที่ซื้องานวิจัย ผลักดันมาตรการกระตุ้นการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยการให้บริษัทเหล่านี้จ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปหักภาษี 200% R&D Tax โดยต้องทำการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ส.อ.ท. ได้มีความพยายามผลักดันมาตรการเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 2553 โดยได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นด้วย เพื่อร่วมกับทาง สวทช. ในการหาแนวทางให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้เข้าใจและเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการยื่นขอใช้สิทธิประโยชน์นี้ ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดันสิทธิประโยชน์และมาตรการภาษีต่างๆ ที่จะจูงใจให้ผู้ประกอบการเกิดการเข้าร่วมทำ R&D และปรับปรุงขั้นตอนการพิจารณาโครงการวิจัยและพัฒนาให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนมาใช้สิทธิประโยชน์ฯ นี้มากขึ้น
7
มาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement)
ปัญหาและอุปสรรค : นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในบางกรณีไม่เอื้อต่อผู้ประกอบการ SME ตัวอย่างเช่น การที่มีหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจผลิตสินค้าแข่งกับภาคเอกชนโดยได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้เอกชนไม่สามารถแข่งขันกับหน่วยงานเหล่านั้นได้ กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาขึ้นเองในประเทศ ความคาดหวังของภาคอุตสาหกรรม : ภาครัฐควรทบทวนมาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยเร็ว เพื่อจูงใจให้เอกชนลงทุนพัฒนาธุรกิจโดยใช้ R&D เพิ่มมากขึ้น และสามารถผลิตสินค้ารองรับโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) อาทิ โครงการระบบขนส่งทางราง หรือ โครงการขยายผลการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากชีวมวลระดับชุมชนได้ มาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement) - เป็นมาตรการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ ให้สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง ส.อ.ท. ได้มีความพยายามผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2553 โดยทำการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษานโยบายด้านจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ร่วมกับ สวทน. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแนวทางปรับปรุงมาตรการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐให้เหมาะสมและเอื้อต่อการรองรับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ของภาคเอกชนที่มีการวิจัยและพัฒนาในประเทศ ปัญหาและอุปสรรค ที่ไม่เอื้อให้ผู้ประกอบการ SMEs ลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีดังนี้ การที่มีหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจผลิตสินค้าแข่งกับภาคเอกชนโดยได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้เอกชนไม่สามารถแข่งขันกับหน่วยงานเหล่านั้นได้ เช่น กรณีของอุตสาหกรรมยาและสมุนไพร เป็นต้น กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาขึ้นเองในประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพรบางประเภทไม่สามารถเข้าประมูลได้ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานรับรองการใช้งานหรือเคยซื้อขายเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งในกรณีนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สามารถจะเป็นหน่วยงานสนับสนุนที่จะเอื้อต่อการผลิตและรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มาจากการวิจัยและพัฒนาได้ ความคาดหวังของภาคอุตสาหกรรม ขอให้ภาครัฐทบทวนมาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยเร็ว เพื่อจูงใจให้เอกชนพัฒนาธุรกิจโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพิ่มมากขึ้น และสามารถผลิตสินค้ารองรับโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) ได้ ตัวอย่าง เช่น โครงการระบบขนส่งทางราง (เพื่อสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ในการผลิต local content ตามมาตรฐานสากล ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ) โครงการขยายผลการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากชีวมวลระดับชุมชน ( ขยายการทำต้นแบบเทคโนโลยีสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม)
8
การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการ ในภาคอุตสาหกรรม
การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการ ในภาคอุตสาหกรรม ส.อ.ท. ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนงานวิจัยสู่ภาคเอกชน โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีตลาดผลงานนวัตกรรมที่เอกชนสามารถ Shopping งานวิจัยที่มีอยู่เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ยกตัวอย่างที่ดำเนินการอยู่เช่น โครงการเวทีวิจัยพบภาคอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย นำร่องในคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (กลุ่มอุตสาหกรรมยา / สมุนไพร / เครื่องสำอาง / เทคโนโลยีชีวภาพ) รูปแบบการจัดงาน - จัดเป็นบูธนิทรรศการแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม ซึ่งในแต่ละบูธมีการจัดแสดงผลงานวิจัย เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถเข้าไปเจรจาเพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างกันได้ สถานที่จัดงานและระยะเวลาการจัดงาน - กำหนดจัดงานประมาณ ปลายเดือนมีนาคม 2556 ณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม - รณรงค์สร้างความเชื่อมโยงด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ภาครัฐ (ผู้ให้การสนับสนุน) และภาคเอกชน (ผู้ใช้ผลงานวิจัย) ได้รับผลงานวิจัยที่ตรงตามความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย โดยใช้โจทย์วิจัยจากภาคเอกชนเป็นตัวตั้ง เพื่อเน้นผลงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าออกสู่ตลาดมากกว่านวัตกรรมเชิงลึกด้านการวิจัย ความก้าวหน้าการดำเนินงาน - ส.อ.ท. ผลักดันเรื่องนี้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. โดยจัดทำโครงการเวทีวิจัยพบภาคอุตสาหกรรมขึ้น เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยสู่ภาคเอกชน ตั้งเป้านำร่องในคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (กลุ่มอุตสาหกรรมยา / สมุนไพร / เครื่องสำอาง / เทคโนโลยีชีวภาพ) เนื่องจาก เป็นอุตสาหกรรมที่มีจำนวนผู้ประกอบการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก รวมทั้ง สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยมีรูปแบบการจัดงานที่เน้นการจัดบูธนิทรรศการ แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม ซึ่งในแต่ละบูธจะมีผลงานวิจัยจัดแสดง พร้อมทั้งมีนักวิจัยเจ้าของผลงานประจำบูธ ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าไปเจรจาเพื่อซื้อผลงานวิจัยได้ กำหนดจัดงานประมาณ ปลายเดือนมีนาคม 2556 ณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
9
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.