งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางสาวกุลิสรา พิศาลเอก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางสาวกุลิสรา พิศาลเอก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางสาวกุลิสรา พิศาลเอก
ความชุกของภาวะซึมเศร้าและ คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น Prevalence of Depression and Quality of life among caregivers of Autistic Children in Khon Kaen Province นางสาวกุลิสรา พิศาลเอก ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6

2 ความเป็นมาและความสำคัญ
เด็กอายุระหว่าง 0-6 ปีเป็นช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นพัฒนาการทางความคิด อารมณ์ สังคมและจริยธรรม อุบัติการณ์ของเด็กออทิสติกในประเทศไทยสูงขึ้น 9.9 : 10,000 ปชก. พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 3.3 เท่า  ผู้ดูแลเด็กออทิสติกมีความสำคัญ ต้องดูแลไปตลอดชีวิต เพราะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ดูแลเด็กปกติทั่วไป เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะว่า “เด็กวันนี้ เป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กเป็นอนาคตของชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ” เด็กอายุระหว่าง 0-6 ปีเป็นช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นพัฒนาการทางความคิด อารมณ์ สังคมและจริยธรรม การติดตามพัฒนาการและให้การสนับสนุนที่เหมาะสม จะสามารถสร้างบุคลิกภาพที่ดี มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมอย่างปกติสมวัย แต่ในปัจจุบันเด็กที่มีความผิดปกติต่างๆ พบว่ามีอุบัติการณ์สูงขึ้น เช่น เด็กปัญญาอ่อน สมาธิสั้น เด็กเรียนรู้ช้า และเด็กออทิสติก เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของเด็กออทิสติกสูงขึ้น 9.9 : 10,000 ปชก. และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 3.3 เท่า เป็นภาระของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพราะหากเด็กเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ดูแลต้องรับภาระในการดูแลไปตลอดชีวิต

3 ความเป็นมาและความสำคัญ
ผู้ดูแลเกิดภาวะความเครียด ซึมเศร้า ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การดำเนินงานส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิต ควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ดูแล ทั้งผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุด้วย ผู้ดูแลเด็กออทิสติกมีความสำคัญต่อการหายขาดจากโรค/การช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระทางสังคม จ.ขอนแก่น มีสถานที่ดูแลเด็กออทิสติก การดูแลเด็กอออทิสติก 1 คน ไม่ใช่เฉพาะการดูแลที่สถานพยาบาล เท่านั้น หากแต่รวมไปถึง โรงเรียนและผู้ดูแลที่บ้าน ที่ต้องดูแลร่วมกัน ซึ่งการคัดกรองเด็กให้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อนำเด็กเข้าสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือได้เร็ว ทำให้เด็กหนึ่งคนที่เป็นอนาคตของชาติสามารถกลับมาหายเป็นปกติ หรือช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของผู้ดูแลต่อไปในอนาคต

4 ผลกระทบด้านต่างๆ ผู้ดูแลเด็กออทิสติก ผลกระทบด้านร่างกาย
ผลกระทบด้านอารมณ์และจิตใจ ผลกระทบด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ผลกระทบด้านสังคมและเศรษฐกิจ

5 คำถามการวิจัย ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่น เป็นอย่างไร? ปัจจัยใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่น?

6 วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ในจังหวัดขอนแก่น 2. เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ในจังหวัดขอนแก่น

7 ขอบเขตของการวิจัย 1. การศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบ Cross-sectional analytical study 2. การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาในผู้ดูแลเด็กออทิสติก ที่นำเด็กออทิสติกเข้ารับการดูแลจากหน่วยงาน 4 หน่วยงานในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความพร้อมและยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล ได้แก่ สถาบันพัฒนาการเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น บ้านเติมเต็ม จังหวัดขอนแก่น

8 ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิต มข.
บ้านเติมเต็ม ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิต มข. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 ขอนแก่น สถาบันพัฒนาการเด็ก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

