งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย ความปลอดภัยในโรงงาน เวลา 4 ชั่วโมง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย ความปลอดภัยในโรงงาน เวลา 4 ชั่วโมง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย ความปลอดภัยในโรงงาน เวลา 4 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ รหัสวิชา ชื่อวิชา งานเครื่องยนต์เบื้องต้น 2 (4) สอนครั้งที่ 1 หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย ความปลอดภัยในโรงงาน เวลา 4 ชั่วโมง สาระสำคัญ การปฏิบัติงานหรือการดำเนินงานใด ๆ โดยปราศจากผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านชีวิต และทรัพย์สินนั้นเป็นเรื่องพึงประสงค์สำหรับโรงงานต่าง ๆ แต่ในการปฏิบัติงานนั้นอาจเกิดความผิดพลาดหรืออุบัติภัย ทำให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินไม่มากก็น้อยถ้าขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และมีความสำคัญมากในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน ความปลอดภัยในโรงงาน 1. ความหมายของความปลอดภัย 2. ความหมายของอุบัติภัย 3. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 4.หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 5. ผลกระทบที่เกิดจากการเกิดอุบัติภัย 6. สาเหตุของการเกิดอุบัติภัยในโรงงาน 7.อุบัติภัยที่เกิดจากการปฏิบัติงานในโรงงาน 8.การป้องกันอุบัติภัยจากโรงงานอุตสาหกรรม

3 ข้อสอบก่อนเรียน 1.ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของคำว่า ความปลอดภัย ได้ถูกต้อง ก.การไว้ผมยาวรุงรังในขณะปฏิบัติงาน ข.การปราศจากหรือพ้นจากอุบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สิน ค.การปฏิบัติงานด้วยความประมาท ง.การสูบบุหรี่ใกล้วัตถุไวไฟ 2.ข้อใด ไม่ถือว่า เป็นความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ก.ผู้ปฏิบัติงานควรแต่งกายให้รัดกุม ข.ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำในขณะร้อน ค.ไม่ควรยกสิ่งของที่หนักมากๆ คนเดียว ง. ผู้ปฏิบัติงานควรนำไขควงไว้ในกระเป้ากางเกงหรือเสื้อ 3.ข้อใด ไม่ใช่ ผลกระทบที่เกิดจากการเกิดอุบัติภัย ก.ผลกระทบต่อความประพฤติของผู้ปฏิบัติงาน ข.ผลกระทบต่อชีวิต ค.ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ง.ผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ

4 ข้อสอบก่อนเรียน 4.สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติภัยมีอยู่ด้วยกันกี่สาเหตุ
ก.1 สาเหตุ ข.2 สาเหตุ ค.3 สาเหตุ ง.4 สาเหตุ 5.ข้อใด ไม่ใช่ อุบัติภัยที่เกิดจากการปฏิบัติงานในโรงงาน ก.การระเบิดของสารเคมี ข.การขนส่งและการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ค.การเดินหรือวิ่งรับส่งเอกสาร ง.อุบัติภัยที่เกี่ยวกับอัคคีภัย 6.สาเหตุของการทำให้เกิดอัคคีภัย คือข้อใด ก.ความบกพร่องของระบบไฟฟ้า ข.จัดเก็บสารที่เป็นเชื่อเพลิงไว้ในที่เหมาะสม ค.ความประมาทของผู้ควบคุม ง.ถูกทั้ง ก และ ข 7.การป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมีในข้อใดปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก.ไม่เก็บสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้ในชุมชน ข.จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมให้ใกล้กับชุมชน ค.สนับสนุนอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้สารเคมี ง.ให้ความรู้และจัดอบรมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

