ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJirasak Parnpradub ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
เครือข่ายครูและผู้ดูแลเด็ก ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
นางสาวกุสุมา สว่างพันธุ์ สสจ.ภูเก็ต
2
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน: 3D
D1: ครูมีสุขภาพและความรู้ดี D2: บริหารจัดการดี D3: สภาพแวดล้อมดี 10 มาตรการ ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค
3
เป้าประสงค์ ลดอัตราป่วยโรคระบบหายใจ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ที่ พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์เด็กเล็กมีการดำเนินงานตามข้อกำหนดและเกณฑ์ศูนย์เด็ก เล็กปลอดโรค (คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80, ได้ 28 จาก 35 คะแนน) ศูนย์เด็กเล็กผ่านการประเมินรับรอง เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค 3
4
เป้าหมายการลดโรค เด็กในศูนย์เด็กเล็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ไม่พบการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น 4
5
สภาพปัญหา -เป็นสถานที่มีเด็กอยู่รวมกัน เป็นจำนวนมาก
-เด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำ เจ็บป่วยง่ายและบ่อย -เมื่อเด็กเจ็บป่วย จะสามารถแพร่เชื้อและติดต่อสู่กันได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัด อุจจาระร่วง มือ เท้า ปาก สุกใส คางทูม หัด ฯลฯ -เด็กเขตเมืองป่วยเป็นหวัดเฉลี่ย 5-8 ครั้งต่อปี เด็กชนบทป่วยเป็นหวัดเฉลี่ย 3-5 ครั้งต่อปี
6
โรคที่พบ โรคที่พบบ่อย - โรคหวัด
โรคที่พบบ่อย - โรคหวัด - โรคอุจจาระร่วง เฉียบพลัน - โรคมือ เท้า ปาก โรคอื่นๆ ที่พบได้ - โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น หัด คางทูม หัดเยอรมัน คอตีบ - โรคตาแดง - โรคอีสุกอีใส - โรคดำแดง - ไข้เลือดออก ฯลฯ 6
7
องค์ประกอบของการเกิดโรค
สิ่งที่ทำให้เกิดโรค มนุษย์ สิ่งแวดล้อม
8
ธรรมชาติของการเกิดโรค
สุขภาพดี (Healthy) การส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) การป้องกันขั้น 1 (1o prevention) ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility) การป้องกันเฉพาะโรค (Specific protection) ระยะก่อนมีอาการของโรค (Stage of preclinical disease) วินิจฉัยแต่แรกและรักษาทันที (Early diagnosis/prompt treatment) การป้องกันขั้น 2 (2o prevention) ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease) การจำกัดความพิการ (Disability limitation) การป้องกันขั้น 3 (3o prevention) ระยะมีความพิการ (Stage of disability) การฟื้นฟูสภาพ (Rehabilitation) หายหรือตาย (Recovery or death)
9
ระยะที่สำคัญเกี่ยวกับการติดเชื้อ
Incubation period ระยะฟักตัวของโรค Period of communicability ระยะติดต่อของโรค Latent period Patent period ระยะเชื้อ ไม่ปรากฏ ระยะเชื้อปรากฏ ได้รับเชื้อ โรคปรากฏ การติดเชื้อยุติ การติดเชื้อปรากฏ เชื้อโรคหยุดออกจากร่างกาย
10
หลักการป้องกันโรค 10 Prevention 2 0 Prevention 3 0 Prevention
Lead time Asymptom Disease Symptomatic Disease No Disease W D Time Complication Disability Death Infected Symptoms Screening test Diagnosed & Treated Technology Management Community Participation Technology Management Community Participation Active Case Finding & Prompt Treatment
14
การเฝ้าระวังเหตุการณ์ (Event-based surveillance)
การเฝ้าระวังเหตุการณ์ หมายถึง การรับแจ้งเหตุการณ์ผิดปกติอย่างรวดเร็วโดยมีการจัดการที่เป็นระบบ เพื่อให้ได้ข่าวสารและข้อมูลการเกิดโรคและภัยสุขภาพ จากแหล่งข่าวชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และดำเนินการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ความหมายของเป็นทางการ เช่น ได้รับแจ้งผ่านระบบรายงาน 506 ส่วนไม่เป็นทางการ เช่น ได้รับข่าวจากเครือข่ายในชุมชน 14
