งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การขัดกันของกฎหมาย Conflict of Laws.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การขัดกันของกฎหมาย Conflict of Laws."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การขัดกันของกฎหมาย Conflict of Laws

2 กฎหมายขัดกันคืออะไร กฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอันเกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงของต่างประเทศในบางประการ เช่นคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมีสัญชาติต่างประเทศ หรือมีภูมิลำเนาต่างประเทศ สัญญาทำในต่างประเทศ การปฏิบัติตามสัญญากระทำในต่างประเทศ ทรัพย์สินตั้งในต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างคนไทยด้วยกันเอง หรือคนไทยกับคนต่างด้าว หรือระหว่างคนต่างด้าวด้วยกัน

3 ตัวอย่าง ก. ข. พ่อค้าไทยทั้งคู่อยู่ในเชียงใหม่ ทำสัญญาซื้อขายกันที่กรุงเทพฯ ถ้ามีปัญหา เช่น มีความสามารถในการทำสัญญา สัญญานั้นถูกต้องตามแบบหรือไม่ ความรับผิดของสัญญา กฎหมายภายใน ของไทย

4 ตัวอย่าง ก. สัญชาติไทย ข. สัญชาติฝรั่งเศส ทำสัญญาซื้อขายรถในเยอรมัน
เกิดปัญหา เช่น ข. มีความสามารถในการทำสัญญาหรือไม่ กรรมสิทธิ์ในรถโอนไปยังผู้ซื้อหรือยัง ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ

5 ตัวอย่าง ชายหญิงไทย สมรสที่ญี่ปุ่น
ปัญหาที่เกิด การสมรสชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ใช้กฎหมายใดบังคับแก่คดี คนไทยอยู่กรุงเทพฯทำสัญญาซื้อขายคนไทยที่อยู่สิงค์โปร์ เมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ปัญหาว่าจะใช้กฎหมายใดบังคับแก่คดี

6 ใช้หลักกฎหมายขัดกันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้ง และเกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณี
คดีใดเกี่ยวโยงหรือพัวพันกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะฟ้องที่ศาลประเทศใด กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับควรเป็นกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ประเทศเดียว

7 กฎหมายใดเหมาะสมแก่เรื่องใด ให้พิจารณาจาก “จุดเกาะเกี่ยว” Point of Contact , Connecting Factor
สัญชาติ ภูมิลำเนา สถานที่ทรัพย์ตั้งอยู่ สถานที่เกิดการกระทำ ได้แก่ การทำสัญญา พินัยกรรม ละเมิด การสมรส การปฏิบัติตามสัญญา

8 ลำดับการพิจารณาเพื่อการใช้กฎหมายขัดกัน
เขตอำนาจศาล ต้องพิจารณา คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลไทยหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องเจตอำนาจศาล มาตรา 2 ,3,4,4 ทวิ,4 ตรี,4 จัตวา,4 เบญจา,4 ฉ

9 ตัวอย่าง นายสมิธกับนายโจนส์สัญชาติอังกฤษ ภูมิลำเนาอยู่ในมาเลเซีย ทำสัญญาที่สิงค์โปร์ เพื่อซื้อขายรถที่ลาว ฝ่ายผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระราคา ผู้ขายนำคดีมาฟ้องที่ศาลไทย ศาลไทยไม่รับฟ้อง เพราะ ไม่เข้า มาตรา 3 (1) เพราะมูลคดีไม่ได้เกิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร

10 ไม่เข้า มาตรา 3 (2) (ก) เพราะจำเลยไมมีภูมิลำเนาในไทยภายใน 2 ปี ก่อนวันที่มีการเสนอคำฟ้อง
ไม่เข้า มาตรา 3(2) (ข) เพราะจำเลยไม่ได้ประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนในไทย ไม่เข้า มาตรา 4 (1) เพราะจำเลยไม่มีภูมิลำเนาในไทย และมูลคดีไม่ได้เกิดในไทย ไม่เข้า มาตรา 4 (2) เพราะไม่ใช่เสนอคำร้องต่อศาลไทย

11 ไม่เข้า มาตรา 4 ทวิ เพราะไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งในไทย ไม่เข้า มาตรา 4 ตรี โจทก์ไม่ใช่คนไทย และจำเลยไม่มีทรัพย์สินในไทย ไม่เข้า มาตรา 4 จัตวา ไม่ใช่คำร้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เข้า มาตรา 4 เบญจา ไม่ใช่คำร้องขอใดๆเกี่ยวกับนิติบุคคล ไม่เข้า มาตรา 4 ฉ ทรัพย์สินไม่ได้อยู่ในไทย

12 2. การจัดลักษณะของมูลกรณี
2. การจัดลักษณะของมูลกรณี เราต้องทราบเสียก่อนว่า ข้อเท็จจริงนั้นเข้ากับกฎหมายเรื่องใด เช่น ครอบครัว มรดก สัญญา ละเมิด เมื่อเราให้ลักษณะของกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงนั้นแล้ว จึงจะไปดู พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันฯ ให้ใช้ก.ม.ของประเทศใดบังคับแก่กรณีหรือปัญหานั้น กรณีไม่ยุงยาก เช่น ก ขับรถชน ข บาดเจ็บ เป็นเรื่องละเมิด

13 ตัวอย่าง ก เช่ารถ ข. จากสงขลา ไปใช้ใน ปีนัง มาเลเซีย เมื่อไปถึง ก. นำรถไปแข่งรถคว่ำเสียหาย ปรับใช้กฎหมายเรื่องใด? - กฎหมายไทยเป็นเรื่องสัญญา - กฎหมายมาเลเซียเป็นเรื่องละเมิด ถ้านำมาฟ้องศาลไทย ศาลไทยจะปรับใช้เรื่องใด ถ้าละเมิด พรบ ว่าด้วยการขัดกันฯ มาตรา 15 ถ้าสัญญา พรบ ว่าด้วยการขัดกันฯ มาตรา 13

14 Maltese Marriage’s Case
สามีภรรยามีภูมิลำเนาในรัฐมอลต้าขณะทำการสมรส ภายหลังมีภูมิลำเนาในฝรั่งเศส ซื้อที่ดินในฝรั่งเศส ต่อมาสามีตาย ภริยาฟ้องคดีที่อังกฤษเรียกส่วนแบ่งในสิทธิเก็บกินที่ดินแปลงนั้นตามสิทธิของภริยา ศาลอังกฤษจัดเป็นเรื่องมรดก บังคับตามกฎหมายที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ใช้กฎหมายฝรั่งเศส ศาลจัดเป็นเรื่องครอบครัว ทรัพย์ระหว่างสามีภริยา กฎหมายของคู่กรณีที่มีภูมิลำเนาระหว่างสมรส ใช้กฎหมายมอลต้า ผลคดีต่างกัน ทำให้โจทก์อาจแพ้หรือชนะคดี

15 3. การให้ลักษณะกฎหมายแก่ข้อเท็จจริง Classification Qualification
ปัญหาว่าศาลจะปรับเป็นครอบครัวหรือมรดก อาศัยเกณฑ์อะไรในการปรับ มี 3 ทฤษฎี 3.1 จัดลักษณะตามกฎเกณฑ์ของ lex fori คือ กฎเกณฑ์ของกฎหมายของประเทศของศาลที่พิจารณาคดี 3.2 จัดลักษณะตามกฎเกณฑ์ของ lex causae คือ กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่กรณีนั้นเอง 3.3 จัดลักษณะตามกฎเกณฑ์ของนิติวิทยาทางวิเคราะห์ และตามกฎหมายเปรียบเทียบ Analytical jurisprudence & comparative law

16 1) การให้ลักษณะก. ม. แก่ข้อเท็จจริง โดยใช้ก. ม
1) การให้ลักษณะก.ม.แก่ข้อเท็จจริง โดยใช้ก.ม.ของประเทศที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีตั้งอยู่ Lex fori ถ้าศาลไทยจะให้ลักษณะก.ม.แก่ข้อเท็จจริงตามหลัก lex fori ได้แก่ ป.พ.พ. ตัวอย่างเช่น เรื่องการไม่ให้ความยินยอมของบิดาแก่บุตรในการสมรส ใน ป.พ.พ. ถือว่าเป็นเรื่องเงื่อนไขในการสมรส จากนั้นศาลไทยจะไปดู พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันฯ ที่ว่า เงื่อนไขแห่งการสมรส ต้องเป็นไปตามสัญชาติของคู่สมรสแต่ละฝ่าย ศาลไทยจึงต้องดูว่าคู่สมรสฝ่ายที่ขาดความยินยอมมีสัญชาติอะไร และใช้ก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้นในการพิจารณาคดี

17 2. การให้ลักษณะก. ม. แก่ข้อเท็จจริง โดยใช้ก
2. การให้ลักษณะก.ม.แก่ข้อเท็จจริง โดยใช้ก.มที่จะใช้บังคับแก่กรณีนั้นเอง lex causae คือ การใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ข้อเท็จจริงนั้นควรเข้าลักษณะที่กฎหมายของประเทศนั้นว่าเป็นเรื่องอะไร เช่น เงื่อนไขแห่งการสมรส ควรใช้กฎหมายสัญชาติของคู่สมรส ถ้าเป็นคู่สมรสเป็นคนญี่ปุ่น ก็ต้องใช้กมญี่ปุ่น หรือ แบบแห่งการสมรส ควรเป็นกฎหมายของประเทศที่การสมรสเกิดขึ้น ถ้าแต่งงานที่เกาหลี ก็ต้องใช้กมเกาหลี

18 การให้ลักษณะก.ม.แก่ข้อเท็จจริงของประเทศไทย
พ.ร.บ. ขัดกัน มาตรา 15 “ หนี้ซึ่งเกิดจากการละเมิด ให้บังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริง ซึ่งทำให้เป็นการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้น ความในวรรคก่อนไม่ใช้แก่บรรดาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศซึ่งไม่เป็น การละเมิดตามกฎหมายไทย” โดยปกติให้ใช้หลัก Lex fori นอกจากเรื่องละเมิดเท่านั้นจึงใช้หลัก Lex causae

19 4. การเลือกใช้กฎหมายของประเทศที่จะนำมาปรับแก่คดี
4. การเลือกใช้กฎหมายของประเทศที่จะนำมาปรับแก่คดี ทางทฤษฎี การเลือกก.ม.ของประเทศใด เพราะก.ม.ของประเทศนั้นมีความใกล้ชิดและเหมาะสมแก่การที่จะนำมาปรับแก่คดีนั้นมากที่สุด ทางปฏิบัติ พิจารณาจากกฎหมายขัดกันซึ่งจะระบุถึงจุดเกาะเกี่ยวว่าให้ใช้กฎหมายของประเทศใด หลักกว้างๆ ดังนี้ 1) ถ้าเป็นกรณีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สถานะและความสามารถของบุคคลและความสัมพันธ์ทางครอบครัว จุดเกาะเกี่ยวได้แก่ สัญชาติ หรือภูมิลำเนา

20 กรณีเกี่ยวกับทรัพย์ จุดเกาะเกี่ยวได้แก่สถานที่ทรัพย์ตั้งอยู่
กรณีเกี่ยวกับการกระทำ เช่น ละเมิด การปฏิบัติตามสัญญา จุดเกาะเกี่ยวได้แก่สถานที่การกระทำนั้นเกิดมีขึ้น นอกจากนี้ยังมีจุดเกาะเกี่ยวอื่นๆ เช่น ถิ่นที่อยู่ ถิ่นที่ศาลพิจารณาคดี

21 5. การขัดกันในความหมายของจุดเกาะเกี่ยว
5. การขัดกันในความหมายของจุดเกาะเกี่ยว หากเราสามารถเลือกใช้กฎหมายของประเทศตามที่จุดเกาะเกี่ยวชี้ไปให้ใช้ อาจมีปัญหาในกรณีกฎหมายของแต่ละประเทศให้ความหมายของจุดเกาะเกี่ยวแตกต่างกันไป หรือ ปัญหาการขัดกันของจุดเกาะเกี่ยว

22 กรณีศึกษาที่หนึ่ง เหลี่ยมและพวกก่อตั้งบริษัทจดทะเบียนในประเทศลาว แต่มีสำนักงานใหญ่ที่กัมพูชา มีการฟ้องศาลไทยเรื่องบริษัทมีความสามารถทำนิติกรรมหรือไม่ ก.ม.ไทย ลาว กัมพูชา จุดเกาะเกี่ยวในเรื่องความสามารถของบุคคล ให้ใช้ก.ม.สัญชาติของบุคคล

23 - ศาลไทยจึงต้องใช้กฎหมายของกัมพูชา
จุดเกาะเกี่ยวเหมือนกัน คือ สัญชาติของบุคคล แต่ก.ม. ใน 3 ประเทศ อาจขัดกันว่าบริษัทนั้นมีสัญชาติใด คือ สัญชาติของประเทศที่ก่อตั้งบริษัท หรือสัญชาติของประเทศที่มีสำนักงานใหญ่ - พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย พ.ศ มาตรา 7 “ในกรณีที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของนิติบุคคล สัญชาติของ นิติบุคคลนั้นได้แก่สัญชาติแห่งประเทศซึ่งนิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้ง ทำการแห่งใหญ่” - ศาลไทยจึงต้องใช้กฎหมายของกัมพูชา

24 กรณีศึกษาที่สอง อับดุลสัญชาติมาเลเซียมีภูมิลำเนาที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ภายหลังประกอบอาชีพเปิดร้านขายเครื่องประดับในกรุงเทพฯ แต่ยังเดินทางไปมากรุงกัวลาลัมเปอร์ ต่อมาอับดุลตายที่กรุงเทพฯ ทายาทคนหนึ่งฟ้องขอแบ่งมรดกต่อศาลไทย จุดเกาะเกี่ยวตรงกัน ไทยและมาเลเซียมีว่า มรดกที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย จุดเกาะเกี่ยว คือ ภูมิลำเนา