5 ข้อสอบก่อนเรียน 8.การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า ควรปฏิบัติอย่างไร
8.การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า ควรปฏิบัติอย่างไร ก.เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าตามความต้องการ ข.ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เห็นได้ชัดเจน ค.ตรวจสอบการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ง.ไม่ควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดดวงจรไฟฟ้า 9.การป้องกันอุบัติภัยจากเครื่องจักร ควรปฏิบัติอย่างไร ก.ปฏิบัติงานโดยไม่ศึกษาคู่มือการใช้เครื่องจักรกลก่อนใช้งาน ข.ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล ค.ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ปีละ 1 ครั้ง ง.หยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงาน 10. การป้องกันอุบัติภัยจากอัคคีภัย ควรปฏิบัติอย่างไร ก.จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย ข.ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย ค.ตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ปีละ 1 ครั้ง ง.จัดเก็บวัสดุอันตรายไว้ในบริเวณที่ปลอดภัย

6 ข้อสอบหลังเรียน 1.ข้อใด ไม่ใช่ ผลกระทบที่เกิดจากการเกิดอุบัติภัย
ก.ผลกระทบต่อความประพฤติของผู้ปฏิบัติงาน ข.ผลกระทบต่อชีวิต ค.ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ง.ผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ 2.ข้อใด ไม่ถือว่า เป็นความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ก.ผู้ปฏิบัติงานควรแต่งกายให้รัดกุม ข.ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำในขณะร้อน ค.ไม่ควรยกสิ่งของที่หนักมากๆ คนเดียว ง. ผู้ปฏิบัติงานควรนำไขควงไว้ในกระเป้ากางเกงหรือเสื้อ 3. การป้องกันอุบัติภัยจากอัคคีภัย ควรปฏิบัติอย่างไร ก.จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย ข.ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย ค.ตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ปีละ 1 ครั้ง ง.จัดเก็บวัสดุอันตรายไว้ในบริเวณที่ปลอดภัย

7 ข้อสอบหลังเรียน 4.ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของคำว่า ความปลอดภัย ได้ถูกต้อง ก.การไว้ผมยาวรุงรังในขณะปฏิบัติงาน ข.การปราศจากหรือพ้นจากอุบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สิน ค.การปฏิบัติงานด้วยความประมาท ง.การสูบบุหรี่ใกล้วัตถุไวไฟ 5.สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติภัยมีอยู่ด้วยกันกี่สาเหตุ ก.1 สาเหตุ ข.2 สาเหตุ ค.3 สาเหตุ ง.4 สาเหตุ 6.การป้องกันอุบัติภัยจากเครื่องจักร ควรปฏิบัติอย่างไร ก.ปฏิบัติงานโดยไม่ศึกษาคู่มือการใช้เครื่องจักรกลก่อนใช้งาน ข.ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล ค.ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ปีละ 1 ครั้ง ง.หยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงาน 7.สาเหตุของการทำให้เกิดอัคคีภัย คือข้อใด ก.ความบกพร่องของระบบไฟฟ้า ข.จัดเก็บสารที่เป็นเชื่อเพลิงไว้ในที่เหมาะสม ค.ความประมาทของผู้ควบคุม ง.ถูกทั้ง ก และ ข

8 ข้อสอบหลังเรียน 8.ข้อใด ไม่ใช่ อุบัติภัยที่เกิดจากการปฏิบัติงานในโรงงาน ก.การระเบิดของสารเคมี ข.การขนส่งและการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ค.การเดินหรือวิ่งรับส่งเอกสาร ง.อุบัติภัยที่เกี่ยวกับอัคคีภัย 9.การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า ควรปฏิบัติอย่างไร ก.เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าตามความต้องการ ข.ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เห็นได้ชัดเจน ค.ตรวจสอบการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ง.ไม่ควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดดวงจรไฟฟ้า 10.การป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมีในข้อใดปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก.ไม่เก็บสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้ในชุมชน ข.จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมให้ใกล้กับชุมชน ค.สนับสนุนอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้สารเคมี ง.ให้ความรู้และจัดอบรมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

