งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พลวัตความเหลื่อมล้ำ ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พลวัตความเหลื่อมล้ำ ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พลวัตความเหลื่อมล้ำ ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา

2 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ประเด็นหลัก ข้อถกเถียงเรื่องพลวัตความเหลื่อมล้ำที่ส่งผลต่อทิศทางการกำหนดนโยบาย ตัวอย่างหลักฐานผลการศึกษาที่ผ่านมาของไทย กลุ่มที่เน้นด้านเศรษฐกิจ กลุ่มที่เน้นด้านการเมืองและสังคม เสนอกรอบการวิเคราะห์ที่ผนวกรวมด้านเศรษฐกิจ การเมือง และมิติของการ รวมกลุ่มทางสังคมเข้าด้วยกัน ประยุกต์ใช้อธิบายบางเหตุการณ์จากอดีตถึงปัจจุบันในบริบทของไทย ข้อเสนอเชิงนโยบาย 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

3 ข้อถกเถียงเรื่องพลวัตความเหลื่อมล้ำ
Kuznets (1955) ระดับความเหลื่อมล้ำแปรผกผันกับระดับการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ (หรือรายได้ต่อหัว) และเป็นรู้จักกันในชื่อว่า Kuznets curve มี ทิศทางนโยบายที่จะเน้นในเรื่องต่อไปนี้ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยการลดข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของผู้ประกอบการรายย่อย ให้ การอุดหนุนด้านการศึกษา เป็นต้น มีนโยบายกระจายรายได้ที่ส่งผลเสียน้อยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น มาตรการภาษีเพื่อลดการเก็งกำไรหรือผูกขาด หรือเก็บภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ ประโยชน์ 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

4 ข้อถกเถียงเรื่องพลวัตความเหลื่อมล้ำ (2)
Piketty (2014) “Capital in the Twenty-First Century” โต้แย้งสมมติฐานของ Kuznets ชี้ว่าส่วนแบ่งรายได้และทรัพย์สินของกลุ่มคนรวยในช่วงบนสุดของรายได้มี แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งของทุนหรือสินทรัพย์ต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายให้มี The optimal top tax rate in the developed world countries is probably above 80% (p.512) A global tax on capital. It would probably be necessary to levy rates of about 5% on the largest fortunes. (p.530) 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

5 ข้อถกเถียงเรื่องพลวัตความเหลื่อมล้ำ (3)
อย่างไรก็ตาม งานของ Piketty (2014) ได้ถูกตั้งคำถามข้อสงสัยที่สำคัญจำนวน ไม่น้อย เช่น (จาก Martin Feldstein) ในแง่ทฤษฎี: ที่ว่าส่วนแบ่งของทุนต่อรายได้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อ r > g นั้น จะเป็น จริงต่อเมื่อ คนมีอายุยืนยาวได้ไม่สิ้นสุดเท่านั้น ข้อมูล flow-of-fund ของ Federal Reserve พบว่าตั้งแต่ ค.ศ.1960 สินทรัพย์รวมที่ แท้จริงของครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียง 3.2% ต่อปี ในขณะที่รายได้ส่วนบุคคลโดยรวมที่ แท้จริงเพิ่มขึ้นเท่ากับ 3.3% ต่อปี การเปรียบเทียบรายได้ของกลุ่มคนรายได้สูงกับรายได้ประชาชาตินั้น จะทำให้ได้ค่า สัดส่วนที่สูงเกินจริง เพราะรายได้ประชาชาติไม่ได้รวมเงินโอนจากรัฐบาล (เช่น social security, health benefits และ food stamps) ไว้ด้วย 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

