งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ ระวัง สารเสริมความงาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ ระวัง สารเสริมความงาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ ระวัง สารเสริมความงาม
ชุดการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษา (พ ๒๒๑๐๑) เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ระวัง สารเสริมความงาม นางวันเพ็ญ คฤคราช ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๘

2 คำนำ ชุดการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ ระวังสารเสริมความงาม สร้างขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากการพิจารณาเกี่ยวกับคุณค่าประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัยแล้ว ยังควรคำนึงถึงความประหยัดและความจำเป็นในการใช้งาน ไม่ควรเลือกซื้อตามแฟชั่นหรือการโฆษณา เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ชุดการเรียนการสอนเล่มนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมจากตำราเรียน มีคำถามทบทวนบทเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ ด้วยตนเอง ตามความสนใจและศักยภาพของนักเรียนเอง ผู้จัดทำมีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ที่ศึกษาชุดการเรียนการสอนเล่มนี้ ได้ผลบรรลุจุดมุ่งหมายทุกท่าน

3 สารบัญ เรื่อง หน้า คำแนะนำการใช้สำหรับครู ๑
เรื่อง หน้า คำแนะนำการใช้สำหรับครู ๑ คำแนะนำการใช้สำหรับนักเรียน ๒เป้าหมายการเรียนรู้ ๓มาตรฐานและตัวชี้วัด ๓ สาระสำคัญ ๓ สาระการเรียนรู้ ๓ แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ๔ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ๖ การบริการทางสุขภาพ ๘ ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ๑๐ บรรณานุกรม ๑๒ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ๑๓

4 คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับครู
คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับครู จุดประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทั้งนักเรียนที่เรียนดีและนักเรียนที่เรียนช้า ๒. ใช้ประกอบการสอนในแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนักเรียนจะได้ศึกษาหาค้นคว้า ปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่กำหนด ๓. ชุดการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปประเมินผลการสอนผลผ่านจุดประสงค์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาได้ โดยประเมินจากแบบทดสอบ วิธีใช้ ๑. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และภาคผนวก ให้เข้าใจ ๒. ชี้แจงให้นักเรียนอ่านคำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนอย่างละเอียด และปฏิบัติ ตามขั้นตอนจนจบ ๓. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของกิจกรรม ๔. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนตามขั้นตอน ถ้านักเรียนคนใดศึกษาชุดการเรียนการสอน แล้วยังไม่เข้าใจ ครูควรชี้แนะเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ทั้งที่บ้าน และโรงเรียน จะทำให้เข้าใจชุดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น ๕. ผลการปฏิบัติกิจกรรมสามารถนำไปประกอบการพิจารณาผ่านจุดประสงค์โดยครูผู้สอน ๖. ประเมินผลกิจกรรมตามขั้นตอน

5 คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน
คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน จุดประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่าน และ การฝึกปฏิบัติไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. นักเรียนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับวัย วิธีใช้ ๑. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในชุดการเรียนการสอน นักเรียนจะทราบว่า เมื่อเรียนจบ ทุกบทเรียนแล้วจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมใดได้บ้าง ๒. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ตามความเข้าใจของตนเองแม้คำตอบผิดก็ไม่เป็นไร นักเรียน ต้องศึกษาบทเรียนจนจบทุกตอนแล้วจะสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง ในขั้นตอนสุดท้าย ๓. ชุดการเรียนการสอนนี้เสนอเนื้อเรื่องเป็นส่วนย่อยๆ บรรจุลงเนื้อหาตามลำดับต่อเนื่องกันไป ๔. ในบางเนื้อหาจะมีคำถามง่ายๆ เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง ตอบคำถามแล้วตรวจคำตอบในหน้าต่อไป ๕. ถ้านักเรียนตอบคำถามถูก แสดงว่าเข้าใจดีแล้ว ให้อ่านเนื้อหาต่อไปได้ แต่ถ้าตอบคำถามผิด ต้องกลับไปอ่านเนื้อหาเดิมให้เข้าใจ ตอบคำถามอีกครั้งจนตอบถูก แล้วจึงอ่านเนื้อหาต่อไป ๖. ไม่ควรดูคำตอบก่อนตอบคำถามเป็นอันขาด เพราะจะทำให้นักเรียนไม่เข้าใจบทเรียน อย่างแท้จริง ๗. บางบทเรียนมีคำแนะนำให้นักเรียนไปฝึกปฏิบัติด้วย นักเรียนต้องลองปฏิบัติให้ได้ตาม คำแนะนำ จะทำให้เกิดความรู้และเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