15
เครือข่ายเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว
บทบาทหน้าที่ เฝ้าระวังโรค/ตรวจจับความผิดปกติ สอบสวนควบคุมป้องกันโรค เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระดับประเทศ ระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล การเฝ้าระวังเหตุการณ์ในพื้นที่ เพื่อค้นหาความผิดปกติ ระดับหมู่บ้าน
16
สมาชิกเครือข่ายระดับตำบล
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. หรือ สอ. (แห่งละ 1 คน) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ตำบลละ 3 คน) บุคลากร อปท. ได้แก่ อบต. หรือ เทศบาล ตำบล (1-2 คน) กลุ่มอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ปศุสัตว์ตำบล ครู
17
การเฝ้าระวังเหตุการณ์
ทำไมต้องมี การเฝ้าระวังเหตุการณ์
18
ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มารักษาที่รพ.สอ. หรือโรงพยาบาล
ธรรมชาติการเกิดโรค ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มารักษาที่รพ.สอ. หรือโรงพยาบาล ผู้ป่วยจำนวนมากที่อยู่ในชุมชน ไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาล -มีอาการไม่รุนแรง -มีเชื้อโรคในตัวแต่ไม่มีอาการ (พาหะ) 18 18 18
19
3 ร (เร็ว) เป้าหมายสำคัญ รู้เร็ว (และตรวจสอบ) รายงานเร็ว (แจ้งข่าว)
ควบคุมเร็ว (มาตรการเบื้องต้น)
20
SRRT เครือข่ายระดับตำบล
กลุ่ม วัตถุประสงค์ สิ่งที่คาดหวัง อสม/ครู/เครือข่าย จนท. รพ.สต. SRRT อำเภอ แจ้งข่าว ตรวจสอบ สอบสวน รู้เร็ว รายงานเร็ว ควบคุมเร็ว 20
21
การรายงานและดำเนินการเร็ว
เริ่มมีผู้ป่วย รายแรก ดำเนินมาตรการ ควบคุมโรค จำนวนผู้ป่วยที่ป้องกันได้ จำนวน ผู้ป่วย จำนวนวัน
22
ชนิดของเหตุการณ์ผิดปกติ
23
1.โรคประจำถิ่นหรือกลุ่มอาการที่พบบ่อย
หมายถึง โรคประจำถิ่นหรือกลุ่มอาการที่ประชาชนรู้จักดี และพบบ่อยๆในชุมชน ตัวอย่างเช่น ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง ซึ่งอาจจะเกิดจากอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัดใหญ่ ที่พบการระบาดตามฤดูกาล
24
2.โรคใหม่หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบในพื้นที่
หมายถึง โรคใหม่หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบมาก่อนหรือไม่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่รู้สาเหตุ ผู้ป่วยไข้สูง ปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อ 2 รายเกิดขึ้นภายหลังน้ำท่วม ไข้ออกผื่นและปวดข้อรายแรกในพื้นที่
25
3.เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคในคน
หมายถึง เหตุการณ์ที่อาจจะส่งผลต่อการเกิดโรคในคน เช่น สัตว์ป่วยตายผิดปกติ อาหารปนเปื้อน ระดับสารพิษในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ไก่ตายจำนวนมากในหมู่บ้าน ทำให้สงสัยไข้หวัดนก ปลาตายลอยเป็นแพในคลอง สารเคมีรั่วจากโรงงาน
26
เหตุการณ์ผิดปกติที่ต้องแจ้งข่าว
ผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน มีหลายรายพร้อม ๆ กัน ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยเป็นโรคที่มีความสำคัญ เช่น ไข้เลือดออก อหิวาตกโรค ไข้หวัดนก เหตุการณ์ผิดปกติในสัตว์และสิ่งแวดล้อม 26
27
ระบบงาน SRRT อำเภอและเครือข่ายระดับตำบล
อำเภ อ ศูนย์ รับ แจ้ง ข่าว รพ. สต. / สอ. แหล่งข่าวในชุมชน ควบคุมโรคได้เร็วขึ้น สอบสวน ตรวจสอบ ชุมชนในตำบล ได้แก่ หมู่บ้านต่างๆ มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เช่นมีผู้ป่วยหลายรายในเวลาเดียวกัน แต่เป็นโรคที่มีอาการไม่รุนแรง แจ้งข่าว เหตุการณ์ผิดปกติในชุมชน 27
29
ทะเบียนรับแจ้งเหตุผิดปกติด้านสธ.ที่ รพ.สต.