6 หลักฐานผลการศึกษาที่ผ่านมาของไทย
กลุ่มที่เน้นด้านเศรษฐกิจ งานของ Jeong and Townsend (2008) ใช้ข้อมูล SES ศึกษารูปแบบการกระจายสินทรัพย์ ประมาณการค่าสัมประสิทธิ์ที่ สะท้อนพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคที่ระดับการถือครองสินทรัพย์ต่าง ๆ กันของ ครัวเรือน (wealth-constrained self-selection) นำผลที่ได้ไปทดลองในแบบจำลองการขยายตัวของรายได้เชิงมหภาค พบว่า สอดคล้องกับพลวัตของการขยายตัวของรายได้ในเชิงมหภาคของไทยและระดับ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ผลที่ได้ สนับสนุนสมมติฐานของ Kuznets (1955) 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

7 หลักฐานผลการศึกษาที่ผ่านมาของไทย (2)
กลุ่มที่เน้นด้านเศรษฐกิจ งานของ Pawasutipaisit and Townsend (2010) ได้วิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจงบดุลและกระแสเงินสดของครัวเรือนรายเดือนอย่าง ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี (panel data) พบว่าความเหลื่อมล้ำเชิงสินทรัพย์ของครัวเรือนมีแนวโน้มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป หลายครัวเรือนสามารถหลุดออกจากความยากจนได้ภายในช่วงเวลาเจ็ดปี ซึ่งเป็น ผลจากการออมของครัวเรือนและประสิทธิภาพการใช้เงินออมให้ได้ผลตอบแทนที่สูง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ครัวเรือนได้รับผลตอบแทนสูงได้แก่ ระดับการศึกษา การมี หัวหน้าครัวเรือนที่อายุไม่มาก และการมีสัดส่วนของหนี้ต่อสินทรัพย์ที่สูง ซึ่งผลการศึกษานี้ก็สนับสนุนสมมติฐานของ Kuznets (1955) 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

8 หลักฐานผลการศึกษาที่ผ่านมาของไทย (3)
กลุ่มที่เน้นด้านสังคมและการเมือง งานของ ผาสุก และคณะ (2556) ในช่วงระหว่าง พ.ศ ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคทางด้านรายได้ไม่ลดลง และ ความต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มคนร้อยละ 20 ที่มีรายได้มากที่สุดเทียบกับกลุ่มคนร้อยละ 20 ที่มีรายได้น้อยที่สุด มีความแตกต่างค่อนข้างมากคือราว เท่าตัว เมื่อพิจารณาสัดส่วนมูลค่าการถือครองทรัพย์สินรวมระหว่างครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด กับ ครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด จะมีค่าเท่ากับ เท่า เท่า และ เท่าในปี พ.ศ พ.ศ และ พ.ศ ตามลำดับ แม้ว่าประเทศไทยมีคนจนที่ลดน้อยลง แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีและ เงินทุนจากต่างประเทศ ทำให้ละเลยเรื่องการปฏิรูปภาคเกษตร ไม่มีการปฏิรูปทีดิน เกิดความ เหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติระหว่างเมืองและชนบท ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ส่งผลต่อถึงความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ความ เหลื่อมล้ำทางสังคมและการเมือง 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

9 นำเสนอกรอบการวิเคราะห์ที่รวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
สมมติฐาน ระบบการเมือง การปกครอง กฎหมาย และ การรวมกลุ่มทางสังคมในมิติอื่นๆ จะมีผลต่อระดับความเหลื่อมล้ำของสังคมนั้นๆ สังคมที่มีช่องทางการรวมกลุ่มได้หลากหลายมิติ นอกเหนือไปจากการ รวมกลุ่มในลักษณะชนชั้นทางสังคมเพียงมิติเดียวแล้ว (เช่น มีมิติของความ หลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ) ก็จะมีแนวโน้มลดลงที่จะเกิดปัญหาข้อขัดแย้ง ระหว่างชนชั้นกลุ่มคนจนที่เป็นเสียงข้างมากในสังคม (median voters) กับชน ชั้นกลุ่มคนรวยในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายรายได้ และดุลยภาพของการ กระจายรายได้ อาจมีได้มากกว่าหนึ่งแบบ (multiple equilibria) 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