25 แต่กฎหมายของสองประเทศอาจจะขัดกัน กฎหมายไทยอาจถือว่าอับดุลมีภูมิลำเนาในไทยขณะถึงแก่ความตาย กฎหมายมาเลเซีย อาจถือว่าอับดุลมีภูมิลำเนาที่มาเลเซีย เพราะมีการเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย พ.ศ มิได้บัญญัติกรณีมีการขัดกันเรื่องภูมิลำเนา ความหมายของ “ภูมิลำนา” จึงพิจารณาตามก.ม.ภายในของไทย ซึ่งเป็นก.ม.ของประเทศของศาลที่พิจารณาคดี

26 การย้อนส่ง การย้อนส่ง คือ กรณีที่ก.ม.ว่าด้วยการขัดกันแห่งก.ม.ของประเทศหนึ่งบังคับให้ใช้ก.ม. ว่าด้วยการขัดกันแห่งก.ม.ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ก.ม. ว่าด้วยการขัดกันแห่งก.ม.ของประเทศหลังนี้ ย้อนส่งกลับมาใช้ก.ม.ของประเทศแรกหรือย้อนส่งกลับไปใช้ก.ม.ของประเทศที่ 3

27 กรณีไม่ต้องย้อนส่ง นายสุชาติคนไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อังกฤษ เสียชีวิตที่ฝรั่งเศส ทิ้งทรัพย์มรดกในประเทศไทยไว้เป็นพระเครื่อง มูลค่า 10 ล้านบาท มีปัญหาว่าจะใช้ก.ม.ประเทศใดบังคับ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันฯ มรดกที่เกี่ยวกับสังหาฯย่อมเป็นไปตามก.ม.ภูมิลำเนา คือ ก.ม.ของอังกฤษ = ก.ม.ขัดกันฯของอังกฤษ บัญญัติทำนองเดียวกันว่า การรับมรดกเกี่ยวกับสังหาฯให้ใช้ก.ม.ภูมิลำเนา ถ้าตามก.ม.อังกฤษถือว่า นายสุชาติมีภูมิลำเนาที่อังกฤษ ดังนี้ ศาลไทยยกก.ม.ภายในของอังกฤษปรับแก่คดี

28 ป.พ.พ. เรื่องมรดก พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน
ก.ม.ไทย ก.ม.ของอังกฤษ ป.พ.พ. เรื่องมรดก ก.ม.ขัดกัน พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ภายใน

29 การย้อนส่งมี 2 ชนิด คือ การย้อนส่งกลับ (Renvoi Au Premier Degré)
การที่ก.ม.ว่าด้วยการขัดกันแห่งก.ม.ของประเทศหนึ่งบัญญัติให้ใช้ก.ม. ว่าด้วยการขัดกันแห่งก.ม.ของประเทศของอีกประเทศหนึ่ง และตามก.ม.ว่าด้วยการขัดกันแห่งก.ม.ของประเทศหลังนี้ ให้ใช้ก.ม.ของประเทศแรก

30 ตัวอย่าง ย้อนส่ง ใช้ก.ม.ไทย
ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันฯ มรดกที่เกี่ยวกับสังหาฯย่อมเป็นไปตามก.ม.ภูมิลำเนา ถ้านายสุชาติมีภูมิลำเนาตามก.ม.ไทยอยู่ที่อังกฤษ ก.ม.ขัดกันฯของอังกฤษ บัญญัติทำนองเดียวกันว่า การรับมรดกเกี่ยวกับสังหาฯให้ใช้ก.ม.ภูมิลำเนา ถ้าตามก.ม.อังกฤษถือว่า นายสุชาติมีภูมิลำเนาที่ไทย (ก.ม.อังกฤษกำหนดเงื่อนไขภูมิลำเนาต่างจากไทย) ย้อนส่ง ใช้ก.ม.ไทย

31 ป.พ.พ. เรื่องมรดก พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน
ก.ม.ไทย ก.ม.ของอังกฤษ ป.พ.พ. เรื่องมรดก ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481

32 2. การย้อนส่งต่อไป (Renvoi Au second Degré) ได้แก่ การที่ก. ม

33 ตัวอย่าง ย้อนส่งต่อไป ก.ม.ฝรั่งเศส
ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันฯ มรดกที่เกี่ยวกับสังหาฯย่อมเป็นไปตามก.ม.ภูมิลำเนา ถ้านายสุชาติมีภูมิลำเนาตามก.ม.ไทยอยู่ที่อังกฤษ ก.ม.ขัดกันฯของอังกฤษ บัญญัติทำนองเดียวกันว่า การรับมรดกเกี่ยวกับสังหาฯให้ใช้ก.ม.ภูมิลำเนา ถ้าตามก.ม.อังกฤษถือว่า นายสุชาติมีภูมิลำเนาที่ฝรั่งเศส ศาลต้องไปดู ก.ม.ขัดกันของฝรั่งเศส ย้อนส่งต่อไป ก.ม.ฝรั่งเศส

34 ก.ม.ของฝรั่งเศส พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน ป.พ.พ.
ก.ม.ไทย ก.ม.ของอังกฤษ ป.พ.พ. ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ของฝรั่งเศส ก.ม.ภายใน

35 อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ถ้าก. ม. ขัดกันของอังกฤษ กำหนดให้ก. ม
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ถ้าก.ม.ขัดกันของอังกฤษ กำหนดให้ก.ม.ที่ใช้บังคับคือก.ม.ภายในของประเทศที่สาม ศาลไทยต้องนำก.ม.ภายในของประเทศที่สามปรับแก่คดี

36 ก.ม.ของฝรั่งเศส พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน ป.พ.พ.
ก.ม.ไทย ก.ม.ของอังกฤษ ป.พ.พ. ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ของฝรั่งเศส ก.ม.ภายใน

37 ข้อสังเกต การย้อนส่งจะต้องพิจารณาก.ม.ขัดกันฯของต่างประเทศก่อน ยังไม่ดูก.ม.ภายในของประเทศนั้น หลักการย้อนส่งในปัจจุบันมี 3 ระบบ คือ ก. ไม่ยอมรับการย้อนส่งเลย เช่น อิตาลี ข. ยอมรับแต่การย้อนส่งกลับ เช่น จีน ค. ยอมรับทั้งการย้อนส่งกลับและการย้อนส่งต่อไป เช่น ไทย

38 3. ก.มไทยยอมรับการย้อนส่งกลับ
มาตรา 4 พ.ร.บ.การขัดกันฯ “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับและตามกฎหมายต่างประเทศนั้น กฎหมายที่จะใช้บังคับได้แก่กฎหมายแห่งประเทศสยาม ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศ สยามบังคับ มิใช่กฎเกณฑ์แห่งกฎหมายสยามว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย” หมายถึง พ.ร.บ.การขัดกันฯให้ใช้ก.ม.ต่างประเทศใด ถ้าก.ม.ต่างประเทศให้ใช้ก.ม.ไทย คือ ก.ม.ภายในของไทย ไม่ใช่พ.ร.บ.การขัดกันฯ เพราะจะทำให้ย้อนส่งไปมาไม่มีที่สิ้นสุด

39 ตัวอย่าง นายสมิธสัญชาติอังกฤษ อายุ 19 ปี และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ต้องการซื้อรถยนต์ในไทย ผู้ขายอยากทราบว่านายสมิธมีความสามารถเข้าทำสัญญาหรือไม่ ให้ดู พ.ร.บ.การขัดกันฯ มาตรา 10 “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น” = ก.ม.สัญชาติ = กม. อังกฤษ = ก.ม.ขัดกันของอังกฤษ บัญญัติว่า “ความสามารถของคนอังกฤษให้เป็นไปตามก.ม.ภูมิลำเนา” ถือว่านายสมิธภูมิลำเนาอยู่ที่ไทย = ก.ม.ไทย คือ ป.พ.พ. ≠ พ.ร.บ.การขัดกันฯ ของไทย

40 พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481 ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน ป.พ.พ.
ก.ม.ไทย ก.ม.ของอังกฤษ ป.พ.พ. ก.ม.ขัดกัน ก.ม.ภายใน พ.ร.บ.การขัดกันฯ 2481

41 การใช้กฎหมายต่างประเทศ
1. ข้อจำกัดโดยทั่วไป พ.ร.บ.การขัดกันฯ มาตรา 5 “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ให้ใช้กฎหมายนั้นเพียงที่ไม่ขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศสยาม” การขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน การขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น ก.ม.ต่างประเทศบัญญัติเป็นปรปักษ์ต่อประเทศไทยโดยตรง เช่น ห้ามมิให้ส่งสินค้าเข้ามาในไทย

42 กฎหมายต่างประเทศเรื่องนิติกรรม - สนับสนุนการข่มขู่หรือใช้กลฉ้อฉลในการทำนิติกรรม
กฎหมายครอบครัว – ไม่ให้เสรีภาพแก่บุคคลที่จะทำการสมรส เช่น ห้ามแต่งงานข้ามศาสนา ห้ามหญิงหม้ายแต่งงานใหม่

43 เมื่อไม่สามารถใช้ก.ม.ต่างประเทศได้ มีข้อพิจารณาดังนี้
1. ถ้าก.ม.ต่างประเทศที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย เป็นข้อยกเว้นของก.ม.ต่างประเทศ ศาลไทยพึงใช้ก.ม.ต่างประเทศที่เป็นหลักทั่วไปบังคับแก่กรณีนั้น 2. . ถ้าก.ม.ต่างประเทศที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย เป็นก.ม.ทั่วไป ศาลไทยต้องใช้ก.ม.ไทยบังคับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าศาลประเทศอื่นจะรับคำพิพากษาของศาลไทยหรือไม่

44 ฎ 1583/2511 คู่สัญญารับขนของทางทะเลตกลงให้ช้ก.มของราชอาณาจักรเดนมาร์กแก่ข้อพิพาท แต่ก.ม.เรื่องอายุความเป็นก.ม.ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของไทย อายุความของกมเดนมาร์กจึงใช้บังคับแก่คดีพิพาทไม่ได้

45 2. ข้อจำกัดเฉพาะเรื่อง ข้อจำกัดเฉพาะเรื่องไม่ห้ามต่อการที่จะใช้ก.ม.ภายในของต่างประเทศ แต่ให้ใช้ได้ภายในขอบเขตหรือสอดคล้องกับก.ม.ไทย เช่น มาตรา 12 ศาลไทยจะสั่งให้อยู่ในความอนุบาลหรือความพิทักษ์ไม่ได้ เว้นแต่เหตุนั้นเป็นเหตุที่ก.ม.ไทยยอมให้ทำได้ มาตรา 15 ศาลไทยจะไม่บังคับหากไม่เป็นการละเมิดตามก.ม.ไทย

46 เช่น กมไทย ละเมิดรับผิดต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กมอังกฤษ ละเมิดบางประเภทไม่ต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เรียกว่า trespass หากนำคดีประเภทนี้มาฟ้องศาลไทย ศาลไทยไม่บังคับให้ กมไทย ชดใช้ค่าเสียหายที่แท้จริง กมอังกฤษ ค่าเสียหายในเชิงลงโทษ exemplary damages หากนำคดีประเภทนี้มาฟ้องศาลไทย ศาลไทยไม่บังคับให้

47 มาตรา 36 วรรค 2 สิทธิในการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู จะเรียกเกินกว่าก
มาตรา 36 วรรค 2 สิทธิในการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู จะเรียกเกินกว่าก.ม.ไทยไม่ได้

48 การขัดกันในเรื่องสัญชาติ
1. บุคคลธรรมดา ตามพ.ร.บขัดกันฯ ถือก.ม.สัญชาติเป็นก.ม.ที่พิจารณาถึงสถานะ ความสามารถ นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ก.ม.ไทย บุคคลจะได้สัญชาติหรือไม่ พิจารณาตามก.ม.ว่าด้วยสัญชาติ บุคคลอาจมีสองสัญชาติหรือมากกว่านั้นในขณะเดียวกัน หรือ ได้รับสัญชาติสองสัญชาติหรือกว่านั้นตามลำดับ เช่น ขาวเกิดจากบิดามารดาซึ่งมีสัญชาติลาว แต่เกิดในกัมพูชา ขาวจึงมีสัญชาติสองสัญชาติ ซึ่งได้รับมาในคราวเดียว

49 ก.ม.ของ ป.ท.ใดเป็นก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้น ?
เขียวสัญชาติมาเลเซียสมรสกับคนสัญชาติพม่า เขียวมีสัญชาติมาเลเซียและพม่าตามลำดับ จอห์นสัญชาติอเมริกันแปลงสัญชาติเป็นคนไทย จอห์นมีสองสัญชาติซึ่งได้มาเป็นลำดับ คือสัญชาติอเมริกันและไทย ก.ม.ของ ป.ท.ใดเป็นก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้น ?

