งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เรียบเรียงโดย พินิจ เนื่องภิรมย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

2 นวัตกรรม

3 นวัตกรรม นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)
นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคย มีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนา ดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  

4 นวัตกรรม แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก

5 นวัตกรรม หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)    

6 นวัตกรรม “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)  

7 นวัตกรรม มอร์ตัน (Morton,J.A.)
“นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา มอร์ตัน (Morton,J.A.)

8 นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

9 นวัตกรรม จรูญ วงศ์สายัณห์
หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ จรูญ วงศ์สายัณห์

10 นวัตกรรม นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

11 นวัตกรรม พูดถึงสิ่งปรัดิษฐ์แล้วก็ต้องนึกถึงThomas Alva Edison นักประดิษฐ์ ชาวอเมริกัน ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก มีสิทธิบัตรการประดิษฐ์กว่า 1,000 ฉบับ อาทิเช่น หลอดไฟฟ้า ฟิลม์ภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร หรือแม้แต่เก้าอี้ไฟฟ้า ถึงแม้ผลงานด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าของ Edison โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลอดไฟฟ้าซึ่งถือเป็นผลงานการคิดค้นชิ้นเอกของเขา จะเป็นประดิษฐกรรมที่ดีเลิศเพียงใด แต่มันก็จะกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ธรรมดาๆ ชิ้นหนึ่งเท่านั้น หากไม่สามารถหาปลั๊กมาเสียบกับมันได้ ด้วยเหตุนี้เองทีมงานของ Edison จงคิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้น พร้อมๆ กับการสร้างมาตรฐานของ หลอดไฟฟ้า สวิทซ์และสายไฟควบคู่กัน

12 นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย

13 นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย

14 แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล      - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น - แบบเรียนสำเร็จรูป - เครื่องสอน - การสอนเป็นคณะ - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

15 แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น     - ศูนย์การเรียน (Learning Center)     - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)     - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

16 แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) การเรียนทางไปรษณีย์

17 แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
 4. ประสิทธิภาพในการเรียน การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น  - มหาวิทยาลัยเปิด               - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์               - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป               - ชุดการเรียน

18 E-learning (Electronic Learning )
"การเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ" เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต ผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web

19 E-learning (Electronic Learning )
แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น

20 ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom )
 การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให ้ บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย      ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์

21 ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom )
กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์

22 ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom )

23 ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom )
รุจโรจน์ แก้วอุไร การจัดการเรียนการ สอนทางไกลเต็มรูปแบบ โดยมีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่ กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่ม หรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้ายกับ chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการ ประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลัก สูตรได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ผู้เรียนในชั้นและผู้สอนจะต้องนัดเวลาเรียนอย่างพร้อมเพรียง

24 ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง
จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบท เรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า Physical Education Environment

25 ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง
การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตัวหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment

26 รูปแบบของห้องเรียนเสมือนจริง
 บทเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ อาจจะส่งให้ผู้เรียนในรูปวีดีทัศน์ หรือวีดิทัศน์ผสมกับ Virtual Classroom หรือ CD-ROM ที่มีสื่อประสมทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว โดยผ่านระบบสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดาวเทียม โทรทัศน์ โทรสาร หรือทางเมลล์ ตามความต้องการของ ผู้เรียน

27 รูปแบบของห้องเรียนเสมือนจริง
ผู้เรียนจะติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง ในขณะสอนก็ได้หากเป็นการเรียนที่ Online ซึ่งจะเป็นแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ที่โต้ตอบโดยทันทีทันใดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Synchronous Interaction) เช่น การ Chat หรืออาจใช้การโต้ตอบแบบไม่ทันทีทันใด (Asynchoronous Interaction) เช่น การใช้ , การใช้ Web- board เป็นต้น

28 รูปแบบของห้องเรียนเสมือนจริง
การทดสอบ ทำได้หลายวิธี เช่น ทดสอบแบบ Online หรือทดสอบโดยผ่านทางโทรสาร ทาง และทางไปรษณีย์ธรรมดา บางแห่งจะมีผู้จัดสอบโดยผ่านตัวแทนของมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นที่นักศึกษาอาศัยอยู่ การเรียนทางไกลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาที่ตนสนใจได้ตลอดเวลา