9 นิยามศัพท์เฉพาะ ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การเสียสมดุลทางอารมณ์ ซึม หงุดหงิด รู้สึกหมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ความคิดและการเคลื่อนไหวช้าลงหรือพลุ้งพล่านกระวนกระวาย รู้สึกไร้ค่า ตำหนิตัวเองมากผิดปกติ เสียสมาธิ มีความคิดอยากตาย หากมีอาการดังกล่าวนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไปจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือการเรียน (ดวงใจ กสานติกุล, 2543) ในการศึกษาครั้งนี้ หมายถึง ผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีคะแนน 2Q เป็นบวก และผ่านการประเมิน 9Q

10 นิยามศัพท์เฉพาะ ผู้ดูแลเด็กออทิสติก หมายถึง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ญาติ ที่ให้การดูแลเด็กออทิสติกที่บ้านในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เป็นหลัก ใช้เวลาอยู่กับเด็กออทิสติกมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยส่วนใหญ่ผู้ดูแลจะมีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ และให้การดูแลโดยไม่ได้มุ่งหวังค่าตอบแทน

11 นิยามศัพท์เฉพาะ คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก หมายถึง ระดับการมีชีวิตที่ดี มีความสุข มีความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตในด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ในการศึกษาครั้งนี้ หมายถึง คะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบถามคุณภาพชีวิตที่ผู้วิจัยประยุกต์ปรับจากองค์การอนามัยโลกฉบับย่อภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ในด้านสุขภาพทางกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม

12 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ทราบข้อมูลภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในด้านต่างๆ สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตระหนักถึงผู้ดูแลผู้ป่วยอื่นๆ เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีความสำคัญ

13 คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็ก
ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแล อายุ เพศ อาชีพ เงินออม สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยผู้ดูแล รายได้เฉลี่ยครอบครัว ลักษณะบ้านพักอาศัย กรอบแนวคิดการวิจัย 1. ด้านร่างกาย โรคประจำตัว 2. ด้านจิตใจ การจัดการความเครียด ภาวะซึมซึมเศร้า 3. ด้านสังคม เป็นสมาชิกชมรม ยอมรับจากคนรอบข้าง 4. ด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค สถานพยาบาล คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็ก ออทิสติก ระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกในเด็ก Mild Moderate Severe

14 รูปแบบการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study)

15 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่น ที่นำเด็กออทิสติกเข้ารับการดูแลจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งสิ้น 81 คน ได้แก่ 1) สถาบันพัฒนาการเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 คน 2) ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น 19 คน 3) ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น 30 คน 4) บ้านเติมเต็ม จังหวัดขอนแก่น คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557

16 เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน
“แบบสอบถาม” ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ อาชีพ เงินออม สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยผู้ดูแล รายได้เฉลี่ยครอบครัว ลักษณะบ้านพักอาศัย ฯลฯ ส่วนที่ 2 คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก WHOQOL จำนวน 26 ข้อ ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 3 แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2Q และแบบประเมินซึมเศร้า 9Q

17 เครื่องมือ (สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ, 2545)
แบบทดสอบคุณภาพชีวิตฉบับสั้นของ WHOQOL-BREF-THAI 26 ข้อ พัฒนามาจากเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก 100 ข้อ ทบทวนและปรับปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญ ค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha coefficient = ค่าความเที่ยงตรง (Validity) = ซึ่ง WHO ให้การยอมรับ (สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ, 2545)

18 เครื่องมือ (ต่อ) แบบคัดกรองซึมเศร้า 2Q มีความไว(Sensitivity) ร้อยละ ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 90.00 (สุนันทา ฉันทกาญจน์ และคณะ, 2557) แบบประเมินซึมเศร้า 9Q มีความไว(Sensitivity) ร้อยละ ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 93.37 (ธรณินทร์ กองสุข และคณะ, 2550)