10 นำเสนอกรอบการวิเคราะห์ที่รวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
แบบจำลอง จากงานของ Shayo (2009) และ Lindqvist and Ostling (2013) ที่ นำเสนอประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง Social Identity และ Redistribution สาระสำคัญของแบบจำลองนี้คือ อรรถประโยชน์หรือความพอใจของ ผู้บริโภคแต่ละคนจะเท่ากับ ผลบวกของรายได้หลังหักภาษีและเงิน โอน กับความพอใจที่ตนได้เสียสละหรือทำประโยชน์ให้กับกลุ่มสังคมที่ มีอัตลักษณ์ตรงกับของตน 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

11 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
แสดงปัญหาด้วยภาพ ความพอใจรวม ความพอใจจากการ เลือกเข้ากลุ่มสังคม ต่างกัน รายได้หลังหัก ภาษีต่างกัน l i 1 – l i 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

12 นำเสนอกรอบการวิเคราะห์ที่รวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม (2)
ผู้บริโภคแต่ละคนจะต้องเลือกเข้าร่วมกับกลุ่มเชื้อชาติของตน หรือไม่ก็เลือก เข้าร่วมกับกลุ่มสังคมที่มีช่วงรายได้สอดคล้องกับตน ผลจากการตัดสินใจเลือกเข้ากลุ่มของผู้บริโภคนี้จะทำให้เขาต้องเลือกอัตรา ภาษีรายได้ที่เขาจะลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบตามทั้งกลุ่มสังคม สำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำ (ก่อนหักภาษี) นั้น มักจะพบว่ารายได้เฉลี่ย ก่อนหักภาษีของกลุ่มเชื้อชาติที่ตนเข้าสังกัดอยู่นั้นจะมีค่าที่สูงกว่ารายได้ เฉลี่ยก่อนหักภาษีของกลุ่มชนชั้นสังคมที่สังกัดอยู่ (เรียกว่ากลุ่มอัตลักษณ์ที่มี สถานะสูง : yH) 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

13 นำเสนอกรอบการวิเคราะห์ที่รวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม (3)
สำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้สูง (ก่อนหักภาษี) นั้น มักจะพบว่ารายได้ เฉลี่ยก่อนหักภาษีของกลุ่มเชื้อชาติที่ตนเข้าสังกัดอยู่นั้นจะมีค่าที่ต่ำ กว่ารายได้เฉลี่ยก่อนหักภาษีของกลุ่มชนชั้นสังคมที่สังกัดอยู่ (เรียกว่า กลุ่มอัตลักษณ์ที่มีสถานะต่ำ: yL) ให้ dH และ dL คือ ฟังก์ชันระยะห่าง (ภายในกลุ่ม) ระหว่างผู้บริโภค กับสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มอัตลักษณ์ที่ตนเลือกและมีสถานะที่สูงและ ต่ำ ตามลำดับ 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

14 ตัวอย่าง: พยาบาลไทยในอเมริกา
ความถี่ ความถี่ ลักษณะการแจกแจงรายได้ ของคนอเมริกันที่อเมริกา ลักษณะการแจกแจงรายได้ของ คนไทยที่อเมริกา รายได้พยาบาลไทย รายได้ก่อนหักภาษี ค่าเฉลี่ยเลขคณิต รายได้ก่อนหักภาษี ค่าเฉลี่ยเลขคณิตในกลุ่มรายได้นี้  พยาบาลไทยที่มีรายได้ต่ำในอเมริกาจะอยู่ในกลุ่มสังคม (social class) ที่มีสถานะต่ำ 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