วัน เดือน ปี /เวลา ที่รับแจ้ง ผู้แจ้ง/ แหล่งข่าว/เบอร์โทร รายละเอียดเหตุการณ์ที่ได้รับแจ้ง โรค/อาการ/ เหตุการณ์ วันเดือนปีที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ จำนวนผู้ป่วย จำนวนตาย เป็นตัวอย่างตารางที่ทางรพ.สต. (สอ.) สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ ตามความถนัดของแต่ละพื้นที่ ตรงช่องรายละเอียดที่ได้รับแจ้งจะเป็นการเขียนบรรยายเหตุการณ์ว่าเกิดอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ แต่ทางสำนักระบาดฯพยายามแยกเป็นช่องย่อยๆไว่เพื่อเป็นแนวทางของการเขียน อาจปรับความกว้างของช่องบรรยายเหตุการณ์ให้เขียนได้ถนัด และแต่ละเหตุการณ์สามารถ เขียนต่อลงมาบรรทัดต่อๆไปได้ 29
30
ทะเบียนรับแจ้งเหตุผิดปกติด้านสธ.ที่ รพ.สต. (ต่อ)
ผู้รับแจ้ง/เวลา ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม การดำเนินการ ผู้ปฏิบัติ ตารางในหน้านี้ เป็นส่วนที่ต่อมาจากตารางในหน้าที่ผ่านมา คือเป็นตารางเดียวกันแต่มาตัดเป็น 2 สไลด์เพื่อให้ตัวโตขึ้น การดำเนินการ คือหลังได้รับแจ้งข่าวแล้วดำเนินการอะไรบ้าง (ช่องก่อนสุดท้าย) โดยใคร (ช่องสุดท้าย) 30
31
วิธีการควบคุมโรคติดต่อ
กระทำต่อเชื้อก่อโรค กระทำต่อคน กระทำต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการทางกฎหมาย
32
หลักการควบคุมโรคติดต่อ
การป้องกันที่ดีและคุ้มค่าที่สุด คือ การป้องกันในระยะก่อนได้รับเชื้อ -การส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ดูแลสุขอนามัย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม -การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้แก่ การได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
34
แนวทางการป้องกันควบคุมโรค
ในศูนย์เด็กเล็ก 1.การคัดกรองและแยกเด็กป่วย -ตรวจคัดกรองและบันทึกสุขภาพเด็กทุกคน ทุกวัน และเมื่อพบเด็กป่วย ให้แยกเด็กป่วย 2.การทำความสะอาดและการทำลายเชื้อ -หมั่นทำความสะอาดพื้น ผนัง เพดาน ของเล่น ของใช้ -ใช้สบู่ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า เป็นต้น
35
3.การเสริมสร้างให้เด็กมีสุขภาพดี
-ดูแลให้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ -รับประทานอาหารสุก สะอาด เพียงพอ -ออกกำลังกาย และพักผ่อนเพียงพอ 4.เสริมสร้างพฤติกรรมอนามัย -ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลล้างมือ -ปิดปาก จมูก ด้วยผ้า หรือทิชชู เวลาไอจาม -สวมหน้ากากอนามัยเมื่อป่วยโรคทางเดินหายใจ -ขับถ่ายในส้วม
36
บทบาทหน้าที่ของครูผู้ดูแลเด็ก ในการป้องกันควบคุมโรค
37
บทบาทครูดูแล เด็กสุขภาพดี เด็กป่วย
ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเด็ก ส่งเสริมพฤติกรรมเด็กเพื่อป้องกันควบคุมโรค ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค จัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม จัดสิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะ
38
กิจกรรมสำหรับครูในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก
ความถี่ 1.ผ่านการอบรม เรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็ก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2.ตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจภาพรังสีปอด อย่างน้อยทุก 1-2 ปี หรือเมื่อมีข้อบ่งชี้ 3.ต้องมีสุขภาพดี ถ้าป่วยต้องหยุดพัก ทุกครั้ง
39
กิจกรรม ความถี่ 4.ให้ความรู้แก่เด็กเรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 5.จัดกิจกรรมล้างมือด้วยสบู่ให้กับเด็ก ทุกวัน 6.ตรวจคัดกรองและบันทึกอาการเด็กป่วย
40
