งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คุณครูสิริศิระ โชคทวีกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คุณครูสิริศิระ โชคทวีกิจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คุณครูสิริศิระ โชคทวีกิจ
กรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ The Mysterious Death Case of King Rama VIII กลุ่ม 2MPN ห้อง ๑๐ - ๙ นางสาวกันติศา เจติยานุวัตร นางสาวณัฏฐนิช ตระกูลลาภพันธุ์ นางสาวภิญญดา ทุนคำ นางสาวทักษพร สิริจรรยาพงศ์ นำเสนอ คุณครูสิริศิระ โชคทวีกิจ

2 กรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ. ศ
กรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งบรมพิมานชั้นบน ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร จนกระทั่งในปัจจุบันกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ ก็ยังเป็นเหตุการณ์ที่มีการถกเถียงกันอยู่ พระที่นั่งบรมพิมาน อยู่ทางด้านใต้ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่เหนือสวนศิวาลัย บริเวณคลังสรรพาวุธเดิม

3 ลำดับเหตุการณ์ (เหตุเกิดในปีพ.ศ. ๒๔๘๙)
๒ มิถุนายน มีพระอาการประชวรเกี่ยวกับพระนาภี   ๗ มิถุนายน นายปรีดี พนมยงค์ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่ ๒) และได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ประมาณชั่วโมงกว่าๆ ๘ มิถุนายน ร.๘ แต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์เป็นนายกรัฐมนตรี และพระอาการประชวรพระนาภีมากขึ้น

4 มีผู้อยู่ร่วมในที่เกิดเหตุทั้งหมด ๗ คน ได้แก่
๑. สมเด็จพระราชชนนี ๒. สมเด็จพระอนุชา (ในหลวงองค์ปัจจุบัน) ๓. ชิต สิงหเสนี (มหาดเล็กรับใช้ประจำห้องบรรทมในหลวงอานันท์) ๔. บุศย์ ปัทมศริน (มหาดเล็กรับใช้ประจำห้องบรรทมในหลวงอานันท์) ๕. น.ส. เนื่อง จิตตดุลย์ (พระพี่เลี้ยงในหลวงอานันท์) ๖. น.ส. จรูญ ตาละภัฎ (ข้าหลวงสมเด็จพระราชชนนี) ๗. เฉลียว เทียมงามสัจ (มหาดเล็กรับใช้) วันที่ ๙ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุ

5 พระราชชนนี พระอนุชา น.ส. เนื่อง จิตตดุลย์ นายชิต และนายบุศย์ น.ส. จรูญ ตาละภัฎ เฉลียว

6 เวลาตี ๕ กว่า พระบรมราชชนนีตื่นแล้วเสด็จเข้าไปปลุก ร
เวลาตี ๕ กว่า พระบรมราชชนนีตื่นแล้วเสด็จเข้าไปปลุก ร.๘ เพื่อถวายน้ำมันละหุ่ง และร.๘ทรงบรรทมต่อ เวลา ๗ โมง มหาดเล็กชื่อนายบุศย์ มาเข้าเวรถวายงาน โดยนั่งอยู่หน้าห้องพร้อมกับมหาดเล็กชื่อนายชิต ในเวลาเดียวกันมหาดเล็กชื่อนายเฉลียว ยกอาหารเช้าขึ้นไปจัดวางที่มุขหน้า และเฉลียวอยู่เฝ้าอาหาร

7 เวลาประมาณ ๘ โมง นายบุศย์เห็นพระอนุชา เสด็จไปที่มุขหน้าเสวยอาหารเช้า แล้วเสด็จมาถามพระอาการของร.๘
เวลาประมาณ ๙ โมงครึ่ง มีเสียงปืนดังขึ้นภายในห้องบรรทมของร.๘ นายชิตวิ่งเข้าไปดู แล้ววิ่งไปตามพระบรมราชชนนี เมื่อมาถึง พบร.๘ ทรงนอนทอดพระวรกายบนที่นอนเหมือนทรงนอนหลับปกติพระกรทั้งสองวางอยู่ข้างพระองค์ (ไม่งอ) มุ้งถูกตลบขึ้นเหนือเตียง บนที่นอนบริเวณใกล้พระหัตถ์ซ้ายมีปืนสั้นวางอยู่ มีแผลกระสุนที่หน้าผาก เหนือคิ้ว บริเวณระหว่างคิ้ว ข้างพระศพบริเวณข้อพระกรซ้ายมีปืนพก US Army ขนาดกระสุน ๑๑ มม. วางอยู่ในลักษณะชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ปากกระบอกปืนชี้ไปที่ปลายเตียง