29 การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้

30 หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล
ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างจากกัน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการบริหารและบริการ ดำเนินงานและควบคุมคุณภาพในรูปองค์กรคณะบุคคล การจัดการศึกษาอย่างมีระบบ กระบวนการเรียนการสอนทางไกลได้รับการออกแบบขึ้น อย่างเป็นระบบ มีการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ หลากหลาย แทนสื่อบุคคล สื่อที่ใช้แตกต่างกันไปตามเนื้อหา เน้นด้านการผลิตและจัดส่งสื่อการสอนมากกว่าการทำการสอนโดยตรง มีการจัดตั้งหน่วยงานและโครงสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการสอนและการบริการผู้เรียน ใช้การสื่อสารติดต่อแบบสองทางในการจัดการศึกษาทางไกล

31 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

32 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและผู้คนหลายสิบล้านคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในเวลาอันสั้น การศึกษาหาข้อมูลและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพียงแต่ปลายนิ้วสัมผัส โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) เกิดเป็นชุมชนบนเครือข่ายขึ้น

33 แนวคิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
"การใช้สื่อสาร แบบประสม"

34 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล

35 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ
1. การยอมรับของคนพิการ หมายถึง การยอมรับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี รวมถึงความตั้งใจจริงยอมรับการฝึกหัด ยอมอดทนฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีนั้นจนชำนาญ และเกิดผลประโยชน์แก่ตน

36 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ
2 . การจัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึง การที่รัฐหรือหน่วยงานสามารถจัดเทคโนโลยีเหล่านั้นให้คนพิการได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพและเพียงพอ

37 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ
3. การมีนักวิชาการสอนเทคโนโลยี หมายถึง คนที่สอนเทคนิคการใช้หรือทำหน้าที่ปรับได้เพื่อคนพิการจนคนพิการใช้ได้ผลดี สามารถสอนจนคนพิการสามารถเรียนรู้ได้ เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับคนพิการ อาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้

38 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer-Assisted Instruction หรือเรียกย่อๆ ว่า ซีเอไอ (CAI) มักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) หมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ โต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด จนมี ผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียน ได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหา วิชาของบทเรียนนั้นๆ

39 หลักการของการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ จัดเนื้อหาเรียงไปตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก 2. การเพิ่มเนื้อหาให้กับผู้เรียนต้องค่อยๆ เพิ่มทีละน้อย 3. แต่ละเนื้อหาต้องมีการแนะนำความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ให้ที่ละมากๆ 4. ในระหว่างเรียนต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับบทเรียน 5. การตอบคำถามที่ผิด ต้องมีคำแนะนำหรือทบทวนบทเรียนเก่าอีกครั้ง 6. ในการเสนอบทเรียนต้องมีการสรุปท้ายบทเรียน 7. ทุกบทเรียนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ชัดเจน

40 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น 2. นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้หลายแบบตามความถนัดของแต่ละบุคคล 3. ไม่เปลืองสมองในการท่องจำสิ่งที่ไม่ควรจะต้องจำ 4. สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ได้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล 5. ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียน ไม่ต้องคอยครู อาจารย์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาที่ ต้องการ 6. ผู้เรียนสามารถสรุปหลักการ เนื้อหา สาระของบทเรียนแต่ละบทเรียนได้

41 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน (Tutoring) 2. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก (Drill and Practice) 3. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) 4. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน 5. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ (Testing) 6. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล (Inguiry)

42 การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
องค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยใช้ เว็บเป็นหลัก 1. ระบบการเรียนการสอน 2. ความเป็นเงื่อนไข 3. การสื่อสารและกิจกรรม 4. สิ่งนำทางการค้นคว้า รูปแสดงระบบ E-commerce , E-Education , และ E-learning

43 ประเภทของสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
1. เวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web) 2. อีเมลล์ ( ) 3. กระดานขาว (webboard) 4. แชท (Chat) 5. ไอซีคิว (ICQ) 6. คอนเฟอเรนซ์ (Conference) 7. การบ้านอิเล็กทรอนิกส์

44 ค้นคว้าเพิ่มเติม ระบบการเรียนการสอนทางไกล อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค
วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google