กิจกรรม ความถี่ 7.แยกเด็กป่วยและป้องกันการแพร่เชื้อ ทุกครั้งที่พบเด็กป่วย 8.ดูแลเด็กป่วยเบื้องต้น และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ทุกครั้ง 9.ฝึกเด็กให้มีพฤติกรรมเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
41
กิจกรรม ความถี่ 10.จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เรื่องโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดย จนท.สธ. อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 11.ถ่ายทอดความรู้การดูแลเด็กป่วยแก่ผู้ปกครอง ทุกครั้งที่รับเด็กป่วยกลับบ้าน 12.ตรวจสอบประวัติรับวัคซีนเด็ก ทุกภาคเรียน
42
กิจกรรม ความถี่ 13.ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเด็กตามวัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 14.รักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ
44
ตัวอย่างเหตุการณ์
45
โรคหวัด (Common cold)
46
สาเหตุ : เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด
สามารถติดเชื้อได้หลายครั้งจากเชื้อเดิมหรือเชื้อใหม่ ระยะฟักตัว : แตกต่างกันตามชนิดเชื้อ เช่น Influenza virus ใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน ส่วนใหญ่มักเกิดอาการหลังรับเชื้อ 1-3 วัน การติดต่อ : -ทางตรงโดยการหายใจเอาเชื้อหวัดในอากาศ การไอ จามรดกัน -ทางอ้อมโดยการใช้ของร่วมกัน หรือมือไปสัมผัสเชื้อแล้วนำเข้าสู่ร่างกาย
47
อาการ : หลังรับเชื้อ เริ่มคัดจมูก จาม ไข้ต่ำๆ ต่อมามีน้ำมูกไหล เจ็บคอเล็กน้อย ไอ ซึ่งมีอาการมากใน 1-2 วันแรก แล้วค่อยๆ ดีขึ้น ต่อมามีน้ำมูกข้น สีเหลืองปนเขียว มักหายใน 1 สัปดาห์ บางรายนาน 2-3 สัปดาห์ โรคแทรกซ้อน : หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ และกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบ
48
การป้องกัน : 1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสและลดการแพร่กระจายเชื้อ โดย -ล้างมือบ่อยๆ -ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน -ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย -ไม่พาเด็กเล็กไปสถานที่แออัด -เมื่อป่วยควรพักรักษาตัวที่บ้านจนกว่าจะหาย -ไอ จาม ทุกครั้ง ควรปิดปาก ปิดจมูก ด้วยผ้า หรือทิชชู หรือสวมหน้ากากอนามัย
50
การป้องกัน : 2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค -มลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ควันท่อไอเสีย -รักษาร่างกายให้อบอุ่น โดยเฉพาะช่วงอากาศ เปลี่ยนแปลง
51
การป้องกัน : 3.เสริมสร้างสุขภาพและภูมิต้านทานโรค ให้แข็งแรง -เด็กทารก ได้รับนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน -ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ ปริมาณเพียงพอ -ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เหมาะสมกับวัย -พักผ่อน นอนหลับเพียงพอ
52
การรักษา : 1.การดูแลทั่วไป -ควรเช็ดหรือดูดน้ำมูก -ให้ดื่มน้ำบ่อยๆ -ให้อาหารย่อยง่าย 2.รักษาอาการไข้ -เด็กเล็กให้ดูดนมแม่บ่อยๆ เด็กโตให้ดื่มน้ำมากๆ -เช็ดตัวลดไข้ ให้ยาพาราเซตามอล
53
การรักษา : 3.รักษาอาการไอ -ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ หรือใช้น้ำผึ้งผสมมะนาวชงกับน้ำอุ่นให้เด็กกิน -ไม่ควรใช้ยาลดอาการไอ ยาละลายเสมหะ หรือยาแก้ไอหวัดสูตรผสม (กดสมองทำให้เด็กซึม) 4.ลดอาการน้ำมูก คัดจมูก -ใช้ลูกยางแดงเบอร์ 1 สำหรับดูดน้ำมูก หรือผ้าซับน้ำมูก -ไม่ควรใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
54
การรักษา : 5.ยาปฏิชีวนะ -ไม่จำเป็น อาจทำให้เชื้อดื้อยา 6.อาการผิดปกติที่ต้องพาไปโรงพยาบาล -หายใจผิดปกติ ได้แก่ หายใจเร็ว หอบ หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม หายใจเสียงดัง -ไข้สูงเกิน 3 วัน -ไม่กินนม หรือน้ำ -ซึมลง หรือกระสับกระส่าย -อาการป่วยมากขึ้น