9 1.1 หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
1.1.1 หลักเบื้องต้นของความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อุบัติภัยเกิดโดยกะทันหันไม่ได้แต่มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากภาพงาน วิธีการหรือสถานที่ทำงานไม่ปลอดภัย การป้องกั้นอุบัติภัยจะได้ผลดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานทุกคน การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยอาจจะเกิดมาจากสาเหตุ ต่อไปนี้ 1) ทำงานอื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง หรือไม่ใช่งานที่ตัวเองถนัด 2) ทำงานอย่างเร่งรีบเพื่อให้งานเสร็จโดยเร็ว 3) ไม่ใช้เครื่องป้องกันอันตรายประจำเครื่องจักร หรือมีอยู่แล้วถอดออก 4) ใช้เรื่องมือ อุปกรณ์ที่ชำรุด หรือใช้ไม่ถูกวิธี ใช้อุปกรณ์จนเกิดกำลัง 5) ปฏิบัติงานในท่าทาง หรือลักษณะที่ไม่ปลอดภัย 6) หยอดล้อเล่นกันในขณะปฏิบัติงาน หรือแกล้งผู้ที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ 7) แต่งกายไม่รัดกุม หรือไม่สวมเครื่องป้องกันอันตราย

10 - เสื้อปล่อยชายรุ่มร่าม - สามเครื่องประดับ - กางเกงขายาวกรอมพื้น
หลักความปลอดภัย - ผมยาว - ใส่เนคไท - เสื้อแขนยาว - เสื้อปล่อยชายรุ่มร่าม - สามเครื่องประดับ - กางเกงขายาวกรอมพื้น - รองเท้าแฟชั่น - ไม่สวมเครื่องป้องกันอันตราย - แต่งกายรัดกุม - สวมเครื่องป้องกันอันตราย - ไม่ใส่เครื่องประดับ รูปที่ 1.1 เปรียบเทียบการแต่งกายที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง

11 หลักความปลอดภัย รักษาความสะอาดและความมีระเบียบในสถานที่ปฏิบัติงาน ควรปฏิบัติดังนี้ 1) ทางผ่านร่วม เฉลียง บันได ทางหนีไฟ ทางเดินทุกแห่ง ต้องไม่วางของเกะกะไม่วางเครื่องมือหรือสิ่งอื่นใด ที่อาจจะทำให้ตกหล่น หรืออื่นสะดุดหกล้ม 2) เศษผ้าหรือกระดาษที่ชุ่มน้ำมัน ต้องทิ้งในภาชนะที่มีฝาปิด หรือนำไปเผาไฟส่วนเศษแก้ว เศษโลหะ เศษวัตถุแหลมคม กระจกหรือแก้วที่แตกหัก ต้องนำไปทิ้งถังขยะที่จัดไว้ 3)น้ำมันที่มีความหนืด เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น หรือจารบี ถ้าหกลงบนพื้น ต้องรีบเช็ดทำความสะอาดด้วยทรายแห้ง หรือขี้เลื่อย เพราะอาจทำให้ผู้อื่นลื่นหกล้มได้ง่าย รูปที่ 1.2 ทำความสะอาดน้ำมันที่หกเลอะพื้นทันที

12 หลักความปลอดภัย 1.1.3 ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุ การเคลื่อนย้ายวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักมาก มีขนาดใหญ่ ภายในโรงงาน ควรใช้ความระมัดระวังมาก เพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่ายควรปฏิบัติดั้งนี้ 1) อย่ายกของซ้อนกันหลายชิ้น จนบังมองไม่เห็นทางข้างหน้า อาจทำให้เดินชนสิ่งที่กีดขางอยู่ 2) การขนย้ายท้อน้ำ ท่อสายไฟ เหล็กเส้นหรือวัสดุที่เป็นสื่อไฟฟ้าระวังอย่าให้เข้าใกล้ หรือสัมผัสกับสายไฟแรงสูง อาจโดนไฟฟ้าดูด 3) การใช้เชือกหรือลิงผูกมัดสิ่งของต้องแน่ใจว่ามีความแข็งแรงและปลอดภัยเมื่อใช้เชือกยกของที่มีขอบคม ต้องใช้ไม้หรือสิ่งอื่นๆรองรับ ป้องกันเชือกถูกบาดจนขาด 4) ตรวจสอบคุณภาพของรอก แม่แรงเครน ว่ายังไช้งานได้ไม่ไช้งานจนเกินกำลังหรือบรรทุกน้ำหนักเกินกว่ามาครฐานที่กำหนดไว้