50 กรณีบุคคลธรรมดาสองสัญชาติ
ถ้าบุคคลมีสองสัญชาติขึ้นไปอันได้รับมาเป็นลำดับ ก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้น ได้แก่ ก.ม.สัญชาติที่บุคคลได้รับครั้งสุดท้าย (ม. 6 วรรคแรก ) กรณีเขียว เขียวสัญชาติมาเลเซียสมรสกับคนสัญชาติพม่า เขียวมีสัญชาติมาเลเซียและพม่าตามลำดับ ก.ม.สัญชาติ คือ ก.ม.พม่า

51 ถ้าบุคคลมีสองสัญชาติได้รับมาในคราวเดียวกัน ก. ม. สัญชาติ คือ ก. ม
ถ้าบุคคลมีสองสัญชาติได้รับมาในคราวเดียวกัน ก.ม.สัญชาติ คือ ก.ม.ของ ป.ท. ที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ (ม. 6 วรรคสอง ) กรณีขาว ขาวเกิดจากบิดามารดาซึ่งมีสัญชาติลาว แต่เกิดในกัมพูชา มีภูมิลำเนาในกัมพูชา ก.ม. ที่ใช้บังคับ คือก.ม.กัมพูชา (ใช้ก.ม.ภูมิลำเนาแทนก.ม.สัญชาติ) ถ้าไม่ปรากฏว่าบุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ก.ม.สัญชาติได้แก่ก.ม.ของ ป.ท.ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ เช่น ขาวมีถิ่นที่อยู่ในไทย ก.ม.ที่ใช้บังคับคือก.ม.ไทย

52 ถ้าบุคคลมีสองสัญชาติขึ้นไปไม่ว่ารับมาในคราวเดียวกันหรือได้รับมาเป็นลำดับ แต่มีสัญชาติหนึ่งเป็นสัญชาติไทย ก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้นได้แก่ก.ม.ไทย ทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลจะมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในป.ท.ใดก็ตาม (มาตรา 6 วรรคสาม) หญิงไทยสมรสกับชาวอเมริกัน ทำให้ได้ทั้งสัญชาติไทยและอเมริกัน ติดตามสามีไปอยู่ฮาวาย สหรัฐ ก.ม. สัญชาติ คือ ก.ม.ไทย

53 กรณีบุคคลธรรมดาไร้สัญชาติ
ม. 6 วรรคสี่ ให้ใช้กม.ของป.ทที่บุคคลไร้สัญชาติมีภูมิลำเนาอยู่มาบังคับ และถ้าภูมิลำเนาของผู้ไร้สัญชาติไม่มี ให้ใช้ก.ม.แห่งถิ่นที่อยู่ มาบังคับ ม. 6 วรรคท้าย ถ้าป.ท.นั้นมีการแบ่งระบบก.ม.ออกเป็นแต่ละรัฐ หรือก.ม.เหล่าประชาคม เช่น คนเชื้อชาติหนึ่งใช้ก.ม.หนึ่ง อีกเชื้อชาติหนึ่งใช้อีกอย่าง หรือก.ม.ศาสนา ก.ม. สัญชาติของบุคคลนั้นได้แก่ ก.ม.ท้องถิ่น ก.ม.เหล่าประชาคม ก.ม.ศาสนา

54 2. นิติบุคคล สัญชาติของนิติบุคคลได้แก่สัญชาติของป.ท.ที่นิติบุคคลนั้นมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ นิติบุคคลก่อตั้งตามป.พ.พ. มีสัญชาติไทย ม 1016 ”การจดทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้ง สำนักงานแห่งใหญ่ทำกิจการอยู่ ณ ตำบลใดในพระราชอาณาจักร ท่านให้จดทะเบียน ณ หอทะเบียนสำหรับตำบลนั้น” หมายความว่า หุ้นส่วน บริษัทที่จดทะเบียนจะต้องมีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย นิติบุคคลจึงมีสัญชาติไทยเสมอไม่ว่าจะมีคนต่างด้าวถือหุ้นมากน้อยก็ตาม

55 อย่างไรก็ดี ก.ม.พิเศษบางฉบับอาจให้ถือว่านิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทยนั้นเป็นคนต่างด้าว เช่น บริษัทที่มีหุ้นของคนต่างด้าวเกินร้อยละ 49 หรือผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ถือเป็นนิติบุคคลต่างด้าว กรณีมีการขัดกันเรื่องสัญชาติของนิติบุคคล ให้ใช้มาตรา 7 สัญชาติของนิติบุคคลได้แก่สัญชาติของป.ท.ที่นิติบุคคลนั้นมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

56 ประเภทของปัญหาการขัดกันของก.ม.
บุคคล หนี้ ประเภทของปัญหาการขัดกันของก.ม. ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก

57 ม.3 ค.สามารถ การเริ่มต้นสภาพบุคคล คำสั่งให้ไร้ความสามารถ ม.12 สาบสูญ
ก.ม.ขัดกัน 2481 ม.12 ค.สามารถ สาบสูญ ม.10 ม. 11 การสิ้นสุดสภาพบุคคล ตายธรรมชาติ ม. 3 ม.3

58 หลักก. ม. ขัดกันสากลว่าด้วยการเลือกกม. เพื่อแก้ปัญหาการขัดกันแห่งก. ม
หลักก.ม.ขัดกันสากลว่าด้วยการเลือกกม.เพื่อแก้ปัญหาการขัดกันแห่งก.ม.ว่าด้วยบุคคล ปัญหาบุคคล ย่อมตกอยู่ภายใต้ก.ม.ของรัฐเจ้าของบุคคล (Personal State) ถ้าก.ม.ขัดกันนั้นเป็นของรัฐในสกุลก.ม. Common Law ตกอยู่ภายใต้ก.ม.ภูมิลำเนา ถ้าก.ม.ขัดกันนั้นเป็นของรัฐในสกุลก.ม. Civil Law ตกอยู่ภายใต้ก.ม.สัญชาติ

59 พระราชบัญญัติการขัดกันของกฎหมาย 2481
สถานะและความสามารถของบุคคล มาตรา 10 “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น” ความสามารถทางกฎหมาย แยกเป็น 3 ประการ คือ 1. ความสามารถถือสิทธิ ได้แก่ความสามารถที่จะมีสิทธิและหน้าที่ตามก.ม. บุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะก็สามารถถือสิทธิได้ เช่น มีกรรมสิทธิ์

60 ความสามารถที่จะใช้สิทธิ ได้แก่ ความสามารถในการทำนิติกรรมด้วยตนเอง
ความสามารถพิเศษ เป็นความสามารถเฉพาะเรื่อง เช่น การสมรส ทำพินัยกรรม รับผิดทางละเมิด ความสามารถตามมาตรา 10 คงหมายถึงความสามารถในการใช้สิทธิเท่านั้น แยกพิจารณาปัญหาเป็น 2 ประการ คือ 1. ปัญหาว่ากิจการอันหนึ่งอันใดจำเป็นต้องมีความสามารถหรือไม่ 2. เมื่อกิจการนั้นต้องมีความสามารถแล้ว ความสามารถนี้เป็นไปตามก.ม.ใด

61 1. ปัญหาว่ากิจการอันหนึ่งอันใดจำเป็นต้องมีความสามารถหรือไม่
ก.ม.แต่ละประเทศกำหนดกิจการที่ต้องมีความสามารถไม่เหมือนกัน เช่น สิทธิครอบครอง ประเทศ A การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง บุคคลผู้ได้มาต้องมีความสามารถ แต่ประเทศ B ความสามารถไม่เป็นสิ่งจำเป็นในการได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ตัวอย่าง มีคดีฟ้องศาลไทย ดำสัญชาติลาวไปจับจองที่ดินที่กัมพูชา มีภูมิลำเนาในไทย ตามก.ม.ลาวความสามารถไม่เป็นสิ่งจำเป็นในการได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง แต่ตามกฎหมายกัมพูชาผู้ได้มาต้องบรรลุนิติภาวะ ดังนี้ ศาลไทยจะวินิจฉัยตามก.ม.ของประเทศใด

62 ก.ม.ของประเทศที่ยกปรับแก่คดีนี้ได้แก่ Lex causae ซึ่งตาม มาตรา 16 ของพ.ร.บ.ขัดกันฯ ได้แก่ก.ม.ของประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ ต้องใช้ก.ม.ของกัมพูชา

63 2. เมื่อกิจการนั้นต้องมีความสามารถแล้ว ความสามารถนี้เป็นไปตามก.ม.ใด
2. เมื่อกิจการนั้นต้องมีความสามารถแล้ว ความสามารถนี้เป็นไปตามก.ม.ใด เมื่อตาม ก.มกัมพูชา การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองต้องมีความสามารถ ดำมีความสามารถหรือไม่? ดูก.ม.สัญชาติของดำ คือ ก.ม.ลาว ระบุ บุคคลมีความสามารถเมื่ออายุ 21 ปี ปรากฏขณะจับจองที่ดิน ดำมีอายุ 20 ปี ศาลไทยจะต้องวินิจฉัยว่าดำไม่มีสิทธิครอบครองเพราะขาดความสามารถ

64 ในเรื่องความไร้สามารถ ถ้าบุคคลหนึ่งมีความสามารถอยู่แล้วตามก
ในเรื่องความไร้สามารถ ถ้าบุคคลหนึ่งมีความสามารถอยู่แล้วตามก.มประเทศตน ต่อตามก.ม.ของประเทศตนถือว่าไร้ความสามารถ ศาลไทยต้องถือว่าบุคคลนั้นไร้ความสามารถเช่นกัน ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นคนไร้ความสามารถตามคำสั่งศาลของประเทศอื่น (มิใช่ป.ทที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ) หากก.ม.ของป.ท.ที่บุคคลนั้นมีสัญชาติยอมรับผลตามคำสั่งศาลของต่างป.ท.แล้ว ศาลไทยต้องถือว่าบุคคลนั้นไร้ความสามารถเช่นกัน เพราะเป็นการถือตามก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้นตามมาตรา 10 วรรคแรก

65 ตัวอย่าง ศาลไทยพิจารณาความสามารถของดำสัญชาติลาว ปรากฏว่าศาลกัมพูชาเคยมีคำสั่งให้ดำเป็นคนไร้ความสามารถ และก.ม.ลาวยอมรับผลของคำสั่งนั้น ดังนี้ ศาลไทยก็ต้องวินิจฉัยว่าดำมีความสามารถอันจำกัดด้วย

66 ข้อยกเว้นหลักความสามารถและความไร้ความสามารถเป็นไปตามก.ม.สัญชาติ
นิติกรรมที่ทำภายในประเทศไทย มาตรา 10 วรรคสอง “แต่ถ้าคนต่างด้าวทำนิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าวนั้นย่อมจะไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจำกัดสำหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทำนิติกรรมนั้นได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก”

67 มาตรา 10 วรรคสอง ประกอบด้วย
คนต่างด้าวทำนิติกรรมในไทย คนต่างด้าวนั้นไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจำกัดตามก.ม.สัญชาติของตนที่ทำนิติกรรมนั้น ตามก.ม.ไทยคนต่างด้าวมีความสามารถทำนิติกรรมนั้นได้ นิติกรรมนั้นไม่เป็นนิติกรรมตามก.ม.ครอบครัวหรือก.ม มรดก

68 ตัวอย่างที่ 1 ดำสัญชาติลาวซื้อรถยนต์คันหนึ่งในไทย ตามก.ม.ลาว บุคคลจะบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 21 ปี ขณะนั้นดำอายุ 20 ปี ซึ่งตามก.ม.ไทย ป.พ.พ. ม. 19 ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว ดังนี้ศาลไทยต้องวินิจฉัยว่า ดำมีความสามารถที่จะซื้อรถคันนี้ได้

69 ตัวอย่างที่ 2 เขียวสัญชาติกัมพูชาจะสมรสกับเหลืองสัญชาติลาว ทั้งสองตกลงทำสัญญาก่อนสมรสเกี่ยวกับทรัพย์สินในประเทศไทย ความสามารถในการทำสัญญา ต้องพิจารณาตามก.ม.สัญชาติของเขียว (ก.ม.กัมพูชา) และตามก.ม.สัญชาติของเหลือง (ก.ม.ลาว) ตามพ.ร.บ.ขัดกันฯ ม. 24 เพราะเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับครอบครัว หากตามก.ม.สัญชาติ คู่สมรสไม่มีความสามารถ ศาลไทยต้องวินิจฉัยว่าไม่มีความสามารถ แม้ก.ม.ไทยคู่สมรสจะมีความสามารถก็ตาม

70 2. นิติกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
2. นิติกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 10 วรรคท้าย “ในกรณีที่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ความสามารถของบุคคลที่จะทำนิติกรรมเช่นว่านั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่” ตัวอย่าง นายแดงสัญชาติพม่าทำสัญญาซื้อขายที่ดินในมาเลเซีย ตามก.ม.พม่า บุคคลมีความสามารถเมื่ออายุ 20 ปี ขณะทำสัญญาอายุ 20 ปีแล้ว แต่ก.ม. มาเลเซีย บุคคลมีอายุ 21 ปี ดังนี้ ศาลไทยต้องวินิจฉัยว่าแดงไม่มีความสามารถ

71 ความสามารถของนิติบุคคล
มาตรา 7 “ในกรณีที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของนิติบุคคล สัญชาติของนิติบุคคลนั้นได้แก่สัญชาติแห่งประเทศซึ่งนิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการแห่งใหญ่” สัญชาติของนิติบุคคลถือตามก.ม.นิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการแห่งใหญ่

72 การพิจารณาความสามารถของนิติบุคคล พิจารณาตามลำดับดังนี้
คณะบุคคลที่ก่อตั้งนั้นเป็นนิติบุคคลตามก.ม.ของป.ท.ที่ก่อตั้งหรือไม่ แม้เงื่อนไขการก่อตั้งจะผิดกับก.ม.ไทย ศาลไทยควรยอมรับว่าสถานะ เป็น “นิติบุคคล” ด้วย ตัวอย่าง บริษัทในอังกฤษก่อตั้งด้วยผู้ถือหุ้นเพียง 2 คน ศาลไทยควรยอมรับว่าสถานะเป็นนิติบุคคล แม้ว่า ป.พ.พ ม บริษัทจะก่อตั้งต้องมีผู้เริ่มก่อการ 3 คนขึ้นไป

73 ความสามารถของนิติบุคคลพิจารณาจากหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับก่อน (กิจการที่ทำอยู่ในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลหรือไม่) ตัวอย่าง บริษัทค้าข้าวลาวจำกัด จดทะเบียนก่อตั้งในลาว แต่มีที่ตั้งใหญ่ที่กัมพูชา บริษัทมีสัญชาติกัมพูชา ตามม. 7 บริษัทนี้ค้าเมล็ดพันธ์พืชในประเทศกัมพูชา มีปัญหาว่าบริษัทมีความสามารถที่จะทำนิติกรรมค้าเมล็ดพันธ์พืชหรือไม่ ศาลไทยต้องพิจารณาน.ส.บริคณห์สนธิก่อน ถ้ามีวัตถุประสงค์เพียงค้าข้าวอย่างเดียว ศาลไทยย่อมวินิจฉัยว่าบริษัทไม่มีความสามารถ

