งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการแบ่งแยกอำนาจ และสถาบันทางการเมือง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการแบ่งแยกอำนาจ และสถาบันทางการเมือง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการแบ่งแยกอำนาจ และสถาบันทางการเมือง
ความหมาย และการจัดตั้งสถาบันทางการเมือง ที่มาของสถาบันทางการเมือง คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน - การควบคุมตรวจสอบ

2 ความหมาย และการจัดตั้งสถาบันทางการเมือง
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกติกาที่จัดตั้งสถาบัน/องค์กรต่างๆของรัฐ “สถาบัน” เป็นนามธรรม เป็นภาพลักษณ์ ซึ่งอาจมีหลายฝ่าย หลายองค์กรรวมอยู่ในสถาบันนั้น เช่นสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันฝ่ายนิติบัญญัติ สถาบันฝ่ายบริหาร สถาบันฝ่าย ตุลาการ สถาบันทางทหาร การตีความอย่างกว้าง (ในทางการเมือง) เช่นสถาบันพระมหากษัตริย์อาจรวมองค์พระมหากษัตริย์, ราชวงศ์, องคมนตรี, สำนักพระราชวัง และอาจรวมไปถึงโครงการในพระราชดำริ การตีความอย่างแคบ (ในทางอาญา) ต้องเป็นการพิจารณาถึงการกระทำของตัวบุคคลเท่านั้น โดยสังเกตจากคำว่า “องค์พระมหากษัตริย์” “พระราชินีหรือรัชทายาท”

3 สถาบันทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ เป็นการจัดตั้งสถาบัน/องค์กร นั้นขึ้น โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันฝ่ายบริหาร สถาบันฝ่ายตุลาการ องค์กร เป็นหน่วยที่เป็นรูปธรรม เช่น องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา มีสมาชิกสภา มีที่ตั้งสำนักงาน(รัฐสภา) มีผู้ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐสภา องค์กรฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, และสำนักงานที่ตั้ง (บ้านพิษณุโลก) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั้งหมด องค์กรฝ่ายตุลาการ คือ ผู้พิพากษา, ตุลาการ, ที่ตั้งคือ ศาลแต่ละแห่ง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีองค์กรใดบ้าง การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งมีขั้นตอนกำหนดไว้

4 ที่มาของสถาบันทางการเมือง
การเข้าสู่ตำแหน่งของแต่ละสถาบันมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 1. รัฐสภามาจากการเลือกตั้ง/การแต่งตั้ง(สภาสูง) 2. นายกรัฐมนตรีมาจาก ผู้นำเสียงข้างมาในสภา/มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 3. ผู้พิพากษา/ตุลาการมาจากการสอบคัดเลือก/การเสนอชื่อโดยประมุขฝ่ายบริหารและผ่านการรับรองจากสภา (การมีส่วนแต่งตั้งจากประชาชน/การแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง?) 4. องค์กรอิสระมีกระบวนการสรรหา กับความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

5 องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
บริหาร นิติบัญญัติ K ตุลาการ องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

6 ในฝ่ายนิติบัญญัติมี 2 สภา
ซึ่งมีความเท่าเทียมกัน หลักการสำคัญ – ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เป็นผู้ที่มีฐานะสูงที่สุดในระบอบประชาธิปไตย ผล หากจะมีการถอดถอนผู้มาจากการเลือกตั้ง ผู้มีอำนาจถอดถอนได้ ต้องมาจากการเลือกตั้งด้วย ดังนั้น สภาผู้แทนฯ จึงควรเป็นสภาที่มีศักดิ์และสิทธิ์ ไม่อยู่ภายใต้วุฒิสภา ข้อโต้แย้ง หากถือว่าวุฒิสภาเป็นสภาอาวุโส จากผู้มีประสบการณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบ กลั่นกรอง ก็อาจถือว่าเป็นสภาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าสภาผู้แทนฯ

7

8 ฝ่ายบริหารตามที่กำหนในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกฯและรัฐมนตรี
ในทางทฤษฎี ฝ่ายบริหาร (Executive Organ) ประกอบด้วย 2 ส่วน 1. ฝ่ายรัฐบาล Government เป็นฝ่ายนโยบาย (ฝ่ายการเมือง) 2. ฝ่ายปกครอง Administration เป็นฝ่ายปฏิบัติการ รัฐมนตรีมี 2 ฐานะ คือเป็นฝ่ายรัฐบาล และเป็นฝ่ายปกครอง ในฐานะหัวหน้าสูงสุดผู้บังคับบัญชาแต่ละกระทรวง นอกจากนี้ ในส่วนราชการ แบ่งเป็น ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค (จังหวัด, อำเภอ, ตำบล, หมู่บ้าน) และส่วนท้องถิ่น (อบจ., เทศบาล, อบต., กรุงเทพ/เมืองพัทยา) รวมถึงองค์กรภาครัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ (พิจารณาจากบุคลากร งบประมาณ สถานะทางกฎหมาย)

