งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Post-Structuralism or Nothing

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Post-Structuralism or Nothing"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Post-Structuralism or Nothing

2 มนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม Human Social and Environment
สม. 102 : 3 (3-0-6)   ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

3 ประวัติผู้บรรยาย ดร. จิตรกร โพธิ์งาม
ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การศึกษา ปริญญาตรี ศศ.บ. (การพัฒนาชุมชน) ปริญญาโท ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา) ปริญญาเอก Ph.D. Tai Studies (Interdisciplinary) ผลงานวิจัย ตีพิมพ์ 6 เรื่อง ผลงานตำรา ตีพิมพ์ 8 เล่ม บทความ ตีพิมพ์ในวารสารภายในประเทศ 20 เรื่อง ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ 1 เรื่อง (ยูเครน รัสเซีย) ศึกษาดูงาน สหรัฐอเมริกา พม่า ลาว จีน เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย บาหลี บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฝรั่งเศส และสวิสเซอร์แลนด์ ปัจจุบัน กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

4

5 ประเด็นบรรยาย บทที่ 1 มนุษย์และประชากร บทที่ 2 สังคมและวัฒนธรรมไทย
บทที่ 3 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บทที่ 4 เศรษฐกิจไทย บทที่ 5 การเมืองและการปกครองไทย บทที่ 6 มนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน

6

7 บทที่ 1 มนุษย์และประชากร
1.1 มนุษย์ - วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต - ความเป็นมาของมนุษย์ - องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ - ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์ - ความเชื่อ ค่านิยม คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.2 ประชากร - ความหมายของประชากร - ประชากรกับกลไกควบคุมทางธรรมชาติ - การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรและการประมาณการแนวโน้มประชากร - ผลกระทบจากการเพิ่มปริมาณกละการเคลื่อนย้ายของประชากร

8 บทที่ 2 สังคมและวัฒนธรรมไทย
2.1 ระบบสังคม - ระบบโครงสร้างของสังคม - องค์ประกอบของระบบสังคม - ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ - พัฒนาการของสังคมไทย 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม - ลักษณะและประเภทของวัฒนธรรม - องค์ประกอบของวัฒนธรรมและการถ่ายทอดวัฒนธรรม - วิถีชีวิตไทยในสังคมทุนนิยมบริโภคนิยม 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและวัฒนธรรม 2.4 วิกฤติการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมไทยและแนวทางแก้ไข

9 บทที่ 3 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
3.1 สิ่งแวดล้อม - ความหมายของสิ่งแวดล้อม - สัจนิยม 4 ประการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3.2 มลพิษสิ่งแวดล้อม - ความหมายของมลพิษสิ่งแวดล้อม - ชนิดและปัญหาของมลพิษสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศ มลพิษจากสารเคมี มลพิษทางน้ำ 3.3 ระบบนิเวศวิทยา - ความหมายของระบบนิเวศวิทยา - องค์ประกอบของระบบนิเวศ - การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ - ปัจจัยเกื้อหนุนระบบนิเวศ - การหมุนเวียนของสสารในระบบนิเวศ การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

10 3.4 ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ
- ขอบเขตความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ - ความสำคัญและประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ - สาเหตุความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ - วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3.5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม - สถานการณ์ของมนุษย์ปัจจุบันในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง - ผลกระทบการใช้พลังงานต่อสิ่งแวดล้อม - แนวทางการแก้ปัญหาพลังงานและปัญหาสิ่งแวดล้อม

11 บทที่ 4 เศรษฐกิจไทย 4.1 ลักษณะและโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย
- ระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ - ความสำคัญของภาคการเกษตร - บทบาทของภาคอุตสาหกรรม - ระบบเศรษฐกิจแบบผสม - เศรษฐกิจพอเพียง 4.2 ลักษณะและปัญหาเศรษฐกิจไทย - การเงิน การคลัง และภารกิจระหว่างประเทศ - เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ - ความยากจนและการกระจายรายได้ - ข้อจำกัดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4.3 ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่อระบบสุขภาพ

12 บทที่ 5 การเมืองและการปกครองไทย
5.1 รูปแบบและระบบการเมืองการปกครอง 5.2 วิวัฒนาการการเมืองการปกครอง 5.3 การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย 5.4 ปัญหาอุปสรรคในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 5.5 การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท 5.6 การปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนาระบบประชาธิปไตย 5.7 มติมหาชน 5.8 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 5.9 การเป็นพลเมืองที่ดี