74 ถ้านิติบุคคลมีความสามารถทำนิติกรรมตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนก่อตั้งแล้ว ต้องพิจารณาว่าก.ม.สัญชาติของนิติบุคคล นิติบุคคลมีความสามารถที่จะทำกิจการเช่นนั้นได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ นิติบุคคลย่อมไม่มีความสามารถ ตัวอย่าง ถ้าบริษัทค้าข้าวลาวจำกัด มีความสามารถค้าเมล็ดพันธ์พืชได้ตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนในลาว แต่ตามก.ม.กัมพูชาบริษัทที่ก่อตั้งในต่างประเทศไม่อาจค้าเมล็ดพันธ์พืชในกัมพูชาได้ ต้องถือว่าบริษัทไม่มีความสามารถในการทำนิติกรรมค้าเมล็ดพันธ์พืชได้

75 สถานะของคนต่างด้าวกรณีสาบสูญ
มาตรา 11 “ถ้าคนต่างด้าวในประเทศสยามได้ไปเสียจากภูมิลำเนาและถิ่นที่อยู่ตามเงื่อนไข ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 53 และ 54 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ศาลสยามจะสั่งการให้ทำพลางตามที่จำเป็นนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสยาม คำสั่งให้คนต่างด้าวดังกล่าวแล้วเป็นคนสาบสูญ และผลแห่งคำสั่งนั้นเท่าที่ไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสยามก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคนต่างด้าวนั้น”

76 บุคคลไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ตามเงื่อนไขใน
ม. 53 วรรคแรก คือมิได้ตั้งตัวแทนมอบอำนาจไว้และไม่มีใครรู้ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือ ม. 53 วรรคสอง คือ เมื่อเวลาล่วงไปหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือ นับแต่มีผู้พบเห็นหรือทราบข่าว หรือ ม. 54 คือ ได้ตั้งตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปไว้ แต่การมอบอำนาจนั้นอาจเสียหายแก่ผู้นั้น บุคคลนั้นมีสถานะ “ผู้ไม่อยู่” ศาลอาจสั่งให้ทำพลางเท่าที่จำเป็นหรือแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน

77 ม. 11 วรรคแรก ในกรณีผู้ไม่อยู่เป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย ให้ใช้กฎหมายไทย ไม่ใช่ก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้น (หลักทั่วไป) อย่างไรก็ตาม ถ้าศาลจะสั่งให้คนต่างด้าวเป็นคนสาบสูญ ต้องเป็นไปตามก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้น เหตุผลที่บัญญัติเช่นนี้ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ไม่อยู่ ในเรื่องจัดการทรัพย์สมบัติ และประโยชน์แก่ทายาท เจ้าหนี้ รัฐ เพื่อไม่ให้ทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ถูกทอดทิ้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของป.ท.

78 ตัวอย่าง คนญี่ปุ่นอพยพครอบครัวมาตั้งภูมิลำเนาในประเทศไทย ต่อมาหัวหน้าครอบครัวได้เดินทางไปจากไทยโดยไม่ทราบข่าวคราว และไม่ได้ตั้งตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปไว้ ต่อมาภริยาหรือบุตรยื่นคำร้องต่อศาลไทย ขอให้มีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของสามีหรือบิดา ดังนี้ศาลไทยต้องใช้ ป.พ.พ. ม. 53 ศาลอาจสั่งการให้ทำพลางตามจำเป็นหรือแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้นั้นได้

79 ม. 11 วรรคสอง มีความหมายดังนี้คือ
ศาลไทยมีอำนาจสั่งให้คนต่างด้าวเป็นคนสาบสูญได้ เงื่อนไขที่จะสั่งให้เป็นคนสาบสูญเป็นไปตามก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้น ผลของคำสั่งสาบสูญ กระทบกับสถานะของบุคคล ซึ่งแต่ละป.ท.บัญญัติต่างกัน เช่น สามีภริยาของผู้สาบสูญจะสมรสใหม่ได้หรือไม่ ทายาทจะรับมรดกได้หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามก.ม.สัญชาติของผู้สาบสูญเช่นกัน

80 ความอนุบาลและความพิทักษ์
มาตรา 12 “เหตุที่ศาลสยามจะสั่งให้คนต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศสยามอยู่ในความอนุบาล หรืออยู่ในความพิทักษ์ได้นั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น อย่างไรก็ดี มิให้ศาลสยามสั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นอยู่ในความอนุบาลหรืออยู่ในความพิทักษ์ โดยอาศัยเหตุซึ่งกฎหมายสยามมิได้ยอมให้กระทำ ผลของการให้อยู่ในความอนุบาลหรือให้อยู่ในความพิทักษ์ดังกล่าวแล้ว ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศซึ่งศาลที่สั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถสังกัดอยู่”

81 หลักเกณฑ์ ศาลไทยมีอำนาจออกคำสั่งให้คนต่างด้าวเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถให้อยู่ในความอนุบาลหรือพิทักษ์ได้ต่อเมื่อ 1.1 คนต่างด้าวมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ใน ป.ท.ไทย และ 1.2 ตามก.ม.สัญชาติของคนต่างด้าวมีเหตุที่จะสั่งเช่นนั้นได้ และ 1.3 ศาลไทยมีเหตุที่จะสั่งเช่นนั้นได้เหมือนกัน ดู ป.พ.พ. ม.28, ม. 32

82 ผลของการสั่งให้อนุบาลหรือพิทักษ์ ให้เป็นไปตามก. ม. ของป. ท
ผลของการสั่งให้อนุบาลหรือพิทักษ์ ให้เป็นไปตามก.ม.ของป.ท.ที่ศาลพิจารณาพิพากษาคดี = ศาลไทยมีคำสั่ง = เป็นไปตามก.ม.ไทย ได้แก่ - ผลของการสั่งให้อยู่ในความอนุบาล ป.พ.พ. มาตรา 29 - ผลของการสั่งให้อยู่ในความพิทักษ์ ป.พ.พ. มาตรา 33,34

83 กฎหมายขัดกันไทยกำหนดการเลือกกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ไว้สำหรับ 5 สถานการณ์ด้วยกัน
คือ นิติกรรม สัญญา ลาภมิควรได้ จัดการงานนอกสั่ง ละเมิด

84 การเกิดขึ้นของสัญญาม.3
นิติกรรมสัญญา ม.13 แบบแห่งสัญญา ม.9 การจำแนกประเภทปัญหาการขัดกันของกฎหมายว่าด้วยหนี้ตาม พรบ.ขัดกันฯ 2481 การเกิดขึ้นของสัญญาม.3 การสิ้นสุดของสัญญาม.3 ลาภมิควรได้ ม.14 จัดการงานนอกสั่ง ม.14 นิติเหตุ ละเมิด ม.15

85 หลักกฎหมายขัดกันสากลว่าด้วยการเลือกกฎหมายเพื่อแก้การขัดกันของกฎหมายว่าด้วยหนี้
ปัญหาหนี้ ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของถิ่นที่เกี่ยวกับตัวหนี้ (Territorial State) - ถ้ากฎหมายขัดกันนั้นเป็นของรัฐในสกุลกฎหมายCommon Law และ Civil Law ฝรั่งเศส ปัญหาหนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งถิ่นที่หนี้เกิดขึ้น - ถ้ากฎหมายขัดกันนั้นเป็นของรัฐในตระกูลกฎหมาย Civil Law เยอรมัน ปัญหาหนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งถิ่นที่หนี้มีผล

86 หนี้ หนี้ที่เกิดจากสัญญา ความสามารถของบุคคลในการทำสัญญา ม.10
ความสามารถของบุคคลในการทำสัญญา ม.10 แบบของการทำสัญญา มี 2 กรณี 1. ม. 9 2. ม. 13 วรรคสาม

87 แบบของสัญญา มาตรา 9 “นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมาย อื่นใดแห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของ ประเทศที่นิติกรรมนั้นได้ทำขึ้น อย่างไรก็ดี กฎหมายของประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ย่อมใช้บังคับแก่แบบที่จำเป็น เพื่อความสมบูรณ์แห่งสัญญา เอกสาร หรือนิติกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ “

88 สัญญาต้องทำตามแบบของก. ม. ของป. ท
สัญญาต้องทำตามแบบของก.ม.ของป.ท.ที่สัญญานั้นทำขึ้นจึงจะสมบูรณ์ เว้นแต่แบบของนิติกรรมเกี่ยวกับอสังฯ ต้องเป็นไปตามก.ม.แห่งป.ท.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ตัวอย่าง ดำสัญชาติลาวยืมเงินขาวสัญชาติไทยในกรุงเวียงจันทร์ 1,500 บาท ตามก.ม.ลาว การกู้เงินจำนวนเท่าใดก็ตามต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ แต่การกู้รายนี้มิได้ทำเป็นหนังสือ ศาลไทยต้องวินิจฉัยตามก.ม. ลาว ว่าการกู้รายนี้ไม่สมบูรณ์เพราะมิได้ทำตามแบบของประเทศที่สัญญาเกิดขึ้น ตัวอย่าง นาย A สัญชาติอังกฤษมีที่ดินในฝรั่งเศส และจำนองที่ดินที่สวิสฯ ดังนี้ต้องทำตามแบบของประเทศฝรั่งเศส

89 ม. 13 วรรค 3 “สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทำถูกต้องตามแบบอันกำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลแห่งสัญญานั้น” ตัวอย่าง กรณีดำ ถ้าคู่สัญญาตกลงกันให้ใช้ก.ม.ไทยเป็นก.ม.ซึ่งบังคับใช้สำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลของสัญญา เมื่อถึงศาลไทย แม้กู้ยืมจะไม่ได้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ในก.ม.ลาว แต่เมื่อคู่สัญญาตกลงให้ใช้ก.ม.ไทยบังคับแก่ผลของสัญญา ตามก.ม.ไทยการกู้ยืมเมื่อไม่เกิน 2,000 บาท แม้ไม่ทำเป็นหนังสือก็ฟ้องบังคับคดีได้ (ม.653) ศาลไทยย่อมวินิจฉัยว่ากู้ยืมรายนี้ เมื่อทำถูกต้องตามแบบของก.ม.ไทย ย่อมเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้

90 สาระสำคัญของสัญญาและผลของสัญญา
มาตรา “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ หรือ ผลแห่งสัญญานั้นให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับ ก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติ อันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกันก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้น ได้ทำขึ้น ถ้าสัญญานั้นได้ทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ถิ่นที่ถือว่าสัญญา นั้นได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นคือถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ ถ้าไม่อาจหยั่งทราบถิ่นที่ว่านั้นได้ ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฏิบัติตามสัญญานั้น”

91 สาระสำคัญของสัญญา = คู่สัญญามีเจตนาตรงกันในการทำสัญญานั้น สัญญามิได้เกิดเพราะเจตนาลวง กลฉ้อแล ข่มขู่หรือสำคัญผิด และวัตถุประสงค์ของสัญญาต้องไม่ขัดต่อก.ม. หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ปชช ผลของสัญญา เป็นเรื่องต่อไปนี้ 1. ความรับผิดของคู่สัญญามีหรือไม่อย่างไร 2. คู่สัญญาไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้บางส่วน คู่สัญญาอีกฝ่ายปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้หรือไม่

92 3. บุคคลภายนอกมีสิทธิขอรับประโยชน์ตามสัญญาได้มากน้อยพียงใด
4. สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาจะบอกเลิกได้หรือไม่ หลักเกณฑ์ของม. 13 1. ก.ม.ของ ป.ท.ที่คู่สัญญามีเจตนาจะให้นำมาใช้บังคับ ตัวอย่าง โยฮันสัญชาติแคนดาทำสัญญากับบัวขาวสัญชาติไทย ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ใช้ก.ม.แคนดาบังคับแก่สัญญาของตน หากมีคดีศาลไทย ศาลไทยต้องนำก.ม.แคนดามาปรับใช้กับคดี

93 ข้อสังเกต >>การที่คู่สัญญาตกลงให้ใช้ก. ม. ของป. ท. ใดป. ท
ข้อสังเกต >>การที่คู่สัญญาตกลงให้ใช้ก.ม.ของป.ท.ใดป.ท.หนึ่ง หมายถึง ก.ม.ภายในของป.ท.นั้น ไม่ใช่ก.ม.ขัดกัน >>สัญญาฉบับหนึ่งอาจมีสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาหลายส่วน แต่ละส่วนอาจอยู่ในบังคับก.ม.แต่ละป.ท.ได้ เช่น ยิ่งยงสัญชาติไทยกู้เงินลงทุนจากธนาคารสหรัฐ สัญญากำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นงวดๆ งวดหนึ่งชำระในไทย ตกลงให้ใช้ก.ม.ไทย งวดที่ 2 ชำระที่ญี่ปุ่น ตกลงให้ใช้ก.ม. ญี่ปุ่น งวดที่ 3 ชำระที่สหรัฐ ตกลงให้ใช้ก.ม. สหรัฐ ย่อมทำได้

94 2. ในกรณีคู่สัญญาไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้ง ให้พิจารณาว่าคู่สัญญามีเจตนาโดยปริยายที่จะใช้ก.ม. ของป.ท.ใด
เจตนาโดยปริยาย ดูจากความเป็นมาของสัญญา สัญชาติของคู่สัญญา เนื้อความของสัญญา ภาษาที่ใช้ สถานที่ทำสัญญา ประกอบกันทั้งหมด เช่น คนไทยทำสัญญากับคนลาว สัญญาทำเป็นภาษาไทย คำกฎหมายใช้ภาษาไทย อาจถือว่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะใช้ก.ม.ไทยบังคับ ข้อสังเกต เจตนาของคู่สัญญาในการเลือกใช้ก.ม. ใช้ได้เฉพาะสิ่งที่เป็นสาระสำคัญหรือผลของสัญญาเท่านั้น

95 3. ในกรณีที่ไม่ทราบเจตนาของคู่กรณี ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าจะให้ก.ม.ใดบังคับ
ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ก.ม.ที่ใช้บังคับได้แก่ก.ม.สัญชาติอันร่วมกัน เช่น เอและบีสัญชาติอังกฤษทั้งคู่ ทำสัญญากู้ยืมในมาเลเซีย ศาลไทยต้องนำก.ม.อังกฤษมาบังคับ ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน ก.ม.ที่ใช้บังคับได้แก่ ก.ม.แห่งถิ่นที่สัญญาได้ทำขึ้น เช่น เอสัญชาติพม่าและบีสัญชาติอินโด ทำสัญญากู้ยืมในมาเลเซีย ศาลไทยต้องนำก.ม.มาเลเซียมาบังคับ

96 สัญญาทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง จะถือว่าสัญญาทำขึ้นในป.ท.ใด ?
ม. 13 วรรค 2 ถ้าสัญญานั้นได้ทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ถิ่นที่ถือว่าสัญญานั้นได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นคือ ถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ ถ้าไม่อาจหยั่งทราบที่ว่านั้นได้ ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฏิบัติตามสัญญานั้น ตัวอย่าง (1) เขียวสัญชาติลาวส่งคำเสนอจากเวียงจันทร์ขายผ้าไหมให้แก่แดงสัญชาติมาเลเซียซึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์ แดงสนองรับซื้อโดยส่งจดหมายถึงเขียวที่เวียงจันทร์ ศาลไทยย่อมนำก.ม.ลาวมาใช้บังคับ เพราะเป็นก.ม.ของป.ท.ที่คำสนองไปถึงผู้เสนอ

97 ตัวอย่าง (2) ดำสัญชาติลาวส่งคำเสนอขายพระพุทธรูปเก่าให้แก่แดงสัญชาติไทยในราคา 50,000 บาท โดยดำจะต้องนำของมาส่งให้แดงที่ไทย และ แดงจะส่งเงินทางธนาคารที่ลาว แดงตอบรับคำเสนอโดยทำเป็นจดหมายมอบให้กับเขียวให้ไปมอบให้แก่ดำ ดำกำลังเดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาหนองคาย เขียวตามส่งจดหมายให้ดำขณะเรือแล่นกลางแม่น้ำ แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเรืออยู่ในเขตลาวหรือไทย ใช้ก.ม.ประเทศใดบังคับ ?

