ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วรรณคดีสำคัญ สมัยกรุงธนบุรี
2
ระยะเวลาเพียง 15 ปี และเต็มไปด้วยสงครามนั้น ยอมที่จะหาเรื่องที่เป็นชิ้นเป็นอันได้โดยยาก มีวรรณคดีที่เกิดในสมัยนี้ 2-3 เรื่อง คือ ลิลิตเพชรมงกุฎ ของหลวงสรชิต (หน) ซึ่งต่อมาในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง โครงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ นายสวน มหาดเล็ก คำฉันท์กฤษณาสอนน้อง ของพระภิกษุอิน เมืองนครศรีธรรมราช วรรณคดีที่สำคัญที่ควรนำมากล่าว คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ อันเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
3
บทละครเรื่องรามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑
4
เป็นบทละครที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วน ประกอบด้วยเรื่องน่ารู้ และสนุกสนาน อีกทั้งยังได้ปรับปรุงเป็นบทสำหรับการเล่นละครได้อย่างดี ละครไทยแท้ๆ แต่เดิมมักจะเป็นละครรำที่มีท่ารำบอกถึงเรื่องราวตามบทร้อง ดังนั้น ท่ารำและบทร้องจึงมีความหมายสอดคล้องต้องกัน ทั้งยังเข้ากับทำนองเพลงต่างๆ ที่ให้ไว้ด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีสมโภชพระนครใหม่
5
เนื้อเรื่องประกอบด้วยเรื่องราวน่ารู้ต่างๆ เริ่มด้วยหิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน และกำเนิดตัวละครสำคัญๆ ทั้งฝ่ายยักษ์ ลิง และมนุษย์ แล้วจึงดำเนินเรื่องการสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ ซึ่งต้องสู้รบกันหลายครั้งกว่าจะได้ชัยชนะเด็ดขาด ประกอบด้วยเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นและเรื่องแทรกที่สนุกสนานบันเทิง เสริมด้วยอารมณ์ขัน ทำให้เรื่องราวมีสีสันเหมาะสมกับการแสดงละคร ทั้งยังให้คติธรรมที่ว่า ธรรมย่อมชนะอธรรม และยกย่องความซื่อสัตย์ ความกตัญญู บทละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมจากคนไทยทุกยุคทุกสมัย
6
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ บทละครเรื่องอิเหนา
7
เรื่องอิเหนามาจากพงศาวดารชวา กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวัญสี่องค์ซึ่งเป็นพี่น้องกัน และครองนคร ๔ นคร คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี อิเหนาแห่งเมืองกุเรปันได้หมั้นหมายกับบุษบาราชธิดาเมืองดาหา ต่อมาได้พบกับจินตะหราก็หลงรัก เมื่อถูกบังคับให้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับบุษบา จึงลอบหนีออกจากเมืองไปหาจินตะหรา ที่มา:
8
จนกระทั่งเมื่ออิเหนาไปช่วยท้าวดาหารบกับท้าวกะหมังกุหนิง และได้พบบุษบาก็หลงรัก จึงทำอุบายเผาเมือง ดาหา แล้วลักพาบุษบาไป ท้าวอสัญแดหวาโกรธแค้นในการกระทำอันมิชอบของอิเหนา จึงบันดาลให้ลมหอบบุษบาไปตกที่แคว้นปะมอตัน อิเหนาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายระหว่างตามหาบุษบา จนกระทั่งได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส เรื่องจึงจบลงด้วยความสุข ที่มา :
9
บทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผนเสภา
10
เป็นบทกลอนที่ใช้ขับเพื่อความบันเทิง ได้รับความนิยมในหมู่นักเลงกลอนตั้งแต่สมัยอยุธยา และกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๒ และ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้แต่งเสภามักจะเลือกหานิทานนิยายเรื่องเล่าที่ตนเคยรู้จัก มาแต่งเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีผู้แต่งหลายคน ใครพอใจจะขับเสภาตอนใดก็แต่งขึ้นเองเฉพาะตอนที่ตนขับ ที่มา :
11
เรื่องขุนช้างขุนแผนมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน บางตอนกล่าวถึงพระมหากษัตริย์บ้าง แต่ไม่ได้ต้องการแสดงเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของคนไทยแท้ๆโดยไม่ได้ดัดแปลงจากวรรณกรรมของชาติอื่น ตัวละครในเรื่องมีชีวิตจิตใจราวกับคนจริงๆ ที่มีชีวิตอย่างคนธรรมดา ซึ่งมีทั้งทุกข์และสุข ความสมหวัง และความผิดหวัง ที่มา :
12
แก่นสำคัญ กล่าวถึงรักสามเส้าของขุนแผน ขุนช้าง และนางพิมหรือนางวันทอง การดำเนินเรื่องเริ่มต้นตั้งแต่ชีวิตวัยเด็กของตัวละครเอกทั้งสาม ความสมหวังในรักของขุนแผนหรือพลายแก้วกับนางพิม แล้วกลายเป็นการพลัดพรากจากกัน ไปสู่ความสมหวังในรักของขุนช้างที่มีต่อนางพิม เกิดการแย่งชิงความรักกันระหว่างขุนช้างกับขุนแผน ที่มา :
13
ลิลิตตะเลงพ่าย ที่มา :
14
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นหนังสือที่มีศิลปะการใช้ภาษาที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแต่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้ชาติ ความดีเด่นของลิลิตตะเลงพ่ายคือ การเล่นคำและการใช้โวหาร ที่มา:
15
โวหารที่ใช้คือ อุปมาอุปไมย เพื่อให้เกิดภาพพจน์ จินตนาการ และสะเทือนอารมณ์ กวีได้สอดแทรกความรู้ต่างๆ มากมาย เช่น การจัด กระบวนทัพของไทยสมัยอยุธยา และยุทธศาสตร์ แต่ไม่เคร่งครัดในด้านภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ กวียังได้นำชื่อนกและชื่อต้นไม้มาใช้ในบทครวญถึงนางตามแบบอย่างลิลิตยวนพ่าย ที่มา :
16
อ้างอิง http://www.nuanphun.com/
17
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.