19 การพิทักษ์สิทธิของกลุ่มประชากรศึกษา
ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ผู้ศึกษาเข้าเก็บข้อมูล โดยชี้แจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเก็บข้อมูล และขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม หากกลุ่มตัวอย่างไม่ยินยอมสามารถออกจากการสอบถามได้ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างจะถือเป็นความลับและนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้เท่านั้น การนำเสนอผลการศึกษาจะนำเสนอในลักษณะภาพรวมของการศึกษา ไม่ปรากฏชื่อผู้ถูกสอบถาม

20 ตัวแปรและการวัดตัวแปร
ตัวแปรคุณภาพชีวิต มีลักษณะเป็นมาตรวัดลิเกิร์ต (likert scale) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มที่ 1 ข้อความทางลบ 3 ข้อ กลุ่มที่ 2 ข้อความทางบวก 23 ข้อ

21 ตัวแปรและการวัดตัวแปร
กลุ่มที่ 1 เฉพาะข้อ 2, 9, 11 กลุ่มที่ 2 ยกเว้นข้อ 2, 9, 11 ตอบ ไม่เลยให้ 5 คะแนน เล็กน้อย ให้ 4 คะแนน ปานกลาง ให้ 3 คะแนน มาก ให้ 2 คะแนน มากที่สุด ให้ 1 คะแนน ตอบ ไม่เลย ให้ 1 คะแนน เล็กน้อย ให้ 2 คะแนน ปานกลาง ให้ 3 คะแนน มาก ให้ 4 คะแนน มากที่สุด ให้ 5 คะแนน

22 ตัวแปรและการวัดตัวแปร
คะแนนคุณภาพชีวิตมี คะแนน ตั้งแต่ 26 – 130 คะแนน โดยเมื่อผู้ตอบรวมคะแนนทุกข้อได้คะแนนเท่าไร สามารถเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนด ดังนี้ คะแนน 26 – 60 คะแนน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี คะแนน 61 – 95 คะแนน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตปานกลาง คะแนน 96 – 130 คะแนน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

23 ตัวแปรและการวัดตัวแปร
องค์ประกอบ การมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี คุณภาพชีวิตปานกลาง คุณภาพชีวิตที่ดี 1. ด้านสุขภาพกาย 7 – 16 17 – 26 2. ด้านจิตใจ 6 – 14 15 – 22 3. ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 3 – 7 8 – 11 4. ด้านสิ่งแวดล้อม 8 – 18 19 – 29 30 – 40 คุณภาพชีวิตโดยรวม 26 – 60 61 – 95

24 ตัวแปรและการวัดตัวแปร
องค์ประกอบด้านสุขภาพกาย ได้แก่ ข้อ 2,3,4,10,11,12,24 องค์ประกอบด้านจิตใจ ได้แก่ ข้อ 5,6,7,8,9,23 องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพทางสังคม ได้แก่ ข้อ 13,14,25 องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ข้อ 15,16,17,18,19,20,21,22 ส่วนข้อ 1 ข้อ 26 เป็นตัวชี้วัดที่อยู่ในหมวดคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม จะไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านนี้ องค์ประกอบด้านสุขภาพกาย มี 7 ข้อ ได้แก่ ข้อ 2,3,4,10,11,12,24 องค์ประกอบด้านจิตใจ มี 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ 5,6,7,8,9,23 องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพทางสังคม มี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อ 13,14,25 องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม มี 8 ข้อ ได้แก่ ข้อ 15,16,17,18,19,20,21,22 ส่วนข้อ 1 ข้อ 26 เป็นตัวชี้วัดที่อยู่ในหมวดคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม จะไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านนี้

25 ตัวแปรและการวัดตัวแปร
แบบคัดกรองซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม (2Q) คำถาม ไม่ใช่ ใช่ 1. ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวัง หรือไม่ 1 2. ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ท่านรู้สึก เบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลิน หรือไม่ ตอบ ไม่มี ทั้งสองคำถาม ถือว่าปกติ ไม่เป็นโรคซึมเศร้า ตอบ มี ข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้งสองข้อ ถือว่ามีความเสี่ยง มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ให้แนะนำความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า และประเมินด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถามต่อ