13 เดียวกัน หรือบริเวณใกล้เคียงทราบเพื่อจะได้ระมัดระวัง
หลักความปลอดภัย 5) เมื่อจะเคลื่อนย้ายสิ่งของโดยใช้แม่แรง หรือ เครนต้องแจ้งให้ผู้อื่นที่ทำงานอยู่ในบริเวณ เดียวกัน หรือบริเวณใกล้เคียงทราบเพื่อจะได้ระมัดระวัง รูปที่ 1.3 ใช้เครนช่วยยกของหนัก ปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย

14 หลักความปลอดภัย 6) การยกของหนักโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วย ที่ผิดวิธีเช่นก้มตัวยกของโดยไม่ย่อเข่า ทำให้ปวดหลัง หรือ ไหล่ รูปที่ 1.4 การยกของหนักที่ถูกโดยการย่อเข่า

15 1.2 หลีกความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร
หลักความปลอดภัย 1.2 หลีกความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร 1.2.1 การใช้เครื่องมือ 1) เครื่องมือในงานช่างยนต์มีหลายชนิด ทั้งเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษที่ใช้เฉพาะงาน การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานที่ทำจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย 2) รักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติอยู่เสมอ หากมีการชำรุดให้ซ่อมแซม หรือหาเครื่องมือใหม่มาทดแทน 3) ตรวจสองเครื่องมือและพื้นที่ทำงานให้ปลอดภัย ก่อนเริ่มปฏิบัติงานทุกครั้งตลอดจนปฏิบัติตามข้อแนะนำการใช้เครื่องมือชนิดนั้นๆอย่างเคร่งครัด

16 1.2.2 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย
หลักความปลอดภัย 1.2.2 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย 1) เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หมวก ถุงมือ รองเท้า แว่นตา ที่ครอบหู ผ้ากันเปื้อน หน้ากากกรองอากาศ เข็มขัดนิรภัย ให้เหมาะสมกับสภาพงานที่ทำและต้องตรวจสอบสภาพอุปกรณ์เหล่านี้ก่อนนำไปใช้ 2) เครื่องจักรกลที่มีเครื่องป้องกันอันตราย ( Safety Guard) ติดอยู่เช่น ที่บังโซ่ หรือ สายพาน กระจกกันสะเก็ดไฟที่แท่นหินเจียรนัย ไม่ควรถอดออกและต้องตรวจสภาพให้ใช้งานได้อยู่เสมอ รูปที่ 1.5 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

17 1.2.3 การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ
หลักความปลอดภัย 1.2.3 การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ 1) พื้นที่จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ต้องรักษาความสะอาดอย่าให้สกปรกรกรุงรัง ควรจัดเก็บให้เป็นระเบียบบนชั้นหรือที่เก็บโดยเฉพาะ อย่าให้กระจัดกระจาย วางไม่เป็นที่สำหรับเครื่องมือวัดละเอียด และเครื่องมือที่มีคมไม่ควรวางซ้อนก้นเป็นกอง 2) การจัดชั้นวางของ ให้เว้นที่ว่างไว้เป็นทางเดิน เพื่อสะดวกในการหยิบใช้งาน อย่าให้วัสดุ อุปกรณ์ยื่นออกมานอกชั้นวาง เพราะอาจตำหล่นเสียหาย หรือกีดขวางทางเดือน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่ขาดความระมัดระวัง สะดุดหกล้ม 3) วัสดุหรือเครื่องมือที่แหลมคม เช่น เหล็กขุดชาฟท์ ต้องมีที่เก็บใส่ให้มิดชิดส่วนวัสดุที่ครอบด้วยแก้ว หรือวัสดุ เครื่องมือที่แตกหักง่าย เช่น ไฮโดรมิเตอร์ ต้องแยกเก็บไว้ในกล่อง สำหรับเครื่องมือบางชนิด เช่นเครื่องมือวัดละเอียด ต้องมีการหล่อลื่นเพื่อป้องกันสนิม 4) ตรวจสอบ บำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ วัสดุบางอย่างมีการกำหนดอายุการใช้งาน อย่านำไปใช้งานเมื่อหมดอายุแล้ว