13 บทที่ 6 มนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม กับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.1 คุณภาพชีวิต - ความหมายของคุณภาพชีวิต - ปัจจัยและดัชนีกำหนดคุณภาพชีวิต 6.2 การพัฒนาที่ยั่งยืน - ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน - แนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 6.3 มนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม กับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน - ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่มีผลต่อการพัฒนา - คุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน 6.4 บทบาทของผู้ปฏิบัติหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมโลกาภิวัตน์

14

15 บทที่ มนุษย์

16 ความเป็นมาของมนุษย์ คำสอนของศาสนาคริสต์ กล่าวว่า มนุษย์สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษคู่แรกของโลก ชื่อ อาดัม และอีวา นักบวชชื่อ เซนต์ ออกัสติน (ค.ศ ) คาดคะเนว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์คู่นี้เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตศักราช ในคำสอนของพุทธศาสนา ไม่ระบุถึงกำเนิดโลกและจักรวาล มีเพียงร่องรอยปรากฏในพระคัมภีร์เป็นบาลีบทหนึ่งว่า “ปฐมัง กลลัง โหติ” แปลว่า ในเบื้องแรกของโลกนั้นมีแต่สัตว์เซลเดียว

17 ต่อมานักชีววิทยาชาวสวีเดนชื่อ Carl Von Linne (มีวิตอยู่ระหว่างปี ค. ศ
ต่อมานักชีววิทยาชาวสวีเดนชื่อ Carl Von Linne (มีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ ) และเป็นที่รู้จักกันดีในนามภาษาละตินว่า ลินเนียส (Linneaus) ได้จัดระบบสิ่งมีชีวิตไว้ในหนังสือของเขาชื่อ Systema naturae (System of Nature) และเป็นบุคคลแรกที่จัดกลุ่ม Homo Sapiens ไว้ในกลุ่มเดียวกับลิงและวานรอื่น ๆ เขาเรียกกลุ่มสัตว์เหล่านี้ว่า “ไพรเมตส์” (primates) แนวคิดของ ลินเนียส เห็นว่า แม้คนและวานรจะมีลักษณะทางสรีระคล้ายกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน หมายความว่า วานรชนิดต่าง ๆ อาจมีการแตกสาขาพิเศษและหยุดการวิวัฒนาการเพียงแค่นั้น นักธรรมชาติวิทยาในสมัยศตวรรษที่ 18 หลายท่าน ต่างก็เสนอความคิดเห็นในลักษณะเดียวกัน อาทิ ยอร์จ บัฟฟอน (Gorges Buffon, ) จีน ลัมมาร์ค (Jean lamarck, ) และ เอรัสมัส ดาร์วิน (Erasmus Darwin, ) ซึ่งคนหลังสุดนี้เป็นปู่ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

18 ในปี ค.ศ.1859 ชาร์ลส์ ดาร์วิน เขียนหนังสือชื่อ 0n the Origin of Species by Means of Natural Selection ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักฐานการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและแนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสรรตามธรรมชาติ และต่อมาเขาได้เขียนหนังสือชื่อ The Decent of Man ซึ่งกล่าวถึงวิวัฒนาการของมนุษยชาติอย่างละเอียด หนังสือเล่มนี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่ง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เจริญขึ้นมาตามลำดับ มีการค้นพบหลักฐานอวัยวะต่าง ๆ (fossil) และพัฒนาวิธีการทำนายอายุอวัยวะเหล่านั้นตลอดจนมีการทำนายอายุของโลก และรูปแบบของการวิวัฒนาการของพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ข้อค้นพบเหล่านี้ได้ทำให้คำกล่าวของนักบวชชื่อ เซนต์ ออกัสติน มีผู้เชื่อถือน้อยลง

19 วิวัฒนาการของมนุษยชาติ
นักมานุษยวิทยาอธิบายว่า มนุษยชาติมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ดังนี้ 1. มนุษย์มีบรรพบุรุษที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งชื่อ ลิงเอป (Apes) หรือ ลิงคน ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 25 ล้านปีมาแล้ว 2. มนุษย์มีบรรพบุรุษมาจาก รามาพิทิคุส (Ramapithecus) ค้นพบในประเทศอินเดียเมื่อปี ค.ศ.1939 และพบอีกในแอฟริกาและยุโรป สัตว์ชนิดนี้มีขากรรไกรและฟันใกล้เคียงกับมนุษย์มาก เชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ระหว่าง ล้านปีมาแล้ว 3. มนุษย์มีบรรพบุรุษมาจากลิงใหญ่ชื่อ ออสตราโลพิทิคุส (Astralopithecus) พบในแถบแทนซาเนียในแอฟริกาใต้ สามารถยืนตัวตรงคล้ายมนุษย์ คาดว่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2 ล้านปี – 5 แสนปี