98 = ไม่อาจหยั่งทราบถึงถิ่นที่คำสนองมาถึงผู้เสนอ ก. ม. ที่ยกปรับคดีคือ ก
= ไม่อาจหยั่งทราบถึงถิ่นที่คำสนองมาถึงผู้เสนอ ก.ม.ที่ยกปรับคดีคือ ก.ม.แห่งถิ่นที่พึงปฏิบัติตามสัญญา ได้แก่ ก.ม.ลาว ในส่วนการชำระราคา ก.ม.ไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบของ ข้อสังเกต เป็นการบังคับตามที่ก.ม.บัญญัติ ไม่ใช่บังคับตามเจตนา ดังนั้นก.ม.ที่ใช้บังคับของต่างป.ท.คือ ก.ม.ขัดกัน ของป.ท.นั้น

99 จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้
มาตรา 14 หนี้ซึ่งเกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง หรือลาภมิควรได้ ให้บังคับตาม กฎหมายแห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เกิดหนี้นั้นได้เกิดขึ้น แยกพิจารณาได้ดังนี้ 1. เรื่องจัดการงานนอกสั่ง ให้บังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่จัดการงานไป เช่น เอ คนอังกฤษมีบ้านที่ฝรั่งเศส ต่อมาบ้านถูกพายุพัด บี ชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นเพื่อนบ้านได้ซ่อมแซมบ้านนั้น ต้องใช้ก.ม.ฝรั่งเศสบังคับ

100 เรื่องลาภมิควรได้ คือ ถิ่นที่มอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ให้ผู้นั้น
เช่น บริษัท A สัญชาติอิตาลี จ้างบริษัท B ที่อังกฤษต่อเรือ และสั่งธนาคารจ่ายเงิน 100,000 ยูโรแก่บริษัท B ที่อิตาลี แต่ธนาคารโอนเงินผิดบัญชีให้แก่ บริษัท C ถ้าบริษัท A จะฟ้องเรียกเงินจาก บริษัท C ต้องใช้ก.ม.อิตาลี

101 ละเมิด มาตรา 15 “หนี้ซึ่งเกิดจากการละเมิด ให้บังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริง ซึ่งทำให้เป็นการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้น ความในวรรคก่อนไม่ใช้แก่บรรดาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศซึ่งไม่เป็น การละเมิดตามกฎหมายสยาม กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือ ทางแก้อย่างใดไม่ได้นอกจากที่กฎหมายสยามยอมให้เรียกร้องได้ “

102 หนี้ที่เกิดจากละเมิดต้องใช้ก. ม
หนี้ที่เกิดจากละเมิดต้องใช้ก.ม.แห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริงได้ได้ทำให้เกิดละเมิดได้เกิดขึ้น ถ้าก.ม.แห่งประเทศนั้นถือว่าเป็นละเมิด แต่ก.มไทยไม่ถือว่าเป็นละเมิด จะมาเรียกร้องค่าเสียหายตามก.ม.ไทยไม่ได้ หลักเกณฑ์ 1 ถ้าละเมิดในประเทศไทย แม้คู่กรณีเป็นคนต่างด้าว ไม่มีปัญหาการขัดกัน ให้ใช้ก.ม.ไทย

103 ถ้าการกระทำเกิดขึ้นในต่างป. ท. เป็นการละเมิดและผิดก. ม
ถ้าการกระทำเกิดขึ้นในต่างป.ท. เป็นการละเมิดและผิดก.ม.ไทย จะฟ้องยังศาลไทยได้ต่อเมื่อ ก). เป็นการละเมิดตามก.ม.ไทย คือถ้าทำในป.ทไทยจะเป็นละเมิด ข). ตามก.ม.ของป.ท.นั้น ผู้ละเมิดไม่มีเหตุแก้ตัว 3. ถ้าละเมิดในต่างป.ท. ภายหลังก.ม.ของป.ท.นั้นบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นละเมิด ดังนี้จะมาฟ้องยังไทยไม่ได้ เช่น เอ ทำร้ายและกักขัง บี ในอังกฤษ ขณะนั้นเป็นละเมิดตามก.ม.อังกฤษ และไทย ต่อมารัฐสภาอังกฤษออกก.ม.นิรโทษกรรม บีฟ้อง เอยังศาลไทยไม่ได้

104 แม้เป็นละเมิดทั้งสองประเทศ แต่ถ้าก. ม. ของป. ท
แม้เป็นละเมิดทั้งสองประเทศ แต่ถ้าก.ม.ของป.ท.ที่ละเมิดยอมให้เรียกค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่ก.ม.ไทยเรียกร้องเอาได้ หมายถึงค่าเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เสียหายได้รับเท่านั้น เช่น ค่าเสียหายทางจิตใจ เช่นนี้เรียกร้องต่อศาลไทยไม่ได้

105 ทรัพย์ หลักกฎหมายขัดกันสากลว่าด้วยการเลือกกฎหมายเพื่อแก้การขัดกันทางกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน ปัญหาทรัพย์สิน ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าถิ่นที่ตั้งทรัพย์ (Territorial State ) ในกฎหมายขัดกันของรัฐทั้งในสกุล Common Law, Civil Law ยอมรับปัญหาทรัพย์สิน ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งที่ตั้งของทรัพย์สิน

106 ถ้าทรัพย์นั้นกำลังเคลื่อนที่ ปัญหาทรัพย์สินย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งเจ้าของทรัพย์
ถ้าทรัพย์นั้นกำลังเคลื่อนที่และกำลังเป็นวัตถุแห่งการฟ้อง ปัญหาทรัพย์สินย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งที่ตั้งของทรัพย์สินในขณะที่ยื่นฟ้อง

107 กฎหมายขัดกันของไทยกำหนดการเลือกกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ 4 สถานการณ์ด้วยกัน
คือ อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ในขณะที่ไม่เคลื่อนที่ออกนอกประเทศและไม่ใช่วัตถุแห่งการฟ้องคดี สังหาริมทรัพย์ในขณะที่เคลื่อนที่ออกไปนอกประเทศและไม่ใช่วัตถุแห่งการฟ้องคดี สังหาริมทรัพย์ในขณะที่เคลื่อนที่ออกไปนอกประเทศและเป็นวัตถุแห่งการฟ้องคดี

108 สังหาฯ ที่เคลื่อนที่ออกนอกประเทศ
อสังหาฯ ม.16ว.1 การขัดกัน แห่ง กฎหมาย ว่าด้วย ทรัพย์ พรบ.ขัดกันฯ 2481 ที่ไม่เคลื่อนที่ออกนอกประเทศ ม.16ว.1 สังหาฯ ทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง ม.3 ที่เคลื่อนที่ออกนอกประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญา ม.3 สถานการณ์ปกติ ม.16ว.2 ในระหว่างฟ้องคดี ม.17

109 ทรัพย์ มาตรา 16 “ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินตั้งอยู่บังคับแก่
มาตรา 16 “ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินตั้งอยู่บังคับแก่ สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี ในกรณีการส่งสังหาริมทรัพย์ออกนอกประเทศให้ใช้กฎหมายสัญชาติ ของเจ้าของทรัพย์บังคับแก่ทรัพย์นั้นตั้งแต่เวลาส่งทรัพย์ออกนอกประเทศ” ทรัพย์สิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สังหาฯและอสังหาฯ

110 ปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น สิทธิอันใดเป็นทรัพยสิทธิ การเกิดขึ้นและระงับของทรัพยสิทธิ การโอนทรัพยสิทธิ แดนแห่งทรัพยสิทธิ ทรัพย์ใดเป็นสังหาฯหรืออสังหาฯ ส่วนควบ อุปกรณ์ ต้องเป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินตั้ง

111 สังหาฯ ตามปกติ สังหาฯย่อมเคลื่อนที่ติดตามตัวบุคคล ก.ม.ที่ใช้บังคับคือก.ม.ของ ป.ท.ที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ เว้นแต่ในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแบบของก.ม.ซึ่ง สังหาฯตั้งอยู่ เพราะการโอนกรรมสิทธิ์ย่อมเปลี่ยนแปลงความเป็นจ้าของ อาจเกิดปัญหาได้ถ้าเจ้าของใหม่เจ้าเก่าภูมิลำเนาต่างกัน จึงต้องถือเอาก.ม.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ตัวอย่าง คนไทยถือหุ้นอยู่ในอังกฤษ ต่อมาเดินทางกลับป.ท.ไทย เขาจะโอนขายหุ้นให้เพื่อนชาวอังกฤษที่อยู่ในประเทศไทย การโอนจะสมบูรณ์หรือไม่ต้องใช้ก.ม.อังกฤษ

112 อสังหาฯ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับอสังหาฯ ต้องพิจารณาตามก.ม.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ตลอดจนสิทธิต่างๆ และแบบแห่งการโอนที่เกี่ยวกับอสังหาฯ ได้แก่ ความสามารถของบุคคลที่จะทำนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาฯ ม. 10 ว 3 เช่น ขาย จำนองที่ดิน ต้องเป็นไปตามก.ม.ของป.ท.ที่อสังหาฯตั้งอยู่ ตัวอย่าง คนไทยอายุ 20 ปี มีภูมิลำเนาในไทย เขามีที่ดิน 1 แปลงอยู่ในอังกฤษ ตามก.ม.อังกฤษ เขายังไม่บรรลุนิติภาวะ ดังนี้ ถ้าเขาโอนขายที่ดินให้ผู้ซื้อ การโอนย่อมไม่สมบูรณ์

113 แบบในการโอนอสังหาฯ ต้องเป็นไปตามก.ม.ของป.ท.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ม. 9 ว. 2
แบบในการโอนอสังหาฯ ต้องเป็นไปตามก.ม.ของป.ท.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ม. 9 ว. 2 ตัวอย่าง คนไทยมีที่ดินที่กัมพูชาแปลงหนึ่ง เขาขายทิ่ดินแปลงนั้นให้แก่คนจีน การโอนสิทธิทำเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ไม่ได้จดทะเบียน แบบแห่งการโอนต้องใช้ก.ม.กัมพูชา การโอนครั้งนี้เป็นอันสมบูรณ์ สาระสำคัญแห่งสัญญา เช่นการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ พิจารณาตามก.ม.ของป.ท.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ม. 16

114 กรณีสังหาฯที่ส่งออกนอกป.ท.
มาตรา 16 ว.2 “อย่างไรก็ดี ในกรณีการส่งสังหาริมทรัพย์ออกนอกประเทศให้ใช้กฎหมายสัญชาติของเจ้าของทรัพย์บังคับแก่ทรัพย์นั้นตั้งแต่เวลาส่งทรัพย์ออกนอกประเทศ” กรณีส่งสังหาฯออกนอกป.ท. คือ ทรัพย์กำลังเคลื่อนที่ไปยังป.ท.อื่นๆ ให้ใช้กม.สัญชาติของเจ้าของทรัพย์บังคับ เพราะทรัพย์อาจผ่านไปหลายป.ท.ไม่แน่นอน ป.ท.ที่ทรัพย์ผ่านไปย่อมไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์ที่แท้จริง

115 ตัวอย่าง เอ คนอังกฤษสั่งซื้อข้าวสารจากไทยเพื่อส่งไปขายในฝรั่งเศส เมื่อข้าวสารผ่านถึงด่านศุลกากรไทย และเจ้าหน้าที่ยอมให้ผ่าน ถือว่าส่งออกนอกป.ท.แล้วตามก.ม.ศุลกากร ข้าวสารถูกส่งผ่านหลายป.ท.ก่อนถึงฝรั่งเศส จะถือก.ม.ของป.ท.ที่ทรัพย์ผ่านไม่ได้ ให้ใช้ก.ม.สัญชาติของ เอ คือ ก.ม.อังกฤษ

116 ตัวอย่าง อยากทราบว่าเขียวจะได้กรรมสิทธิ์ในของนั้นหรือไม่ ?
ดำสัญชาติลาวสั่งซื้อของจากขาวสัญชาติสิงค์โปร์ ขาวตกลงขายและส่งสินค้าทางเรือ ในระหว่างสินค้าอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ดำตกลงขายของนั้นให้เขียวสัญชาติไทย กม.ลาว บัญญัติ ก.ส.ยังไม่โอนจนกว่าจะชำระราคา กม.ไทย ก.ส.ย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันที แม้ยังไม่ได้ชำระราคา อยากทราบว่าเขียวจะได้กรรมสิทธิ์ในของนั้นหรือไม่ ?