18 หลักความปลอดภัย รูปที่ 1.6 จัดเก็บเครื่องมือให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการตรวจสภาพและนำไปใช้

19 หลักความปลอดภัย 1.2.4 การทำความสะอาด 1) ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์และพื้นที่ทำงานทุกครั้งเมื่อเลิกปฏิบัติงาน ก่อนเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์เข้าที่ 2) บริเวณที่ทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ต้องมีการระบายอากาศที่ดี โดยไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินล้างชิ้นส่วนอุปกรณ์ เพราะไวไฟ ควรใช้น้ำมันก๊าช และขณะล้างควรสวมเครื่องกรองอากาศ ป้องกั้นการหายใจเอาไอของน้ำมันต่างๆเข้าไป ระวังอย่างให้มีเปลวไฟหรือสะเก็ดไฟ อยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำความสะอาด 3) ช่างที่ดีจะต้องรักษาตังเองให้สะอาดอยู่เสมอ ทั้งขณะทำงานและเลิกงานแล้ว

20 หลักความปลอดภัย รูปที่ 1.7 ทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้ง หลังเลิกงาน

21 1.2.5 การป้องกันอัคคีภัยและการใช้อุปกรณ์ดังเพลิง
หลักความปลอดภัย 1.2.5 การป้องกันอัคคีภัยและการใช้อุปกรณ์ดังเพลิง 1) การป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้า เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างยนต์หลายชิ้นต้องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับในการทำงาน เช่น เครื่องถ่วงล้อ เครื่องคว้านกระบอกสูบ ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้องจึงปลอดภัย การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนเป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้ (1) การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกินกำลัง (Overload) การใช้ต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่หยุดพัก จนทำให้ไฟฟ้าร้อนจัดและเกิดลัดวงจร (2) อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน หรือไม่มีการรับประกันคุณภาพแม้เกิดการชำรุดเพียงเล็กน้อยก็ให้นำไปซ่อมก่อนอย่านำมาใช้งาน (3) ต่อสายลงดิน ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อมีการลัดวงจร

22 (3) ไม่ควรปฏิบัติงานที่มีประกายไฟหรือความร้อนสูง ใกล้กับสารไวไฟ
หลักความปลอดภัย 2) การป้องกันอัคคีภัยจากน้ำมันก๊าช และสารไวไฟ การปฏิบัติงานบางอย่างในโรงงานช่างยนต์ เช่น การเชื่อมโลหะ การเจียระไน หรือการติดเครื่องยนต์ที่ขั้วต่อวงจรไฟฟ้าไม่แน่นอาจทำให้เกิดประกายไฟ ถ้าประกายไฟหรือความร้องที่เกิดขึ้นนั้น ไปสัมผัสกับน้ำมันเหชื้อเพลิง หรือสารไวไฟต่างๆ ก็จะเกิดอัคคีภัยขึ้นได้ ควรป้องกัน ดังนี้ (1) ควรเก็บสารไวไฟไว้ในภาชนะโดยเฉพาะปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ห่างไกลจากความร้อนและประกายไฟ (2) การเชื่อมหรือตัดถังบรรจุไวไฟต้องถ่ายสารไวไฟออกให้หมอและล้างทำความสะอาดอย่าให้มีสารตกค้างในถัง (3) ไม่ควรปฏิบัติงานที่มีประกายไฟหรือความร้อนสูง ใกล้กับสารไวไฟ (4) ไม่สูบบุหรี่ในโรงงานหรือในสถานที่มีป้ายห้ามสูบบุหรี่