20 4. มนุษย์มีบรรพบุรุษมาจาก โฮโม อีเรคตุส (Homo Erectus) มีลักษณะเป็นคนที่ยืนตัวตรง ซากของมนุษย์เผ่าพันธุ์นี้พบในแถบชวา และประเทศจีน จึงเรียกว่า มนุษย์ชวา และมนุษย์ปักกิ่ง คาดว่ามีอายุอยู่เมื่อประมาณ 1.7 ล้านปี – 1 แสนปีมาแล้ว มนุษย์โฮโม อีเรคตุส รู้จักทำเครื่องมือหิน และเริ่มใช้ไฟแล้ว 5. กลุ่มมนุษย์ นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthal Man) ค้นพบที่หุบเขานีแอนเดอร์ธัลในเยอรมันนี ต่อมาพบตามถ้ำหลายแห่งในยุโรป มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีรูปร่างใหญ่ เป็นนักล่าสัตว์และรู้จักใช้ไฟเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังค้นพบเครื่องมือต่าง ๆ ฝังรวมอยู่กับศพ สันนิษฐานว่ามนุษย์กลุ่มนี้รู้จักทำพิธีฝังศพและมีสำนึกทางสังคมและศาสนา เชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ราว 1.5 แสนปี – 40,000 ปีมาแล้ว 6. กลุ่มมนุษย์ โฮโม ซาเปียนส์ (Homo Sapiens) นักมานุษยวิทยาเชื่อว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลวิวัฒนาการมาเป็น โฮโม ซาเปียนส์ หรือมนุษย์ปัจจุบัน โฮโม ซาเปียนส์ชุดแรกสุดคือ มนุษย์โครมันยอง (Cromagnon) ค้นพบที่ประเทศฝรั่งเศส มีอายุอยู่ระหว่าง 4 – 2.5 หมื่นปี และเชื่อว่า โครมันยอง เป็นมนุษย์พวกแรกที่ออกมาจากถ้ำเพื่อสร้างบ้าน เริ่มทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเรียกว่า ยุคแห่งการปฏิวัติเกษตรกรรม โดยนับย้อนหลังไปประมาณ 20,000 ปี

21 เชื้อชาติเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการซึ่งจำแนกมนุษย์แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน เกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. เกิดจากการเลือกสรรทางธรรมชาติ 2. เกิดจากการผ่าเหล่า 3. เกิดจากการแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว 4. เกิดจากการเลือกสรรทางเพศ 5. เกิดจากการเลือกสรรทางสังคม 6. เกิดจากการผสมเป็นพันธุ์ใหม่

22 ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์
ทัศนะทางพุทธศาสนา เห็นว่า ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์มี 2 ด้าน คือ 1. ความต้องทางด้านร่างกายหรือวัตถุ คือ ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค 2. ความต้องการทางด้านจิตใจหรือนามธรรม ความต้องการของมนุษย์ในลักษณะนี้มีแทรกอยู่ในพระไตรปิฏก หมวดอริยสัจ 4 หมวดอิฏฐารมณ์ 4 และมีแทรกอยู่ในตอนท้ายของบทสสวดมนต์ของพระสงฆ์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกคือ ตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา กลุ่มที่สองคือ อิฏฐารมณ์ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ และ สุข กลุ่มที่สามคือ คำให้พรของพระสงฆ์ ได้แก่ อายุ วรรโณ สุขัง พลัง

23 ทัศนะของนักจิตวิทยา เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความต้องการอยู่ 2 ด้านด้วยกัน คือ
1. ความต้องการทางร่างกาย (Organic Needs) ประกอบด้วยความต้องการอาหาร น้ำ อากาศหายใจ การพักผ่อน การขับถ่าย ที่อยู่อาศัย ความต้องการทางเพศ เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค 2. ความต้องการทางจิตใจ (Psychological Needs) หรือความต้องการทางสังคมอันเป็นความต้องการขั้นสูงของมนุษย์ ประกอบด้วย ความต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ ความต้องการให้ผู้อื่นยกย่อง สรรเสริญ นับถือและชมเชย ตลอดจนความต้องการประสบความสำเร็จ