26 ตัวแปรและการวัดตัวแปร
แบบประเมินซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q) คะแนน 9Q ≥ 7 ให้ประเมินการฆ่าตัวตาย และส่งพบแพทย์ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมทั้งวันนี้ ท่านมีอาการเหล่านี้ บ่อยแค่ไหน ไม่มีเลย เป็นบางวัน 1-7 วัน เป็นบ่อย > 7วัน เป็นทุกวัน 1. เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร 1 2 3 2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้ 3. หลับยากหรือหลับๆตื่นๆหรือลับมากไป 4. เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง 5. เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป 6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลวหรือครอบครัวผิดหวัง 7. สมาธิไม่ดี เวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ 8. พูดช้า ทำอะไรช้าลงจนคนอื่นสังเกตเห็นได้ หรือกระสับกระส่ายไม่สามารถอยู่นิ่งได้เหมือนที่เคยเป็น 9. คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายไปคงจะดี

27 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การตรวจสอบข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้มาบันทึกลงใน โปรแกรม Excel ซึ่งลงข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ เดียวกันจำนวน 2 ครั้ง และตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูล 2. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม STATA 10 และ กำหนดระดับความเชื่อมั่นในการทดสอบทางสถิติที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 ดังนี้ ข้อมูลลักษณะประชากร วิเคราะห์ด้วยจำนวนและร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) มัธยฐาน (median) พิสัยควอไทล์ (Inter quartile rang) ข้อมูลความชุกของภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ด้วยร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์คราวละตัวแปร ด้วย Simple logistic regression วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ตัวแปรแบบพหุ (Multivariate analysis) โดยใช้สถิติMultiple logistic regression วิธีขจัดออกทีละตัวแปร (Backward elimination)

28 ผลการศึกษา

29 ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไปของผู้ดูแลเด็กออทิสติก

30 สถานที่ดูแลเด็กออทิสติก
ร้อยละ 1 = สถาบันพัฒนาการเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 คน 2 = ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น 30 คน 3 = ศูนย์วิจัยเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น 19 คน 4 = บ้านเติมเต็ม จังหวัดขอนแก่น 27 คน สถานที่ดูแลเด็ก

31 เพศของผู้ดูแลเด็กออทิสติก

32 อายุของผู้ดูแลเด็กออทิสติก
Mean (SD) = (10.05) Median (IQR) = 47 (42-57)

33 สถานภาพสมรส

34 ระดับการศึกษา

35 อาชีพ

36 ศาสนา

37 โรคประจำตัว

38 รายได้ของผู้ดูแล (บาท/เดือน)*
Mean (SD) : 22,827 (14,974) Min-Max : 9,000-80,000 ร้อยละ *หมายเหตุ: ไม่ยินดีให้ข้อมูล 10 คน

39 รายได้ของครอบครัวผู้ดูแล (บาท/เดือน)*
ร้อยละ Mean (SD) : 46,494 (25,810) Min-Max : 6, ,000

40 เงินออม ที่อยู่อาศัย

41 การเป็นสมาชิกทางสังคม
ลักษณะบ้าน

42 ความสัมพันธ์กับเด็กออทิสติก

43 อายุของเด็กออทิสติก ร้อยละ

44 ระยะเวลาในการดูแลเด็กออทิสติก

45 ระดับความรุนแรงของโรคในเด็กออทิสติก
ร้อยละ ระดับความรุนแรงของโรค

46 ส่วนที่ 2 ข้อมูลคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก
ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ และระดับที่ดี ร้อยละ 43.21 เมื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตแยกเป็นด้านต่างๆ พบว่า ด้านสุขภาพกาย มีระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง ร้อยละ 74.07 ด้านจิตใจ มีระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง ร้อยละ 55.56 ด้านสัมพันธภาพทางสังคม มีระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง ร้อยละ 56.79 ด้านสิ่งแวดล้อม มีระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง ร้อยละ 64.20