8 เวลาประมาณ ๑๐ โมง หลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์ได้มาถึงสถานที่เกิดเหตุและตรวจพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่าสวรรคตแน่นอนแล้ว พระบรมราชชนนีจึงรับสั่งให้ทำความสะอาดและตกแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการถวายน้ำทรงพระบรมศพในช่วงเย็น ๑๐ มิถุนายน เจ้าหน้าที่และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เดินทางมาทำการฉีดยารักษาสภาพ คณะแพทย์ได้พบบาดแผลที่ท้ายทอย ซึ่งเป็นบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นนายปรีดี สั่งให้อัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเชิญคณะรัฐมนตรี มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องการเสด็จสวรรคตของร.๘ ที่ประชุมสรุปว่าให้ออกแถลงการณ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า การเสด็จสวรรคตของร.๘ เป็น “อุบัติเหตุ”

9 ผู้ศึกษากรณีนี้ทุกคนยอมรับตรงกันว่า มีความเป็นไปได้ ๓ ทาง คือ
“ลักษณะทางกายภาพของการยิง” (Physical conditions of the shooting) ก. ตำแหน่งของบาดแผลกระสุนเข้า อยู่ที่บริเวณหน้าผากเหนือคิ้วซ้ายเล็กน้อย ข. ลักษณะบาดแผลแสดงว่าปืนต้องกดติดหรือเกือบติดกับหน้าผากขณะกระสุนลั่น ถ้าไม่กดติดก็ห่างไม่เกิน ๒ นิ้ว ค. วิถีของกระสุน เฉียงลงล่าง และเอียงจากซ้ายไปขวาเล็กน้อย ทะลุออกด้านหลังที่ท้ายทอย ง. ลักษณะพระบรมศพ ที่พระกรอยู่ข้างพระวรกายเรียบร้อย (ปัญหาความเป็นไปได้ของอาการเกร็งค้างของแขนและมืออันเกิดจากสมองตายเฉียบพลันที่เรี​ยกว่า “คาดาเวอริค สปัสซั่ม” (Cadaveric Spasm) ผู้ศึกษากรณีนี้ทุกคนยอมรับตรงกันว่า มีความเป็นไปได้ ๓ ทาง คือ โดยผู้อื่น ๑. อุบัติเหตุ ๒. ทรงปลงพระชนม์ด้วยพระองค์เอง ๓. ถูกผู้อื่นปลงพระชนม์ โดยพระองค์เอง

10 สาเหตุการสวรรคตที่แพทย์ใช้เป็นกรอบในการลงความเห็น มีเพียง “3 สาเหตุ” สิ่งที่แพทย์วินิจฉัยและใช้เป็นข้อมูลการตัดสินใจลงความเห็น ที่สำคัญได้แก่ ลักษณะและตำแหน่งของบาดแพล, วิถีกระสุน และลักษณะพระบรมศพ นั่นคือ สิ่งที่ผมเรียกรวมๆในตอนต้นว่า “ลักษณะทางกายภาพของการยิง” ในจำนวนผู้ออกความเห็นทั้งหมด ๑๘ คน (แพทย์ไทย ๑๖ คน, แพทย์อเมริกัน และ พตท.เอ็จ) เสียง่ข้างมากแบบเด็ดขาดถึง ๑๒ คน ยืนยันว่าเป็นการ “ถูกปลงพระชนม์” อีก ๔ คนเห็นว่า “ปลงพระชนม์เองหรือถูกปลงพระชนม์ ทั้งสองประการเท่าๆกัน” (สามารถเรียงลำดับความเป็นไปได้ว่า “ถูกปลงพระชนม์, ปลงพระชนม์เอง หรือ อุบัติเหตุ”)

11 ผลกระทบจากเหตุการณ์ - จำเลยทั้งสาม คือ นายชิต นายบุศย์ และ นายเฉลียว ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต - คดีนี้เป็นข้ออ้างสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์ (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ร่วมกับคณะทหารทำการรัฐประหาร วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ เพื่อโจมตีนายปรีดี ทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ - ประชาชนหมดความเชื่อมั่นในรัฐบาล

12 “ปริศนา” หรือความลึกลับที่แท้จริง ของกรณีสวรรคตไม่ใช่อยู่ที่ว่า เป็นเรื่องอธิบายไม่ได้ แต่อยู่ทีว่า ทำไมคำอธิบายที่ง่ายและโต้แย้งไม่ได้นี้(หมายถึงการตายโดยถูกผู้อื่นลอบปลงพระชนม์) จึงไม่ได้รับการนำเสนอออกมาตั้งแต่ต้น หรือตั้งแต่หลายสิบปีก่อน ทำไมตั้งแต่ตอนที่เกิดเรื่องแรกๆจึงต้องมีการปิดบังความจริงบางส่วนไว้ ดังจะเห็นได้ว่าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้ตีพิมพ์ข่าวนี้แต่เหตุใดจึงต้องพยายามบิดเบือนความจริง

13 อ้างอิง http://forum.banrasdr.com/showthread.php?tid=9576


ดาวน์โหลด ppt คุณครูสิริศิระ โชคทวีกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google