งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
เบาหวาน (Diabetes mellit) ความดันโลหิตสูง(Hypertension) ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(Ischemic heart disease) การประเมินภาวะโภชนาการ(Nutritional Assessment) *** ภาวะลงพุง (Abdominal odesity *** ปัจจัยต่อการเกิดโรคหัวใจ(Metabolic syndome) *** โรคอ้วน (Obesity)

2 เบาหวาน (Diabetes mellitus)
เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดซึ่งได้มาจากอาหารไปใช้ได้ตามปกติ การที่ร่างกายจะนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้พลังงานได้นั้นมีความจำเป็นต้องจะทำอาศัยฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ชื่ออินซูลิน เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆหากขาดฮอร์โมนอินซูลิน ก็จะทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปในเนื้อเยื่อได้ และจะมีน้ำตาลในเลือดเหลือค้างอยู่มากและมีระดับสูงกว่าปกติ

3 *****ในคนปกติ ก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ ๗๐-๙๙ มิลลิกรัม/เดซิลิตร
และหลังรับประทานอาหารแล้ว ๒ ชั่วโมง ระดับน้ำตาลไม่เกิน ๑๔๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร

4 เบาหวานที่พบบ่อย แบ่งได้เป็น ๒ ชนิดคือ
เบาหวานชนิดที่ ๑ มักเกิดก่อนอายุ ๒๐ ปี และเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เนื่องจากเซลล์ผลิตอินซูลินที่ตับอ่อนถูกทำลาย เบาหวานชนิดที่ ๒มีความสัมพันธ์กับความอ้วน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ร่วมกับการดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินในร่างกาย

5 เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
(ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา) ***หากพบน้ำตาลในเลือดไม่ว่าเวลาใด มากกว่าหรือเท่ากับ ๒๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพียงครั้งเดียวร่วมกับมีอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง กระหายน้ำ กินจุ น้ำหนักลด ให้ถือว่าเป็นเบาหวานได้เลย ***ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ ๑๒๖ มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป

6 อาการสำคัญที่พบบ่อย ๑.ปัสสาวะบ่อยมีปริมาณมาก
๒.คอแห้ง กระหายน้ำ และดื่มน้ำมาก ๓.น้ำหนักลด ผอมลง ๔.หิวบ่อยและรับประทานอาหารในปริมาณมาก

7 ผู้ที่มีโอกาสเป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัว
*อายุมากกว่า ๔๕ ปี *อยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วน(ในคนเอเชียใช้ดรรชนีมวล กายตั้งแต่ ๒๓ กิโลกรัม/เมตร²) *ผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นเบาหวาน *เคยคลอดบุตรน้ำหนักแรกเกิด ๔ กิโลกรัม หรือได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ *มีประวัติความดันโลหิตสูง *มีประวัติไขมันในเลือดสูง

8 *มีประวัติโรคหลอดเลือดเสื่อม
*เคยตรวจพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติ แต่ยังไม่เข้าข่ายเป็นเบาหวาน(ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้ามีค่า ๑๐๐-๑๒๕ มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร ๒ ชั่วโมง มีค่า๑๔๐-๑๙๙ มิลลิกรัม/เดซิลิตร) *มีประวัติโรคหลอดเลือดเสื่อม หากผู้ใดจัดอยู่ในข่ายของผู้ที่มีโอกาสเป็นเบาหวาน ควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้าทุก ๖-๑๒ เดือน

9 ทำอย่างไรให้มีสุขภาพดี หากเป็นเบาหวาน
แม้เบาหวานจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็มีวิธีต่างๆที่ช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานมีสุขภาพดี และยังป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้โดยมีหลักใหญ่ๆดังนี้ การตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อดูค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไป การรักษาด้วยยา การฉีดอินซูลินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่๑ขณะที่เบาหวานชนิดที่๒สามารถรับประทานยาที่ช่วยการทำงานของอินซูลินในร่างกาย หรืออาจฉีดอินซูลินได้ในบางกรณี

10 การเลือกอาหารอย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังลดน้ำหนักได้ ซึ่งจะมีผลให้ร่างกายสามารถใช้อินซูลินได้ดีขึ้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่ดี และยังมีประโยชน์ในการลดหรือควบคุมน้ำหนักได้ ที่สำคัญยังส่งเสริมทั้งสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย

11 ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
ความดันโลหิตสูง คือภาวะที่ความดันโลหิตช่วงบน(Systolic)มีค่าตั้งแต่๑๔๐ มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และความดันโลหิตช่วงล่าง (Diastolic) มีค่าตั้งแต่๙๐มิลิเมตรปรอทขึ้นไป สาเหตุ ของความดันโลหิตสูง อาจแบ่งได้เป็น๒กลุ่มใหญ่ ๑.พวกที่หาสาตุได้ เช่น จากโรคไตอักเสบ เส้นเลือดแดงตีบ พิษแห่งครรภ์ ๒.พวกที่หาสาเหตุไม่พบ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนมากมักจะเป็นชนิดนี้

12 บุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
๑.ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ๒.คนอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ๓.ผู้ที่สูบบุหรี่ ๔.ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ๕.ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด ๖.ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่๔๐-๕๐ปี ขึ้นไป

13 อาการ ระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น สำหรับรายที่มีอาการ จะมีอาการมึนงง ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ บริเวณท้ายทอย มักจะปวดตอนตื่นนอน เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนไม่หลับอ่อนเพลีย บางรายอาจมีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ

14 ภาวะแทรกซ้อนและอันตราย
๑.หลอดเลือดแดงโป่งพองและแตกง่าย ๒.โรคหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ๓ภาวะไตวายเรื้อรัง ๔.ประสาทตาเสื่อม ตามัวจนทำให้บอดได้

15 ๑.ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป
ข้อควรปฏิบัติ ๑.ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป ๒.การพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจไม่ตึงเครียด ขุ่นมัว และวู่วาม ๓.ระวังรักษาตัวเองอย่าให้หกล้ม หลอดเลือดสมองแตก เป็นอัมพาต แลและเสียชีวิต ๔.ออกกำลังให้เพียงพอและสม่ำเสมอ ๕.หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ งดสูบบุหรี่ ๖.ลดอาหารรสจัด หวาน เค็ม ไขมันมาก ร้อนจัด เย็นจัด ๗.รับประทานผักผลไม้อยู่เสมอ ๘.รับประทานยาตามแพทย์สั่ง และมาพบแพทย์ตามนัด

16 ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
ภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับอาหารมากเกินไปและไม่ถูกสัดส่วน ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาทางโภชนาการที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง(Atherosclerosis)ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

17 *อะไรทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง
๑.พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ๒.ขาดการออกกำลังกาย ๓.กรรมพันธุ์ ๔.โรคเบาหวาน

18 ไขมันในร่างกายที่จะกล่าวถึงที่สำคัญ ๒ ชนิด
๑.ไตรกลีเซอร์ไรด์(Triglyceride)ได้มาจากการดูดซึมไขมันที่มีอยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ร่วมกับการที่ร่างกายสร้างขึ้นเองจากอาหารประเภทอื่นๆเช่น คาร์โบไฮเดรต (อาหารประเภทข้าว ขนมปัง ของหวาน ฯลฯ)เพราะปริมาณแคลอรี่ในอาหารที่ได้รับประทานเข้าไป เมื่อไม่ถูกใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆแคลอรี่ส่วนเกินเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์

19 -เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ค่าปกติในเลือด น้อยกว่า ๑๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร (งดอาหารและน้ำอย่างน้อย ๑๒ ชั่วโมง ก่อนเจาะเลือด) -ถ้าระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดมากกว่า ๑,๐๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรลดไขมันทุกชนิดให้น้อยกว่า ๑๐% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมด ร่วมกับการรักษาด้วยยาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดตับอ่อนอักเสบ