117 พิจารณาตามก.ม.สัญชาติของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ คือ ก.ม ลาว
ข้อสังเกต ม. 16 ว. 2 .ใช้กับทรัพย์ที่อยู่ระหว่างเดินทาง หากแป็นปัญหาที่เกิดก่อนเดินทาง ให้ใช้ก.ม.ของป.ท.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่

118 สังหาฯที่ได้ย้ายไประหว่างถูกฟ้องคดี
มาตรา 17 “สังหาริมทรัพย์ใดๆ ซึ่งได้ย้ายที่ไปในระหว่างฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน นั้น ให้คงบังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ในขณะยื่นฟ้อง “ ตัวอย่าง บริษัทเจ้าของแร่ทองแดงในจีน ฟ้องเรียกแร่ทองแดงจากจำเลย ณ. ศาลป.ท.จีน แต่จำเลยนำแร่จำนวนนั้นส่งเรือเพื่อมาขายยังไทย ดังนี้ก.ม. ที่ใช้บังคับ คือ ก.ม.จีน ซึ่งเป็นก.ม.ที่สังหาฯตั้งอยู่เมื่อโจทก์ฟ้องคดี

119 หลักกฎหมายขัดกันว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยครอบครัว
ปัญหาครอบครัว ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของบุคคลหลักของครอบครัว(Personal state) ถ้ากฎหมายขัดกันเป็นของรัฐในสกุล Common Law ปัญหาครอบครัวย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายภูมิลำเนาบุคคลหลัก ถ้ากฎหมายขัดกันเป็นของรัฐในสกุล Civil Law ปัญหาครอบครัวย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายสัญชาติของบุคคลหลัก

120 กฎหมายขัดกันไทยกำหนดการเลือกกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวไว้ 5 สถานการณ์ด้วยกัน
คือ การหมั้น การสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดาและบุตร การอุปการะเลี้ยงดู

121 ทำสัญญาระหว่างสามี-ภรรยาม.22 ความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา ม.21
เงื่อนไขการสมรส ม.19 การหมั้น ม.18 ไม่ได้ทำม.22 กฎหมายขัดกันฯ 2481 เรื่องครอบครัว แบบการสมรส ม.20 การสมรส ทำม.24,ม.25 ทำสัญญาระหว่างสามี-ภรรยาม.22 หย่าโดยยินยอมม.26 ความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา ม.21 หย่า ฟ้องหย่าม.27 เพิกถอนการสมรสม.28

122 ความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดาและบุตร
บุตรชอบด้วยกฎหมาย ม.29 การอุปการะเลี้ยงดูม.36 สิทธิหน้าที่ระหว่างบิดา มารดา บุตรม.30 สิทธิหน้าที่มารดา-บุตรม.30 ถอนอำนาจปกครองม.33 การรับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายม.31 สิทธิฟ้องบุพการีเป็นคดีแพ่งอาญาม.34 อำนาจปกครองม.32 บุตรบุญธรรม ม.35

123 ครอบครัว มาตรา 18 “ความ สามารถที่จะทำการหมั้น หรือเพิกถอนการหมั้นให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่หมั้นแต่ละฝ่าย ผลของการหมั้นให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศซึ่งศาลที่พิจารณาและพิพากษาคดี สังกัดอยู่” มี 3 เรื่อง 1. ความสามารถที่จะทำการหมั้น 2. การเพิกถอนการหมั้น 3. ผลของการหมั้น

124 1. ความสามารถที่จะทำการหมั้น
1. ความสามารถที่จะทำการหมั้น ก.ม.ไทย ม ชายหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ก.ม.ฝรั่งเศส ชาย 18 ปี หญิง 15 ปี ก.ม.สเปน ชาย 14 ปี หญิง 12 ปี ดังนั้น ถ้าชายฝรั่งเศสอายุ 17 ปี หมั้นกับหญิงไทย 17 ปี ต้องถือตามก.ม.ฝรั่งเศสซึ่งเป็นก.ม.สัญชาติของชายและถือตามก.ม.ไทย ซึ่งเป็นก.ม.สัญชาติของหญิง ดังนี้ การหมั้นเป็นโมฆะ ถ้าชายสเปนอายุ 16 ปี จะหมั้นกับหญิงไทยอายุ 15 ปี จะมีผลอย่างไร ?

125 สรุป การหมั้นจะสมบูรณ์ต้องถือตามสัญชาติของคู่กรณี ถ้าฝ่ายใดไม่สามารถทำการหมั้นตามก.ม.สัญชาติของเขา แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะมีความสามารถก็ ตามการหมั้นไม่สมบูรณ์

126 2. การเพิกถอนการหมั้น ถือตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณี
2. การเพิกถอนการหมั้น ถือตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณี ก.ม.ไทยไม่ได้บัญญัติเหตุเพิกถอนการหมั้น การหมั้นเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การเพิกถอนต้องถืออย่างสัญญาธรรมดา ถ้าก.ม.ประเทศชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบัญญัติให้เพิกถอนการหมั้นได้ แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่บัญญัติ ศาลที่พิจารณาคดีก็สามารถมีคำสั่งเพิกถอนการหมั้นได้

127 3. ผลของการหมั้น ผลของการหมั้นให้เป็นไปตามก.ม.ของศาลที่พิจารณาคดี ถ้าคดีฟ้องศาลไทย ก็เป็นไปตามก.ม.ไทย ผลของการหมั้น เช่น หากสมรสกันของหมั้นเป็นของหญิงเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส คู่หมั้นไม่ยอมสมรส บังคับให้สมรสได้หรือไม่ หรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ คู่หมั้นตายก่อนสมรส ของหมั้นเป็นของใคร

128 เงื่อนไขการสมรส มาตรา 19 “เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย” 1 เรื่องอายุ ก.ม.ไทย มาตรา 1448 แม้เงื่อนไขการสมรสให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติของคู่กรณี แต่ถ้าเป็นการผิดศีลธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการให้ชายหญิงสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆะ

129 คำพิพากษาที่ 45/2524 โจทก์สมรสในประเทศจีนเมื่ออายุ 10 ปีกับหญิงอายุ 12 ปี ซึ่งถูกต้องไม่มีกฎหมายห้ามในประเทศจีนขณะนั้น สมรสแล้วจึงเดินทางมาประเทศไทย ในเวลานั้นประเทศจีนไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องอายุของคู่สมรสและไม่ต้องจดทะเบียน ศาลฎีกาตัดสินว่าการสมรสชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ม. 20 บุตรของโจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี

130 2. การสมรสระหว่างญาติ ป.พ.พ. มาตรา 1450
ตัวอย่างเช่น เอ บี เป็นคนสเปนเป็นลูกพี่ลูกน้อง แต่งงานที่อังกฤษ ตามก.ม.สเปน ห้ามแต่งงานกันระหว่างลูกพี่ลูกน้อง แต่ก.มไทยและอังกฤษไม่ห้าม ดังนี้การสมรสไม่สมบูรณ์ เป็นโมฆะ ตามก.ม.สเปน

131 ป.พ.พ. มาตรา 1451 ฝรั่งเศส,สวิส แต่ก.ม.อังกฤษไม่ห้าม
3. ผู้รับบุตรบุญธรรมแต่งงานกับบุตรบุญธรรม ป.พ.พ. มาตรา ฝรั่งเศส,สวิส แต่ก.ม.อังกฤษไม่ห้าม 4. ชายหรือหญิงไม่ได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ป.พ.พ. มาตรา 1452 5. หญิงหม้าย ม. 1453 6. ศาสนา เช่น ห้ามสมรสระหว่างคนต่างศาสนา ห้ามพระภิกษุ สามเณรทำการสมรสกับผู้อื่น 7. สมรสกระทำระหว่างชายและหญิง

132 ข้อยกเว้น อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1902
“ก.ม.ในท้องถิ่นที่ทำการสมรสกัน อาจอนุญาตให้คนต่างด้าวสมรสกัน แม้ว่าก.ม.แห่งชาติของตนจะมีข้อห้ามการสมรส หากข้อห้ามเกี่ยวกับศาสนาโดยเฉพาะแต่ประเทศอื่นมีสิทธิที่จะไม่ยอมรับรู้ว่า การสมรสที่ทำขึ้นในพฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการสมรสที่สมบูรณ์ก็ได้” ตัวอย่าง ชายออสเตรียนับถือศาสนาคริสต์จะสมรสหญิงไทยนับถือศาสนาพุทธ ในประเทศไทย สามารถทำได้ แม้ก.ม.ออสเตรียจะห้ามไว้ แต่เป็นก.ม.ขัดต่อคามสงบฯ จึงใช้ไม่ได้ อาศัยก.มไทย (พ.ร.ขัดกันฯ ม. 5)

133 แบบของการสมรส มาตรา 20 “การสมรสซึ่งได้ทำถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในก.ม.แห่งป.ท.ที่ทำการสมรสนั้นย่อมเป็นอันสมบูรณ์ การสมรสระหว่างคนในบังคับสยามหรือคนในบังคับสยามกับคนต่างด้าว ซึ่งได้ทำในต่างประเทศโดยถูกต้องตามแบบที่ก.ม.สยามกำหนดไว้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์” ป.พ.พ. มาตรา 1457,1459

134 มาตรา 20 วรรค 1 ใช้ในกรณีการสมรสคนไทยกับคนต่างด้าว หรือคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าสมรสในไทยหรือต่างป.ท. ถ้าทำถูกต้องตามแบบของป.ท.ที่ทำการสมรส ถือว่าการสมรสสมบูรณ์ แม้ผิดก.ม.สัญชาติของตัวเองของตาม ตัวอย่าง(1) คนฝรั่งเศสสมรสกับหญิงอิตาลีในไทยตามแบบของไทย แต่ไม่ได้ทำตามกฎหมายฝรั่งเศสหรืออิตาลี ที่ต้องทำการประกาศโฆษณาก่อนสมรส แม้ไม่สมบูรณ์ตามก.ม.ฝรั่งเศส แต่สมบูรณ์ตามก.ม.ไทย ซึ่งเป็นป.ท.ที่ทำการสมรส ตัวอย่าง(2) A และ B สัญชาติอังกฤษ แต่งงานที่โบสถ์ทำพิธีต่อหน้าพระ ที่ป.ท. เบลเยี่ยม แต่มิได้ทำตามแบบก.ม. เบลเยี่ยม การสมรสเป็นโมฆะ

135 มาตรา 20 วรรค 2 ใช้ได้กับคนไทยด้วยกันแต่งงานในต่างป. ท
มาตรา 20 วรรค 2 ใช้ได้กับคนไทยด้วยกันแต่งงานในต่างป.ท. หรือคนไทยกับคนต่างด้าวแต่งงานในต่างป.ท. ทำถูกต้องตามแบบของป.ท.ที่ทำการสมรส ก็เข้าม. 20 วรรค 1 ทำไม่ถูกต้องตามแบบของป.ท.ที่ทำการสมรส แต่ทำถูกต้องตามก.ม.ไทย ถือว่าการสมรสสมบูรณ์ ถ้าทำไม่ถูกต้องทั้งสองป.ท. การสมรสไม่สมบูรณ์

136 ป.พ.พ. มาตรา 1461-1464 ระบุอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์ ถ้าสามีภริยามีสัญชาติอันเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติอันร่วมกันของสามีภริยา ถ้าภริยาไม่ได้สัญชาติตามสามีโดยการสมรส สามีภริยาไม่ได้มีสัญชาติเดียวกัน ให้เป็นไปตามสัญชาติของสามี

137 ในกรณีไม่มีสัญญาก่อนสมรส
มาตรา 22 “ถ้ามิได้มีสัญญาก่อนสมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ ถ้าสามีและภริยามีสัญชาติแตกต่างกัน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่”

138 ป.พ.พ. คู่สมรสจะทำสัญญาก่อนสมรสได้เฉพาะทรัพย์สินเท่านั้น
หลักเกณฑ์ ถ้าสามีภริยาเป็นคนสัญชาติเดียวกัน ถ้าไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติร่วมกันของคู่สมรส ถ้าสามีภริยามีสัญชาติต่างกัน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติของสามี ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่เกี่ยวกับอสังฯ ให้เป็นไปตามก.ม.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่

139 ก.ม.สัญชาติขณะทำการสมรส
มาตรา 23 “ผลแห่งการสมรสดังบัญญัติไว้ในสองมาตราก่อน ย่อมไม่ถูกกระทบกระทั่ง หากว่าภายหลังการสมรสคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้มาซึ่ง สัญชาติแตกต่างกับที่มีอยู่หรือที่ได้มาขณะทำการสมรส” เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ม. 21 และทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ม.22 ให้ใช้ก.ม.สัญชาติขณะทำการสมรส แม้ต่อมาภายหลังสมรส คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายได้แปลงสัญชาติเป็นสัญชาติอื่น

140 ตัวอย่าง ก. และ ข. เป็นคนไทย แต่งงานในไทย ต่อมาแปลงสัญชาติเป็นอังกฤษ ก็ยังคงใช้ก.ม.ไทยบังคับตลอดไป ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ม. 21 และทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ม.22

141 ในกรณีที่มีสัญญาก่อนสมรส
มาตรา 24 “ใน ส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ถ้าทำสัญญาก่อนสมรส ความสามารถที่จะทำสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งคู่สัญญาแต่ละฝ่าย” ความสามารถที่จะทำสัญญาก่อนสมรส ให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย ไม่ใช้ม. 10 วรรค 2 เพราะเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับครอบครัว

142 มาตรา10  ว. 2 “แต่ถ้าคนต่างด้าวทำนิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติ คนต่างด้าวนั้นย่อมจะไร้ความสามารถหรือมีความสามารอันจำกัดสำหรับนิติกรรม นั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทำนิติกรรมนั้นได้เพียงเท่าที่จะมีความ สามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก” ตัวอย่าง ถ้าคนต่างด้าวมาทำสัญญาก่อนสมรสในประเทศไทย ถึงแม้คนต่างด้าวจะบรรลุนิติภาวะตามก.ม.ไทย แต่ถ้าเขาไม่บรรลุนิติภาวะตามก.ม.สัญชาติของเขาแล้ว สัญญาก่อนสมรสไม่สมบูรณ์