55
โรคมือ เท้า ปาก Hand Foot and Mouth Disease (HFM)
56
โรคนี้พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก อาการไม่รุนแรง มักพบมากช่วงต้นฤดูฝนถึงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนมิถุนายน และมีแนวโน้มสูงขึ้นในเดือนธันวาคม สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Enterovirus ระยะฟักตัว : ประมาณ 3-6 วัน หลังได้รับเชื้อ การติดต่อ : มือปนเปื้อนอุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก น้ำในตุ่มพองหรือแผลผู้ป่วย เข้าสู่ร่างกายทางปาก ผ่านคอหอย ลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือด เชื้อถูกขับออกมากับอุจจาระนาน 6-8 สัปดาห์
57
อาการ : เริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วัน มีอาการเจ็บปาก เบื่ออาหาร มีแผลอักเสบที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ต่อมาเกิดผื่นแดงไม่คันที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก้น หัวเข่า ต่อมากลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆ แดง แตกออกเป็นหลุมตื้นๆ โรคแทรกซ้อน : ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง อาจพบสมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกแต่น้อยมาก
60
การป้องกัน : 1.การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี -ล้างมือบ่อยๆ -ตัดเล็บให้สั้น 2.การดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี -กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูลที่ถูกต้อง -รักษาและทำความสะอาดอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครืองใช้ ของเล่น อย่างสม่ำเสมอ
61
การป้องกัน : 3.ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนช่วงที่มีการระบาด -ไม่นำเด็กไปสนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ -ควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี 4.เมื่อป่วยควรหยุดพักอยู่บ้านจนกว่าจะหาย
62
การรักษา : ส่วนใหญ่ป่วย 7-10 วัน หายเองได้
-รักษาเพื่อบรรเทาอาการ เนื่องจากไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้ปวด -ให้อาหารอ่อน รสไม่จัด ดื่มน้ำ นม น้ำหวาน น้ำผึ้ง ไอศกรีม -นอนพักผ่อนเพียงพอ -หากพบอาการรุนแรง คือ ไข้สูง ซึม อาเจียน อาการทางระบบประสาท หอบเหนื่อย ควรรีบพาไปพบแพทย์
63
การรักษา : -หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อควบคุมโรค -หากพบเด็กป่วยห้องเดียวกันมากกว่า 2 ราย ใน 1 สัปดาห์ ต้องปิดห้องเรียนเด็กป่วย -หากพบเด็กป่วยหลายห้องเรียนอาจต้องปิดศูนย์เด็กประมาณ 5 วันทำการ -ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 20 ซีซี ส่วนผสมกับน้ำ 1 ลิตร
64
ไข้สูงหลายวัน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องอืด มีจุดเลือดออกตามตัว อาจซึมหรือช็อค
หรือ ไปหาหมอแล้วพบว่าเป็นไข้เลือดออก
65
กิจกรรมที่ควรดำเนินการ
ส่งข่าวให้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที เช็ดตัวลดไข้ และแนะนำให้ไปหาหมอ ป้องกันยุงกัดผู้ป่วย โดยทายากันยุงและนอนในมุ้งทั้งกลางวันและกลางคืน สำรวจลูกน้ำยุงลายในรัศมี เมตร รอบบ้านผู้ป่วย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
66
โรคไข้ดำแดง Scarlet fever
67
โรคนี้มักพบในเด็กต่ำกว่า 10 ปี อาการไม่รุนแรง
