ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ผู้วิจัย อาจารย์วิโรจน์ เด่นวานิช
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาลในด้านทักษะการเขียนโปรแกรม โดยวิธีการจับคู่ดูแลกันของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ผู้วิจัย อาจารย์วิโรจน์ เด่นวานิช
2
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ขาดทักษะในการเขียนโปรแกรม การเรียนการสอนไม่ราบรื่น ไม่มีความรู้เป็นพื้นฐานมาก่อน ขาดการเอาใจใส่ในการฝึกฝน
3
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาลของนักศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2. เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง(Self Esteem) ที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้
4
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรต้น กิจกรรมจับคู่ดูแลกัน ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สมมติฐานการวิจัย ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหลังจากเรียนรู้ด้วยกิจกรรมจับคู่เพื่อนดูแลกัน
5
วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 65 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ห้อง 1/1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 34 คน จัดเรียงตามเกรดเฉลี่ยของภาคเรียนที่ 1 จากมากสุดไปหาน้อยสุด 34 ลำดับ แล้วมาจับคู่โดยการนำผู้ที่เรียนเก่งสุดจับคู่กับผู้เรียนอ่อนสุด เรียงกันไปเป็นคู่ ๆ จนครบทุกคู่ ตามแบบ
6
วิธีดำเนินการวิจัย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลางภาคเรียนที่ 2/2556 รายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล โดยมีลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย ซึ่งครอบคลุมเนื้อหารายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล หน่วยที่ 1 ภาษาปาสคาลเบื้องต้น และหน่วยที่ 2 คำสั่งรับ/แสดงผล
7
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
สถิติพื้นฐาน สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ทั้งก่อนกิจกรรมและหลังกิจกรรมจับคู่ดูแลกัน
8
คะแนนเฉลี่ยก่อนกิจกรรม คะแนนเฉลี่ยหลังกิจกรรม
ผลการวิจัย พบว่า เปรียบเทียบค่าทั้งก่อนกิจกรรมและหลังกิจกรรมจับคู่ดูแลกัน กลุ่มผู้เรียน จำนวนนักศึกษา คะแนนเฉลี่ยก่อนกิจกรรม คะแนนเฉลี่ยหลังกิจกรรม กลุ่มเรียนเก่ง 17 คน 14.82 16.12 กลุ่มเรียนอ่อน 12.71 14.59 คะแนนเฉลี่ยรวม 13.76 15.35 จากข้อมูลในตาราง พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ห้อง 1 ทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น
9
สรุปผลการทดลอง 1 นักศึกษาขณะเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล มีพฤติกรรมทางการเรียนในหน่วยที่ 2 คือการส่งงานตามกำหนดคิดเป็นร้อยละ 85 ส่งล่าช้ากว่ากำหนดคิดเป็นร้อยละ 15 2 สรุปกิจกรรมการจับคู่ดูแลกัน พฤติกรรมที่พบ คือ ช่วยกันทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน ปรึกษากันระหว่างเรียน และทบทวนเนื้อหาหลังการเรียนการสอน 3 นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านมีจำนวนลดลง
10
ข้อเสนอแนะ 1 ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้กิจกรรมจับคู่ดูแลกัน มีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ดังนั้นควรนำวิธีการนี้ ไปใช้ทดลองกับนักศึกษากลุ่มอื่นที่ต้องการพัฒนาการเรียนรู้อีกด้วย 2 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรทดลองใช้วิธีการอื่น ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาร่วมด้วย เช่น การอภิปรายหน้าห้องเรียน เพื่อเป็นการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักศึกษา
11
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.