143 สาระสำคัญและผลของสัญญาก่อนสมรส
มาตรา 25 “ ถ้า คู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่งสัญญาก่อนสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่งสัญญาก่อนสมรสเช่นว่านั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งคู่สัญญาเจตนา หรือพึงสันนิษฐานได้ว่าได้มีเจตนาที่จะยอมอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายนั้น ถ้าไม่มีเจตนาเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่สมรสตั้งภูมิลำเนาครั้งแรกหลังจากการ สมรส อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่”

144 หลักเกณฑ์ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติร่วมกัน
ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน ให้เป็นไปตามก.ม.ที่คู่สัญญามีเจตนาที่จะใช้ก.ม.นั้น ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน และไม่ปรากฏเจตนาว่าให้ใช้ก.ม.ประเทศใดบังคับแก่สัญญา ให้เป็นไปตามก.ม.ที่คู่สมรสตั้งภูมิลำเนาครั้งแรกหลังจากการสมรส ส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้ง

145 การขาดจากการสมรสโดยการหย่า
การหย่าโดยความยินยอม มาตรา 26  การหย่าโดยความยินยอมย่อมสมบูรณ์ ถ้ากฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้ ป.พ.พ. ม การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นน.ส.และต้องมีพยานลงลายมือชื่อย่างน้อยสองคน ก.ม.บางประเทศไม่อนุญาตให้มีการหย่าโดยความยินยอม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส

146 ม. 26 หย่าโดยความยินยอมได้เมื่อก. ม
ม. 26 หย่าโดยความยินยอมได้เมื่อก.ม.สัญชาติของสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายให้ทำได้ ดังนั้นหากสามีภริยาหย่าโดยความยินยอมในไทยถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก.ม.สัญชาติของสามีภริยาไม่อนุญาตให้หย่าโดยความยินยอมได้ ถือว่าการหย่านั้นไม่สมบูรณ์ ตัวอย่าง นาย เอ คนอังกฤษ กับนาง บี คนอิตาลี ดำเนินการหย่าด้วยความยินยอมในประเทศไทย การหย่าไม่สมบูรณ์เพราะก.ม.อังกฤษไม่อนุญาตให้หย่าโดยความยินยอม

147 กมอิสราเอล Gett กมอิสลาม Talakuama

148 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5887/2533 โจทก์คนสัญชาติไทย จำเลยคนสัญชาติอินเดีย จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. การสมรส ค.ศ. 1949ของประเทศอังกฤษ แม้มิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียน อำเภอ หรือ กิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานทูต หรือกงสุลไทยก็ตาม เมื่อได้ทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ ทั้งตามกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์และจำเลยต่างก็ยินยอมให้คู่สมรสหย่ากันโดยความยินยอมได้

149 ศาลไทยจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา การหย่าโดยทำหนังสือหย่ากันเองมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้แต่เฉพาะระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนหย่าแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1515 หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าเท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามหนังสือหย่า โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516และการฟ้องของโจทก์เช่นนี้ก็เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ.

150 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
มาตรา 27 ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า หลักเกณฑ์ 1) สามีภริยาเป็นคนต่างด้าว จะฟ้องคดีที่ศาลไทยให้มีคำพิพากษาว่าหย่ากัน ศาลจะรับฟ้องต้องปรากฏว่าก.ม. สัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้

151 เช่น ก.ม.ประเทศ A ไม่ยอมให้มีการหย่า ไม่ว่าโดยความยินยอมหรือคำพิพากษา ดังนั้นสามีภริยาสัญชาติ A ยื่นฟ้องที่ศาลไทยไม่ได้ เหตุหย่าพิจารณาตามก.มไทย คือ ป.พ.พ. มาตรา เหตุอะไรบ้าง? ถ้าอ้างเหตุหย่าแตกต่างจากก.ม.ไทย ศาลพิพากษาให้หย่าจากกันไม่ได้

152 การเพิกถอนการสมรส มาตรา 28 การเพิกถอนการสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่เงื่อนไขแห่งการสมรส อย่างไรก็ดี ความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่อันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ได้กระทำการสมรส ป.พ.พ. ม. 1502,1503 เพิกถอนการสมรสที่ตกเป็นโมฆียะ เช่น

153 เงื่อนไขเกี่ยวกับอายุ ม. 1448
คู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่สมรส ม.1505 สมรสโดยถูกกลฉ้อฉล ม. 1506 สมรสโดยถูกข่มขู่ ม. 1507 สมรสโดยไม่รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้ปกครอง ม. 1509

154 หลักเกณฑ์ การเพิกถอน จะทำได้ต่อเมื่อก.ม.สัญชาติของคู่สมรสแต่ละฝ่ายยอมให้กระทำ เช่น สามีภริยาชาวอังกฤษมีภูมิลำเนาในไทย ภายหลังสามีตาย ภริยาได้สมรสกับน้องชายของสามี ก.ม.อังกฤษถือว่าสมรสเช่นนี้ตกเป็นโมฆะ ดังนั้นศาลไทยสามารถเพิกถอนได้ ถึงแม้เงื่อนไขนี้ไม่ห้ามตามก.ม.ไทยก็ตาม ความสำคัญผิด กลฉ้อฉลหรือข่มขู่ ให้เป็นไปตามก.ม. แห่งถิ่นที่ได้กระทำการสมรส เช่น ชายอังกฤษข่มขู่หญิงฝรั่งเศสให้สมรสในไทย ถ้าตามก.ม.อังกฤษและฝรั่งเศส การข่มขู่นั้นไม่ถึงขนาดให้เพิกถอนได้ แต่ก.มไทยข่มขู่ถึงขนาดแล้ว ต้องเป็นไปตามก.ม.ไทย

155 บิดามารดาและบุตร 1. การเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมาย
1. การเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 29  การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามีของมารดาในขณะที่บุตรนั้นเกิด ถ้าหากในขณะที่กล่าวนั้น สามีได้ถึงแก่ความตายเสียแล้ว ก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของสามีในขณะที่ถึงแก่ความตาย ให้ใช้กฎหมายเช่นเดียวกันบังคับการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร

156 ป.พ.พ. มาตรา 1536 เด็กเกิดแต่หญิงเป็นภริยาชายหรือภายใน 310 วัน นับแต่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิฐานเป็นบุตรชอบด้วยก.ม.ของชาย ม.1546 เด็กเกิดแต่หญิงที่ไม่ได้สมรส ถือเป็นบุตรชอบด้วยก.ม.ของหญิงนั้น หลักเกณฑ์ ถ้าคนต่างด้าวเดินทางมาในป.ท.ไทย จะมาร้องขอให้ศาลไทยแสดงตนว่าเป็นบุตรชอบด้วยก.ม. พิจารณาดังนี้ ก. ถ้าขณะเกิด บิดายังมีชีวิตอยู่ ใช้ก.ม.สัญชาติของบิดาในขณะที่บุคคลนั้นเกิด

157 ข. ถ้าขณะเกิด บิดาตาย ใช้ ก.ม.สัญชาติของบิดาในขณะที่บิดาถึงแก่ความตาย
ตัวอย่าง นายเอคนอังกฤษ แต่งงานกับ บี คนฝรั่งเศส หลังจากนั้นเกิดบุตรคือซี ต่อมา เอ เปลี่ยนสัญชาติเป็นเยอรมัน ถ้า ซียื่นคำร้องต่อศาลไทยให้แสดงว่าเขาเป็นบุตรชอบด้วยก.ม ศาลไทยต้องใช้ก.ม.อังกฤษ ถ้า เอ เปลี่ยนสัญชาติเป็นเยอรมัน และต่อมาตาย หลังจากนั้น ซี จึงเกิด ศาลไทยต้องใช้ก.ม.เยอรมัน

158 2. การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
2. การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร การฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน คือ ศาลต้องใช้ก.ม.สัญชาติของบุคคลนั้นขณะเด็กเกิด ป.พ.พ. มาตรา 1539

159 3. สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร
3. สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร มาตรา 30 “ สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดา ในกรณีที่เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย สิทธิและหน้าที่ระหว่างมารดากับบุตร ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของมารดา” สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร ได้แก่ สิทธิใช้นามสกุล รับมรดก อุปการะเลี้ยงดู อำนาจปกครองบิดามารดา

160 หลักเกณฑ์ สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดา ในกรณีเด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้สมรสกับชาย สิทธิและหน้าที่ระหว่างมารดากับบุตร ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของมารดา

161 4. การรับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
4. การรับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 31 “ การ รับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดาในขณะที่รับเป็นบุตร ถ้าหากในขณะนั้นบิดาได้ถึงแก่ความตายเสียแล้ว ก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดาขณะที่ถึงแก่ความตาย” ป.พ.พ. มาตรา บุตรชอบด้วยก.ม. เมื่อบิดามารดาสมรสกันในภายหลัง หรือบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

162 หลักเกณฑ์ การรับบุคคลเป็นบุตรชอบด้วยก.ม. ให้เป็นไปตามก.ม. กฎหมายสัญชาติของบิดาในขณะที่รับเป็นบุตร ถ้าบิดาถึงแก่ความตาย และมีบุคคลอื่นมายื่นฟ้องคดี การบุตรชอบด้วยก.ม. ให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติของบิดาขณะที่ถึงแก่ความตาย

163 5. อำนาจปกครอง มาตรา 32 “ กรณี ที่จะจัดผู้เยาว์ซึ่งไม่มีบิดามารดาใช้อำนาจปกครอง ให้อยู่ในความปกครองก็ดี หน้าที่และอำนาจของผู้ปกครองก็ดี กรณีที่ความปกครองสิ้นสุดลงก็ดี ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของผู้เยาว์ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ อำนาจของผู้ปกครองที่จะจัดการกับทรัพย์สินเช่นว่านั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ส่วน ผู้เยาว์ซึ่งมีสัญชาติต่างประเทศ และมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศสยาม จะจัดให้อยู่ในความปกครองตามกฎหมายสยามก็ได้ ถ้าปรากฏจากพฤติการณ์แห่งกรณีว่า ตามองค์การและระเบียบจัดการแห่งความปกครองซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายต่างประเทศ นั้น ไม่เป็นอันคุ้มครองประโยชน์ได้เสียของผู้เยาว์ให้เป็นผลตามสมควรได้”

164 มาตรา 32 เรื่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ปกครอง หน้าที่และอำนาจของผู้ปกครอง และการสิ้นสุดแห่งการปกครอง
ป.พ.พ. มาตรา 1585 หลักเกณฑ์ ผู้เยาว์ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ซึ่งไม่มีบิดามารดาใช้อำนาจปกครอง ถ้าผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้แต่งตั้งผู้ปกครอง ศาลไทยต้องใช้ก.ม.ของผู้เยาว์

165 ตัวอย่าง ด.ช หลง สัญชาติจีนอยู่กับบิดามารดาในไทย ต่อมาบิดามารดาตายหมด ถ้าญาติของด.ช.หลงจะยื่นคำร้องต่อศาลไทยขอแต่งตั้งผู้ปกครอง ศาลต้องใช้ก.ม.จีน อันเป็นก.ม.สัญชาติของผู้เยาว์ในการตั้งผู้ปกครอง อำนาจหน้าที่ของผู้ปกครอง และการสิ้นสุดแห่งการปกครอง ถ้าผู้เยาว์มีที่ดินแปลงหนึ่งในไทย อำนาจของผู้ปกครองในการจัดการที่ดินแปลงนี้ ให้ใช้ก.ม.ไทย (ป.พ.พ. มาตรา 1574,1598/3) ซึ่งเป็นก.ม.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่

166 กรณีผู้เยาว์เป็นคนต่างด้าว และมีภูมิลำเนาในไทย อำนาจปกครองใช้ตามมาตรา 32 วรรค1 เป็นไปตามก.ม.สัญชาติของผู้เยาว์ แต่ถ้าปรากฏแก่ศาลว่า หากใช้ก.ม.สัญชาติของผู้เยาว์แล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ไม่ได้รับความคุ้มครองตามสมควร ศาลไทยอาจใช้ก.ม.ไทยบังคับได้ มาตรา 32 วรรค 2 ไม่ใช้ในกรณีผู้เยาว์มีภูมิลำเนาในต่างประเทศ

167 6. การถอนอำนาจปกครอง มาตรา 33 ”การถอนอำนาจปกครอง ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศ ซึ่งศาลที่สั่งถอนอำนาจปกครองสังกัดอยู่” ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 ผู้ปกครองละเลยไม่ทำตามหน้าที่ ใช้อำนาจทางที่ผิด ประพฤติมิชอบ ล้มละลาย ดังนั้น ถ้าคนต่างด้าวมายื่นคำร้องต่อศาลไทย ศาลไทยต้องใช้กมไทยพิจารณาถอนอำนาจปกครอง

168 7. สิทธิที่จะฟ้องบุพการี
7. สิทธิที่จะฟ้องบุพการี มาตรา 34 “สิทธิที่จะฟ้องบุพการีเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของผู้สืบสันดาน” ป.พ.พ. มาตรา 1562 ห้ามผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีด้วยตนเอง ถือว่าเป็นคดีอุทลุม ในบางป.ท.บุตรฟ้องบุพากรีได้ เช่น ก.ม.อังกฤษ สหรัฐ เช่น คนอังกฤษมาฟ้องบิดาในศาลไทย ตามก.ม.อังกฤษบุตรฟ้องบิดาได้ ศาลไทยสามารถอนุญาตให้คนอังกฤษนั้นฟ้องบุพการีของเขาได้ ม. 34 ไม่ถือเป็นก.ม.ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ตาม ม. 5 แห่งพ.ร.บ.ขัดกันฯ

169 8. การรับบุตรบุญธรรม มาตรา 35 “ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมมีสัญชาติอันเดียวกัน การรับบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น ๆ ถ้า ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมมีสัญชาติแตกต่างกัน ความสามารถและเงื่อนไขแห่งการรับบุตรบุญธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของ คู่กรณีแต่ละฝ่าย แต่ผลแห่งการรับบุตรบุญธรรมระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของผู้รับบุตรบุญธรรม สิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมกับครอบครัวของตนตามกำเนิดนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุตรบุญธรรม”

