ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นโยบายการพัฒนาชุมชนเมือง กรณีเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี
หลักการและความสำคัญ การพัฒนาในเชิงกายภาพ นับเป็นความสำคัญยิ่งในกระบวนการพัฒนาอย่างบูรณาการ 1 ใน 3 มิติ ซึ่งประกอบด้วย 1. มิติทางกายภาพ 2. มิติทางสังคม และ 3. มิติทางจิตวิญญาณ กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาเทศบาลนครอุบลฯ กลุ่มที่ 1 คือ ประชาชนได้ประโยชน์ ที่อยู่นอกเขตเทศบาลฯ กลุ่มที่ 2 คือ ประชาชนได้ประโยชน์ ที่มีภูมิลำเนาและพักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลฯ ทั้งที่มี และไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน
2
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล และมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง
1. กลุ่มชนชั้นกลาง ที่มีฐานะ มีการศึกษา มีอุดมการณ์บางอย่าง กลุ่มนี้ต้องการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพและความทันสมัย ประชาชนกลุ่มนี้ ต้องการการพัฒนาในเชิงกายภาพที่เป็นระบบมีความทันสมัย มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะการปิดป้าย ระบบการจราจร ระบบการสื่อสาร ที่ชัดเจน มีความ “ไฮเทค” ควบคู่ไปกับการจัดระเบียบสังคม พยายามขจัดแหล่งมั่วสุม ยาเสพติด หรือสื่อลามกอนาจารที่เป็นพิษเป็นภัยแก่เยาวชน 2. กลุ่มคนจนเมือง ผู้ขายแรงงาน รับจ้าง พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย กลุ่มนี้ต้องการโอกาสในการประกอบอาชีพ มีปัญหาหนี้สิน สุขภาพ และการศึกษา ปัญหาของคนกลุ่มนี้สามารถแก้ได้ โดยการสร้างโอกาสในที่ทำกิน การทำมาค้าขาย การมีกองทุนเลี้ยงชีพ กองทุนสุขภาพ และทุนการศึกษา ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และการลดเงื่อนไขบางอย่างที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง
3
นโยบายด้านการพัฒนาระบบกายภาพของเทศบาล
Model ที่ควรจะเป็น คือการผสมผสานระหว่าง “ความเก่า” ของเมืองนักปราชญ์ กับ “ความทันสมัย” ของเมืองสมัยใหม่แบบต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง มาเก๊า โดยการพัฒนา ผังเมืองแบบ “โซนนิ่ง (Zoning)” สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เช่น วัดในเมืองต่าง ๆ หอพิพิธภัณฑ์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ทุ่งศรีเมือง เป็นต้น สถานที่ในลักษณะนี้ เป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณ และพื้นที่ทางสังคม ประชาชนมองว่า เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ แม้คิดจะเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาก็ไม่ควรไปแตะ เพราะจะถูกต่อต้านจากคนบางกลุ่ม ทำไปไม่ได้คะแนน เช่นเดียวกับการ “ทุบถนน” เป็นโครงการที่ตอบสนองคนส่วนใหญ่ แต่กระทบคนส่วนน้อย ในเชิงนโยบายไม่ต้องพูด ไม่ต้องตอบโต้ เพราะไม่กระทบกับคะแนนเสียง
4
1. พัฒนาบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำมูลเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการค้า
นโยบายในเชิงกายภาพ 1. พัฒนาบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำมูลเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการค้า ดึงความเจริญและทันสมัย และระบบการค้าไปอยู่ฝั่งทางใต้ของเทศบาลนครฯ โดยการพัฒนาบริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการค้า พัฒนาตลอดแนวฝั่งแม่น้ำมูล ทั้งแนวตะวันออก (ด้านตลาดใหญ่-สะพานเกรียง) และแนวตะวันตก (ด้านท่าวัดสุปัฏฯ -ไปจนถึงมูลน้อย) ดึงทุนจากภายนอกเข้ามาทำสวนสนุก “ดรีม เวิร์ล” ส่งเสริมการกีฬา การละเล่น และการท่องเที่ยวทางน้ำ จัดระเบียบร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ติดไฟเจ็ดสีบนราวสะพาน มีกิจกรรมลอยโคมเทียนในแม่น้ำมูลตอนกลางคืน โซนนี้เน้นการท่องเที่ยวเป็นหลัก
5
2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสัญญาณไฟจราจรและทางเท้า
ติดตั้งระบบสัญญาณไฟจราจร ให้มีมาตรฐาน ระบุเบอร์แจ้งสัญญาณไฟเสียในที่สังเกตเห็นได้ง่าย ส่วนรูปแบบสัญญาณไฟปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยแบบต่างประเทศ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีไกด์ของเทศบาลฯ พร้อมติดป้ายแผนผังแนะนำเส้นทางในจุดที่เหมาะสมและทันสมัย จัดหาสถานที่จอดรถสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการและทำกิจธุระในเมือง จัดระเบียบของตลาด ร้านค้า ร้านขายอาหาร หาบเร่ แผลงลอย ประสานงานกับตำรวจเรื่องกำหนดจุดที่ตั้งของหน่วยตรวจจับอย่างเป็นที่เป็นทาง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และโปร่งใส
6
3. ปรับปรุงระบบประปา และระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ
ระบบการระบายและถ่ายเทน้ำเสีย น้ำทิ้ง ในตัวเมือง จะสัมพันธ์กับแม่น้ำมูล เทศบาลต้องหาวิธีการกรองน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้งลงไปในแม่น้ำมูลเพื่อรักษาสภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เทศบาลต้องทำเขื่อนกั้นแม่น้ำมูลเพื่อไม่ให้เซาะตลิ่งพังโดยเฉพาะในบริเวณตัวเมือง ส่วนที่อยู่ในชุมชนควรรักษาระบบนิเวศวิทยาให้อยู่ในสภาพเดิมเพื่อคงวิถีชุมชนไว้ให้มากที่สุด หน้าแล้งแม่น้ำมูลแห้ง เป็นปัญหาต่อการทำระบบน้ำประปา ซึ่งในอนาคตจะเป็นปัญหาอย่างมาก เทศบาลควรตระเตรียมหาแหล่งน้ำสำรองไว้ผลิตน้ำประปาสำหรับบริการประชาชนให้เพียงพอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.