23 หลักความปลอดภัย รูปที่ 1.8 ประกายไฟจากงานเจียระไน อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอัคคีภัย

24 1.3 หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานช่างยนต์
1.3.1 กฎในการใช้เครื่องมือทุกชนิด ควรยึดหลักดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้งานทั่วไป เช่น ค้อน คีม สกัด ตะไบ ปากกา เลื่อย สกัด ไขควง ฯลฯ จะต้องไม่ชำรุด ไม่บิ่น ไม่แตก ไม่หลวมคลอน 2) เครื่องมือพื้นฐานช่างยนต์ เช่น ประแจ ด้ามขัน ด้ามต่อ ทุกชนิด ต้องเลือกใช้ให้ถูกขนาดและเหมาะสมกับงาน การเลือกใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ชิ้นงานชำรุดเสียหายแล้ว ยังอาจทำอันตรายต่อผู้ใช้ 3) เครื่องมือพิเศษ เครื่องมือที่ใช้เฉพาะงาน เช่น เครื่องมือวัดละเอียด เครื่องมืองานไฟฟ้ารถยนต์ เครื่องทดสอบและปรับแต่งชนิดต่างๆ เป็นเครื่องมือที่มีความละเอียดอ่อน และมีราคาแพง ชำรุดง่าย จึงต้องศึกษาวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง

25 หลักความปลอดภัย รูปที่1.9 หัวค้อนที่หลวม สกัดหัวบาน ปากกาจับชิ้นงานไม่แน่นเครื่องมือที่วางเกะกะ ล้วนเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายทั้งสิ้น

26 1.3.2 กฎในการใช้เครื่องยนต์ เครื่องจักรกลทุกชนิด ควรยึดหลักดังนี้
หลักความปลอดภัย 1.3.2 กฎในการใช้เครื่องยนต์ เครื่องจักรกลทุกชนิด ควรยึดหลักดังนี้ 1) ก่อนใช้งานทุกครั้งต้องตรวจสภาพทั่วไปที่ตัวเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล และ บริเวณโดยรอบว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ก่อนให้เกิดอันตรายใดๆ หากพบว่ามีการชำรุด หรือมีสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ต้องแก้ไขก่อนใช้งาน 2) ศึกษาวิธีการใช้งานเครื่องจักรกลทุกชนิดจากคู่มือให้เข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติงาน หากยังไม่เข้าใจให้สอบถามจรากอาจารย์ผู้สอน อย่าลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง 3) เครื่องยนต์ และเครื่องจักรกล ส่วนมากมักจะมีการติดตั้งป้องกันอันตรายเอาไว้ โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่มีการหมุน เช่น สายพาน มู่เล่ เพลา โซ่ หรือซี่เฟือง ซึ่งสามารถป้องกันอันตรายจากการใช้งานได้ ดังนั้นจึงต้องตวรจสภาพตัวป้องกันอันตรายว่ายังใช้งานได้ดีตามปกติหรือไม่และไม่ควรถอดออก