47 ส่วนที่ 2 ข้อมูลคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก
องค์ประกอบ คุณภาพชีวิตไม่ดีจำนวน (ร้อยละ) คุณภาพชีวิตปานกลาง จำนวน (ร้อยละ) คุณภาพชีวิตที่ดี จำนวน (ร้อยละ) 1. ด้านสุขภาพกาย ข้อ 2,3,4,10,11,12,24 60 (74.07) 21 (25.93) 2. ด้านจิตใจ ข้อ 5,6,7,8,9,23 45 (55.56) 36 (44.44) 3. ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ข้อ 13,14,25 2 (2.47) 46 (56.79) 33 (40.74) 4. ด้านสิ่งแวดล้อม ข้อ 15,16,17,18,19,20,21,22 52 (64.20) 29 (35.80) คุณภาพชีวิตโดยรวม 35 (43.21)

48 ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก
วิเคราะห์ความสัมพันธ์คราวละตัวแปร ด้วย Simple logistic regression เลือกตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.25) เพื่อนำมาเข้าสมการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ตัวแปรแบบพหุ (Multivariate analysis) โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression วิธีขจัดออกทีละตัวแปร (Backward elimination) พบว่า ตัวแปรที่มี p-value < 0.25 มี 9 ตัวแปร ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา การมีโรคประจำตัว ลักษณะบ้าน การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม อายุของเด็กออทิสติก ความสัมพันธ์กับเด็กออทิสติก ระยะเวลาในการดูแลเด็กออทิสติก และความรุนแรงของโรคออทิสติกของเด็กในความดูแล

49 ตารางที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น
ปัจจัยส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ยคะแนน ผลการวิเคราะห์ Crude OR 95%CI p-value เพศ ชาย หญิง 97.06 91.27 1.00 3.38 1.34 – 8.56 0.009 ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป 96.18 91.37 2.56 1.04 – 6.31 0.039 การมีโรคประจำตัว ไม่มี มี 94.09 87.83 4.15 0.46 – 37.22 0.151

50 ตารางที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น (ต่อ)
ปัจจัยส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ยคะแนน ผลการวิเคราะห์ Crude OR 95%CI p-value ลักษณะบ้าน บ้านสองชั้น ไม่ใช่บ้านสองชั้น 95.57 90.33 1.00 1.92 0.75 – 4.91 0.166 การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม เป็น ไม่เป็น 98.33 93.25 2.84 0.49 – 16.47 0.229 ความสัมพันธ์กับเด็ก ญาติ/ผู้ดูแลอื่น พ่อ-แม่ 98.08 91.64 3.46 1.29 – 9.28 0.012

51 ตารางที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น (ต่อ)
ปัจจัยส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ยคะแนน ผลการวิเคราะห์ Crude OR 95%CI p-value อายุของเด็กออทิสติก 0 – 10 ปี 11 – 20 ปี 21 – 30 ปี 94.94 93.85 87.00 1.00 1.29 7.00 0.51 – 3.26 0.78 – 63.21 0.122 ระยะเวลาในการดูแลเด็ก 95.21 93.38 1.50 7.37 0.59 – 3.80 0.83 – 65.66 0.098 ระดับความรุนแรง เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง 99.82 94.37 89.93 3.07 7.62 0.72 – 13.15 1.57 – 37.05 0.022

52 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก
ทำการวิเคราะห์คราวละหลายปัจจัยจากตัวแปรที่เลือกมา จากนั้นก็ตัดตัวแปรทีละตัวออกจากโมเดล โดยพิจารณาจากตัวแปรนั้นไม่ได้มีความสำคัญที่ต้องคงไว้ ซึ่งจะเลือกจากตัวแปรที่ให้ค่า p-value มากที่สุดออกจากโมเดล จากนั้นทำการตัดตัวแปรไปเรื่อยๆ จนกว่าเมื่อตัดตัวแปรนั้นออกไปแล้วทำให้ค่า p-value ของทุกตัวแปร < 0.05 และเมื่อพิจารณาค่า p-value ของโมเดล >0.05 ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลที่ดีที่สุด การทดสอบ goodness-of-fit พิจารณาค่า p-value >0.05 อีกครั้ง แล้วเลือกใช้โมเดลนี้เป็นโมเดลสุดท้าย การวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติกโมเดลสุดท้าย ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยด้านเพศของผู้ดูแล ลักษณะบ้าน ความสัมพันธ์กับเด็กออทิสติก และระดับความรุนแรงของโรคในเด็ก อยู่ในโมเดลสุดท้าย

