การดูแลผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดูแลผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การดูแลผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยุพา บุญจันทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

2 สมองเสื่อม ทำไมจึงต้องสนใจ
โรคทันสมัย พบมากขึ้นเรื่อย มียาพอจะช่วยได้บ้าง เป็นภาระต่อครอบครัวและประเทศชาติ

3 อุบัติการณ์ สมองเสื่อม
5% ในประชากร > 65 ปี 20% ในประชากร > 80 ปี

4 สมองเสื่อม พบมากแค่ไหน
อายุ (ปี) เปอร์เซ็นต์ พบผู้ป่วย1 คนในปชช 60 -64 1 100 65-69 2 50 70-74 4 25 75-79 8 13 80-84 16 6 85+ 32 3

5 ปู่นี่แหละผู้สูงอายุตัวจริง

6 สมองเสื่อมคืออะไร คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป

7 555ล้อเล่นใช่ปล่าว เธอๆๆชื่ออะไรอ่ะ

8 หลงลืมกับขี้ลืมต่างกันอย่างไร
หลงลืม มีความเสื่อมของสมองทำให้ความรอบรู้เปลี่ยนแปลงไป ( ความรอบรู้ประกอบด้วย การรับรู้ ความจำ ความคิด เหตุผล จินตนาการ การตัดสินใจของเดิมดีอยู่แล้วเลวลง) ขี้ลืม มีความผิดปกติเรื่องความจำเท่านั้น คือจำไม่ค่อยได้ ส่วนความสามารถอื่นของสมองปกติ

9 ลักษณะการลืม ขี้ลืม หลงลืม - ไม่ทราบว่าเอากุญแจ - จำไม่ได้เลยว่าหยิบกุญแจ ไปวางไว้ไหน - เอ! เราล็อคประตูบ้าน - เอ! เราจะเปิดประตู หรือยังนะ ยังงัย - เราจ่ายค่าอะไรไป นี่เงินใคร อยู่ในกระเป๋าเรา ทำไมเหลือเงินแค่นี้

10 สาเหตุของสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ ( Dementia of AlzheimerType ) ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์สมองและไม่สามารถรักษาให้หายได้ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะสมองเสื่อม พบราวร้อยละ 50-60

11 สาเหตุของสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมซึ่งเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง ( Vascular Dementia ) ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดตีบหรืออุดตันหรือแตก อาการสมองเสื่อมจะเกิดตามหลังจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง พบราวร้อยละ 20 ของผู้ป่วย

12 สาเหตุของสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมซึ่งเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจไม่พบบ่อย พบราวร้อยละ 10 แต่มีความสำคัญเพราะถ้าวินิจฉัยได้เร็วอาจทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น เช่น การกินยาที่มีผลต่อการทำงานของสมอง โรคซึมเศร้า การดื่มสุรา

13 ความแตกต่างของภาวะสมองเสื่อม
โรคอัลไซเมอร์กับโรคหลอดเลือดสมอง คือเนื้อสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะตายทั่วไปพร้อมๆกันจึงทำให้ความสามารถของผู้ป่วยลดลงทุกๆด้าน แต่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เนื้อสมองจะตายเฉพาะส่วนจึงพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นทันทีทันใดและเป็นความผิดปกติเฉพาะด้าน เช่น ขับรถชน มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงแต่ความจำยังดี

14 การวินิจฉัยแยกโรค/ภาวะอื่นออกจากภาวะสมองเสื่อม
ภาวะหลงลืมตามอายุ ภาวะนี้เกิดกับผู้สูงอายุบางรายมีอาการหลงลืมอย่างเดียว ซึ่งมักเป็นเรื่องไม่สำคัญ อาการไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ไม่สูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน ต่างจากสมองเสื่อมตรงที่ ประวัติความเจ็บป่วยสั้น อาการเกิดขึ้นรวดเร็ว มักสับสนเรื่องเวลา สถานที่ ความคิดไม่ปะติดปะต่อ

15 การวินิจฉัยแยกโรค/ภาวะอื่นออกจากภาวะสมองเสื่อม
โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการคล้ายสมองเสื่อมได้แต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักเป็นคนมาบอกแพทย์ว่าความจำไม่ดี ประวัติค่อนข้างสั้น บางรายอาจมีประวัติโรคซึมเศร้า เมื่อตรวจสภาพสมองจะไม่ค่อยตั้งใจทำเต็มที่และผลอาจไม่แตกต่างกันในการตรวจแต่ละครั้ง

16 ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม
-โรคหลอดเลือดสมอง - โรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคซึมเศร้า - การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา - กรรมพันธุ์ คนที่พ่อหรือแม่มีภาวะนี้มีโอกาสเกิดมากกว่าคนที่พ่อแม่ปกติถึง 3 เท่า ถ้าทั้งพ่อและแม่มีภาวะนี้มีโอกาสเกิดมากกว่าพ่อและแม่ปกติถึง 5 เท่า