15 ตัวอย่าง: แพทย์ไทยในอเมริกา
ความถี่ ความถี่ ลักษณะการแจกแจงรายได้ ของคนอเมริกันที่อเมริกา ลักษณะการแจกแจงรายได้ของ คนไทยที่อเมริกา รายได้แพทย์ไทย รายได้ก่อนหักภาษี ค่าเฉลี่ยเลขคณิตในกลุ่มรายได้นี้ รายได้ก่อนหักภาษี ค่าเฉลี่ยเลขคณิต แพทย์ไทยในอเมริกาจะอยู่กลุ่มสังคม (social class) ที่มีสถานะสูง 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

16 ปัญหาของผู้บริโภคคือการหาค่าสูงสุดของความพอใจโดยการเลือก li
โดยที่ 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

17 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ภาวะดุลยภาพ ผู้บริโภคแต่ละคนเลือกกลุ่มอัตลักษณ์อย่างเหมาะสม ภายใต้อัตราภาษีที่กำหนดให้ ผู้บริโภคแต่ละคนเลือกอัตราภาษีที่ต้องกาตามกลุ่มอัตลักษณ์ที่ตนเองเลือกสังกัดอยู่ อัตราภาษีมัธยฐานที่ได้จะสอดคล้อง กับกลุ่มอัตลักษณ์และพฤติกรรมผู้บริโภค 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

18 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
เงื่อนไขที่จำเป็น อัตราภาษีที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มคือ ผู้บริโภคจะเลือกเข้ากลุ่มที่มีสถานะสูงสำหรับอัตราค่าภาษีใดๆ ถ้าหากว่า 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

19 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ผลที่ได้ ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จะมีจุดดุลยภาพอย่างน้อยที่สุดอยู่ 1 จุดดุลยภาพ ในกรณีที่ประชากรมีระดับของรายได้อยู่เพียงสองระดับคือ yR และ yP โดยที่ yR > yp แล้ว และสัดส่วนของประชากรในกลุ่มเชื้อชาติ j (แทนด้วย pj) แล้ว จะ ได้ว่าหากมีค่าคงที่ p ค่าหนึ่งที่ใช้เป็นค่าอ้างอิง (threshold) ของคนจนในกลุ่ม เชื้อชาติ j จะใช้ในการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมกับกลุ่มเชื้อชาติเมื่อพบว่า pj < p ผู้บริโภคจะไม่ได้ประโยชน์ใดๆ ในการที่เขาจะเลือกเข้ากลุ่มตามเชื้อชาติของ เขา เพราะการลงคะแนนเสียงเลือกอัตราภาษีตามเชื้อชาติของเขานั้นจะไม่มี ทางที่จะชนะได้ ซึ่งหมายความว่าในกรณีนี้ อัตราภาษีที่มีค่าต่ำจะกลายเป็น อัตราภาษีที่ดุลภาพ 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

20 ระบบการเมืองกับพลวัตความเหลื่อมล้ำ
ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง ปัจจัยแรงงานที่มีอยู่จำกัด มีความสำคัญมากปัจจัยที่ดินที่มีอยู่อย่างเหลือเฝือ วิธีการจัดชนชั้นสังคมตามกฎหมายในสมัยนั้นโดยแบ่งออกเป็น เจ้า ขุนนาง ไพร่ และทาส ขุนนางมีศักดินาตามลำดับยศจากสูงไปต่ำ เช่น สมเด็จเจ้าพระยามีศักดินา 30,000 ไร่ และ ขุนมีศักดินา 200-1,000 ไร่ จำนวนแรงงานไพร่ที่ขุนนางมีจึงสะท้อนถึงระดับความมั่นคั่งที่แตกต่างกัน ค่อนข้างมากระหว่างเจ้า ขุนนาง และชาวบ้านแรงงานไพร่ 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

21 ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (2)
ชาวนาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของสยามในเวลานั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน ผู้ปกครองประเทศอาศัยระบบการเกณฑ์แรงงานไพร่หลวงเพื่อใช้เป็นไพร่พล ในการทำสงคราม และใช้เพื่อทำงานด้านสาธารณประโยชน์ ในขณะที่ขุนนางสามารถจะรับอุปถัมภ์แรงงานไพร่ที่เรียกว่าไพร่สมเพื่อไว้ใช้ ทำงานให้กับขุนนาง การใช้แรงงานรับจ้างชาวจีนอพยพมีมากขึ้นก็เพื่อเป็นการทดแทนการใช้ แรงงานไพร่ที่ถูกบังคับเกณฑ์แรงงาน 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