53 ตารางที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น
ปัจจัยส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ยคะแนน ผลการวิเคราะห์ Crud e OR 95%CI p- value Adjust ed OR เพศ ชาย หญิง 97.06 91.27 1.00 3.38 1.34 – 8.56 0.009 4.24 1.36 – 13.25 0.013 ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป 96.18 91.37 2.56 1.04 – 6.31 0.039 - การมีโรคประจำตัว ไม่มี มี 94.09 87.83 4.15 0.46 – 37.22 0.151

54 ตารางที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น (ต่อ)
ปัจจัยส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ยคะแนน ผลการวิเคราะห์ Crud e OR 95%CI p- value Adjust ed OR ลักษณะบ้าน บ้านสองชั้น ไม่ใช่บ้านสองชั้น 95.57 90.33 1.00 1.92 0.75 – 4.91 0.166 5.76 1.44 – 23.05 0.013 การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม เป็น ไม่เป็น 98.33 93.25 2.84 0.49 – 16.47 0.229 - ความสัมพันธ์กับเด็ก ญาติ/ผู้ดูแลอื่น พ่อ-แม่ 98.08 91.64 3.46 1.29 – 9.28 0.012 7.52 2.17 – 26.11 0.001

55 ตารางที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น (ต่อ)
ปัจจัยส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ยคะแนน ผลการวิเคราะห์ Crud e OR 95%CI p- value Adjust ed OR อายุของเด็กออทิสติก 0 – 10 ปี 11 – 20 ปี 21 – 30 ปี 94.94 93.85 87.00 1.00 1.29 7.00 0.51 – 3.26 0.78 – 63.21 0.122 - ระยะเวลาในการดูแลเด็ก 95.21 93.38 1.50 7.37 0.59 – 3.80 0.83 – 65.66 0.098 ระดับความรุนแรง เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง 99.82 94.37 89.93 3.07 7.62 0.72 – 13.15 1.57 – 37.05 0.022 11.90 24.59 1.55 – 91.69 2.98– 0.017 0.003

56 ส่วนที่ 4 ความชุกของภาวะซึมเศร้า
ผลการคัดกรองด้วยแบบคัดกรอง 2Q พบผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11 เมื่อประเมินซ้ำด้วยแบบประเมิน 9Q พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กออทิสติกจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 9.88 ไม่พบผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จากการประเมิน 9Q

57 สรุปผลการศึกษา ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่น
อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.79 ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กออทิสติกพบร้อยละ 9.88 ปัจจัยที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ เพศของผู้ดูแล ลักษณะบ้านของผู้ดูแล ความสัมพันธ์กับเด็กออทิสติก และระดับความรุนแรงของโรคในเด็ก

58 สรุปผลการศึกษา เพศ ลักษณะบ้าน
ผู้ดูแลเด็กออทิสติกเพศหญิง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่า เพศชาย 4.24 เท่า (95% CI = 1.36 – 13.25) ลักษณะบ้าน ผู้ดูแลที่อาศัยอยู่บ้านชั้นเดียว/ ตึกสามชั้น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่า ผู้ดูแลที่อาศัยอยู่บ้านสองชั้นเท่ากับ 5.76 เท่า (95% CI = 1.44 – 23.05)

59 สรุปผลการศึกษา ระดับความรุนแรงของโรค
ความสัมพันธ์กับเด็ก ผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ของเด็ก พบว่า มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความสัมพันธ์แบบญาติ/ ผู้ดูแลอื่นๆของเด็ก เท่ากับ 7.52 เท่า (95% CI = 2.17 – 26.11) ระดับความรุนแรงของโรค ผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่ดูแลเด็กออทิสติกที่มีระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกปานกลาง และรุนแรง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่ดูแลเด็กออทิสติกที่มีระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกเล็กน้อย เท่ากับ เท่า (95% CI =1.55 – 91.69) และ เท่า (95% CI = 2.97 – ) ตามลำดับ