27 หลักความปลอดภัย รูปที่ 1.10 อย่าถอดตัวบังสายพานออก

28 1.3.3 พิษจากคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
หลักความปลอดภัย 1.3.3 พิษจากคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นแก๊สที่มีปะปนอยู่ในไอเสียของเครื่องยนต์ทุกชนิดในปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ถ้าเครื่องยนต์หลวมหรือมีการการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์จะมีปริมาณมาก แก๊สชนิดนี้ไม่มีกลิ่น ไม่มีสีแต่เป็นพิษ ถ้าหายใจเอาแก๊สเข้าไปมาก อาจเสียชีวิตได้ วิธีป้องกันอันตรายแก๊สชนิดนี้คือ อากาศบริสุทธิ์ดั้งนั้นจึงไม่ควรติดเครื่องยนต์ในที่ที่ไม่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าได้กลิ่นไอเสียขณะที่อยู่ภายในรถ แสดงว่ามีจุดรั่วไหลจากภายนอกเข้ามาภายในห้องโดยสารได้ตรงจุดใดจุดหนึ่ง ให้รีบแก้ไข

29 หลักความปลอดภัย รูปที่ 1.11 ไอเสียที่สามารถรั่วไหลเข้าภายในรถได้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง

30 1.3.4 อันตรายจากน้ำมันเชื้อเพลิง
หลักความปลอดภัย 1.3.4 อันตรายจากน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิงที่หกอยู่ตามพื้น หรือบรรจุอยู่ในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดมิดชิด จะเกิดเป็นไอลอยอยู่เหนือพื้น และผสมกับอากาศในสัดส่วนที่พอเหมาะเมื่อได้รับความร้อนที่สูงพอที่จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ดังนั้น อย่าเปิดฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิงทิ้งไว้ อย่าใช้เครื่องมือที่อาจจะมีประกายไฟ(Spark) หรือสูบบุหรี่ใกล้กับถังน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นอันขาด ถ้าเกิดไฟไหม้จากน้ำมันเชื้อเพลิง อย่าใช้น้ำดับ เพราะน้ำมันจะลอยขึ้นอยู่เหนือน้ำ ทำให้น้ำมันกระเด็นไปติดไฟที่อื่น ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีน้ำยาเคมี หรือใช้ทราย ดิน หรือกระสอบที่เปียกน้ำ เทคลุมลงไปบริเวณจุดที่ไฟลุกไหม้

31 หลักความปลอดภัย รูปที่1.12 การใช้ยาเคมีดับไฟที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง

32 1.3.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด
หลักความปลอดภัย 1.3.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด เครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น หัวแร้งไฟฟ้า สว่านไฟฟ้า ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ เมื่อพบว่าชำรุดหรือขัดข้อง ควรรีบแก้ไข อย่างปล่อยทิ้งไว้จนทำให้ไฟไหม้สายไฟฟ้าที่ชำรุด ถ้าไม่มีความรู้ทางไฟฟ้าอย่าจับต้องหรือซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้ไฟฟ้าดูดจนเสียชีวิตได้ รูปที่ 1.13 ระวังไฟดูดเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด

33 หลักความปลอดภัย 1.3.6 การใช้ปั๊มลม อย่าใช้ลมเป่าไล่ฝุ่นตามลำตัว หรือเส้นผม หรือนำไปเป่าเล่น ควรสวมแว่นตาขณะทำความสะอาดเครื่องมือหรือพื้นที่ทำงาน ด้วยการใช้ลมเป่า เพราะเศษโลหะอาจปลิวเข้าตาได้ รูปที่ 1.14 เป่าลมทำความสะอาดควรสวมแว่นตา

34 หลักความปลอดภัย 1.3.7 ระวังเศษโลหะที่มีคม เศษโลหะที่มีคม เช่น เศษโลหะที่เกิดจากการใช้สว่านเจาะชิ้นงาน จะมีความคม อย่าใช้มือเปล่าปัดทำความสะอาด ควรใช้แปรงขนแข็งปัด รูปที่ 1.15 คมจากเศษโลหะทำอันตรายได้เสมอ