6 ๑. เป้าหมายการเรียนรู้ การเลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากการพิจารณาเกี่ยวกับคุณค่าประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัยแล้ว ยังควรคำนึงถึงความประหยัดและความจำเป็นในการใช้งานไม่ควรเลือกซื้อตามแฟชั่นหรือการโฆษณา เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๒. มาตรฐานและตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ตัวชี้วัด : สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ เลือกใช้บริการทางสุขภาพอย่างมีเหตุผล ๓. สาระสำคัญ การโฆษณาเป็นแรงจูงใจสำคัญต่อการตัดสินใจ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางสุขภาพของผู้บริโภคซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคละเลยการพิจารณาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการทางสุขภาพอย่างมีเหตุผลโดยคำนึงถึงคุณภาพความปลอดภัยและความคุ้มค่ากับราคาเป็นสำคัญ ๔. สาระการเรียนรู้ ๑. ผลิตภัณฑ์สุภาพ ๒. การบริการทางสุขภาพ ๓. ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังจากการซื้อสินค้าหรือบริการ

7 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  ลงในตัวเลือก ก. ข. ค. และ ง. ที่ถูกต้องที่สุด ๑. ข้อใดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งหมด ก. น้ำอัดลม โลชัน ยาแก้ไอ ข. บุหรี่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างห้องน้ำ ค. เครื่องวัดความดัน แป้งเด็ก ผ้าอนามัย ง. เสื้อนักเรียน หนังสือพิมพ์ ลูกฟุตบอล ๒. นักเรียนควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในข้อใด ก. เครื่องสำอางที่มีราคาถูก ข. น้ำดื่มที่มีเครื่องหมาย อย. ค. ขนมที่กำลังได้รับความนิยม ง. น้ำยาล้างจานที่ผลิตขายในชุมชน ๓ เครื่องหมายนี้จะพบอยู่บนสินค้าในข้อใด ก. ถังแก๊ส ครีมบำรุงผิวหน้า ข. ผงชูรส น้ำส้มสายชู ค. ผงซักฟอก เตาไฟฟ้า ง. เตาไมโครเวฟ สบู่ ๔. การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพควรใช้หลักในข้อใด ก. ซื้อเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ ข. ซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีของแถม ค. ซื้อที่เพื่อนในกลุ่มชอบใช้ ง. ซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีดาราที่ชื่นชอบโฆษณา ๕. ข้อใดไม่ใช่สถานบริการสุขภาพของรัฐบาลทั้งหมด ก. โรงพยาบาลประจำจังหวัด สถานีอนามัย ข. ฟิตเนส ร้านนวดแผนโบราณ ค. โรงพยาบาลประจำอำเภอ ร้านขายยา ง. คลินิกโรคผิวหนัง ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน

8 ๖. สถานบริการสุขภาพในข้อใดเป็นระบบบริการด้านสุขภาพเฉพาะทาง ก. สถานีอนามัยบ้านกล้วย ข. โรงพยาบาลสงฆ์ ค. โรงพยาบาลศิริราช ง. โรงพยาบาลประสาท ๗. โครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจุดมุ่งหมายอย่างไร ก. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ ข. ให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ยากจนและพิการ ค. ให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานและเท่าเทียมกัน ง. เพื่อนำเงินที่ได้จากค่ารักษาพยาบาลไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ ๘. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของระบบบริการสุขภาพของรัฐ ก. ประชาชนเข้าถึงง่าย และได้มาตรฐาน ข. ให้บริการเฉพาะคนไทยเท่านั้น ค. ประชาชนไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ง. ตั้งอยู่เฉพาะในเมืองสำคัญหรือแหล่งธุรกิจ ๙. การเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย (fitness) ควรปฏิบัติอย่างไร ก. ศึกษาข้อมูลจากผู้ที่เคยใช้ ข. เลือกใช้ที่มีผู้ใช้บริการน้อย ค. ใช้บริการสถานออกกำลังกายที่หรูหรา ง. เลือกสถานออกกำลังกายที่มีชื่อเสียง ๑๐. หากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ควรร้องเรียนที่หน่วยงาน ในข้อใด ก. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ค. กระทรวงมหาดไทย ง. สถานีตำรวจ