20 ๒.โคเลสเตอรอล(Cholesterol)เป็นสารคล้ายไขมันที่มีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างไปจากไขมัน
คุณสมบัติ -ละลายในไขมัน ไม่ละลายในเลือด แต่การที่จะอยู่ในกระแสเลือดได้ก็ต้องอาศัยสารโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า ไลโพโปรตีน(Lipoprotein)ห่อหุ้มโคเลสเตอรอลเพื่อพาเข้าไปในกระแสเลือดคือ HDL และLDL -เป็นองค์ประกอบเนื้อเยื่อสมองและระบบประสาท -ช่วยสร้างเซลล์เยื่อบุผิว ฮอร์โมนบางชนิด -เป็นองค์ประกอบวิตามินดีจากแสงแดด ช่วยแคลเซี่ยมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก -ร่างกายสร้างขึ้นมาเองที่ตับถึง๗๕%(ปริมาณ๘๐๐-๑,๕๐๐มิลลิกรัม/เดซิลิตร/วัน) -มาจากอาหารประเภทผลิตภัณฑ์สัตว์ที่รับประทานเข้าไป

21 ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่เหมะสม
Total cholesterol ≤ ๒๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร LDL cholesterol ≤ ๑๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร HLD cholesterol ชาย ≥ ๔๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร หญิง ≥ ๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร (งดอาหารและน้ำอย่างน้อย ๑๒ ชั่วโมง ก่อนเจาะเลือด)

22 LDL (Low density lipoprotein choesterol)
คือไขมันตัวร้ายเป็นตัวพา cholesterol ไปสะสมตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงในอวัยวะต่างๆ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อม ตีบ และแข็ง

23 HDL (Hight density lipoprotein cholesterol)
คือไขมันดี ช่วยมาเคลื่อนย้ายโคเลสเตอรอล LDLหรือเจ้าไขมันตัวร้ายออกจากผนังหลอดเลือด และนำกลับไปทำลายที่ตับ จึงเป็นตัวช่วยป้องกันไขมันสะสม ช่วยลดภาวะเสี่ยงของหลอดเลือดแข็งตัว และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

24 ชนิดของโคเลสเตอรอลกับการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
*ปริมาณและชนิดของไขมันมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคหัวใจ ข้อแนะนำ รับประทานไขมัน ๒๕-๓๕%จากแคลอรี่ทั้งหมดในแต่ละวัน โดยไขมันส่วนใหญ่มาจากไขมันอิ่มตัว ๑ ตำแหน่ง (MUFA)และลดปริมาณของไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์เพื่อลดระดับLDL

25 ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat)
ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องจะกลายเป็นไข เช่น ไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ ฯลฯ

26 ไขมันทรานส์ (Trans fatty acid)
คือ ไขมันพืชที่ถูกดัดแปลงให้เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ไม่เสียง่ายเก็บไว้ได้นาน เช่น มาการีน เนยขาว อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ โดนัท ขนมปัง บะหมี่กึงสำเร็จรูป อาหารประเภทฟาสต์ฟูด อาหารทอดแช่แข็ง ควรบริโภคให้น้อยที่สุด

27 ไขมันไม่อิ่มตัว(Unsaturated fat)มี ๒ จำพวก
๑.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนหรือไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง% (Polyunsaturated fatty acid:PUFA)เช่น -กลุ่มโอมก้า ๖ (linoenic)พบมากในน้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน -กลุ่มโอเมก้า ๓ (alpha3linolenic)พบมากในปลา น้ำมันคาโนลา ถั่วเหลือง และFlaxseed(คล้ายจมูกข้าวสาลี) *ถ้ารับประทานPUFAมากเกินกว่า๑๐%ของไขมันที่รับประทานอาจจะลดไขมันดีคือHDLได้

28 กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease)
การทำงานของหัวใจปกตินั้นจะบีบตัวเป็นจังหวะโดยอัตโนมัติ เพื่อทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ตัวกล้าเนื้อหัวใจที่หดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะเช่นเดียวกันกับกล้ามเนื้ออื่นๆทั่วไป คือมีความต้องการพลังงานเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อพลังงานนั้นก็คือเลือด ซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารมาเลี้ยงกล้ามเนื้อ เลือดที่มาเลี้ยงหัวใจจะผ่านมาทางหลอดเลือดหัวใจ โคโรนารีซึ่งมีขนาดเล็กมาก ถ้าเกิดการตีบหรือตันไม่ว่าสาเหตุใดๆก็ทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