24 สภาพัฒนาการโพ้นทะเล ยูเนสโก สรุปเกณฑ์คุณภาพชีวิตไว้ดังนี้
1. อัตราการตายของเด็กทารก (in-font mortality Rate) จำนวน 1,000 คน ต่อหนึ่งปี ดัชนีชี้ให้เห็นถึงความสามารถของประชากรในการจัดสรรปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ 2. อายุขัยเฉลี่ย (life expectancy) ของประชากร 3. ระดับการศึกษาหรือการอ่านออกเขียนได้ของประชากร ในขณะที่ คณะกรรมการประเมินผลโครงการพัฒนาชนบท นิยามว่า ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชากร ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดเกณฑ์พิจารณาความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เพื่อถือเป็นเกณฑ์ประเมินคุณภาพของคนไทยในระดับพื้นฐาน ดังนี้

25 1. การกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะในปริมาณที่เพียงพอ
2. มีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 3. มีงานทำอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 4. ได้รับบริการพื้นฐานที่จำเป็น 5. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 6. มีผลผลิตที่เพียงพอ 7. มีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น 8. สามารถควบคุมช่วงเวลาในการมีบุตรและจำนวนบุตร 9. ประพฤติตามขนบธรรมเนียมประเพณี หลักธรรมทางศาสนา และรักษาส่งเสริมกิจกรรมวัฒนธรรม จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีผู้วางเกณฑ์ประเมินคุณภาพชีวิตไว้ต่างกัน อย่างไรก็ดีการกำหนดความต้องการของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับความเชื่อ ค่านิยม การให้คุณค่าและการให้ความหมายต่อชีวิตของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละช่วงด้วย

26 ความเชื่อ ค่านิยม และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ทุกสังคมจะมีระบบความเชื่อของตนเอง ความเชื่อเป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ ประชาชนในภาคอีสานมีความเชื่ออยู่ 2 ระบบคือ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ และความเชื่อในเรื่องโชคลาง 1. ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์ หมายถึง อำนาจลึกลับของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง น้ำมนต์ และเวทมนต์คาถา โดยปกติไสยศาสตร์มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ 1.1 เพื่อการผลิตหรือก่อให้เกิดผลผลิต เช่น ทำให้เกิดฝนตก ให้ได้กำไรจากการค้า ปลูกพืช 1.2 เพื่อป้องกัน เช่น ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ให้ปลอดภัยในการเดินทาง 1.3 เพื่อการทำลาย เช่น ทำให้ศัตรูถึงแก่ความตาย หรือพ่ายแพ้

27 ไสยศาสตร์ ประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ
1. มนต์หรือคาถาอาคม (the spell) คือ ข้อความอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประพันธ์ขึ้นสำหรับบริกรรม หรือสวดขับเพื่ออ้อนวอนสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ (Super-nature) มีผีสางเทวดา ฯลฯ 2. พิธี (Rite) การใช้เวทมนต์ต้องมีพิธีกรรม เช่น เสก เป่า สวดบริกรรม 3. เงื่อนไขของผู้ปฏิบัติ (Condition of Performance) เนื่องจากการใช้เวทมนต์ คาถา ต้องมีพิธีกรรม แต่ผลจะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัตินั้นด้วย เช่น ข้อห้าม หรือต้องละเว้นทานอาหารบางอย่าง 4. อุปกรณ์พิธี ในการประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ อุปกรณ์ในการทำพิธีถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นมาก เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องบูชา และที่ตั้งอุปกรณ์ 5. วันประกอบพิธี ขึ้นอยู่กับพิธีไสยศาสตร์ที่จะทำ ว่าสมควรจะทำในวันไหน เช่น วันเสาร์ห้า เป็นต้น