9 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ๖ ความหมายและประเภทของผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องใช้หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ๖ ประเภทหลัก คือ ๑. ประเภทอาหาร ๒. ประเภทยา ๓. ประเภทเครี่องมือแพทย์ ๔. ประเภทเครื่องสำอาง ๕. ประเภทวัตถุอันตราย (ที่มีใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข) ๖. ประเภทวัตถุเสพติด (วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท) การแสดงฉลากสินค้า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลคุณภาพและมาตรฐานการผลิตการนำเข้า หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ตลอดตนการจำหน่ายให้มีคุณภาพมาตรฐาน และก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้หรือบริโภค โดยสินค้าและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องแสดงรายละเอียดบนฉลากสินค้า ๑. ชื่อสินค้า ๒. เลขสารบบ ๓. วัน เดือน ปีที่ผลิต วันหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อนเมื่อใด ๔. ที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้บรรจุเพื่อจำหน่าย ๕. ปริมาณสุทธิของสินค้า ๖. ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำ หนักโดยประมาณ ๗. แสดงข้อความ “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” แล้วแต่กรณีที่มีการใช้ ๘. แสดงข้อความ “ใช้วัตถุกันเสีย” ถ้ามีการใช้ ๙. แสดงข้อความ “เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร” ให้ระบุชนิดของวัตถุปรุงแต่งที่ใช้ นอกจากรายละเอียดบนฉลากสินค้า ผู้บริโภคควรคำนึงถึงสัญลักษณ์แสดงมาตรฐานของสินค้า ดังนี้ ๑. เครื่องหมายการผ่าน การรับรองและได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

10 ๒. เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมี ๒ แบบคือ เครื่องหมายมาตรฐานแบบไม่บังคับ ซึ่งผู้ผลิตสมัครใจขอใช้เครื่องหมายมาตรฐาน เพื่อแสดงให้ปรากฏว่ามีเจตนาและความสามารถในการทำผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามหรือมีคุณภาพดีกว่าที่มาตรฐานกำหนด ส่วนเครื่องหมายมาตรฐาน ที่มีวงกลมล้อมรอบ แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดว่าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เครื่องหมายมาตรฐานแบบไม่บังคับ เครื่องหมายมาตรฐานแบบบังคับ ๓. เครื่องหมายฉลากอาหารผ่านการฉายรังสี อาหารที่จะต้อง มีการถนอมโดยใช้รังสี เช่น หอมใหญ่ มะม่วง สตอเบอร์รี่ ๔. เครื่องหมายคลีนฟู้ดกู้ดเทส (Clean Food Good Taste) ของกรมอนามัย หมายถึง ร้านอาหารหรือแผงลอยที่ผ่าน ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร และผ่านการตรวจ หาโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารด้วยชุดตรวจสอบการเปื้อน ๕. เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นเครื่องหมาย แสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานว่ามีคุณภาพ โดยฉลากหรือหีบห่อผลิตภัณฑ์ ๖. เครื่องหมายโอท็อป (OTOP) เป็นเครื่องหมายรับรอง จากกระทรวงพาณิชย์ โดยสินค้าที่มีมาตรฐานนี้ ผลิตจากฝีมือชาวบ้านในชุมชนต่างๆ เพื่อที่จะส่งขายตามท้องตลาด