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย B-hemolytic Streptococcus group A เป็นเชื้อตัวเดียวที่ทำให้ทอนซิลอักเสบ แต่เชื้อสร้างสารพิษออกมาปริมาณมากจึงทำให้เป็นโรคนี้ ระยะฟักตัว : ประมาณ 1-3 วัน หลังได้รับเชื้อ การติดต่อ : การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหรือหายใจเอาละอองฝอยเข้าระบบทางเดินหายใจ ผ่านระบบทางเดินอาหารแต่น้อย ผู้ป่วยแพร่เชื้อได้จนหายป่วยนาน 10 – 21 วัน
68
อาการ : เริ่มด้วยเจ็บคอ ปวกศีรษะและมีไข้ ต่อมามีผื่นละเอียดสีแดง สัมผัสมีลักษณะคล้ายกระดาษทราย ผื่นเริ่มจากลำคอ รักแร้ หน้าอก ลามลงตามลำตัว แขนขา หลังมีผื่น 2 – 4 วัน ผื่นลอก โดยเฉพาะปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าและขาหนีบ ลิ้นบวมแดง โรคแทรกซ้อน : ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง มักเป็นคลื่นไส้อาเจียน หากรับประทานยาไม่ครบอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ติดเชื้อในหูชั้นกลางและไซนัส ปอดอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด กระดูกหรือสมองได้
70
การป้องกัน : 1.การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี -ล้างมือบ่อยๆ -รักษาร่างกายให้แข็งแรง 2.การดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี -กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูลที่ถูกต้อง -รักษาและทำความสะอาดอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครืองใช้ ของเล่น อย่างสม่ำเสมอ
71
การป้องกัน : 3.ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนช่วงที่มีการระบาด -ไม่นำเด็กไปสนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ -ควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี 4.เมื่อป่วยควรหยุดพักอยู่บ้านจนกว่าจะหาย
72
การรักษา : -รักษาโดยรับประทานยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ให้ครบตามที่แพทย์สั่ง เพื่อการรักษาและป้องกันการดื้อยาและภาวะแทรกซ้อนจากโรค -รักษาตามอาการ ให้อาหารอ่อน รสไม่จัด ดื่มน้ำ นม น้ำหวาน น้ำผึ้ง ไอศกรีม -นอนพักผ่อนเพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ -หากไข้สูง ให้เช็ดตัวลดไข้ ให้ยาลดไข้ คือ พาราเซทตามอล
73
การควบคุมโรค : -หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อควบคุมโรค -หากพบเด็กป่วยห้องเดียวกันมากกว่า 2 ราย ใน 1 สัปดาห์ ต้องปิดห้องเรียนเด็กป่วย -หากพบเด็กป่วยหลายห้องเรียนอาจต้องปิดศูนย์เด็กประมาณ 5 วันทำการ -ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 20 ซีซี ส่วนผสมกับน้ำ 1 ลิตร
74
โรคสุกใส (Chickenpox)
75
โรคติดเชื้อไวรัสพบบ่อยในเด็ก อายุ 5-12 ปี รองลงมา อายุ 1-4 ปี มักพบระบาดช่วงปลายฤดูหนาว ถึงต้นฤดูร้อน อาจพบตลอดปี สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-zoster virus ระยะฟักตัว : ประมาณ วัน
76
การติดต่อ : -โดยการหายใจเอาละอองอากาศที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 2 วันก่อนผื่นขึ้น จนตุ่มผิวหนังแห้งหมด และไม่มีขึ้นใหม่ โดยทั่วไปนานประมาณ 10 วัน -โดยการสัมผัสกับผื่นที่ผิวหนังของผู้ป่วย
77
อาการ : มีผื่นขึ้นพร้อมกับไข้ ระยะแรกเป็นผื่นแดง ต่อมานูนขึ้น กลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-3 มม. ผื่นจะขึ้นลำตัวมากกว่าแขนขา บางรายมีแผลในปาก ลักษณะตุ่มจะมีรอยบุ๋มตรงกลางแล้วค่อยๆ แห้งไป ถ้าไม่แกะสะเก็ดจะไม่เป็นแผลเป็น โรคแทรกซ้อน : ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
78
การป้องกันโรค : -แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ ไม่ให้คลุกคลี กับผู้อื่นจนกว่าแผลจะแห้ง -ให้ผู้ปกครองมารับกลับบ้าน -ให้หยุดเรียน -ห้ามใช้สิ่งของและภาชนะร่วมกับผู้ป่วย -ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใส
79