17 อาการและอาการแสดง 1. บกพร่องด้านความจำสิ่งใหม่ ทำให้พูดทบทวนเรื่องเก่า ถามซ้ำๆ รับประทานอาหารแล้วบอกว่ายังไม่ได้รับประทาน 2. บกพร่องด้านการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ขาดสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ คิดเลขไม่ได้

18 อาการและอาการแสดง 3. บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนเช่น ไม่สามารถทำอาหารได้ ไม่สามารถต่อโทรศัพท์ได้ทั้งที่เคยทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ 4. บกพร่องในการตัดสินใจแก้ปัญหา เช่น นั่งมองฝนสาดเข้าบ้านเฉยๆเพราะไม่รู้จะแก้ปัญหานี้อย่างไร

19 อาการและอาการแสดง 5. หลงทาง เช่นเดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูก 6. บกพร่องในการใช้ภาษา ได้แก่ พูดไม่เป็นประโยค พูดตะกุกตะกัก พูดเพี้ยนเช่น เรียกแปรงสีฟันเป็นปากกา เรียกรีโมทเป็นโทรศัพท์

20 อาการและอาการแสดง 7. บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ไขกุญแจบ้านไม่ได้ เดินขาลาก โทรศัพท์ไม่เป็น เดินช้าลง เปิดทีวีไม่เป็น 8. มีการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองบกพร่อง เช่น ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งตัว กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระ ไม่อยู่

21 การตรวจวินิจฉัยสมองเสื่อม
ซักประวัติ - ระยะเวลาที่มีอาการ ช้า เร็ว - ลักษณะการลืม - อาการร่วมอื่นๆ - ลักษณะการดำเนินชีวิต การบาดเจ็บทางสมอง - ลักษณะอาหารการกิน ยา - โรคประจำตัว อัมพาต อัมพฤกษ์ - ประวัติการบาดเจ็บที่ศีรษะ

22 แบบประเมินภาวะสมองเสื่อมMMSE-Thai

23 ทำอย่างไรจะยิ้มสดใสเมื่อ ต้องอยู่กับคนสมองเสื่อม

24 อยู่กับสมองเสื่อม ทำไมเครียด
- ถามซ้ำ พูดซ้ำๆ รำคาญที่สุด - เอาแต่ใจตนเอง ไม่รู้จักรอ จะเอาไรก็จะเอาให้ได้อย่างใจ - ไม่มีเหตุผล พูดไม่รู้เรื่องเลย - ทำตัวแปลกๆ - หวาดระแวง ชี้แจงก็ไม่ฟัง

25 อยู่กับสมองเสื่อม ทำไมเครียด
- อาการไม่แน่นอน บางวันดีบางวันร้าย - ไม่รับฟังคนอื่น ไม่เปลี่ยนความคิด สุดท้าย ญาติเบื่อหน่าย ขัดแย้งกัน ตอบโต้ทางวาจา บางทีใช้กำลัง จนหมดรักในที่สุด

26 หลักในการดูแลผู้ป่วย
ภาวะสมองเสื่อม 1. ให้คำแนะนำผู้ดูแลและครอบครัวของผู้ป่วยเพื่อให้ความเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อม จะทำให้สามารถหาวิธีในการดูแลกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 2. ทำความเข้าใจกับผู้ป่วย จะใช้ได้ในกรณีผู้ป่วยยังหลงลืมไม่มาก

27 หลักในการดูแลผู้ป่วย
ภาวะสมองเสื่อม 3. แก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่มีปัญหามากที่สุดก่อน 4. ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ 5. ใช้สัญชาติญาณและจินตนาการให้มาก อย่าไปยึดติดความถูกต้องทั้งหมด เช่นถ้าผู้ป่วยยืนยันจะสวมหมวกเวลานอนนับว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย

28 หลักในการดูแลผู้ป่วย
ภาวะสมองเสื่อม 6. พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส มีอารมณ์สดชื่น สนุกสนาน ถ้าผู้ดูแลอารมณ์ดีจะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วย7. พยายามจัดรูปแบบการดูแลที่สม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เช่น การรับประทานอาหาร การเข้านอน อาบน้ำ เวลาค่อนข้างคงที่

29 หลักในการดูแลผู้ป่วย
ภาวะสมองเสื่อม 8. พยายามพูด สื่อสารกับผู้ป่วย อธิบายสั้นๆว่ากำลังทำอะไร เป็นขั้นๆทีละขั้นตอน เช่น การอาบน้ำ 9. หลีกเลี่ยงการพูดถึงผู้ป่วยกับคนอื่นต่อหน้าผู้ป่วย โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วย

30 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา ชอบค้นของ การแก้ไข - ใส่กุญแจลิ้นชักหรือตู้ที่ใส่ของมีค่าหรือเป็นอันตราย - ใส่สิ่งของที่ผู้ป่วยอาจจะสนใจในลิ้นชักบนๆหรือในที่ๆผู้ป่วยอาจจะค้นก่อน