60 การอภิปรายผล ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่น อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.79 สอดคล้องกับการศึกษาของ เสาวลักษณ์ ยาสุวรรณ (2548) ซึ่งพบว่า ผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท (80 คน) อยู่ในวัยกลางคนและมีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง ร้อยละ 80 การมีผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในครอบครัวจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม

61 การอภิปรายผล (ต่อ) ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ บุษกร อินทรวิชัย (2539) ที่พบว่า การสนับสนุนทางสังคม สถานภาพการสมรส และรายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพจิตของมารดาเด็กป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.001, 0.01 และ ตามลำดับ (r=.4227, r=.2518 และ r=.3216) ส่วนอายุของมารดา ระดับการศึกษา อายุของเด็กที่ป่วย ระยะเวลาการเจ็บป่วย และจำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษา ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของมารดาเด็กป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

62 การอภิปรายผล (ต่อ) ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กออทิสติก พบร้อยละ 9.88 มีค่าใกล้เคียงกับการศึกษาของติรยา เลิศหัตถศิลป์(2555) พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กออทิสติก ร้อยละ 5.90 การประเมินใช้แบบประเมินอย่างง่ายที่มีความไวและความจำเพาะสูง แต่ไม่สามารถประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าได้ ผู้วิจัยเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจิต สามารถให้คำแนะนำการจัดการอารมณ์เบื้องต้นได้

63 การอภิปรายผล (ต่อ) การศึกษานี้พบว่า ผู้ดูแลเด็กออทิสติกเพศหญิง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่า ผู้ดูแลเด็กออทิสติกเพศชาย 4.24 เท่า (95% CI = 1.36 – 13.25) พบว่า ผู้ดูแลที่อาศัยอยู่บ้านชั้นเดียว/ ตึกสามชั้น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่า ผู้ดูแลที่อาศัยอยู่บ้านสองชั้นเท่ากับ 5.76 เท่า (95% CI = 1.44 – 23.05) ผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ของเด็ก พบว่า มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความสัมพันธ์แบบญาติ/ ผู้ดูแลอื่นๆของเด็ก เท่ากับ 7.52 เท่า (95% CI = 2.17 – 26.11) การศึกษานี้พบว่า ผู้ดูแลเด็กออทิสติกเพศหญิง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่า ผู้ดูแลเด็กออทิสติกเพศชาย 4.24 เท่า (95% CI = 1.36 – 13.25) ซึ่งจะเห็นได้ว่า เพศหญิง เป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อน และเกิดผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ง่ายกว่าเพศชาย โดยลักษณะเฉพาะของเพศหญิงเองที่เป็นเพศที่ต้องการความเอาใจใส่ดูแล มีระเบียบเรียบร้อย ดูแลใกล้ชิดเด็กออทิสติกในเรื่องกิจวัตรประจำวัน จดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ มีความคาดหวังต่อสิ่งต่างๆมากกว่าเพศชายนั่นเอง สำหรับผลของปัจจัยด้านลักษณะบ้านที่ผู้ดูแลเด็กออทิสติกอาศัยอยู่นั้น พบว่า ผู้ดูแลที่อาศัยอยู่บ้านชั้นเดียว/ ตึกสามชั้น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่า ผู้ดูแลที่อาศัยอยู่บ้านสองชั้นเท่ากับ 5.76 เท่า (95% CI = 1.44 – 23.05) ทั้งนี้เนื่องจาก การอาศัยในบ้านสองชั้นแสดงถึงการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สุขสบายกว่า มีความกว้างขวางของบ้าน การแยกห้อง ลักษณะความเป็นส่วนตัวมากกว่าบ้านชั้นเดียว หรือตึกสามชั้น ส่วนผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ของเด็ก พบว่า มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มีความสัมพันธ์แบบญาติ/ ผู้ดูแลอื่นๆของเด็ก เท่ากับ 7.52 เท่า (95% CI = 2.17 – 26.11) นั้น อธิบายได้ว่าอาจเป็นเพราะสายสัมพันธ์ใกล้ชิดของพ่อแม่ที่มีต่อเด็กมากกว่าญาติ ได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และผู้ดูแลอื่นๆ รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งด้านหน้าที่การทำงาน การอยู่ร่วมในสังคม รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเด็กออทิสติกหนึ่งคนไปตลอดช่วงชีวิตพร้อมกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ทำให้คุณภาพชีวิตดีน้อยกว่ากลุ่มผู้ดูแลอื่นที่อาจรับรู้อาการและคลุกคลีอยู่กับเด็กน้อยกว่าพ่อแม่ของเด็กออทิสติกเอง