29 -เมื่อทดแทนไขมันอิ่มตัวด้วยMUFAพบว่าLDLลดลงโดยที่HDLไม่ลดลงตาม
๒.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(Monounsaturated fatty acid:MUFA) -พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว อาโวคาโด ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ ข้อดี -เมื่อทดแทนไขมันอิ่มตัวด้วยMUFAพบว่าLDLลดลงโดยที่HDLไม่ลดลงตาม -เมื่อทดแทนคาร์โบไฮเดรตด้วยMUFAพบว่าสามารถลดTriglycerideได้ -ทุกๆ ๑% ของ Cholesterol ที่ลดลง จะลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้เท่าตัว ....จากการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายวันละ๔๕นาที สัปดาห์ละ๔ครั้ง ช่วยเพิ่มHDLได้ถึง๕มิลลิกรัม/เดซิลิตร

30 ระยะแรกที่หลอดเลือดตีบตันชั่วขณะ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเพียงชั่วคราว ภาวะนี้เรียกว่า “โรคหัวใจแองไจน่า (angina)”ภาวะนี้ยังไม่เกิดอันตรายถึงชีวิต ระยะร้ายแรง หลอดเลือดหัวใจเกิดการอุดตันอย่างถาวร ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างถาวร เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นจะตาย เรียกว่า “กล้ามเนื้อหัวใจตาย” ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวานกะทันหัน ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

31 สาเหตุ ส่วนใหญ่มาจากหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) เนื่องจาก
● ผู้สูงอายุ มีความเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้เสียความยืดหยุ่น เกิดอาการแข็งตัว ● การสะสมไขมันและหินปูน(แคลเซียม)ทำให้เกิดการอุดตัน

32 ปัจจัยเสี่ยงต่อแข็งตัวของหลอดเลือด แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ
ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนแก้ไขไม่ได้ ๑.อายุที่เพิ่มขึ้น จะเสี่ยงมากขึ้น ๒.เพศ เพศชายมีอุบัติการณ์สูงกว่าเพศหญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนมากถึง๕เท่าแต่หลังหมดประจำเดือนแล้ว เพศหญิงจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นตามลำดับจนเท่ากับเพศชายในช่วงอายุ ๖๐-๖๕ ปี ๓.ประวัติในครอบครัว

33 ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้
๑.ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคนี้คือ โคเลสเตอรอล ระดับที่มีความเสี่ยงสูง ระดับโคเลสเตอรอล รวม ที่สูงกว่า ๒๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับโคเลสเตอรอล LDL ที่สูงกว่า ๑๓๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับโคเลสเตอรอล HDL ที่ต่ำกว่า ๓๕ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ๒.การสูบบุหรี่ เชื่อว่าสารนิโคติน และคาร์บอนมอนนอกไซด์จากบุหรี่ ทำให้เกิดอันตรายต่อผนังหลอดเลือด ๓.ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ๔.โรคเบาหวาน (Diabetes) ๕.โรคอ้วน (Obesity) ๖.ปัจจัยอื่นๆเช่น ผู้ที่มีอารมณ์หงุดหงิด เปลี่ยนแปลงง่าย

34 อาการเตือนแนวโน้มของโรคหัวใจ
การเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เริ่มแรกจะมีอาการเจ็บ แน่นหน้าอกโดยเฉพาะเวลาที่ต้องใช้แรง เช่น เล่นกีฬา -ลักษณะการเจ็บหน้าอก มักจะมีอาการปวดร้าว เหมือนถูกบีบรัดที่หน้าอก มักเริ่มจากกลางอก แล้วอาจลามไปจนถึงรักแร้แขนซ้าย ต้นคอ ไหล่ หรือไปจนถึงกราม และขากรรไกรล่าง -ระยะเวลาการเจ็บตั้งแต่ ๑-๕นาที โดยมากไม่เกิด ๑๕นาที (ถ้าเจ็บนานกว่า ๓๐นาที อาจมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น)