22 ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (3)
มีการลดระยะเวลาการบังคับใช้แรงงานไพร่ของหลวงจากเดิมปีละ 6 เดือน เหลือปีละ 4 เดือนต่อมาก็ลดลงอีกจนเหลือปีละ 3 เดือน ผู้นำรัฐไทยในสมัยนั้นเลือกที่จะบังคับเกณฑ์แรงงาน และให้ชาวนาเช่าที่นา และทำการผลิตเอง ชาวนาอาจเลือกที่จะหนีเข้าป่าหรือเลือกที่จะอู้หรือเฉื่อยงาน ทางผู้ปกครองรัฐได้มีการนำระบบสักเลกมาใช้กับไพร่หลวงทุกคนเพื่อป้องกัน การหลบหนีหรือการแอบลักลอบย้ายถิ่นฐาน 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

23 ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (4)
ทำให้ชาวนาที่อยู่นอกเขตพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนและมีระบบเศรษฐกิจ แบบยังชีพที่มีรายได้ต่ำกว่าในพื้นที่เขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน ส่งผลให้มี ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของชาวนาในทั้งสองพื้นที่นี้ ในพ.ศ แมลล็อคได้ประมาณว่า พลเมืองสยามในเขตเมืองต่าง ๆ ที่ ไม่ได้ปลูกข้าวเอง แต่มีความต้องการบริโภคข้าวนั้นคิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 300,000 คน ข้าวส่วนเกินนี้จะมาจากพื้นที่ที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนบน จึงประมาณการได้ว่าชาวนาที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน จะมี รายได้ที่แท้จริงสูงกว่าชาวนาเขตอื่น 1.46 เท่าตัวโดยประมาณ 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

24 ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (5)
ผลจากการดำเนินนโยบายของผู้นำรัฐในสมัยนั้นในการลดจำนวนเดือนของ การบังคับเกณฑ์แรงงานไพร่ให้เหลือน้อยลง ก็มีผลทำให้ชาวนาในเขตที่ราบ ลุ่มเจ้าพระยามีชีวิตที่ดีขึ้น ชาวนานอกเขตพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาซึ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงชีพก็ ได้ประโยชน์ด้วย เพราะรัฐบาลสามารถนำผลผลิตข้าวส่วนเกินมาช่วยเหลือใน ยามที่เกิดภัยธรรมชาติหรือฝนแล้ง เพราะฉะนั้นในแง่หนึ่งแล้ว การลดเวลาในการบังคับเกณฑ์แรงงานไพร่ให้ เหลือน้อยลง ได้ทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำระหว่างขุนนางในระบบศักดิ นาและชาวนาแรงงานไพร่ในสมัยนั้นลดน้อยลง (สอดคล้องกับ Kuznets) 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

25 ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (6)
ทำไมช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมช่วงยุคต้นรัตนโกสินทร์ จึงไม่ได้นำไปสู่ ความวุ่นวายในสังคม (social unrest) ชนชั้นล่างจะตัดสินอย่างเหมาะสมที่จะเลือกเข้าไปใช้ชีวิตส่วนตัวอยู่กันใกล้ชิด ในกลุ่มสังคมที่แบ่งตามเชื้อชาติ (คือจะมีการเกาะกลุ่มทางสังคมในระนาบของ กลุ่มชาวนาไทยกับกลุ่มแรงงานจีนที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน) มากกว่าการที่จะ เลือกไปใช้ชีวิตส่วนตัวทางสังคมแบบที่แบ่งตามชนชั้นทางสังคม การรวมกลุ่มตามเชื้อชาติเหล่านี้จะมีการเรียกร้องให้มีการขึ้นภาษีตามรายได้ ที่สูงขึ้นเพื่อจะได้นำมาจัดสรรกระจายให้กับชาวนาชนชั้นล่างมากขึ้น 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