170 ม. 35 แยกเป็น 4 เรื่อง ความสามารถในการรับบุตรบุญธรรม ป.พ.พ.ม. 1598/19
เงื่อนไขในการรับบุตรบุญธรรม ป.พ.พ.ม. 1598/21 ,1598/25 ผลแห่งการรับบุตรบุญธรรม ป.พ.พ.ม. 1598/29, 1598/30 สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมกับครอบครัวเดิม ม. 1598/28

171 หลักเกณฑ์ 1. ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมมีสัญชาติอันเดียวกัน ความสามารถและเงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น แต่ถ้าทั้งสองมีสัญชาติต่างกัน ความสามารถและเงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย คือ จะต้องถูกต้องตามก.ม.ทั้งสองประเทศ ถ้าก.ม.ประเทศใดป.ท.หนึ่งไม่สมบูรณ์ การรับบุตรบุญธรรมถือว่าใช้ไม่ได้

172 2. ผลแห่งการรับบุตรบุญธรรมให้เป็นไปตามก. ม
2. ผลแห่งการรับบุตรบุญธรรมให้เป็นไปตามก.ม.สัญชาติของผู้รับบุตรบุญธรรม 3. สิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมกับครอบครัวของตนตามกำเนิดนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุตรบุญธรรม เพราะเป็นเรื่องส่วนได้เสียของบุตรบุญธรรมโดยเฉพาะเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับผู้รับบุตรบุญธรรม จึงใช้ก.ม.สัญชาติของบุตรบุญธรรม

173 อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและความร่วมมือเรื่องการรับบุตรบุญธรรมระหว่างป.ท.
Convention on protection of Children and Co-Operation in Respect of Intercountry Adoption 1 ส.ค 2547 มีการจัดองค์กร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ Accredited Bodies องค์กรที่มีอำนาจ Competent Authority องค์กรกำกับดูแลกลาง Central Authority

174 องค์กรกำกับป.ท.ผู้ส่ง และ องค์กรกำกับป.ท.ผู้รับ
เงื่อนไขอายุเด็ก เงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรม กระบวนการรับบุตรบุญธรรม การยอมรับผลของบุตรบุญธรรม

175 หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและค่าอุปการะเลี้ยงดู
มาตรา 36 “หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลซึ่งถูกเรียกร้องให้อุปการะเลี้ยงดู อย่างไรก็ดี บุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเรียกร้องเกินกว่าที่กฎหมายสยามอนุญาตไม่ได้” หลักเกณฑ์ 1. หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลซึ่งถูกเรียกร้องให้อุปการะเลี้ยงดู ก.ม.ไทย มาตรา 1598/38

176 ถ้าจะมาเรียกร้องค่าอุปการะที่ศาลไทยจะเรียกร้องเกินกว่าที่ก. ม
ถ้าจะมาเรียกร้องค่าอุปการะที่ศาลไทยจะเรียกร้องเกินกว่าที่ก.ม.ไทยอนุญาตไว้ไม่ได้ ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะมีสิทธิเรียกร้องได้ตามก.ม.สัญชาติของผู้ถูกเรียกร้องก็ตาม ก.ม.ไทยพิจารณาจากความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งกรณี

177 กฎหมายขัดกันไทยเรื่องมรดกกำหนดการเลือกกฎหมาย 3 สถานการณ์
คือ การจัดการมรดกอสังหาริมทรัพย์โดยธรรม การจัดการมรดกสังหาริมทรัพย์โดยธรรม การจัดการมรดกโดยพินัยกรรม

178 - ถ้า Civil Law ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติของเจ้ามรดก
ปัญหามรดก ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของถิ่นหรือรัฐเจ้าของตัวบุคคล ปัญหามรดกอสังหาริมทรัพย์ ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของถิ่นที่ตั้งของทรัพย์ ปัญหามรดกสังหาริมทรัพย์ ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของตัวบุคคลของเจ้าของทรัพย์สิน - ถ้า Common Law ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของถิ่นอันเป็นภูมิลำเนาของเจ้ามรดก - ถ้า Civil Law ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติของเจ้ามรดก

179 การขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยมรดก พรบ. 2481
อสังหาริมทรัพย์ ม.37 การขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยมรดก พรบ. 2481 ไม่มีพินัยกรรม สังหาริมทรัพย์ ม.38 ความสามารถในการทำพินัยกรรมม.39 แบบในการทำพินัยกรรมม.40 มีพินัยกรรม ผลและการตีความพินัยกรรมม.41 ว.1 ความเสียเปล่าของพินัยกรรมม.41 ว.2 การเพิกถอนพินัยกรรมม.42 การตกไปของพินัยกรรมม.42

180 เรื่องอำนาจผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาฎีกาที่ 4027/2545 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ จำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษา ให้เป็นบุคคลล้มละลาย การที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นคนสัญชาติ อังกฤษและเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแห่งประเทศอังกฤษเช่นนี้ อำนาจของ ผู้จัดการมรดกจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศใด ย่อมเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติ ถึงเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกว่าต้องใช้กฎหมายใดบังคับ

181 กรณีจึงต้องใช้กฎเกณฑ์ ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวบังคับ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ทั่วไปนั้น กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับอาจเป็นกฎหมาย สัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา โจทก์คดีนี้มีสัญชาติอังกฤษและมีภูมิลำเนาอยู่ใน ประเทศอังกฤษ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้หลักกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนากฎหมาย ที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมได้แก่กฎหมายแห่งประเทศอังกฤษ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นเป็นที่ชัดแจ้งว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษ บัญญัติไว้เช่นนั้นจริง กรณีนี้จึงต้องใช้กฎหมายภายในประเทศไทยบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ

182 มาตรา 37  มรดกเท่าที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
มรดกเกี่ยวกับอสังหาฯ ไม่ว่ามรดกโดยพินัยกรรมหรือทายาทโดยธรรม เป็นเป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตัวอย่าง ชายอังกฤษและหญิงไทยแต่งงาน ณ.สถานทูตอังกฤษ ซึ่งตั้งในประเทศไทย ถูกต้องตามก.ม.อังกฤษ ระหว่างสมรสเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งร่วมกัน ต่อมาภริยาตาย การพิจาณาว่าที่ดินเป็นมรดกของภริยาเท่าใด ต้องวินิจฉัยตามก.ม.ไทย เพราะเป็นก.ม.ที่ทรัพย์ตั้งอยู่

183 มาตรา 38 ใน ส่วนที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ มรดกโดยสิทธิโดยธรรม หรือโดยพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของเจ้ามรดกในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  เรื่องการรับมรดกสังหาฯ ไม่ว่าพินัยกรรมหรือทายาทโดยธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของเจ้ามรดกในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าเจ้ามรดกเกิดที่ไหน ตายที่ไหน ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน ทรัพย์ตั้งที่ไหนขณะตาย

184 ตย 1 คนอังกฤษ มีภูมิลำเนาฝรั่งเศส ต่อมาเดินทางมาเยี่ยมบ้านที่อังกฤษ และตายที่อังกฤษ ปรากฏเขามีทรัพย์หลายอย่างที่อังกฤษ การรับมรดกเป็นไปตามก.ม.ฝรั่งเศส ตย 2 ฎ 834/2485 นายเกิ๊ดเช สัญชาติเดนมาร์ก มีภูมิลำเนาและถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เนื่องจากเจ็บป่วยจึงรักษาตัวและตายที่เดนมาร์ก ปรากฏเขามีบุตร ภริยาและทรัพย์สินตั้งในประเทศไทย การรับมรดกสังหาฯของเขา ต้องบังคับตามก.ม.ไทย ซึ่งเป็นก.ม.ภูมิลำเนาขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

185 มาตรา 39 ความสามารถของบุคคลที่จะทำพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติในขณะที่ทำพินัยกรรม
เรื่องความสามารถของบุคคลในการทำพินัยกรรม ก.มไทย มาตรา 25 บุคคลทำพินัยกรรมได้ อายุ 15 ปีบริบูรณ์ ก.ม.รัสเซีย 18 ปี ก.ม.อังกฤษ 21 ปี ก.ม. เม็กซิโก 25 ปี ก.ม. ฝรั่งเศส 21 ปี ยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่ใครก็ได้ตามพินัยกรรม แต่ถ้าต่ำกว่า 21 ปี ยกทรัพย์ได้ครึ่งเดียว กม อิตาลี ยกทรัพย์ได้ครึ่งเดียว ก.ม.เนเธอร์แลนด์ พินัยกรรมต้องกันทรัพย์ 1 ใน 4 ให้บุตรภริยา

186 ตย 1 คนอังกฤษมีภูมิลำเนาที่อังกฤษ แต่ไปอยู่สหรัฐฯ เขาทำพินัยกรรมเมื่ออายุ 19 ปี ต่อมาตาย ปรากฏว่าพินัยกรรมใช้ได้ตามก.ม.สหรัฐฯ แต่ใช้ไม่ได้ตามก.ม.อังกฤษ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ ตย 2 คนเยอรมัน ทำพินัยกรรมเมื่ออายุ 17 ปีที่เยอรมัน ต่อมามีภูมิลำเนาในอังกฤษ และตายที่อังกฤษ เมื่ออายุ 20 ปี ก.ม เยอรมัน บุคคลที่มีอายุเกิน 16 ปีสามารถทำพินัยกรรมได้ ดังนั้นพินัยกรรมฉบับนี้สมบูรณ์

187 มาตรา 40  บุคคลจะทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายสัญชาติกำหนดไว้ก็ได้ หรือจะทำตามแบบที่กฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ก็ได้ บุคคลจะทำพินัยกรรมตามแบบก.ม.สัญชาติตนกำหนด หรือตามแบบก.ม.ของประเทศที่ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ก็ได้ ตย1 ชายสัญชาติฝรั่งเศสมีภูมิลำเนาในฝรั่งเศส ทำพินัยกรรมยกสังหาฯที่อยู่ในอังกฤษ ตามแบบก.ม.อังกฤษ ถือว่าพินัยกรรมใช้ได้ แม้ไม่ถูกต้องตามก.ม.ฝรั่งเศส

188 ตย 2 คนสัญชาติอเมริกันมีภูมิลำเนาที่นิวยอร์ค ทำพินัยกรรมตามแบบก. ม
ตย 2 คนสัญชาติอเมริกันมีภูมิลำเนาที่นิวยอร์ค ทำพินัยกรรมตามแบบก.ม.อังกฤษ ปรากฏพินัยกรรมผิดทั้งแบบก.ม.อังกฤษและกมของนิวยอร์ค เพราะพินัยกรรมไม่ได้ทำต่อหน้าพยาน พินัยกรรมจึงไม่สมบูรณ์

189 มาตรา 41  ผล และการตีความพินัยกรรมก็ดี ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรมก็ดี ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ ความตาย  มาตรา 41 มีอยู่ด้วยกัน 2 เรื่องคือ 1. ผล และการตีความพินัยกรรม 2. ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรม ป.พ.พ. มาตรา การตีความในพินัยกรรมตีได้หลายนัย ม พินัยกรรมกำหนดคุณสมบัติผู้รับพินัยกรรม

190 ตัวอย่าง นายกอบ มีภูมิลำเนาในไทย ทำพินัยกรรมที่อังกฤษ ในพินัยกรรมระบุว่า ให้ยกรถยนต์ 1 คัน แก่ วันเฉลิม บุตร หลังจากนั้น กอบ ตายในไทย ปรากฏว่า กอบไม่มีบุตรชื่อ วันเฉลิม ญาติก็ไม่มีใครรู้จัก แต่เคยปรากฏว่าวันเฉลิมเป็นบุตร กอบจริง ที่เคยเลี้ยงดูเมื่อยังเล็กๆ แต่ต่อมาหย่าขาดจากแม่และย้ายไปอยู่ที่อื่นไม่มีใครทราบข่าว ดังนี้ วันเฉลิมจะมีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมหรือไม่ ต้องตีความตามก.ม.ไทย กฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย

191 2. ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรม
ป.พ.พ. มาตรา อายุ , คนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต ทำพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรมก็ดี ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ ความตาย

192 มาตรา 42  การเพิกถอนพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่เพิกถอนพินัยกรรม การตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ถึงแก่ความตาย มาตรา 42 มีด้วยกัน 2 เรื่อง คือ การเพิกถอนพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม การตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม

193 การเพิกถอนพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม
ป.พ.พ. มาตรา 1693,1697 ตย นาย เอเลี่ยน ภูมิลำเนาในอิตาลี ได้โทรศัพท์บอกทนายความของตนในอังกฤษให้ทำลายพินัยกรรม ของนาย เอเลี่ยนที่ทำไว้ และทนายของเขาก็ทำตาม ก.ม.อิตาลีถือว่าเพิกถอนพินัยกรรม แต่ก.ม.อังกฤษไม่ถือว่าพินัยกรรมถูกเพิกถอน เพราะการเพิกถอนต้องทำลายต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรม ใช้ก.ม. อิตาลี ตามกฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่เพิกถอนพินัยกรรม ดังนี้ พินัยกรรมฉบับนี้ถูกเพิกถอนแล้ว

194 การตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม
ป.พ.พ. มาตรา 1698 ข้อกำหนดในพินัยกรรมย่อมตกไป เมื่อ เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จ หรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า เงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้

195 - เมื่อคดีฟ้องศาลไทย ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกหรือไม่
3. เมื่อผู้รับพินัยกรรมสละพินัยกรรม เมื่อท.สที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างผู้ทำพินัยกรรมมีชีวิตอยู่ และมิได้มาซึ่งของแทน หรือสิทธิเรียกค่าทดแทน ในกรณีทรัพย์สูญหาย - เมื่อคดีฟ้องศาลไทย ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกหรือไม่ ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะถึง แก่ความตาย


ดาวน์โหลด ppt การขัดกันของกฎหมาย Conflict of Laws.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google