35 1.3.8 อันตรายจากเครื่องจักรหมุน
หลักความปลอดภัย 1.3.8 อันตรายจากเครื่องจักรหมุน เครื่องจักรที่หมุนได้ เช่น เครื่องกลึง แท่นสว่าน จะมีแรงเหวี่ยงมาก หากจับยึดชิ้นงานไม่แน่น อาจจะหลุดกระเด็น ทำอันตรายได้ และต้องระวังการหมุนเกี่ยวชิ้นส่วนของร่างกาย หรือเครื่องแต่งกายที่รุ่มร่ามไปพัน รูปที่ 1.16 ควรยึดจับชิ้นงานให้แน่นเมื่อจะนำไปเจาะกับแท่นสว่าน

36 1.3.9 ห้ามเล่นตลกคะนองในโรงงาน
หลักความปลอดภัย 1.3.9 ห้ามเล่นตลกคะนองในโรงงาน ห้ามหยอกล้อ หรือวิ่งเล่นภายในโรงงานเป็นอันขาดเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รูปที่ 1.17 เล่นหยอดล้อกันขณะปฏิบัติงาน

37 1.3.10 การขึ้นแม่แรงรถยนต์ (Jacking a Vehicle)
หลักความปลอดภัย การขึ้นแม่แรงรถยนต์ (Jacking a Vehicle) การทำงานซ่อมใต้รถยนต์ที่ขึ้นแม่แรงค้างไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อถอดล้อออกแล้วจะมีอันตรายมากเพราะแม่แรงอาจจะยุบหรือลื่นหลุดได้ ดังนั้นพลังจากที่ใช้แม่แรงยกรถขึ้นไปแล้วควรใช้ขาตั้งเหล็กหรือท่อนไม้หนุนใต้ท้องรถในตำแหน่งที่เหมาะสม แต่ขาตั้งเหล็กและไม้หมุนจะต้องอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและแข็งแรง อย่าใช้อิฐเป็นเครื่องรองรับหรือหนุน เพราะแตกหักงายถ้าขึ้นแม่แรงด้านหน้าหรือด้านหลังรถเพียงด้านเดียว ต้องหาหมอนหนุนล้อด้านที่ติดพื้นไว้ด้วย

38 หลักความปลอดภัย รูปที่ 1.18 การใช้สามขารองรับรถยนต์ และการหมุนล้อ

39 1.3.11 จดจ่อกับงานที่ทำ อย่าวอกแวก
หลักความปลอดภัย จดจ่อกับงานที่ทำ อย่าวอกแวก ขณะปฏิบัติงานในโรงงาน จงนึกเสมอว่า มีอันตรายรอบด้าน การทำงานโดยที่ใจไม่จดจ่ออยู่กับงาน การเหม่อลอย ไม่มีสมาธิ ก่อให้เกิดอันตรายได้ตลอดเวลา รูปที่ 1.19 เครื่องยนต์กำลังหมุนทำไมไม่มอง

40 1.3.12 การรักษาพื้นโรงงานให้สะอาดอยู่เสมอ
หลักความปลอดภัย การรักษาพื้นโรงงานให้สะอาดอยู่เสมอ จาระบี น้ำมันหล่อลื่น หรือแม้แต่น้ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้พื้นลื่น เมื่อหยดลงพื้นให้รีบทำความสะอาด โดยใช้ทรายแห้ง ขี้เลื่อย ซึ่งจะดูดซับของเหลวได้ดี สำหรับชิ้นส่วนเครื่องยนต์และเครื่องมือต่างๆ เช่น แม่แรง กล่องใส่เครื่องมือ อะไหล่ ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ เมื่อใช้แล้วควรเก็บไว้ในที่สำหรับเก็บให้ถูกต้อง ไม่ควรทิ้งไว้เกะกะอาจจะเกิดอันตรายได้ การเป็นคนที่มีนิสัยประณีตและรักษาระเบียบเป็นหลักประกันความปลอดภัยและยังแสดงถึงการเป็นช่างที่ดีอีกด้วย รูปที่ 1.20 ระวังเครื่องมือที่วางเกะกะ ขาจะเกี่ยว


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย ความปลอดภัยในโรงงาน เวลา 4 ชั่วโมง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google