26 ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (7)
ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (7) ความหมายของการเก็บภาษีตามรายได้ที่สูงขึ้นในบริบทของยุคสมัยต้น รัตนโกสินทร์ ก็คือว่า ชนชั้นขุนนางที่มีรายได้สูงกว่าจะต้องเสียภาษีที่สูงขึ้น ตามรายได้ และกระจายกับมาที่ชนชั้นล่างนั่นเอง การที่ผู้นำรัฐในต้นรัตนโกสินทร์ตัดสินใจลดระยะเวลาเกณฑ์แรงงานไพร่ให้ เหลือน้อยๆ เรื่อยๆ จึงเท่ากับว่า เป็นการลดการเก็บภาษีชนชั้นล่างที่ถูก บังคับเกณฑ์แรงงาน ในขณะที่ขุนนางทั้งหลายที่เคยได้ประโยชน์จากระบบ บังคับเกณฑ์แรงงาน (ทั้งในรูปของไพร่สมและไพร่หลวง) ก็จะถูกกระทบจาก นโยบายนี้ให้ได้ประโยชน์น้อยลง จึงเสมือนหนึ่งว่าชนชั้นขุนนางที่มีรายได้ที่ แท้จริงสูงกว่าต้องรับภาระภาษีมากขึ้น 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

27 ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง (8)
ผลจากการดำเนินนโยบายลดการบังคับเกณฑ์แรงงานไพร่ให้น้อยลงนี้เอง จึง ทำให้มีการกระจายรายได้ระหว่างชนชั้นที่เป็นธรรมมากขึ้นในสมัยนั้น 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

28 การรับมือลัทธิล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5
หลังจากสยามได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว การผลิตและค้าข้าว จึงมีการขยายตัวอย่างมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เมื่อการผลิตข้าวขยายตัวอย่างมาก ที่ดินได้ก็เริ่มกลายเป็นปัจจัยการผลิต ที่สำคัญมากขึ้นกว่าในอดีต มีการลงทุนขุดคลองเพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูกและมีความต้องการถือครอง ที่ดินกันมากขึ้น 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

29 การรับมือลัทธิล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5
รัฐไทยในอดีตมีความหวงแหนในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงไม่ยอมให้ กรรมสิทธิ์แก่ผู้จับจอง แต่เนื่องจากต้องการจูงใจให้ฝรั่งตะวันตกเข้ามาตั้ง โรงงานสมัยใหม่ในประเทศ จึงจำต้องปรับให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยการตั้งเงื่อนไขในเชิงพื้นที่ที่ฝรั่งจะซื้อที่ดินได้ โดย แบ่งที่ดินออกเป็น 3 เขต รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก จึงได้ริเริ่มให้มีการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายๆ ด้าน 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

30 การรับมือลัทธิล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5
งานของ Larsson (2008) ได้ชี้ว่าการปฏิรูปของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นแตกต่างจากกรณีของการปฏิรูปประเทศของญี่ปุ่นในเวลาใกล้เคียง เนื่องจากไทยไม่มีการปฏิรูปที่ดินอย่างจริงจังเหมือนกับในกรณีของญี่ปุ่น แม้ว่าไทยจะมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินฉบับใหม่ในปี พ.ศ และตามด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการรวมศูนย์การจดทะเบียนที่ดิน และการ ออกโฉนดที่ดินที่อิงกับการสำรวจเพื่อรังวัดตามหลักวิธีสากลที่ทันสมัยในปี พ.ศ ก็ตาม แต่ทั้งหมดนี้ดำเนินการไปเพื่อต้องการเพิ่มขั้นตอนในการ ออกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เกิดความล่าช้าเพื่อบีบให้ฝรั่งชาติตะวันตกที่การใช้ซื้อ ที่ดินไปประกอบธุรกิจยอมผ่อนปรนแก้ไขข้อเสียเปรียบบางประการของไทยที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องการสูญเสียสิทธินอกอาณาเขตนั่นเอง 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