9

10 ฝ่ายตุลาการแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1. ศาลทหาร 2. ศาลยุติธรรม มี 3 ชั้น คือ ชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา 3. ศาลปกครอง มี 2 ชั้น คือชั้นต้น และสูงสุด (ระบบศาลคู่) 4. ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลของคำพิพากษาผูกพันทุกองค์กร (รัฐสภา รัฐบาล และศาล) ดังนั้น จึงควรอยู่เหนือทุกฝ่าย หลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา จึงมีระบบการเลื่อนขั้นแบบอัตโนมัติ (เว้นแต่จะปรากฏว่ามีความประพฤติชั่ว) การตรวจสอบการทำหน้าที่ – การตัดสินพิพากษา จึงทำได้โดยการกลั่นกรองโดยศาลชั้นสูงขึ้นไป คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องมีความเด็ดขาดและสูงสุด จึงมีศาลเดียว และไม่อาจฎีกาได้ แต่ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ต้องมีการให้เหตุผลทางกฎหมายที่ “รับได้” ปัญหาอยู่ที่ความชอบธรรมและมีเหตุผลทางกฎหมาย กับองค์ประกอบและที่มาของศาล อำนาจอภัยโทษ เป็นอำนาจของประมุขของรัฐที่ใช้ผ่านฝ่ายบริหาร ตามหลักการคานและดุลอำนาจ (ต่างกับนิรโทษกรรม)

11

12 คุณสมบัติ การกำหนดคุณสมบัติขององค์กรต่างๆ
1. การมีพื้นฐานจากประชาชนและความเป็นพลเมืองและการได้รับความไว้วางใจ 2. ความประพฤติ ความรู้ความสามารถ 3. ผลประโยชน์ทับซ้อน 4. ความชอบด้วยกฎหมาย

13 อำนาจหน้าที่ ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่
1. ควบคุมการบริหารงาน เรียกว่า การกระทำทางรัฐสภา 2. ออกกฎหมาย เรียกว่า การกระทำทางนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่ 1. บริหารประเทศตามนโยบายที่วางไว้ เรียกว่าการกระทำของรัฐบาล 2. ใช้บังคับกฎหมาย/ปฏิบัติการ เรียกว่าการกระทำของฝ่ายปกครอง ฝ่ายตุลาการ มีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทตามกฎหมาย เรียกว่าการกระทำทางตุลาการ การกระทำทางตุลาการโดยฝ่ายอื่น เรียกว่าการกระทำกึ่งตุลาการ quasi-judicial การกำหนดว่า “คำวินิจฉัยนั้นให้ถือเป็นที่สุด” หมายความว่า เมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย

14 ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน - การควบคุมตรวจสอบ
การกระทำแต่ละประเภทต้องใช้การตรวจสอบต่างกัน ได้แก่ 1. การกระทำทางรัฐสภา ใช้การตรวจสอบทางการเมือง เช่นการคานอำนาจโดยการยุบสภา การเลือกตั้ง 2. การกระทำทางนิติบัญญัติ ใช้การควบคุมการออกกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ อันจะทำให้กฎหมายนั้นสิ้นผลไป 3. การกระทำของรัฐบาล ใช้การตรวจสอบโดยทางการเมือง เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การเลือกตั้งโดยพิจารณาจากนโยบายของพรรค (ถือเป็นการควบคุมความเหมาะสมของการกระทำ ซึ่งจะไม่มีการคุมความชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาลจะต้องเสนอกฎหมายมารองรับการกระทำของตนเองอยู่แล้ว)

15 4. การกระทำของฝ่ายปกครอง ควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลปกครอง ควบคุมความเหมาะสมด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา (เมื่อประชาชนได้รับความเสียหายอย่างไม่เป็นธรรมจากการกระทำของรัฐ) 5. การกระทำทางตุลาการ ควบคุมโดยการกลั่นกรองจากลำดับศาลชั้นสูงขึ้นไป หากเป็นกรณีการทุจริต ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการร้องเรียนตัวผู้พิพากษาได้

16 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในรัฐธรรมนูญ
1. การสร้างองค์กรตรวจสอบ ได้แก่ ให้อำนาจวุฒิสภาเป็นสภาตรวจสอบ กกต. ปปช. สตง. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา คสช. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม 2. การสร้างระบบและวิธีการตรวจสอบ การแสดงบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน การตรวจสอบการทุจริต การตรวจสอบระบบการเงิน การถอดถอน

17 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มุ่งไปที่กฎหมายเกี่ยวกับฝ่ายปกครอง
ใน 3 เรื่องหลักๆ คือ การจัดโครงสร้างของฝ่ายปกครอง (มีการแบ่งเป็นราชการ ส่วนกลาง – กระทรวง ทบวงกรม, ส่วนภูมิภาค – จังหวัด อำเภอ ตำบล, ส่วนท้องถิ่น – อบจ. เทศบาล อบต. กรุงเทพ และเมืองพัทยา การใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง – การให้บริการสาธารณะ การควบคุมฝ่ายปกครอง – คุมความชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลปกครอง


ดาวน์โหลด ppt หลักการแบ่งแยกอำนาจ และสถาบันทางการเมือง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google