28 2. ความเชื่อเรื่องโชคลาง
โชคลาง หมายถึง เครื่องหมายที่ปรากฏให้เห็นอันบอกเหตุร้ายหรือดี สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมอีสานมีความยึดมั่นในเรื่องโชคลางจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติในสังคม เครื่องหมายโชคลางบอกร้ายหรือดี มีดังนี้ 2.1 นามธรรมของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ได้แก่ ชื่อคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ 2.2 รูปธรรมของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ได้แก่ รูปร่างลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ 2.3 ความฝัน ถือกันว่า “ความฝัน” เป็นการสะท้อนโชคลาง ในปัจจุบันความฝันมักได้รับการตีความหมายเกี่ยวกับการเสี่ยงโชคในเรื่องเลขท้ายล็อตเตอรี่ 2.4 ประสบการณ์ เช่น เห็นขบวนศพเป็น “โชคลาง” อย่างหนึ่ง 2.5 ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ถือเป็นโชคลางอย่างหนึ่ง 2.6 พิธีการ เช่น การปูที่นอนให้แก่คู่สมรส

29 ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิภาพ
สังคมชนบทที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล เวลาเจ็บป่วยบางรายไปพบแพทย์ บางรายรักษากับหมอยากลางบ้าน บางรายให้หมอแผนโบราณโดยวิธีการเสกเป่าคาถากับหมากพลู การรักษาแบบไสยศาสตร์จะมีข้อห้ามเกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิภาพ ดังนี้ การปฏิบัติของสตรีมีครรภ์ เช่น ห้ามรับประทานมะเขือพวง เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดพรายคืออาการนอนไม่หลับ มีจุดคล้ำตามตัว สตรีมีลูกอ่อนห้ามรับประทานของเผ็ด เปรี้ยวและมัน ห้ามใช้สบู่เหลวเวลาอาบน้ำ เพราะจะทำให้ผิดสำแดง ผู้เป็นมารดาให้อาบน้ำร้อน ถ้าอาบน้ำเย็นจะทำให้เลือดขึ้นสมอง ห้ามทำงานหนัก ให้เข้านอนแต่หัวค่ำ ให้ดื่มน้ำข้าวที่ได้จากการหุงข้าวโดยผสมเกลือเล็กน้อย ถ้าเด็กนอนสะดุ้งให้เอามือจับหัวเด็ก อาการสะดุ้งจะหาย เวลาเจ็บป่วยต้องเรียกขวัญ และเชื่อว่าน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพรักษาคนที่นอนกัดฟันให้หายได้

30 การฝังรกเด็ก ต้องฝังหรือเผาภายใน 3 วัน ควรฝังนอกบริเวณบ้าน โดยขุดหลุมเอาแกลบวางบนหลุม เอาไฟจุดข้างบน ถ้าไม่เผาเชื่อว่าจะทำให้เด็กมีอาการคันตามตัว ห้ามฝังในบริเวณเพราะจะทำให้เด็กเจ็บป่วยบ่อย การปลูกข้าว ห้ามปลูกข้าวเจ้าล้อมข้าวเหนียว หรือข้าวเหนียวล้อมข้าวเจ้า เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดภัยพิบัติ และเกิดการเจ็บป่วยภายในครอบครัว ข้อห้ามในการรับประทานอาหาร สำหรับคนปกติห้ามยืน เดิน นอนรับประทานอาหาร คนเกิดวันพฤหัสบดีห้ามรับประทานเนื้อควาย ของเผ็ด หรือภรรยาต้องให้สามีรับประทานอาหารก่อน 3 คำ แล้วจึงรับประทานตาม สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานหัวปลีและมะละกอ ห้ามรับประทานเสียงดัง ห้ามคุย เวลาเดินทางไกลห้ามรับประทานเนื้อสัตว์และขนมจีน ห้ามรับประทานผลเพการวมกับไข่เป็ดหรือไข่ไก่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เสียสุขภาพ

31 ข้อห้ามเกี่ยวกับการเดิน ห้ามเดินเสียงดัง ห้ามเดินบนที่สูง ห้ามเดินผ่านหน้าผู้ใหญ่ ห้ามเดินกระทืบเท้าเสียงดัง ห้ามสตรีอุ้มลูกบ่อยเด็กจะเคยตัว ห้ามสตรีเดินแกว่งแขน ห้ามเดินเหยียบขั้นบันไดเสียงดัง จะไม่มีใครขอแต่งงานเพราะถือเป็นเรื่องจัญไร ห้ามเดินลอดราวตากผ้า ห้ามเก็บของตก เวลาเดินทางไกลห้ามเดินข้ามไม้คานหาบน้ำ ห้ามเดินผิวปากตอนกลางคืน ห้ามเดินข้ามครกหรือสากตำข้าว ห้ามเดินเอาเท้าขูดพื้นจนเสียงดัง ห้ามเดินแรงจนได้ยินเสียงผ้าถุงดังพึบพับ ข้อห้ามเกี่ยวกับการนั่ง ห้ามนั่งค้ำศีรษะผู้ใหญ่ ห้ามนั่งชันเข่า ห้ามนั่งเอาก้นกระแทกพื้นเสียงดัง ห้ามนั่งบนเตาไฟ สตรีห้ามนั่งขัดสมาธิ ห้ามนั่งไขว่ห้าง ห้ามนั่งแกว่งขา สตรีห้ามนั่งยอง ๆ ห้ามนั่งบนครกตำข้าว ผู้ชายไม่เคยบวชห้ามนั่งสมาธิ ห้ามนั่งอุ้มลูกบนครกตำข้าว จะทำให้เด็กร้องไห้ไม่หยุด