31 การรับมือลัทธิล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5
ผลของการที่รัฐไทยพลาดโอกาสในการปฏิรูปที่ดินซึ่งเป็นเรื่องนโยบาย การกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (redistributive policy) อย่าง จริงจังในช่วงดังกล่าวเนื่องจากเกรงผลเสียที่จะตามมาในภาวะที่ไทย สูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอยู่ด้วย ส่งผลให้การปฏิรูปประเทศของไทยในช่วงเวลาเดียวกับญี่ปุ่นในขณะนั้น แต่ก็ไม่สามารถขยายตัวในอัตราที่สูงเท่ากับญี่ปุ่นในระยะยาว 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

32 การรับมือลัทธิล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5
ผลของการที่รัฐไทยพลาดโอกาสในการปฏิรูปที่ดินซึ่งเป็นเรื่องนโยบาย การกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (redistributive policy) อย่าง จริงจังในช่วงดังกล่าวเนื่องจากเกรงผลเสียที่จะตามมาในภาวะที่ไทย สูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอยู่ด้วย ส่งผลให้การปฏิรูปประเทศของไทยในช่วงเวลาเดียวกับญี่ปุ่นในขณะนั้น แต่ก็ไม่สามารถขยายตัวในอัตราที่สูงเท่ากับญี่ปุ่นในระยะยาว 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

33 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
เปรียบเทียบมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวของไทยและญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ (1990 International Geary-Khamis $s) 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

34 การรับมือลัทธิล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5
เราอาจตีความกรณีเหตุการณ์การดำเนินนโยบายด้านที่ดินในสมัยรัชกาล ที่ 5 ได้ว่า เป็นกรณีที่นำไปสู่การมีดุลยภาพได้มากกว่าหนึ่งดุลยภาพ นั่นเอง (multiple equilibria) ยกตัวอย่างเช่น ดุลยภาพที่หนึ่งคือดุลยภาพสำหรับกรณีที่ไม่มีการปฏิรูปที่ดินอย่าง จริงจัง ส่งผลให้การปฏิรูปประเทศโดยรวมของไทยเป็นไปตามอย่าง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแล้วในอดีต 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

35 การรับมือลัทธิล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5
ดุลยภาพที่หนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจริงในอดีตนั้น ต้องถือว่าเป็นดุลยภาพรอง (sub-optimal equilibrium) นั่นเอง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่ากลุ่มชนชั้นชาวบ้านซึ่งเป็นกลุ่มที่มี รายได้ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับชนชั้นนำในขณะนั้น ต่างก็มีความรู้สึกร่วมเดียวกันในเรื่อง “ชาตินิยม” เพราะต้องการต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ดังนั้น ชนชั้นชาวบ้านซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศจึงไม่ได้มีการรวมตัวกันเรียกร้อง กับชนชั้นนำให้มีการดำเนินการกระจายที่ดินด้วยการปฏิรูปที่ ดิน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ตัวชาวบ้านเองก็จะได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่เกิดความพอใจทางด้านจิตใจจากปัจจัยเรื่องชาตินิยมนั่นเอง เพราะ พวกเขารู้สึกว่าได้ร่วมกันเสียสละเพื่อชาติในการให้ความเห็นชอบกับนโยบายของชน ชั้นนำในการดำเนินการปกป้องกรรมสิทธิ์ที่ดิน 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