การรักษา : รักษาตามอาการ -ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ห้ามใช้แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน -ถ้ามีอาการคัน ให้ยาแก้แพ้ แก้คัน -ถ้ามีการติดเชื้อของผิวหนัง ให้รับประทานยาฆ่าเชื้อ และอาบน้ำทำความสะอาด -หากอ่อนเพลียมาก กินไม่ได้ ซึม หายใจหอบเหนื่อย ให้รีบไปพบแพทย์
80
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
81
สาเหตุ : เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เชื้อบิดอหิวาตกโรค ซาลโมเนลลา อีโคไล พยาธิ หัด เชื้อไวรัส หรือสารเคมี ระยะฟักตัว : ถ้าเกิดการติดเชื้อมักมีระยะฟักตัว 6-8 ชั่วโมง การติดต่อ : โดยการรับประทานอาหารและ น้ำปนเปื้อน
82
อาการ : ถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไปใน 1วัน -ติดเชื้อไวรัส มีอุจจาระเป็นฟองกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือกลิ่นกรด พบบ่อยในเด็กเล็กต่ำกว่า 4 ปี ที่รับประทานนม -ติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น อหิวาต์ จะถ่ายเป็น น้ำครั้งละมากๆ อาจมีสีขาวเหมือนน้ำซาวข้าว กลิ่นคาว และฝาดเหมือนกลิ่นน้ำดีที่ย่อยอาหาร
83
การป้องกันโรค : -รับประทานอาหารปรุง สุก สะอาด -ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ก่อน-หลังรับประทานอาหาร หลังขับถ่าย และสัมผัสสิ่งปฏิกูล -ใช้ช้อนกลาง ทัพพี -ทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ในการกินและดื่มอย่างถูกวิธี -ระมัดระวังในการเตรียมอาหาร -กำจัดอุจจาระอย่างถูกวิธี -แยกเด็กป่วยให้หยุดพักรักษาตัวจนกว่าจะหาย -แยกของเล่น ทำความสะอาด
84
การรักษา : -ให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ ORS -ไม่ควรงดนมหรืออาหาร ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย -ก่อนให้นมลูกต้องล้างมือให้สะอาด -หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์
85
โรคตาแดง (Conjunctivitis)
86
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา
-ฤดูหนาว ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส -ฤดูร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย ระยะฟักตัว : ขึ้นกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ การติดต่อ : จากมือสัมผัสขี้ตา น้ำตาของผู้ป่วย แล้วมาสัมผัสตาตัวเอง
87
อาการ : ตาแดง เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล ปวดตา ตามัว
-ขี้ตาใส มักเกิดจากไวรัส หรือภูมิแพ้ -ขี้ตาเป็นเมือก มักเกิดจากภูมิแพ้ หรือตาแห้ง -ขี้ตาเป็นหนองร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้า มักเกิดจากแบคทีเรีย โรคแทรกซ้อน : มักไม่มีผลแทรกซ้อนที่อันตราย อาจมีอาการปวดตา ตามัวเล็กน้อย
88
การป้องกัน : -หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลล้างมือ -ไม่เอามือขยี้ตา -ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย -ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน -หากป่วยควรหยุดงาน หยุดเรียน พักรักษาตัวอยู่บ้านจนกกว่าจะหาย การรักษา : ควรพบแพทย์ เพื่อรักษาตามอาการ
90
โรคคอตีบ เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อ pseudomembrane เกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ พิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ (myocarditis) และเส้นประสาทส่วนปลาย (motor paralysis) Myocarditis – wk2, motor paralysis – wk3 90
91