64 การอภิปรายผล (ต่อ) ผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่ดูแลเด็กออทิสติกที่มีระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกปานกลาง และรุนแรง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่ดูแลเด็กออทิสติกที่มีระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกเล็กน้อย เท่ากับ เท่า (95% CI =1.55 – 91.69) และ เท่า (95% CI = 2.97 – ) ตามลำดับ ส่วนผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่ดูแลเด็กออทิสติกที่มีระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกปานกลาง และรุนแรง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่ดูแลเด็กออทิสติกที่มีระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกเล็กน้อย เท่ากับ เท่า (95% CI =1.55 – 91.69) และ24.60 เท่า (95% CI = 2.97 – ) ตามลำดับนั้น อาจเป็นเพราะ เด็กที่มีระดับความรุนแรงของโรคออทิสติกปานกลาง และรุนแรง ต้องใช้ความพยายามและอดทนในการดูแลเป็นอย่างมาก ผู้ดูแลจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่เด็กเหล่านี้ไปตลอดช่วงชีวิตทั้งในเรื่องกิจวัตรประจำวัน ด้านภาษา การสื่อสาร ทักษะสังคม การเรียนรู้ รวมทั้งด้านการช่วยเหลือตนเอง โอกาสในการช่วยเหลือตนเอง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อาจจะมีน้อย เด็กที่มีระดับความรุนแรงของอาการของโรคเพียงเล็กน้อยอาจจะสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้ พัฒนาการทางภาษาดีกว่ากลุ่มอื่น อาจมีความสามารถบางอย่างแฝงอยู่หรือเป็นอัจฉริยะ ผู้ดูแลจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านั่นเอง

65 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ผู้ดูแลเด็กออทิสติกมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 9.88 และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่นอยู่ในระดับปานกลาง เห็นความสำคัญของการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตควรเข้ามามีบทบาทในการดูแลจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคต่างๆ เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น

66 การนำผลการวิจัยไปใช้
การคัดกรองค้นหาเด็กที่เริ่มมีความผิดปกติให้รวดเร็ว เพื่อช่วยเหลือให้สามารถกลับมาหายเป็นปกติได้ ด้านการจัดสวัสดิการช่วยเหลือผู้ดูแลเด็กออทิสติก ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยโรคต่างๆ ส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มประชาชนทั่วไป ให้ดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ

67 ข้อจำกัดของการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดขอนแก่นเท่านั้น ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไม่สามารถนำไปอ้างอิงประชากรจังหวัดอื่นๆ ที่มีลักษณะทางภูมิประเทศ วัฒนธรรม และภาษาที่แตกต่างกันได้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นเพียงผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่นำเด็กเข้าสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือในหน่วยงาน 4 หน่วยงาน เท่านั้น ยังมีผู้ปกครองเด็กออทิสติกอีกจำนวนมากที่ไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูล และไม่กล้านำเด็กเข้าสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือ ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง

68 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
การศึกษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก เปรียบเทียบตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย การศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก การศึกษาในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาบริบทการดูแลของเด็กภายในสถานที่ดูแลเด็กออทิสติกแต่ละแห่ง

69 ขอขอบพระคุณ...


ดาวน์โหลด ppt นางสาวกุลิสรา พิศาลเอก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google