11 การบริการทางสุขภาพ ๘ หลักการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ
๑. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ๒. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากบอกส่วนประกอบ คำแนะนำในการใช้อย่างละเอียด วันที่ผลิต ๓. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสภาพสะอาดเรียบร้อย ไม่เสื่อคุณภาพ ไม่มีสารปนเปื้อน ๔. เลือกผลิตภัณฑ์ที่สะดวกปลอดภัยในการเก็บและใช้งาน ๕. กรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องได้รับการแนะนำเฉพาะ เช่น การใช้ยา ในการเลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆ จอกจากการพิจารณาเกี่ยวกับคุณค่า ประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัยแล้ว ยังควรคำนึงถึงความปลอดภัยและความจำเป็นในการใช้งานไม่ควรเลือกซื้อตามแฟชั่นหรือการโฆษณา เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การบริการทางสุขภาพ การบริการด้านสุขภาพ หมายถึง บริการต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม รวมถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอันประกอบด้วย การบริการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัย และบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย ฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน ระบบบริการด้านสุขภาพ หมายถึง การจัดบริการด้านสุขภาพทั้งแบบตั้งรับและเชิงรุก ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ ๑. ระบบบริการระดับต้น (ปฐมภูมิ) หมายถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่เน้นการบริการแก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน ซึ่งไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนในเรื่องเทคโนโลยี แต่จะยุ่งมากในเรื่องการบริการแบบผสมผสาน ทั้งด้านการส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ๒. ระบบบริการระดับกลาง (ทุติยภูมิ) หมายถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่จัดบริการ ทั้งส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ รักษาพยาบาลและให้การฟื้นฟูผู้ป่วย ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนในเชิงเทคโนโลยีมากกว่าการบริการในระดับต้น ๓. ระบบบริการระดับสูง (ตติยภูมิ) หมายถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่จัดบริการทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันปัญหา รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย ซึ่งมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากทั้งในด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ต้องอาศัยความรู้ เทคโนโลยีและบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ มีความเชื่อมโยงกับระบบบริการอื่นๆ เพื่อส่งต่อ ความรับผิดชอบระหว่างกันเป็นอย่างดี

12 ระบบบริการด้านสุขภาพเฉพาะทาง หมายถึง ระบบการจัดบริการด้านสุขภาพ ที่มุ่งกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือรองรับการจัดการกับปัญหาเฉพาะเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี ทรัพยากร ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ระบบส่งต่อผู้ป่วย คือ การส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ครบและมีแพทย์เฉพาะทางในการรักษา โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยในการติดต่อ เพื่อขอส่งต่อผู้ป่วย ระบบสาธารณสุขมูลฐาน หมายถึง การดูแลสุขภาพที่จำเป็นซึ่งจัดให้อย่างทั่วถึง สำหรับทุกคน ทุกครอบครัวและในทุกชุมชน ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินกำลังของชุมชนและประเทศจะรับได้ องค์ประกอบของระบบสาธารณสุขมูลฐานประกอบด้วย การบริการแบบผสมผสาน ๔ ด้าน ได้แก่ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ บัตรประกันสุขภาพ เป็นบริการของรัฐที่จัดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้มีสิทธิใช้บัตรประกันสุขภาพ คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวบัตรประชาชน ๑๓ หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้โดยการใช้บัตรประชาชนแสดงสิทธิในการเข้ารับบริการสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ให้ใช้สำเนาสูติบัตรแทน การบริการด้านสุขภาพของรัฐ ต้องมุ่งสร้างความเข้มแข็งในด้านปริมาณและคุณภาพ ของระบบการดูแลตนเอง ระบบบริการครอบครัวและชุมชน และเป็นไปในทิศทางที่มุ่งสู่การ สร้างเสริมสุขภาพบนหลักพื้นฐานของสุขภาพพอเพียง ไม่เป็นไปเพื่อเชิงธุรกิจ และต้องเป็นระบบ ที่มีคุณภาพ มีวามปลอดภัย มีความเป็นธรรม ประชาชนเข้าใช้บริการได้ง่าย และมีหลากหลาย การบริการให้ประชาชนได้เลือก การบริการสุขภาพของเอกชน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของบริการสุขภาพที่ประชาชนสามารถเลือกเข้ารับบริการได้ เช่น - คลินิก หรือโพลีคลินิกต่างๆ - โรงพยาบาลเอกชน - ร้านขายยา - สถานบริการอื่นๆ เช่น สถานออกกำลังกาย สปา ตัวอย่างการบริการทางสุขภาพอื่นๆ เช่น การออกกำลังกาย โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามา เป็นเครื่องช่วยบริการหรือฟิตเนส (Fitness) จะมีการโฆษณาเป็นสิ่งจูงใจให้มาใช้บริการทางสุขภาพ ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางสุขภาพในชนิดนี้ ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีทุกๆ ด้าน การบริการทางสุขภาพด้านวารีบำบัด ก็เป็นอีกวิธีที่นิยมใช้กระน้ำเป็นตัวช่วยกระตุ้น ในการรักษา การใช้แรงดันจากน้ำตก น้ำไหลวน เป็นเครื่องช่วยผ่อนคลาย