35 อาการหายใจไม่ออก ใจสั่น อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
แสดงว่าหัวใจ ไม่สามารถทานได้อย่างเต็มที่ อาการมึนงง หน้ามืด หรืออาจถึงกับหมดสติ เพราะหัวใจอยู่ในสภาพ ไม่ดี การส่งเลือดไปเลี้ยงสมองอาจไม่เพียงพอ หลักการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ๑.การควบคุมเพื่อลดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนี้ เช่น ควบคุมความดันโลหิตสูงควบคุมระดับไขมัน ระดับน้ำตาลในเลือด ลดน้ำหนักส่วนเกิน งดบุหรี่ เป็นต้น ๒.การรักษาโดยการใช้ยา เช่น ยาขยายหลอดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาลดความดันโลหิต ยาต้านเล็ดเลือด เป็นต้น ๓.การรักษาโดยวิธีการอื่น ใช้เมื่อรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล เช่น การใช้สายสวนที่มีบอลลูนที่ปลายสายไปขยายหลอดเลือดหัวใจบริเวณที่ตีบ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมากหรือการผ่าตัดเปลี่ยนเส้นเลือดหัวใจที่เรียกว่า บายพาส (by pass)

36 วิธีที่ดีที่สุด คือ การดูแลหัวใจ อย่าทำร้ายหัวใจด้วยสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาก่อนที่จะสายเกินไป

37 การประเมินภาวะโภชนาการ (nutritional Assessment)
วิธีการคำนวณหาน้ำหนักมาตรฐาน (Ideal body weight = IBW) ชาย : ส่วนสูง-๑๐๐ หญิง : (ส่วนสูง-๑๐๐)-๑๐%(ส่วนสูง-๑๐๐) ±๓.๕กก.ขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่าง %IBW=น้ำหนักจริง×๑๐๐ IBW %IBW>๑๒๐%ของน้ำหนักมาตรฐาน=โรคอ้วน(Obesity) %IBW<๙๐%ของน้ำหนักมาตรฐาน=โภชนาการขาด

38 การหาน้ำหนักที่น่าจะเป็นอย่างง่ายแบบที่ ๒ ชาย : ส่วนสูง-๑๐๐
หญิง : ส่วนสูง-๑๐๕ หรือ ๑๑๐ ตัวอย่าง ปราณี สูง ๑๖๕ เซนติเมตร น้ำหนักควรเป็นเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม น้ำหนักที่ควรเป็น ๑๖๕-๑๐๕=๖๐กก. หรือ ๑๖๕-๑๑๐=๕๕กก. Body Mass Index (BMI) การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI(Kg/m²)=weight(kg.) หรือ น้ำหนัก(กิโลกรัม) height(m.)² ความสูง(เมตร)² สัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย และความเสี่ยงสุขภาพ

39 การประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย(BMI) สำหรับชาวเอเชีย
น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าBMI <๑๘.๕ Kg/m² น้ำหนักตัวปกติ “ ๑๘.๕-๒๒.๙ “ น้ำหนักเกินมาตรฐาน “ ๒๓.๐-๒๔.๙ “ โรคอ้วน “ >๒๕.๐ “

40 BMI และการเกิดโรคเบาหวาน
<๒๐ ๗ ๒๐-๒๓ ๒๓ ๒๓-๒๕ ๒๕ >๒๕ ๔๖

41 ภาวะอ้วนลงพุง (Abdominal Obesity)
การประเมินภาวะอ้วนลงพุง -การสะสมไขมันหน้าท้อง (visceral store) -เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวาน เส้นรอบเอว (Waist circumference) ชาย >๙๐ ซม. (๓๖นิ้ว) หญิง >๘๐ ซม. (๓๒นิ้ว) เส้นรอบเอว/เส้นรอบสะโพก (Waist and hip ratio) ชาย >๑ หญิง >๐.๘

42 Metabolic syndrome คำจำกัดความ
ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติ ดังกล่าว ได้แก่ ความผิดปกติของไขมันในเลือด ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล

43 เกณฑ์การวินิจฉัย ในปัจจุบันเกณฑ์ในการวินิจฉัย Metabolic syndrome (นิยม
ใช้มากคือเกณฑ์ของ NCEP ATP III)จะต้องมีความผิดปกติอย่าง น้อย ๓ ใน ๕ ข้อ ต่อไปนี้ ๑.อ้วนลงพุง เส้นรอบเอวในผู้ชาย ≥๑๐๒ซ.ม. หรือ ๔๐นิ้ว เส้นรอบเอวในผู้หญิง ≥๘๘ซ.ม. หรือ ๓๕นิ้ว ๒.ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ≥๑๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ๓.ระดับ HDL cholesterol ≤๔๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ชายหรือ≤๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้หญิง ๔.ความดันโลหิต ≥๑๓๐/๘๕ม.ม.ปรอท ๕.ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ≥๑๑๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร

44 *เกณฑ์การวินิจฉัยของสหพันธ์เบาหวานโลก (Iternational Diabetes
Federation) จะต่างกันตรงเกณฑ์ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ≥ ๑๑๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร ตามเกณฑ์ใหม่ในการวินิจฉัยภาวะ Prediabetes หรือ Impaired fasting glucose คือระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ≥ ๑๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร **คำจำกัดความของน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในคนเอเชียจะใช้เกณฑ์ -BMI๒๓ และ ๒๕Kg/m² ตามลำดับ - เส้นรอบเอวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ จะถือเกณฑ์ ≥๙๐ซม. หรือ ๓๖นิ้ว ในผู้ชาย และ ๘๐ซม. หรือ ๓๒นิ้วในผู้หญิง

45 โรคอ้วน (Obesity) สาเหตุ ●กรรมพันธุ์ ●โรคบางชนิด
●การได้รับพลังงาน จากอาหารมากเกินไป หลักการลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักที่ได้ผล ประกอบด้วย ๑.การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ๒.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ๓.การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ๔.ปรับวิถีการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม

46 การปรับพฤติกรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดน้ำหนักให้ได้ผลอย่างถาวร ต้องมีทั้ง ความตั้งใจ และอดทน จึงจะประสบผลสำเร็จ ผลที่ได้ ●ลดน้ำหนักได้ตามกำหนด ●รักษาน้ำหนักที่ลดลงให้คงที่ ●สร้างนิสัยการกินที่ดี ●สุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

47 การลดน้ำหนักที่ได้ผลมากที่สุดในระยะยาวคือการลดพลังงานจากอาหารที่
ควรได้รับ ประมาณวันละ ๕๐๐-๑,๐๐๐ แคลอรี่ เป้าหมายที่เหมาะสม ในการลดน้ำหนัก คือ การลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อยร้อยละ ๕-๑๐ ในช่วง ๖-๑๒ เดือน

48 เอกสารอ้างอิง ฉัตรประอร งามอุโฆษ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เบาหวานกับการอยู่อย่างมีสุขภาพดี. แอ็บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด:กรุงเทพฯ ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. Metabolic syndrome(โรคอ้วนลงพุง). สารราชวิทยาลัย อายรุแพทย์แห่งประเทศไทย. ปีที่๒๓ ฉบับที่๑ มกราคม-มีนาคม ๓๕๔๙:หน้า๕-๑๒ ทวีทอง หงศ์วิวัฒน์. โรคหัวใจ อาหารเสริมหัวใจดวงเดียวให้แข็งแรง. สำนักพิมพ์แสงแดด: กรุงเทพฯ , ๒๕๔๙ เทพ หิมะทองคำ. ความรู้เรื่องเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งที่๖ วิทยพัฒน์ จำกัด:กรุงเทพฯ , ๒๕๔๘. ศัลยา คงสมบูรณ์เวช อาหารบำบัดโรค สุขภาพดีเริ่มต้นที่กินให้เป็น. พิมพ์ครั้งที่๓. สายธุรกิจโรงพิมพ์ : กรุงเทพฯ , ๒๕๔๘.

49 ศรีสมร คงพันธุ์. อาหารลดความอ้วน กายบริหารน้ำหนัก. พิมพ์ครั้งที่๑๔
ศรีสมร คงพันธุ์. อาหารลดความอ้วน กายบริหารน้ำหนัก. พิมพ์ครั้งที่๑๔. สำนักพิมพ์แสงแดด : กรุงเทพ , ๒๕๔๙ สมาคมนักกำหนดอาหารและคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมวิชาการ การกำหนดและดัดแปลงอาหารไทย สู่ครัวโลกและครัวโรค : นำความรู้สู่การปฎิบัติ., ๒๕๔๙ สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานและสมาคมนักกำหนดอาหาร. การจัดอบรมผู้ให้ความรู้ โรคเบาหวาน หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพ การให้โภชนะบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน., ๒๕๔๙


ดาวน์โหลด ppt การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google