32 ข้อห้ามเกี่ยวกับการนอน สตรีห้ามนอนหงาย ห้ามนอนคว่ำ ให้นอนตะแคง ห้ามนอนสลับหัวเท้ากัน ห้ามนอนเสมอสามี ห้ามนอนเอาศีรษะไปทางทิศตะวันตก เดินทางไกลห้ามนอนก่ายหน้าผาก ข้อห้ามเกี่ยวกับการยืน ห้ามยืนใกล้ผู้ใหญ่ ห้ามยืนถ่างขา ห้ามยืนเท้าสะเอว ห้ามยืนใกล้สามี ห้ามยืนใกล้บ่อน้ำ ห้ามยืนใต้สะพาน ห้ามยืนขวางประตู ห้ามยืนขวางในบ้าน ข้อห้ามอื่น ๆ เช่น ห้ามหัวเราะเสียงดังในเวลากลางคืน ห้ามแต่งกายไม่สุภาพไปทำบุญ ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ ห้ามด่าสามี ห้ามทำไม้คานหัก ห้ามทำครกตำน้ำพริกแตก ฯลฯ

33 บทที่ 1 1.2 ประชากร ความหมายของประชากร
ในทัศนะของนักสังคมศาสตร์ ประชากร หมายถึง คน ซึ่งจำแนกเป็นเพศชาย และเพศหญิง เท่านั้น ในทัศนะของนักชีววิทยา ประชากร หมายถึง คน พืช และสัตว์ ในทัศนะของนักสถิติหรือนักวิจัย ประชากร หมายถึง คน พืช สัตว์ และยังหมายรวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถเป็นหน่วยในการนับได้

34 ทฤษฎีทางประชากร 1. ทฤษฎีประชากรลัทธิพาณิชย์นิยม นักทฤษฎีในกลุ่มนี้ ได้แก่ บาเทโร (Batero) แทมเบอร์ (Tamber) และ สเปนเจอร์ (Spenger) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ยิ่งประชากรมาก ยิ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ 2. ทฤษฎีประชากรด้านวัฒนธรรม นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า อัตราการเกิดของประชากรถูกกำหนดโดยวัฒนธรรม อย่างเช่น ดูม็องค์ (Dumont) ชาวฝรั่งเศส ได้ตั้งทฤษฎี Social Capillarity เสนอว่า บุคคลที่ต้องการความสำเร็จควรอยู่เป็นโสด ส่วน เบรนทาโน (Brentano) เชื่อว่า อัตราการเกิดจะลดหรือเพิ่มขึ้นอยู่กับจิตใจเป็นสำคัญ ในขณะที่ สเตรนเบอร์ก (Ungern Strenberg) เสนอว่า ชนชั้นสูงมักมีบุตรน้อย ขณะที่คนงานกรรมกรจะมีบุตรมาก ดังนั้นหากคนจนต้องการสร้างฐานะของตนเอง จึงต้องพยายามจำกัดขนาดของครอบครัว

35 3. ทฤษฎีประชากรด้านชีววิทยา นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า ปัจจัยทางชีววิทยากำหนดอัตราเพิ่มหรือลดประชากร ดังเช่น แซดเลอร์ (Michael Thomas Sadler) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ สรุปกฎของเขาว่า ภาวะเจริญพันธุ์จะผันแปรเป็นปฏิภาคกลับกับความหนาแน่นแระชากร และอัตราตายและอัตราเกิดจะผันแปรตามกัน ดับเบิลเดย์ (Doubleday) ทำการทดลองกับพืชโดยนำพืชชนิดเดียวกันไปแยกปลูก

36


ดาวน์โหลด ppt Post-Structuralism or Nothing

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google