ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงสร้าง ภาษาซี
2
ขั้นตอนการแปลงภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาเครื่อง
โปรแกรมภาษา ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษาระดับต่ำหรือระดับสูง จะต้องเปลี่ยนภาษานั้นให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ โปรแกรมต้นฉบับ (Source Program) โปรแกรมที่เครื่องทำงานได้ (Executable Program) การเขียนโปรแกรมด้วยแอสเซมบลี (ภาษาระดับต่ำ) เป็นภาษาเครื่อง ขั้นตอนการแปลงภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาเครื่อง
3
ขั้นตอนการแปลภาษาโปรแกรม
โปรแกรมภาษา การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงเป็นภาษาเครื่อง อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์ (Compiler) ขั้นตอนการแปลภาษาโปรแกรม
4
ขั้นตอนพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามเราต้องการ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ว่าจะให้โปรแกรมทำอะไร มีข้อมูลอะไร และต้องการอะไรจากโปรแกรม รวมทั้งรูปแบบการแสดงผลด้วย โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม ดังนี้ การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา การพัฒนาอัลกอริทึม การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม เขียนเอกสารและบำรุงรักษาโปรแกรม
5
ประวัติภาษาซี ภาษาซีพัฒนาขึ้นมาในปี 1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Telephone Laboratories, Inc. (ปัจจุบันคือ AT&T Bell Laboratories) ต้นกำเนิดมาจากภาษา 2 ภาษา คือ ภาษา BCPL และ ภาษา B ในกลางปี 1980 ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่ได้รับความนิยม
6
คุณสมบัติของภาษาซี ภาษาที่เป็นโครงสร้าง เข้าใจง่าย มีความยืดหยุ่น
มีส่วนขยายเป็นคำหลัก (keyword) ในภาษาอังกฤษ เช่น if, else, for, do และ while ที่มีความใกล้เคียงกับ ภาษามนุษย์ สามารถใช้กับงานด้านโปรแกรมระบบ (system programming) เช่น เขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือใช้กับงานทั่ว ๆ ไป สามารถย้ายไปทำงานในเครื่องอื่นได้
7
โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี
1. ส่วนหัวของโปรแกรม (Header file) #include <stdio.h> เป็นส่วนหัวหรือส่วนที่เรียกโมดูลอื่นๆ เข้ามาทำงานร่วม โดยโมดูลเหล่านี้จะบรรจุคำสั่งหรือข้อกำหนดต่างๆ ที่จะใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น โมดูล <stdio.h> ถ้าไม่มีโมดูลนี้ไม่สามารถใช้งานคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลได้
8
การใช้ #include #include <ชื่อไฟล์> หรือ #include “ชื่อไฟล์”
ตัวอย่าง #include <stdio.h> (เป็นการเรียกใช้ไฟล์ stdio.h เข้ามาในโปรแกรมหากไม่มีไฟล์นี้ไม่สามารถเรียกใช้งานคำสั่ง printf ได้ )
9
โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี
2. ส่วนของคำสั่งหลัก (Main function) main() { statements; } ส่วนนี้ทุกโปรแกรมจะต้องมี ซึ่งภายในฟังก์ชันหลักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงาน ฟังก์ชันนี้เริ่มต้นการทำงานด้วยฟังก์ชัน main() ส่วนคำสั่งต่างๆ จะต้องเขียนอยู่ระหว่างเครื่องหมาย { และ } เสมอ และคำสั่ง ทุกคำสั่งในภาษาซีจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; (semicolon) เสมอ
10
ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม (Main Function)
ตัวอย่าง #include<stdio.h> main() { printf(“Hello, Good morning.\n”); } ผลการทำงาน Hello, Good morning.
11
printf(“control หรือ format string”, variable list );
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลออกทางจอภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ printf(“control หรือ format string”, variable list ); control หรือ format string เป็นส่วนที่ใส่ข้อความที่จะแสดงผล และส่วนควบคุมลักษณะการแสดงผล รวมทั้งบอกตำแหน่งที่ตัวแปรจะแสดงผล variable list เป็นตัวแปรที่ต้องการจะแสดงผล ในกรณีที่ต้องการแสดงข้อความ ไม่จำเป็นต้องมีส่วนนี้
12
ตัวอย่างโปรแกรมภาษาซี
14
อธิบายโปรแกรม บรรทัดที่ 1: เป็นส่วนที่เป็นหมายเหตุแบบบรรทัดเดียวของโปรแกรม เพื่อให้ทราบชื่อโปรแกรมว่า MyFirstProgram.c บรรทัดที่ 3: เป็นการบอกให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ stdio.h เข้ามา ร่วมในการแปลผลด้วย โดย stdio ย่อมาจาก standard input/output และ .h คือ นามสกุลของเฮดเดอร์ไฟล์ในภาษาซี (h ย่อมาจาก header) บรรทัดที่ 5: คือฟังก์ชัน main() ซึ่งเป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม การทำงานของโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มต้นที่ฟังก์ชันนี้ บรรทัดที่ 6: เครื่องหมาย { ระบุจุดเริ่มต้นของฟังก์ชัน main() บรรทัดที่ 7: เป็นคำสั่งให้เคลียร์หน้าจอเวลาแสดงผลลัพธ์ บรรทัดที่ 8: เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชัน printf() ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานของภาษาซีทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ ในที่นี้จะแสดงข้อความ Hello World ! ออกทางจอภาพ บรรทัดที่ 9: เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชัน getch() ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานของภาษาซีทำหน้าที่รับตัวอักษรใด เพื่อออกจากหน้าจอปัจจุบัน บรรทัดที่ 10: เครื่องหมาย } ระบุจุดสิ้นสุดของฟังก์ชัน main()
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.