31 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา ชอบสะสมของ การแก้ไข - พยายามเก็บของให้เป็นที่เป็นทาง - เก็บของมีค่าไว้ในที่ที่ปลอดภัย - ทำสิ่งต่างที่ชิ้นเล็กๆให้มองหาง่ายยิ่งขึ้น เช่นใส่พวงกุญแจ

32 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา หยิบฉวยสิ่งของ การแก้ไข - วันไปซื้อของนอกบ้านอาจเลือกชุดที่ไม่มีกระเป๋า - ให้ผู้ป่วยถืออะไรบางอย่างที่ทำให้มือไม่ว่างเช่น ถือของเบาๆ หรือเข็นรถเข็น - ก่อนชำระเงินตรวจสอบทุกครั้งว่าผู้ป่วยไม่ได้หยิบอะไรมา

33 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา การรับประทานอาหารแล้วรับประทานอีกการแก้ไข - ใส่อาหารที่ให้ผู้ป่วยกัดรับประทานทีละเล็กละน้อย เช่น ขนมปังกรอบ แตงกวา

34 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา การแต่งตัว ไม่รู้ว่าเสื้อผ้าใส่อย่างไร การแก้ไข - เตรียมเรียงลำดับเสื้อผ้าไว้ให้คงที่เสมอ เลือกแบบเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย

35 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา อาการหูแว่วหรือเห็นภาพหลอน การแก้ไข - ควรได้รับการตรวจการมองเห็นและการได้ยิน - ถ้าผู้ป่วยไม่เคยเป็นมาก่อนอาจต้องพาพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ อาจเป็นผลจากยาเช่น ยาลดน้ำมูก - พยายามไม่ปฏิเสธผู้ป่วยถึงภาพหลอนหรือหูแว่วเพราะอาจทำให้หงุดหงิด อารมณ์เสีย

36 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา เดินหลงออกจากบ้าน การแก้ไข - เขียนข้อมูลในการติดต่อกลับลงบนเสื้อผ้า/สร้อย - บ้านควรมีรั้วขอบชิด - อาจบอกเพื่อนบ้านให้เป็นหูเป็นตา - เอาสิ่งที่จะกระตุ้นการออกนอกบ้านออกห่างจากสายตาเช่น กุญแจ รองเท้าเป็นต้น

37 การดูแลปัญหาพฤติกรรมของ ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่พบบ่อย
ปัญหา หยิบฉวยสิ่งของ การแก้ไข - วันไปซื้อของนอกบ้านอาจเลือกชุดที่ไม่มีกระเป๋า - ให้ผู้ป่วยถืออะไรบางอย่างที่ทำให้มือไม่ว่างเช่น ถือของเบาๆ หรือเข็นรถเข็น - ก่อนชำระเงินตรวจสอบทุกครั้งว่าผู้ป่วยไม่ได้หยิบอะไรมา

38 เคล็ดลับการป้องกันสมองเสื่อม
การพัฒนาศักยภาพสมองแบ่งเป็นสองส่วน 1. ฝึกเพื่อจำ ตั้งใจจำ พูดออกมาดังๆว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละวัน มีสติเสมอ 2. ฝึกเพื่อลดสนิมสมอง เช่น การฝึกคิดเลข เกมส์ต่างๆ การทำนิวโรบิคเอ็กเซอร์ไซด์

39 เหลือง เขียว เหลือง แดง ฟ้า แดง เขียว ดำ
การฝึกระบุสีของตัวอักษร ให้บอกชื่อของสีดังๆให้เร็วที่สุดที่จะทำได้ไม่ใช่อ่านตามตัวอักษรแต่เป็นการระบุสีของตัวอักษรที่พิมพ์ไว้ เขียว ฟ้า แดง เหลือง ฟ้า ดำ เหลือง แดง เหลือง เขียว เหลือง แดง ฟ้า แดง เขียว ดำ

40 การฝึกคิดเลข 9+13= – 6= 8-2= = 6+8 = = 10-4= =

41 การฝึกจำคำศัพท์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเวลา 2 นาที
ยางลบ บันได ไม้กวาด ประตูบ้าน แชมพู ผ้าห่ม โทรศัพท์ กระดาษ หลอดไฟ แว่นตา ผ้าห่ม หมอน ผ้าม่าน กล้วย เสื้อแขนยาว กะละมัง

42 เคล็ดลับการป้องกันสมองเสื่อม
ท่าการบริหารสมอง สมอง

43 รูปแบบการดำเนินคลินิกความทรงจำ
ขั้นตอนการดูแลสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ.doc

44 รูปแบบการดำเนินคลินิกความทรงจำ
ระบบเครือข่ายส่งต่อจากคลินิกความทรงจำ.doc

45 คุณภาพในการดูแลผู้ป่วยขึ้นอยู่กับความรักใคร่และจิตใจที่ดีของผู้ดูแลร่วมกับความรู้ความเข้าใจ

46 สู้ สู้ๆๆๆๆจร้า

47 ขอบคุณคะ


ดาวน์โหลด ppt การดูแลผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google