36 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
การเมืองแบบสองขั้ว ผาสุกและคณะ (2556) ได้วิเคราะห์ว่า วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี พ.ศ ได้สั่นคลอนบทบาททางการเมืองของชนชั้นนำเดิม มีกลุ่มการเมืองสองกลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มการเมืองของชนชั้นนำเดิม ซึ่งมี ฐานเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากพื้นที่ภาคใต้ และเขตเมืองคือกรุงเทพฯ (2) กลุ่มการเมืองของศูนย์อำนาจใหม่ ซึ่งมีฐานเสียงส่วนใหญ่จาก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีชนชั้นล่างส่วนใหญ่ร่วมอยู่ ด้วย 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

37 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
การเมืองแบบสองขั้ว กลุ่มการเมืองของชนขั้นนำเดิมให้การยอมรับอย่างเข้มข้นกับคุณค่าความ ดีของขนบธรรมเนียมวิถีปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับสืบต่อกันมายาวนาน มวลชนของกลุ่มการเมืองของชนชั้นนำเดิมจะมีอัตลักษณ์แบบ อนุรักษนิยมสูง เช่น มีความรู้สึกเรื่องชาตินิยมสูง เมื่อกลุ่มการเมืองของศูนย์อำนาจใหม่ชนะการเลือกตั้งในระยะแรก ทำให้ มีการใช้นโยบายที่มีการกระจายรายได้ไปสู่คนชั้นล่างมากขึ้นกว่าแต่ก่อน 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

38 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
การเมืองแบบสองขั้ว เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า กลุ่มมวลชนซึ่งเป็นฐานเสียงของแต่ละกลุ่มการเมือง เหล่านี้จะมีการออกเสียงในลักษณะที่คานกันโดยเฉพาะในประเด็นเรื่อง นโยบายการกระจายรายได้ และมีการเปลี่ยนแปลงของฐานเสียงไปมา ระหว่างกันได้ ดังนั้น ดุลยภาพของการแข่งขันทางการเมืองระหว่างสอง กลุ่มการเมืองนี้ ก็จะทำให้ทั้งสองปรับนโยบายจนเข้าไปอยู่ในลักษณะที่เป็น กลางๆ ไม่สุดขั้วไปข้างใดข้างหนึ่งได้ในที่สุด 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

39 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
บทสรุป ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการรวมกลุ่มทางสังคมต่างๆ จะมีผลต่อชาวบ้านใน การออกเสียงเพื่อเลือกระดับการกระจายรายได้มากหรือน้อยแตกต่างกัน และมี โอกาสที่จะเกิดกรณีที่มีหลายดุลยภาพได้ (multiple equilibria) และสังคม อาจจะลงเอยที่จุดดุลยภาพรองได้ (sub-optimal) อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการแข่งขันในระบบพรรคการเมืองที่มีความต่อเนื่อง นั้น ดุลยภาพของการแข่งขันทางการเมืองระหว่างสองกลุ่มการเมืองนี้ ก็จะทำ ให้ทั้งสองกลุ่มการเมืองปรับนโยบายจนเข้าไปอยู่ในลักษณะที่เป็นกลางๆ ไม่สุด ขั้วไปข้างใดข้างหนึ่ง และในระยะยาว ความเหลื่อมล้ำจะลดลงตามสมมติฐาน ของ Kuznets 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

40 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ข้อที่หนึ่ง ความเห็นที่แตกต่างระหว่างมวลชนฐานเสียงทั้งสองฝ่ายนั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะความเห็นต่างที่มีเหตุมีผลเหล่านี้ จะช่วยกันคายให้มีการ ดำเนินนโยบายที่เหมาะสมในเรื่องการกระจายรายได้ได้ในที่สุด และ ข้อที่สอง สังคมจะต้องหาวิธีให้การประทะกันของความเห็นที่แตกต่างกัน ข้างต้น เป็นไปด้วยความสันติ และเปิดกว้างต่อความเห็นที่แตกต่าง เหล่านี้ได้อย่างมีอารยะและมีความอดทนอดกลั้น 30 ตุลาคม 2557 สัมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 37 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์


ดาวน์โหลด ppt พลวัตความเหลื่อมล้ำ ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google