13 ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังจากการซื้อสินค้าหรือบริการ
๑๐ ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ ๑. ตรวจดูฉลากของสินค้าก่อน ๒. สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าจากผู้ชาย หรือผู้ที่เคยใช้ ๓. ศึกษาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วิธีการใช้ คำเตือน วิธีรักษา ๔. ไม่หลงเชื่อข้อความโฆษณาหรือบริการเพราะส่วนใหญ่จะไม่กล่าวถึงข้อเสีย ของสินค้าหรือบริการ หลังซื้อสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บหลักฐานที่แสดงถึงการถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อเรียกร้องสิทธิ หลักฐานดังกล่าวอาจได้แก่ สินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณหรือคุณภาพ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจดจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นเพื่อประกอบการร้องเรียนและต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงิน เมื่อมีการละเมิดสิทธิ ผู้บริโภคควรมีการร้องเรียนตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสินค้าหรือบริการนั้น หรือร้องเรียนมายังคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ต่างจังหวัดร้องเรียนได้ที่คณะอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภค การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค เตรียมเอกสารเพื่อใช้ประกอบการบันทึกร้องเรียน ดังนี้ ๑. บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ ๒. ทะเบียนบ้าน ๓. ที่อยู่ที่สามารถติดต่อกับผู้ประกอบธุรกิจ ๔. หนังสือจอง, สัญญาจอง, สัญญาจะซื้อขาย ๕. เอกสารโฆษณา, ภาพถ่าย ๖. ใบเสร็จรับเงิน/เอกสารการชำระค่างวด ๗. หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบระหว่างผู้ร้องเรียนกับผู้ประกอบธุรกิจ ๘. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นสำเนาโฉนดที่ดิน ๙. ไปรษณียบัตร 1 แผ่น พร้อมกรอกชื่อที่อยู่ผู้ร้องเรียน ๑๐. อากรแสตมป์ 30 บาท

14 ๑๑ การยื่นเรื่องร้องเรียน ๑. ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียดในแบบบันทึกคำร้องเรียนพร้อมเอกสาร (ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ) มอบให้เจ้าหน้าที่ ๒. ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียดในแบบหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ สคบ. ดำเนินการแทนพร้อมติดอากรแสตมป์ ๓๐ บาท ๓. หากผู้บริโภคไม่สามารถมาร้องเรียนได้ด้วยตนเอง ผู้มาร้องเรียนแทนต้องมีหนังสือรับรองมอบอำนาจจากผู้บริโภค พร้อมติดอากรแสตมป์ ๓๐ บาท มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

15 ๑๒ บรรณนุกรม กิตติ ปรมัตถผลและคณะ. (๒๕๕๑). หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ วิชา สุขศึกษา ๒. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการ บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. คู่มือครู. (๒๕๕๑). สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). อภิลักษณ์ เทียนทองและคณะ. (๒๕๕๑). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ประสานมิตร (ปสม.) จำกัด.

16 เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
๑๓ เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ชุดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ ระวังสารเสริมความงาม ก่อนเรียน-หลังเรียน ข้อ ตอบ ๑๐

17


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ ระวัง สารเสริมความงาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google