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae (C. diphtheriae) ซึ่งมีรูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ (toxigenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxigenic) พิษที่ถูกขับออกมาจะไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ และปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ
92
ระบาดวิทยา เชื้อจะพบอยู่ในคนเท่านั้นโดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ (carrier) ติดต่อกันโดยการได้รับเชื้อโดยตรงจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู่ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก ทั้งผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อได้ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่พบจะอยู่ในชนบทหรือในชุมชนแออัด ซึ่งมีเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบเป็นจำนวนมาก อัตราป่วยตาย (case-fatality rate) ประมาณร้อยละ 10-30
93
ระยะฟักตัวและการแพร่เชื้อ
ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2-5 วัน อาจพบนานกว่านี้ได้ เริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มป่วย และเชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไป ภายใน 1-2 สัปดาห์
94
อาการและอาการแสดง เริ่มด้วยมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบ บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย ในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อทับซ้อนกันเกิดเป็นแผ่นเยื่อ (membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ หากแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตันหายใจลำบาก ถึงตายได้ ตำแหน่งอื่นที่จะพบมีการอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ ได้แก่ ในจมูก ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู
95
การรักษา ให้ Diphtheria antitoxin (DAT) ทุกราย
ให้ยาปฎิชีวนะแก่ผู้สัมผัสใกล้ชิดในชุมชน ยาฉีด ได้แก่ เพนนิซิลิน ฉีดเข้ากล้าม 1 ครั้ง ยากิน ได้แก่ Erythromycin หรือ Roxithromycin เจาะคอในเด็กที่มีโรคแทรกซ้อนจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โรคแทรกซ้อนทางหัวใจและทางเส้นประสาท ให้การรักษาประคับประคอง ผู้ป่วยเด็กโรคคอตีบจะต้องพักเต็มที่ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2 Only has document of Abt. Efficacy for Erythro & Benzathin penicillin In practice, has Roxithro, clinda (for cases received amoxy. also could not find positive culture) but not suggest to use 3rd generation macrolides 95
96
มาตรการสำคัญ ต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด ต้องเก็บตัวอย่าง ให้ยาปฏิชีวนะ พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน และติดตามเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด การให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่เด็กตาม EPI
97
ตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
อายุ ชนิดวัคซีน แรกเกิด BCG, HB 2 เดือน OPV1, DTP1 - HB1 4 เดือน OPV2, DTP2 - HB2 6 เดือน OPV3, DTP3 - HB3 9 เดือน MMR 18 เดือน OPV4, DTP4, JE1, JE2 2.5 ปี JE3 4 ปี OPV5, DTP5 7 ปี (ป. 1) 12-16 ปี (ป. 6) dT หญิงมีครรภ์ dT 3 ครั้ง (ขึ้นกับประวัติรับวัคซีน)
98
ปัจจัยความสำเร็จ ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้บริหาร อบต.
เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก ครูพี่เลี้ยง ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัย ความรู้ การป้องกันควบคุมโรค พฤติกรรมสุขภาพถูกต้อง คัดกรอง เฝ้าระวัง เครือข่ายเข้มแข็ง ปัจจัยความสำเร็จ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.